01 ตุลาคม 2555 ( บทความ ) "3 จี"ระบบไฮเทค... แต่ประมูลล้าหลัง
( บทความ ) "3 จี"ระบบไฮเทค... แต่ประมูลล้าหลัง
ประเด็นหลัก
ตรงนี้น่าคิด การประมูลอย่างนี้เท่ากับเรากำลังนำ "สินค้าทันสมัย" มาขายใน "ระบบการค้าแบบเก่าแก่" ใช้รูปแบบ "ซีตมันนี่" คือเปิดประมูลใช้เม็ดเงินเป็นตัวชี้ขาดใครได้หรือไม่ได้แล้วนำ รายได้เข้ารัฐ เหมือนสมัยสี่สิบปีก่อนที่มีการเปิดประมูลโรงเหล้าแข่งกันใครให้ราคาสูงก็ ได้ไปแต่ปรากฏว่าคนที่เสนอราคาสูงๆ ทำไม่ได้ในที่สุดก็ขอแก้สัญญา
แต่ ครั้งนี้ต่างจากประมูลสมัยก่อนตรงไม่ได้ตั้งราคาให้แข่งกัน แต่ตั้งราคาขายไว้เลยรายละไม่เกิน 3 ชุด ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าเดิมไม่ว่าจะเป็น 3 ยักษ์ใหญ่เอไอเอส ดีแทค ทรู คงได้ชัวร์ เท่ากับว่าเปิดโอกาสให้รายเก่า รายเล็กรายน้อยหน้าใหม่ที่มีความรู้ความสามารถไม่มีโอกาส
มัน ควรจะหมดสมัยที่รัฐจะแสวงหากำไรจากโครงการต่างๆ ด้วยการประมูลเหมือนที่ผ่านๆ มา แทนที่รัฐจะเอาเม็ดเงิน 4 หมื่นกว่าล้านบาทที่ได้จากการเปิดประมูลไปเข้าคลังก็แปลงเม็ดเงินจำนวนนี้มา ลดราคาให้ประชาชนได้ใช้ของราคาถูกๆ จะเป็นประโยชน์กว่า
ที่สำคัญไม่ ควรเอื้อเฉพาะรายใหญ่ๆ ควรตีกรอบกว้างๆ ใครมีคุณสมบัติตามที่กสทช.ตีกรอบก็ทำได้เป็นการเปิดให้รายอื่นๆ เข้ามาได้เสรี ไม่ใช่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรายใหญ่ๆ เปิดทาง "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก"
_______________________________
"3 จี"ระบบไฮเทค... แต่ประมูลล้าหลัง
หาก ไม่มีอะไรพลิกคาดว่าราวๆ กลางเดือนตุลาฯ ที่จะถึงนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ "กสทช." คงได้ฤกษ์เปิดประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์ 3G ประเด็นที่คนสนใจคือ กสทช.ได้แบ่งคลื่นความถี่สำหรับใช้ประมูลที่มีอยู่ 45 เมกะเฮิร์ตซ์ ออกเป็น 9 ชุด ชุดละ 5 เมกะเฮิร์ตซ์ ราคาประมูลชุดละ 4,500 ล้านบาท โดยผู้ประมูลแต่ละรายจะประมูลได้ไม่เกิน 3 ชุด หรือรายละ 15 เมกะเฮิร์ตซ์
นั่น แปลว่า แต่ละรายจะต้องมีต้นทุนเริ่มต้นในการประมูล 13,500 ล้านบาทรวมเม็ดเงินที่รัฐจะได้เข้ากระเป๋าเบาะๆ ไม่ต่ำกว่า 40,500 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้ คาดว่าคงไม่พ้นตกอยู่ในมือ เอไอเอส ดีแทค ทรู ยักษ์ใหญ่ในวงการ
ตรงนี้น่าคิด การประมูลอย่างนี้เท่ากับเรากำลังนำ "สินค้าทันสมัย" มาขายใน "ระบบการค้าแบบเก่าแก่" ใช้รูปแบบ "ซีตมันนี่" คือเปิดประมูลใช้เม็ดเงินเป็นตัวชี้ขาดใครได้หรือไม่ได้แล้วนำ รายได้เข้ารัฐ เหมือนสมัยสี่สิบปีก่อนที่มีการเปิดประมูลโรงเหล้าแข่งกันใครให้ราคาสูงก็ ได้ไปแต่ปรากฏว่าคนที่เสนอราคาสูงๆ ทำไม่ได้ในที่สุดก็ขอแก้สัญญา
แต่ ครั้งนี้ต่างจากประมูลสมัยก่อนตรงไม่ได้ตั้งราคาให้แข่งกัน แต่ตั้งราคาขายไว้เลยรายละไม่เกิน 3 ชุด ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าเดิมไม่ว่าจะเป็น 3 ยักษ์ใหญ่เอไอเอส ดีแทค ทรู คงได้ชัวร์ เท่ากับว่าเปิดโอกาสให้รายเก่า รายเล็กรายน้อยหน้าใหม่ที่มีความรู้ความสามารถไม่มีโอกาส
สงสัยมา นานทำไมบ้านเราเวลามีโครงการอะไรสักอย่างไม่ว่าจะเป็นถนน ทางด่วน รถไฟฟ้า คิดได้เฉพาะแค่ประมูลเพื่อเอา รายได้เข้ารัฐ ซึ่งรัฐเอาไปพัฒนาอะไรต่อมิอะไรไม่รู้ เม็ดเงินรั่วไหลเข้ากระเป๋าใครเท่าไหร่ไม่รู้
เม็ดเงินในการประมูลที่บริษัทเอกชนจ่ายไป สุดท้ายก็มาเก็บที่ผู้บริโภค รัฐได้เงินแต่ภาระหนักมาตกที่กระเป๋าชาวบ้านทุกที
มัน ควรจะหมดสมัยที่รัฐจะแสวงหากำไรจากโครงการต่างๆ ด้วยการประมูลเหมือนที่ผ่านๆ มา แทนที่รัฐจะเอาเม็ดเงิน 4 หมื่นกว่าล้านบาทที่ได้จากการเปิดประมูลไปเข้าคลังก็แปลงเม็ดเงินจำนวนนี้มา ลดราคาให้ประชาชนได้ใช้ของราคาถูกๆ จะเป็นประโยชน์กว่า
ที่สำคัญไม่ ควรเอื้อเฉพาะรายใหญ่ๆ ควรตีกรอบกว้างๆ ใครมีคุณสมบัติตามที่กสทช.ตีกรอบก็ทำได้เป็นการเปิดให้รายอื่นๆ เข้ามาได้เสรี ไม่ใช่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรายใหญ่ๆ เปิดทาง "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก"
แถมยังกินมาถึงกุ้งฝอยอย่างผู้บริโภคต้องตกเป็นเหยื่ออีกด้วย
ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1348828780&grpid=03&catid=02&subcatid=0200
ประเด็นหลัก
ตรงนี้น่าคิด การประมูลอย่างนี้เท่ากับเรากำลังนำ "สินค้าทันสมัย" มาขายใน "ระบบการค้าแบบเก่าแก่" ใช้รูปแบบ "ซีตมันนี่" คือเปิดประมูลใช้เม็ดเงินเป็นตัวชี้ขาดใครได้หรือไม่ได้แล้วนำ รายได้เข้ารัฐ เหมือนสมัยสี่สิบปีก่อนที่มีการเปิดประมูลโรงเหล้าแข่งกันใครให้ราคาสูงก็ ได้ไปแต่ปรากฏว่าคนที่เสนอราคาสูงๆ ทำไม่ได้ในที่สุดก็ขอแก้สัญญา
แต่ ครั้งนี้ต่างจากประมูลสมัยก่อนตรงไม่ได้ตั้งราคาให้แข่งกัน แต่ตั้งราคาขายไว้เลยรายละไม่เกิน 3 ชุด ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าเดิมไม่ว่าจะเป็น 3 ยักษ์ใหญ่เอไอเอส ดีแทค ทรู คงได้ชัวร์ เท่ากับว่าเปิดโอกาสให้รายเก่า รายเล็กรายน้อยหน้าใหม่ที่มีความรู้ความสามารถไม่มีโอกาส
มัน ควรจะหมดสมัยที่รัฐจะแสวงหากำไรจากโครงการต่างๆ ด้วยการประมูลเหมือนที่ผ่านๆ มา แทนที่รัฐจะเอาเม็ดเงิน 4 หมื่นกว่าล้านบาทที่ได้จากการเปิดประมูลไปเข้าคลังก็แปลงเม็ดเงินจำนวนนี้มา ลดราคาให้ประชาชนได้ใช้ของราคาถูกๆ จะเป็นประโยชน์กว่า
ที่สำคัญไม่ ควรเอื้อเฉพาะรายใหญ่ๆ ควรตีกรอบกว้างๆ ใครมีคุณสมบัติตามที่กสทช.ตีกรอบก็ทำได้เป็นการเปิดให้รายอื่นๆ เข้ามาได้เสรี ไม่ใช่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรายใหญ่ๆ เปิดทาง "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก"
_______________________________
"3 จี"ระบบไฮเทค... แต่ประมูลล้าหลัง
หาก ไม่มีอะไรพลิกคาดว่าราวๆ กลางเดือนตุลาฯ ที่จะถึงนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ "กสทช." คงได้ฤกษ์เปิดประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์ 3G ประเด็นที่คนสนใจคือ กสทช.ได้แบ่งคลื่นความถี่สำหรับใช้ประมูลที่มีอยู่ 45 เมกะเฮิร์ตซ์ ออกเป็น 9 ชุด ชุดละ 5 เมกะเฮิร์ตซ์ ราคาประมูลชุดละ 4,500 ล้านบาท โดยผู้ประมูลแต่ละรายจะประมูลได้ไม่เกิน 3 ชุด หรือรายละ 15 เมกะเฮิร์ตซ์
นั่น แปลว่า แต่ละรายจะต้องมีต้นทุนเริ่มต้นในการประมูล 13,500 ล้านบาทรวมเม็ดเงินที่รัฐจะได้เข้ากระเป๋าเบาะๆ ไม่ต่ำกว่า 40,500 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้ คาดว่าคงไม่พ้นตกอยู่ในมือ เอไอเอส ดีแทค ทรู ยักษ์ใหญ่ในวงการ
ตรงนี้น่าคิด การประมูลอย่างนี้เท่ากับเรากำลังนำ "สินค้าทันสมัย" มาขายใน "ระบบการค้าแบบเก่าแก่" ใช้รูปแบบ "ซีตมันนี่" คือเปิดประมูลใช้เม็ดเงินเป็นตัวชี้ขาดใครได้หรือไม่ได้แล้วนำ รายได้เข้ารัฐ เหมือนสมัยสี่สิบปีก่อนที่มีการเปิดประมูลโรงเหล้าแข่งกันใครให้ราคาสูงก็ ได้ไปแต่ปรากฏว่าคนที่เสนอราคาสูงๆ ทำไม่ได้ในที่สุดก็ขอแก้สัญญา
แต่ ครั้งนี้ต่างจากประมูลสมัยก่อนตรงไม่ได้ตั้งราคาให้แข่งกัน แต่ตั้งราคาขายไว้เลยรายละไม่เกิน 3 ชุด ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าเดิมไม่ว่าจะเป็น 3 ยักษ์ใหญ่เอไอเอส ดีแทค ทรู คงได้ชัวร์ เท่ากับว่าเปิดโอกาสให้รายเก่า รายเล็กรายน้อยหน้าใหม่ที่มีความรู้ความสามารถไม่มีโอกาส
สงสัยมา นานทำไมบ้านเราเวลามีโครงการอะไรสักอย่างไม่ว่าจะเป็นถนน ทางด่วน รถไฟฟ้า คิดได้เฉพาะแค่ประมูลเพื่อเอา รายได้เข้ารัฐ ซึ่งรัฐเอาไปพัฒนาอะไรต่อมิอะไรไม่รู้ เม็ดเงินรั่วไหลเข้ากระเป๋าใครเท่าไหร่ไม่รู้
เม็ดเงินในการประมูลที่บริษัทเอกชนจ่ายไป สุดท้ายก็มาเก็บที่ผู้บริโภค รัฐได้เงินแต่ภาระหนักมาตกที่กระเป๋าชาวบ้านทุกที
มัน ควรจะหมดสมัยที่รัฐจะแสวงหากำไรจากโครงการต่างๆ ด้วยการประมูลเหมือนที่ผ่านๆ มา แทนที่รัฐจะเอาเม็ดเงิน 4 หมื่นกว่าล้านบาทที่ได้จากการเปิดประมูลไปเข้าคลังก็แปลงเม็ดเงินจำนวนนี้มา ลดราคาให้ประชาชนได้ใช้ของราคาถูกๆ จะเป็นประโยชน์กว่า
ที่สำคัญไม่ ควรเอื้อเฉพาะรายใหญ่ๆ ควรตีกรอบกว้างๆ ใครมีคุณสมบัติตามที่กสทช.ตีกรอบก็ทำได้เป็นการเปิดให้รายอื่นๆ เข้ามาได้เสรี ไม่ใช่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรายใหญ่ๆ เปิดทาง "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก"
แถมยังกินมาถึงกุ้งฝอยอย่างผู้บริโภคต้องตกเป็นเหยื่ออีกด้วย
ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1348828780&grpid=03&catid=02&subcatid=0200
ไม่มีความคิดเห็น: