Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

กสิกรไทยชี้ Jas ขาย JASIF มีลุ้นเข้าประมูล และ TRUE ได้ 1800Mhz 1 slot ส่วน DTAC ขอร้องงดกฏ N-1แถมลดราคาคลื่น 1800 , 850


นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) กล่าวว่า จากการวิเคราะห์การประมูลคลื่นความถี่ในไทยในรอบใหม่นี้โดย NERA Economic Consulting ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ DTAC ในการให้คำแนะนำการประมูลคลื่นความถี่รอบนี้ ของ DTAC ระบุว่าการกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz และ 1800 MHz ที่กำหนดราคาตั้งต้น (Reserve Price) โดยใช้ราคาชนะประมูลของปี 58 สูงเกินไป เพราะราคาในครั้งนั้นเป็นช่วงที่ไม่ปกติ เพราะมีผู้เข้าประมูลรายใหม่ คือ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) เข้ามาแข่งขันจนราคาขึ้นมาสูงจนในที่สุดก็ไม่สามารถชำระค่าคลื่นได้ และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ เอไอเอส และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ยอมจ่ายค่าประมูลในราคาสูง เพราะอยู่ในช่วงที่สัญญาสัมปทานใกล้หมดอายุจึงจำเป็นต้องการคลื่นความถี่ "ในการตั้งราคาประมูลสูง มีโอกาสที่เอไอเอส ทรู ไม่เข้าร่วมก็เป็นไปได้ และก็ยิ่งทำให้คลื่นที่ออกประมูลน้อยลง (จากกฎ N-1) จากที่ไทยมีคลื่นที่ใช้อยู่น้อยอยู่แล้ว ที่มี 320 MHz จะส่งผล Network Quality" นายนฤพนธ์ กล่าว นายฮานส์ อีลเล ที่ปรึกษาอาวุโส NERA Economic Consulting ได้แสดงความเป็นห่วงต่อการประมูลคลื่นความถี่ของ กสทช.ครั้งนี้ใน 2 ประเด็น ได้แก่ การกำหนดราคาตั้งต้นที่สูงเป็นพิเศษ โดยอ้างอิงราคาประมูลสูงสุดในปี 58 ซึ่งเป็นราคาที่สูงโดยราคาประมูลคลื่น 900 MHz สูงกว่าราคาเฉลี่ยในตลาดถึง 6 เท่า ที่มีราคาเฉลี่ย 5 พันล้านบาทต่อคลื่น 5 MHz และคลื่น 1800 MHz ที่ราคาสูงกว่า 3 เท่าของราคาตลาดที่มีราคาเฉลี่ย 8 พันล้านบาทต่อ 15 MHz ก็มีความเสี่ยงที่อาจจะขายคลื่นไม่หมด และกระทบกับการลงทุน เพราะหากงบการลงทุนใช้ไปในการจ่ายค่าประมูลไป 70-80% แล้วก็จะเหลืองบลงทุนจริงเพียง 20-30% หรือชะลอการลงทุน โดยราคาตั้งต้นการประมูลที่สูงไม่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าประมูล และจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภค โดยจะทำให้คุณภาพโครงข่ายต่ำลง และค่าบริการสูงขึ้น ส่วนอีกประเด็นคือ กฎ N-1 ที่ต้องมีผู้เข้าประมูลมากกว่าจำนวนใบอนุญาต กรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยราย จะไม่นำคลื่นความถี่ออกมาประมูลนั้น จะยิ่งทำให้จำนวนคลื่นความถี่ที่ใช้ในประเทศไทยน้อยกว่าประเทศอื่น โดยปัจจุบันมีจำนวน 320 MHz ก็มีจำนวนต่ำจะส่งผลต่อคุณภาพโครงข่ายที่ความเร็ว (speed) ของการใช้งานดาต้าลดลง หากไม่เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ย่อมเกิดผลเสีย เพราะไทยมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ 3 ราย กสทช.ควรจะวางหลักเกณฑ์ให้ดึงดูดผู้เข้าร่วมประมูล นายอีลเล เสนอให้ กสทช.ยกเลิกกฎ N-1 เพราะเป็นเกณฑ์ที่ไม่เหมาะสม และให้เปลี่ยนการกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลใหม่ที่เหมาะสมและให้ราคาเป็นไปตามการประมูลที่จะกำหนดความต้องการคลื่น นอกจากนี้เสนอให้มีการจัดทำแผนงานการใช้คลื่นความถี่ นำออกมาประมูล ได้แก่คลื่น 2600 MHz 2300 MHz เป็นต้น ทั้งนี้ NERA จะเข้าร่วมการประชุมรับฟังแสดงความคิดเห็นต่อร้างหลักเกณฑ์คลื่นความถี่ 900 MHz ละ 1800 MHz ในวันจันทร์ที่ 18 ธ.ค.นี้ ขณะที่นายนฤพนธ์ กล่าวว่า DTAC จะเข้าร่วมและเสนอความคิดเห็นด้วย และในการประมูลรอบนี้ DTAC เป็นผู้มีส่วนได้-เสียชัดเจน อนึ่ง สาระสำคัญของร่างหลักเกณฑ์การประมูลได้กำหนดให้มีการประมูลคลื่น 900 MHz ขนาด 5 MHz จำนวน 1 ใบอนุญาต โดยกำหนดราคาเริ่มต้น 37,988 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี ส่วนคลื่น 1800 MHz จะนำมาประมูล 45 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 MHz ราคาเริ่มต้นที่ 37,457 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี สำหรับหลักเกณฑ์ในการประมูลคลื่น 1800 MHz การเคาะราคาจะต้องมีจำนวนผู้เข้าประมูลมากกว่าจำนวนใบอนุญาต ผู้ชนะคือผู้ให้ราคาสูงสุดเมื่อสิ้นสุดการเคาะราคา คลื่น1800 เมกกะเฮิรตซ์ มี 3 ชุดคลื่นความถี่ หากมีผู้เข้าประมูล 3 รายจะมีการเคาะราคา 2 ใบอนุญาต หากมีผู้เข้าประมูล 2 รายจะมีการเคาะราคา อ1 ใบอนุญาต และหากมีผู้เข้าประมูล 1 รายจะขยายเวลาการประมูลออกไป 30 วันจนกว่าจะมีผู้เข้าประมูลเพิ่มขึ้น หลักทรัพย์กสิกรไทย ระบุ คาดว่า JAS จะไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่รอบต่อไป เนื่องจากปัญหาด้านการเงินและข้อเสียเปรียบทางด้านการแข่งขัน โดยธุรกิจ fixed broadband ของบริษัทฯ กำลังเติบโตช้าลงจากการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะที่ TRUE ขายทรัพย์สินของ JAS ไปให้แก่กองทุน JASIF เป็นเรื่องยากที่จะประมูลเนื่องจาก 1. ต้นทุนที่ขัดขวางและบทลงโทษจากการประมูล 2. การแข่งขันและข้อจำกัดทางการเงิน ซึ่งคิดว่ายากที่ JAS จะกลับมาประมูล แต่ยังคงไม่ตัดความเป็นไปได้ออกทั้งหมด โดยเฉพาะหากหากบริษัทสามารถขายทรัพย์สินให้กอง JASIF และได้รับทุนมากกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท ก่อนวันประมูล ซึ่งหมายความว่าบริษัทฯต้องการ Bank Guarantor ซึ่งไม่ใช้เรื่องง่าย DTAC จะต้องใช้เงินลงทุนและจ่ายค่าคลื่นความถี่จำนวนมากซึ่งจะส่งผลกระทบกับกระแสเงินสดอิสระในอนาคตอันไกล้รวมทั้งการจ่ายเงินปันผล หาก DTAC ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 850 MHz เราคาดว่า Capex รวม ( ไม่รวมการชำระคลื่นความถี่ ) จะอยู่ที่ 220,000 บาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า ( ระหว่างปี 2561 - 2565 ) เทียบที่น้อยกว่า 8.0 หมื่นลบ. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ( ระหว่างปี 2556- 2560 ) ซึ่งเงินส่วนนี้คาบเกี่ยวกับช่วงเริ่มต้นของเงินลงทุน 5 ปี ( ระหว่าปี 2563- 2565 ) โดยหากชนะได้ 1800 MHz และ 850 MHz ก็ยังเสียเปรียบคู่แข่งเรื่องคลื่นอยู่ดี การที่ กสทช. ชะลอการอนุมัติร่วมทุนกับ TOT ทำให้ DTAC อาจจะทำให้ DTAC ต้องลุ้นกับการประมูลครั้งต่อไปเพิ่มมากขึ้น TRUE มีความอ่อนไหวต่ำต่อการประมูลเนื่องจากจากบริษัทมีคลื่นความถี่ที่เพียงพอในปัจจุบัน คาดว่า TRUE จะเข้าประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และจากสามารถชนะการประมูลอย่างน้อย 1 ( slot ) ซึ่งจะสร้างความแข็งแรงในการครอบครองคลื่นความถี่ โดยเงินลงทุนมากจากการขายทรัพย์สิน DIF ประมาณการเงินสดสุทธิจากการขาย 4.85 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันงบดุลและจะทำให้บริษัทเข้าประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ หลักทรัพย์กสิกรไทย ภาพจาก mxphone

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.