01 สิงหาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) ICT เล็งยื่นศาล รธน. ตีความสิทธิใช้คลื่น 900–1800 MHz ของ TOT CAT โดย ขณะที่ฝั่ง กสทช. เห็นว่า สิทธิในการใช้คลื่นย่อมสิ้นสุดลงพร้อมกับการหมดสัญญาสัมปทาน
ประเด็นหลัก
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงศึกษาความเป็นไปได้ในการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ของทีโอทีและ แคท เนื่องจากที่ผ่านมาทั้งสองรัฐวิสาหกิจและคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ยังตีความเรื่องสิทธิในการใช้คลื่นภายใต้สัมปทานซึ่งได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 80 ไม่ตรงกัน โดยฝั่งรัฐวิสาหกิจเห็นว่า คลื่นโทรคมนาคมที่ได้รับสิทธิการใช้งานมาก่อนที่จะมี กสทช. ควรจะต้องได้สิทธิใช้งานต่อตามใบอนุญาตจนถึงปี 2568 แม้ว่าสัมปทานที่ให้กับเอกชนจะสิ้นสุดไปก่อนแล้ว ขณะที่ฝั่ง กสทช. เห็นว่า สิทธิในการใช้คลื่นย่อมสิ้นสุดลงพร้อมกับการหมดสัญญาสัมปทาน
____________________________
"ไอซีที" เล็งยื่นศาล รธน. ตีความสิทธิใช้คลื่น 900–1800 MHz ของ"ทีโอที-แคท"
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซี) ได้เตรียมศึกษาแนวทางการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ที่อยู่ภายใต้สัมปทานของบมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม(แคท)
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงศึกษาความเป็นไปได้ในการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ของทีโอทีและ แคท เนื่องจากที่ผ่านมาทั้งสองรัฐวิสาหกิจและคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ยังตีความเรื่องสิทธิในการใช้คลื่นภายใต้สัมปทานซึ่งได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 80 ไม่ตรงกัน โดยฝั่งรัฐวิสาหกิจเห็นว่า คลื่นโทรคมนาคมที่ได้รับสิทธิการใช้งานมาก่อนที่จะมี กสทช. ควรจะต้องได้สิทธิใช้งานต่อตามใบอนุญาตจนถึงปี 2568 แม้ว่าสัมปทานที่ให้กับเอกชนจะสิ้นสุดไปก่อนแล้ว ขณะที่ฝั่ง กสทช. เห็นว่า สิทธิในการใช้คลื่นย่อมสิ้นสุดลงพร้อมกับการหมดสัญญาสัมปทาน
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทฟ้องร้องกัน ในขณะที่ทาง กสทช. กำลังเตรียมการประมูลคลื่นภายใต้สัมปทานอย่าง 900 MHz และ 1800 MHz จึงน่าจะให้ทางศาลรัฐธรรมนูญช่วยวินิจฉัยให้ชัดเจนว่ากรอบความคุ้มครองของรัฐธรรมนูญครอบคลุมแค่ไหน
“หากศึกษาแล้วทางไอซีทีสามารถยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้เองก็ให้ทางปลัดกระทรวงรีบดำเนินการทันที แต่ถ้าดำเนินการเองไม่ได้ก็ต้องดูช่องทางว่าจะผ่านไปทางใดได้บ้าง”
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437571708
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงศึกษาความเป็นไปได้ในการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ของทีโอทีและ แคท เนื่องจากที่ผ่านมาทั้งสองรัฐวิสาหกิจและคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ยังตีความเรื่องสิทธิในการใช้คลื่นภายใต้สัมปทานซึ่งได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 80 ไม่ตรงกัน โดยฝั่งรัฐวิสาหกิจเห็นว่า คลื่นโทรคมนาคมที่ได้รับสิทธิการใช้งานมาก่อนที่จะมี กสทช. ควรจะต้องได้สิทธิใช้งานต่อตามใบอนุญาตจนถึงปี 2568 แม้ว่าสัมปทานที่ให้กับเอกชนจะสิ้นสุดไปก่อนแล้ว ขณะที่ฝั่ง กสทช. เห็นว่า สิทธิในการใช้คลื่นย่อมสิ้นสุดลงพร้อมกับการหมดสัญญาสัมปทาน
____________________________
"ไอซีที" เล็งยื่นศาล รธน. ตีความสิทธิใช้คลื่น 900–1800 MHz ของ"ทีโอที-แคท"
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซี) ได้เตรียมศึกษาแนวทางการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ที่อยู่ภายใต้สัมปทานของบมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม(แคท)
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงศึกษาความเป็นไปได้ในการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ของทีโอทีและ แคท เนื่องจากที่ผ่านมาทั้งสองรัฐวิสาหกิจและคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ยังตีความเรื่องสิทธิในการใช้คลื่นภายใต้สัมปทานซึ่งได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 80 ไม่ตรงกัน โดยฝั่งรัฐวิสาหกิจเห็นว่า คลื่นโทรคมนาคมที่ได้รับสิทธิการใช้งานมาก่อนที่จะมี กสทช. ควรจะต้องได้สิทธิใช้งานต่อตามใบอนุญาตจนถึงปี 2568 แม้ว่าสัมปทานที่ให้กับเอกชนจะสิ้นสุดไปก่อนแล้ว ขณะที่ฝั่ง กสทช. เห็นว่า สิทธิในการใช้คลื่นย่อมสิ้นสุดลงพร้อมกับการหมดสัญญาสัมปทาน
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทฟ้องร้องกัน ในขณะที่ทาง กสทช. กำลังเตรียมการประมูลคลื่นภายใต้สัมปทานอย่าง 900 MHz และ 1800 MHz จึงน่าจะให้ทางศาลรัฐธรรมนูญช่วยวินิจฉัยให้ชัดเจนว่ากรอบความคุ้มครองของรัฐธรรมนูญครอบคลุมแค่ไหน
“หากศึกษาแล้วทางไอซีทีสามารถยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้เองก็ให้ทางปลัดกระทรวงรีบดำเนินการทันที แต่ถ้าดำเนินการเองไม่ได้ก็ต้องดูช่องทางว่าจะผ่านไปทางใดได้บ้าง”
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437571708
ไม่มีความคิดเห็น: