Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 เมษายน 2558 IDC.ณัฐชนน ระบุ ตลาดสมาร์ทโฟนในไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ราว 20 ล้านเครื่อง โตจากปีก่อนที่มีราว 16-17 ล้านเครื่อง ขณะที่ราคาเครื่องที่มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญคือกลุ่มราคาต่ำกว่า 6,000 บาทที่กินมาร์เก็ตแชร์กว่าครึ่งของตลาด โดย 30%

ประเด็นหลัก


นายณัฐชนน ธบุญสอน นักวิเคราะห์ตลาดไคลเอนด์ดีไวซ์ บริษัทไอดีซีประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดสมาร์ทโฟนในไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ราว 20 ล้านเครื่อง โตจากปีก่อนที่มีราว 16-17 ล้านเครื่อง ส่งผลให้มีประชากรเกือบครึ่งหนึ่งหรือราว 35 ล้านคนได้ใช้งานแล้ว กลายเป็นตลาดอันดับ 2 ในอาเซียน ทั้งยังพร้อมเปิดรับแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดมากขึ้น และที่เห็นได้ชัดคือ "ไชน่าเวฟ" (China Wave) คือการเข้ามาของแบรนด์จากประเทศจีน (รวมไต้หวัน) สร้างแรงกระเพื่อมให้กับกลุ่มสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ซึ่งในปีที่ผ่านมามีปริมาณเพิ่มขึ้น 110% จาก 7 ล้านเครื่อง ในปี 2556 เพิ่มเป็น 14.5 ล้านเครื่อง

ปีนี้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์จะโตขึ้น 20% หรือราว 17 ล้านเครื่อง ส่วนระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น ไอโอเอสยังคงรักษาฐานของตนไว้ที่ 1.5 ล้านเครื่อง วินโดว์โฟนอยู่ในหลักแสน และแบล็คเบอร์รี่ โอเอสได้ออกจากตลาดแล้ว

ขณะที่ราคาเครื่องที่มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญคือกลุ่มราคาต่ำกว่า 6,000 บาทที่กินมาร์เก็ตแชร์กว่าครึ่งของตลาด โดย 30% เป็นเครื่องราคาต่ำกว่า 3,000 บาท อีก 30% ราคา 3,000-6,000 บาท เบียดกลุ่มราคา 6,000-15,000 บาทที่เติบโตลดลง โดยหน้าจอขนาด 4-5 นิ้ว ได้รับความนิยมมากที่สุด มีประมาณ 8 ล้านเครื่อง ด้านตลาดแท็บเลตได้สูญเสียความนิยมอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่ยังเห็นไม่ชัดเจนเพราะมียอดซื้อจากโครงการรัฐบาล แต่ปีนี้คาดว่าจะเหลือไม่ถึง 2 ล้านเครื่อง จากปีก่อนที่มีราว 2 ล้านเครื่อง เมื่อไม่นับรวมเครื่องในโครงการรัฐบาล


_____________________________________________________

















ตลาดสมาร์ทโฟนราคาต่ำ6พัน ฮิต! จับตาไอวอทช์ปลุกแวเรเบิล


"ไอดีซี" ชี้ตลาดสมาร์ทโฟน แบรนด์จีนมาแรงสุด ๆ ดันแอนดรอยด์กินแชร์กว่า 17 ล้านเครื่อง จากตลาดรวม20 ล้าน ชี้กลุ่มเครื่องราคาต่ำ 6 พันบาทเติบโตสูง กวาดยอดขายกว่า 60% ย้ำตลาดพีซีไม่ตกไปกว่านี้แล้ว เหตุยังไม่มีอุปกรณ์ทดแทนได้แถมมีแรงซื้อจากภาครัฐหนุนขณะที่แวเรเบิลยังต้องลุ้นกระแส "ไอวอทช์"ช่วยปลุกตลาด


นายณัฐชนน ธบุญสอน นักวิเคราะห์ตลาดไคลเอนด์ดีไวซ์ บริษัทไอดีซีประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดสมาร์ทโฟนในไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ราว 20 ล้านเครื่อง โตจากปีก่อนที่มีราว 16-17 ล้านเครื่อง ส่งผลให้มีประชากรเกือบครึ่งหนึ่งหรือราว 35 ล้านคนได้ใช้งานแล้ว กลายเป็นตลาดอันดับ 2 ในอาเซียน ทั้งยังพร้อมเปิดรับแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดมากขึ้น และที่เห็นได้ชัดคือ "ไชน่าเวฟ" (China Wave) คือการเข้ามาของแบรนด์จากประเทศจีน (รวมไต้หวัน) สร้างแรงกระเพื่อมให้กับกลุ่มสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ซึ่งในปีที่ผ่านมามีปริมาณเพิ่มขึ้น 110% จาก 7 ล้านเครื่อง ในปี 2556 เพิ่มเป็น 14.5 ล้านเครื่อง

ปีนี้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์จะโตขึ้น 20% หรือราว 17 ล้านเครื่อง ส่วนระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น ไอโอเอสยังคงรักษาฐานของตนไว้ที่ 1.5 ล้านเครื่อง วินโดว์โฟนอยู่ในหลักแสน และแบล็คเบอร์รี่ โอเอสได้ออกจากตลาดแล้ว

ขณะที่ราคาเครื่องที่มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญคือกลุ่มราคาต่ำกว่า 6,000 บาทที่กินมาร์เก็ตแชร์กว่าครึ่งของตลาด โดย 30% เป็นเครื่องราคาต่ำกว่า 3,000 บาท อีก 30% ราคา 3,000-6,000 บาท เบียดกลุ่มราคา 6,000-15,000 บาทที่เติบโตลดลง โดยหน้าจอขนาด 4-5 นิ้ว ได้รับความนิยมมากที่สุด มีประมาณ 8 ล้านเครื่อง ด้านตลาดแท็บเลตได้สูญเสียความนิยมอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่ยังเห็นไม่ชัดเจนเพราะมียอดซื้อจากโครงการรัฐบาล แต่ปีนี้คาดว่าจะเหลือไม่ถึง 2 ล้านเครื่อง จากปีก่อนที่มีราว 2 ล้านเครื่อง เมื่อไม่นับรวมเครื่องในโครงการรัฐบาล

"แท็บเลตยังไม่สามารถสร้างจุดเด่นได้ทั้งยังพังง่าย ซื้อซ้ำยากกว่าสมาร์ทโฟน ที่ยังพอขายได้คือกลุ่มหน้าจอ 7-8 นิ้ว ที่ยังมีผู้ใช้ทำงานแทนสมาร์ทโฟน กับกลุ่มหน้าจอ 9-11 นิ้ว"

ฟากตลาดพีซีและโน้ตบุ๊ก นายจาริตร์ สินธุ นักวิจัยอาวุโส ตลาดไคลเอนต์ดีไวซ์ บริษัทเดียวกันกล่าวว่า ในปี 2557 ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 7 ปีของตลาดพีซีในไทย จากนี้จะมีแนวโน้มดีขึ้น คาดว่าปีนี้จะมียอดขายโตขึ้น 1-2% หรือราว 2.5 ล้านเครื่อง

"ตลาดพีซีถือว่าอิ่มตัว มีผู้ใช้ราว 45% ของประชากร ในประเทศพัฒนาแล้วก็อยู่ที่ราว 50% ไม่มากไปกว่านี้แต่ก็จะไม่ตกไปกว่านี้ เพราะคนเริ่มเข้าใจว่าไม่มีอุปกรณ์ที่ทำงานทดแทนพีซีได้อย่างเต็มรูปแบบ ปีนี้ตลาดจะกลับมาโตจากการลงทุนของภาครัฐและเอ็นเตอร์ไพรส์ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร"

ขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์แวเรเบิลมียอดขาย3,000-5,000ชิ้นต่อไตรมาสเพราะผู้บริโภคยังมองว่าแพงเกินไป และยังมองไม่เห็นประโยชน์ของการใช้งาน จึงมีแค่กลุ่มแฟนคลับของแบรนด์สินค้าเท่านั้นที่ซื้อ

"ตอนนี้มีไม่ถึง 10 แบรนด์ที่เข้ามาในตลาดนี้ ราคาตั้งแต่ 3,000-30,000 บาท ซึ่งยังแพงอยู่ ทั้งเป็นสินค้าที่ต้องมีทั้งเทคโนโลยีและรูปลักษณ์ แต่แอปเปิลวอทช์อาจปลุกกระแสแวเรเบิลและกระตุ้นให้แบรนด์สินค้าอื่น ๆ เข้ามาในตลาดไทยซึ่งจะทำให้มีความหลากหลายมากขึ้น แต่กว่าจะโตอย่างมีนัยสำคัญน่าจะอีก 3 ปีข้างหน้า โดยพวกสายรัดข้อมือและสมาร์ทวอทช์จะได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเน้นที่การใช้งานส่วนตัวก่อน ส่วนการนำไปใช้ด้านเฮลท์แคร์กับเพย์เมนต์ยังต้องรอไปก่อน เหมือนกับแว่นอัจฉริยะที่ยังเป็นสิ่งที่ใช้ได้ยากและมีราคาสูง"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430122668

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.