Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2559 TOT 3G 2100 กับ AIS ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ พร้อมคาดว่าจะพิจารณาได้ภายในปี 2559 นี้ เพราะหากลงนามสัญญายังช้าก็ยิ่งกระทบกับโอกาสในการหารายได้โดยตรงให้กับทีโอที และจะทำให้ทีโอที มีค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย ติดลบต่อปี จำนวน 10,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก




นายมนต์ชัย กล่าวถึงความคืบหน้าการทำสัญญาเป็นพันธมิตรให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ พร้อมคาดว่าจะพิจารณาได้ภายในปี 2559 นี้ เพราะหากลงนามสัญญายังช้าก็ยิ่งกระทบกับโอกาสในการหารายได้โดยตรงให้กับทีโอที และจะทำให้ทีโอที มีค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย ติดลบต่อปี จำนวน 10,000 ล้านบาท และทั้งปีจะทำให้ทีโอทีขาดทุนถึง 10,000 ล้านบาทขณะเดียวกันทีโอทียังมีค่าใช้จ่ายในการเออร์ลี่รีไทร์พนักงานจากเป้า 1,300 คน สูงถึงจำนวน 3,000 ล้านบาท









____________________________________


นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอที เปิดเผยว่า ในปี 2560 ทีโอทีมีแผนเปิดให้บริการอินเตอร์เนตประจำที่แบบไร้สาย(ฟิกส์ไลน์ บรอดแบนด์) ภายใต้เทคโนโลยีแอลทีอี บนคลื่นความถี่ย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)ซึ่งเป็นคลื่นของ ทีโอที มีความจุ (แบนด์วิธ) จำนวน 60 MHz มีอายุสัมปทานถึงปี 2568 คาดว่าจะสร้างรายได้ต่อปีราว 10,000 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิราว 3,000 ล้านบาท ล่าสุดขณะนี้ทีโอทีอยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาจัดทำข้อกำหนดเงื่อนไข (ทีโออาร์) และดำเนินการหาพันธมิตรทางธุรกิจ

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวทีโอที ได้เปิดให้ทดลองการให้บริการไวไฟ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส แล้วเมื่อต้นเดือนส.ค.2559 ที่ผ่านมา จากสถานีหมอชิต ถึงสถานีแบริ่ง และทำการทดลองเป็นเวลา 3 เดือน และฟิกส์ไลน์บรอดแบนด์
ทีโอทีจะเปิดให้ทดลองที่จังหวัด ราชบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในการให้บริการมากที่สุด

นายมนต์ชัย กล่าวถึงความคืบหน้าการทำสัญญาเป็นพันธมิตรให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ พร้อมคาดว่าจะพิจารณาได้ภายในปี 2559 นี้ เพราะหากลงนามสัญญายังช้าก็ยิ่งกระทบกับโอกาสในการหารายได้โดยตรงให้กับทีโอที และจะทำให้ทีโอที มีค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย ติดลบต่อปี จำนวน 10,000 ล้านบาท และทั้งปีจะทำให้ทีโอทีขาดทุนถึง 10,000 ล้านบาทขณะเดียวกันทีโอทียังมีค่าใช้จ่ายในการเออร์ลี่รีไทร์พนักงานจากเป้า 1,300 คน สูงถึงจำนวน 3,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2559 ทีโอทีได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการใช้ทรัพยากรร่วมกันในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับ การประปานครหลวง (กปน.) เพื่อให้บริการกับประชาชนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศสนองนโยบาย ดิจิตอลอีโคโนมีของรัฐบาล

http://www.naewna.com/business/231705

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.