02 พฤษภาคม 2555 AIS-DTAC กริ๊ดแตก!! จ้องรีดภาษีมือถือ-SMS รื้อฟื้นเก็บ3%จากค่าโทรศัพท์-ส่งข้อความ ( ทั้งที่จ่าย เสียภาษี 7% อยู่แล้ว )
AIS-DTAC กริ๊ดแตก!! จ้องรีดภาษีมือถือ-SMS รื้อฟื้นเก็บ3%จากค่าโทรศัพท์-ส่งข้อความ ( ทั้งที่จ่าย เสียภาษี 7% อยู่แล้ว )
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ กระทรวงการคลัง จะให้ กรมสรรพสามิตเสนอพิจารณาทบทวน "ภาษีสรรพสามิตบริการโทรคมนาคม"จากการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์มือถือ และบริการส่งข้อความ (เอสเอ็มเอส) เพราะการเก็บภาษีสรรพสามิตดังกล่าวสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย เพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบก็ดำเนินการได้ ทันที
ภาษีสรรพสามิตจากบริการโทรคมนาคมที่กล่าวถึงนี้เดิมเคยจัดเก็บในอัตรา 10% และมีรายได้เข้ารัฐปีละ 15,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2549-2550 แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550เพราะมีปัญหาทางการเมืองและข้อกฎหมาย จากกรณีแปลงค่าสัมปทานโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต
ดีแทค-เอไอเอสโวย
อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีนั้นจะต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่ายไม่เป็นการผลักภาระ ให้กับฝ่ายใดฝ่ายที่สำคัญการเก็บภาษีนั้นต้องเก็บภาษีเพื่อประโยชน์ต่อส่วน รวมไม่ควรเก็บภาษีเพื่อชดเชยส่วนใดส่วนหนึ่ง ขณะที่ผู้บริโภคก็เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 7% อยู่แล้ว
_________________________________________________________
จ้องรีดภาษีมือถือ-SMS รื้อฟื้นเก็บ3%จากค่าโทรศัพท์-ส่งข้อความ
การ ทรวงการคลังเรียกประชุม 3 กรมหาช่องรีดภาษีชดเชยรายได้สูญหายแสนล้านจากผลกระทบน้ำท่วมและมาตรการต่อ อายุลดภาษีน้ำมันดีเซล จ้องฟื้นนโยบายจัดเก็บ "ภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม"จากค่าโทรศัพท์พื้นฐาน มือถือและSMS เผยตั้งอัตราแค่ 3% หวังได้เงินเข้าคลังปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท ผู้บริหารเอไอเอสและดีแทควอนอย่าผลักภาระให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
5เดือนแรกภาษีหลุดเป้า
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 138,979 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,310 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2555 (ตุลาคม 2554 - กุมภาพันธ์ 2555) รายได้รัฐบาลสุทธิมีจำนวน 670,664 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 25,320 ล้านบาท หรือ 3.9% (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.5%) เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร กรมศุลกากร และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 12,894 ล้านบาท 2,881ล้านบาท และ 4,204 ล้านบาท ตามลำดับ (ดูตารางประกอบ)
"นอกจากการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาจะสูงกว่าเป้าหมายแล้ว การดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล จะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้มีทิศทางเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การขยายเวลาการปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลของรัฐบาล จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2555 นี้"นายสมชัยกล่าว
อย่างไรก็ตามในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 141,624 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 8,883 ล้านบาท หรือ 5.9% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 24.0%) สาเหตุสำคัญมาจากการจัดเก็บภาษีรถยนต์ได้ต่ำกว่าประมาณการ 11,150 ล้านบาท หรือ 26.1% เนื่องจากโรงงานผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,983 ล้านบาท หรือ 10.6% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 61.9%) ซึ่งเป็นผลจากการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 0.005 บาท อย่างไรก็ดี ภาษียาสูบและภาษีเบียร์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,228 ล้านบาท และ 1,827 ล้านบาท คิดเป็น 14.4% และ 7.0% ตามลำดับ
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า ได้นัดหมายผู้บริหารกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร เพื่อหารือถึงช่องทางหารายได้ชดเชยจากส่วนที่หายไปจากนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายการลดภาษีน้ำมันดีเซลที่สูญเสียรายได้ไปประมาณ 9,000 ล้านบาทต่อเดือน
กรมสรรพากรในปัจจุบันมีการยกเว้นหรือลดหย่อนเป็นจำนวนมาก จึงต้องเข้าไปดูว่าอะไรที่ควรยกเลิกแต่ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าไปจัดเก็บ ภาษีทั้งหมดเพียงแต่จะดูในรายการที่เหมาะสม เช่น การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในบางธุรกิจมีถึง 22 รายการ เช่น การขายพืชผลทางการเกษตร อาหารสัตว์ ปุ๋ย หนังสือพิมพ์ เคมีภัณฑ์ การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น อีกทั้งเตรียมมอบให้กรมสรรพากรศึกษาแนวทางจัดเก็บเงินได้บุคคลธรรมดา ในอัตราเดียวสำหรับทุกขั้นของรายได้ โดยหลักของการศึกษานั้นให้พิจารณาถึงผลที่จะมีต่อผู้เสียภาษี และการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ทั้งนี้ การจัดเก็บเงินได้บุคคลธรรมดาจะขึ้นอยู่กับฐานรายได้ โดยมีอัตราการจัดเก็บแบบก้าวหน้าสูงสุดที่ 37%
" ผมจะมอบนโยบายให้กรมสรรพากรเขาไปคิดดูว่า ถ้าจะจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราเดียวกันทั้งหมด โดยไม่กระทบต่อฐานรายได้รวมนั้น จะทำได้ไหม และ ในส่วนแนวคิดที่กรมจะให้สามีกับภรรยาแยกยื่นรายได้เพื่อเสียภาษีนั้น ผมก็เห็นด้วย แม้จะกระทบรายได้แต่ต้องการสนับสนุนให้ฐานภาษีกว้างขึ้น เป็นเรื่องที่น่ายินดี และข้อเสนอจัดเก็บภาษีเป็นขั้นบันไดที่แคบลงก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ" นายทนุศักดิ์กล่าว
สำหรับกรมสรรพสามิตนั้นนายทนุศักดิ์เห็นว่า ยังมีหลายรายการสินค้าที่ควรมีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี เช่น ภาษีไวน์ ภาษีบุหรี่ และภาษีมือถือ โดยเฉพาะกรณีของสินค้าไวน์นั้น ปัจจุบันเก็บภาษีในอัตราสูง ทำให้เกิดการลักลอบนำเข้าสินค้าดังกล่าวจำนวนมาก ทำให้กรมต้องสูญเสียรายได้ จึงมีความคิดว่า ควรเก็บภาษีในอัตราที่น้อยลง และคิดภาษีต่อขวดเป็นอัตราเดียวเหมือนกันทุกประเภท
โต้ง"ลั่นทบทวน 4กลุ่ม
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังดูแลในการปรับโครงสร้างภาษีซึ่งต้องดูให้ครบถ้วนทั้งระบบ เพราะทุกตัวเกี่ยวเนื่องกัน ไม่เช่นนั้นจะทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป
ขณะนี้กำลังพิจารณาการปรับภาษีทั้ง 4 กลุ่มและภาษีอื่นๆ ได้แก่ 1.ภาษีกรมศุลกากร ที่จะลดเพดานภาษีลงจนถึงขั้นยกเลิกภาษี เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคด้านการค้าระหว่างประเทศ ก็มีผลข้างเคียงที่บางประเทศต้องการช่วยเหลือคนในประเทศ จึงออกมาใช้มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น เรื่องความไม่ปลอดภัยในธุรกิจอาหาร ความไม่เป็นมาตรฐาน ทำให้การดำเนินธุรกิจภาคเอกชนมีความลำบาก เพราะต้องใช้วิธีการเดาใจเจ้าหน้าที่ศุลกากร
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไทยจะลดเพดานภาษี จาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้และ 20 % ในปีหน้า ถือว่าใกล้เคียงกับมาเลเซียที่อยู่ 25% แต่ยังสูงกว่าสิงคโปร์ที่อยู่ 17% อย่างไรก็ตามการปรับลดภาษีนิติบุคคลของไทยไม่ได้มีเจตนาที่จะจุดชนวนการแข่ง ขันระหว่างประเทศ แต่การมีอัตราภาษีสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้นักลงทุนต้องเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจลงทุน
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ยังคงยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่มีการปรับภาษีจากปัจจุบันที่ 7% เพราะจะกระทบกับราคาสินค้าโดยตรง ขณะนี้ยังไม่มีเหตุผลที่จะปรับขึ้น และไม่มีความจำเป็นต้องลดลงเพื่อช่วยลดต้นทุนหรือลดราคาสินค้า เพราะเห็นว่าสินค้าบางประเทศมีราคาต่ำกว่าเดิมอยู่แล้ว แต่ยอมรับว่าสินค้าบางรายการมีราคาสูงขึ้นจากต้นทุนจริง ทางกระทรวงพาณิชย์กำลังดูแลอยู่
4 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั่วโลกใช้มาตรฐานเดียวกันที่ ผู้มีรายได้มากจะต้องเสียภาษีอัตราสูง ผู้มีรายได้น้อยก็ต้องเสียภาษีน้อย ดังนั้น อัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยในอัตราก้าวหน้าที่ 0% 10% 20% 30% และ 37% ถือว่าเหมาะสมแล้ว แม้จะมีผู้เรียกร้องว่าเป็นอัตราภาษีที่สูงเกินไป แต่มองว่าการปรับเปลี่ยนอัตราภาษี ต้องมีการพิจารณาทั้งระบบไม่สามารถแยกเป็นรายกรณีใด เพราะจะมีผลต่อพฤติกรรม
นอกจากนี้ ยังมีภาษีสรรพสามิตรถยนต์และน้ำมัน ที่ต้องจัดเก็บภาษีเพื่อนำรายได้ไปปรับปรุงระบบคมนาคมส่วนภาษีสุรา ยาสูบ ถือเป็นการบริโภคสินค้าที่ไม่จำเป็น จึงต้องเก็บภาษีเพื่อนำรายได้ส่งเข้ากองทุนส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อดูแลด้านสาธารณสุข ทางด้านการเก็บภาษีทรัพย์สิน อาทิ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะพิจารณา เพราะการดำเนินการต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ หากเป็นการเก็บภาษีจากสินทรัพย์ที่ไม่ได้สร้างรายรับจะทำให้ผู้ถือครอง ทรัพย์สินมีภาระในการหารายได้มาใช้จ่ายภาษี
จ้องรีดโทรคมนาคม
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ กระทรวงการคลัง จะให้ กรมสรรพสามิตเสนอพิจารณาทบทวน "ภาษีสรรพสามิตบริการโทรคมนาคม"จากการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์มือถือ และบริการส่งข้อความ (เอสเอ็มเอส) เพราะการเก็บภาษีสรรพสามิตดังกล่าวสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย เพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบก็ดำเนินการได้ ทันที
ภาษีสรรพสามิตจากบริการโทรคมนาคมที่กล่าวถึงนี้เดิมเคยจัดเก็บในอัตรา 10% และมีรายได้เข้ารัฐปีละ 15,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2549-2550 แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550เพราะมีปัญหาทางการเมืองและข้อกฎหมาย จากกรณีแปลงค่าสัมปทานโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต
สำหรับความคิดของกระทรวงการคลังที่จะจัดเก็บใหม่ในครั้งนี้มีข้อเสนอว่าจะ จัดเก็บในอัตราต่ำเพียง 3% ด้วยเหตุผลว่าปัจจุบันฐานผู้ใช้บริการมือถือและโทรศัพท์พื้นฐานขยายตัวขึ้น มาก อีกทั้งจะขยายไปยังบริการเอสเอ็มเอสด้วยเพราะถือว่าเป็นการใช้โทรศัพท์มือ ถือรูปแบบหนึ่ง
สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยคิดจะรื้อฟื้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบริการโทรคมนาคมแต่ยังไม่ทันได้ ทำก็มีการยุบสภาเสียก่อน มาถึงรัฐบาลปัจจุบันทางตระกูลชินวัตรก็ไม่ได้ถือหุ้นในกลุ่มชินคอร์ปแล้ว จึงมีความเป็นไปได้มากที่จะเริ่มจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอีกครั้ง เพราะเป็นช่องทางสร้างรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำให้แก่รัฐ" แหล่งข่าวระบุ
ดีแทค-เอไอเอสโวย
ขณะที่นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกิจการองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายที่กระทรวงการคลังมีแผนทบทวนให้จัดเก็บภาษีค่า บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาทิ เช่น การส่งข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอสว่า รัฐบาลไม่ควรเก็บภาษีเพิ่มเติมจากค่าบริการดังกล่าวเพื่อชดเชยรายได้ส่วนที่ ขาดหายไปเพราะจะเป็นการผลักดันภาระให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ แม้ในหลักการภาครัฐมีอำนาจในการเก็บภาษีจากบริการต่างๆอยู่แล้ว อาทิเช่น การจัดเก็บภาษีรายได้จากธุรกิจ,ภาษีการบริโภค และ ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีนั้นจะต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่ายไม่เป็นการผลักภาระ ให้กับฝ่ายใดฝ่ายที่สำคัญการเก็บภาษีนั้นต้องเก็บภาษีเพื่อประโยชน์ต่อส่วน รวมไม่ควรเก็บภาษีเพื่อชดเชยส่วนใดส่วนหนึ่ง ขณะที่ผู้บริโภคก็เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 7% อยู่แล้ว
ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า การเก็บภาษีเป็นเรื่องของที่รัฐต้องการหารายได้และเป็นหน้าที่ของกรมสรรพ สามิตแต่ปัญหาก็คือการเก็บภาษีจากการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่คำถามคือเป็น สินค้าฟุ่มเฟือยหรือไม่ สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการพิจารณา เพราะในปัจจุบันผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เก็บภาษีการบริการจากผู้ บริโภคอยู่แล้วประมาณ 7%
สำหรับจำนวนผู้ใช้บริการเอสเอ็มเอสในแต่ละวันของทั้ง 3ค่ายนั้น ค่ายบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส(เบอร์ 1) มีผู้ส่งข้อความจำนวน 5-6 ล้านข้อความ จากจำนวนลูกค้า32.7ล้านเลขหมาย ขณะที่ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทคมีผู้ส่งข้อความสั้ อยู่ที่ 4 ล้านข้อความจากผู้ใช้บริการ 23.2ล้านเลขหมาย และบริษัททรูมูฟ จำกัดหรือค่ายทรูมูฟนั้นมีผู้ส่งข้อความจำนวนประมาณ 2- 3 ล้านข้อความจากฐานลูกค้าทั้งหมด 18ล้านเลขหมาย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=112770:-sms-3-
&catid=89:2009-02-08-11-24-05&Itemid=417
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ กระทรวงการคลัง จะให้ กรมสรรพสามิตเสนอพิจารณาทบทวน "ภาษีสรรพสามิตบริการโทรคมนาคม"จากการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์มือถือ และบริการส่งข้อความ (เอสเอ็มเอส) เพราะการเก็บภาษีสรรพสามิตดังกล่าวสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย เพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบก็ดำเนินการได้ ทันที
ภาษีสรรพสามิตจากบริการโทรคมนาคมที่กล่าวถึงนี้เดิมเคยจัดเก็บในอัตรา 10% และมีรายได้เข้ารัฐปีละ 15,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2549-2550 แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550เพราะมีปัญหาทางการเมืองและข้อกฎหมาย จากกรณีแปลงค่าสัมปทานโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต
ดีแทค-เอไอเอสโวย
อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีนั้นจะต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่ายไม่เป็นการผลักภาระ ให้กับฝ่ายใดฝ่ายที่สำคัญการเก็บภาษีนั้นต้องเก็บภาษีเพื่อประโยชน์ต่อส่วน รวมไม่ควรเก็บภาษีเพื่อชดเชยส่วนใดส่วนหนึ่ง ขณะที่ผู้บริโภคก็เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 7% อยู่แล้ว
_________________________________________________________
จ้องรีดภาษีมือถือ-SMS รื้อฟื้นเก็บ3%จากค่าโทรศัพท์-ส่งข้อความ
การ ทรวงการคลังเรียกประชุม 3 กรมหาช่องรีดภาษีชดเชยรายได้สูญหายแสนล้านจากผลกระทบน้ำท่วมและมาตรการต่อ อายุลดภาษีน้ำมันดีเซล จ้องฟื้นนโยบายจัดเก็บ "ภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม"จากค่าโทรศัพท์พื้นฐาน มือถือและSMS เผยตั้งอัตราแค่ 3% หวังได้เงินเข้าคลังปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท ผู้บริหารเอไอเอสและดีแทควอนอย่าผลักภาระให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
5เดือนแรกภาษีหลุดเป้า
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 138,979 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,310 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2555 (ตุลาคม 2554 - กุมภาพันธ์ 2555) รายได้รัฐบาลสุทธิมีจำนวน 670,664 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 25,320 ล้านบาท หรือ 3.9% (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.5%) เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร กรมศุลกากร และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 12,894 ล้านบาท 2,881ล้านบาท และ 4,204 ล้านบาท ตามลำดับ (ดูตารางประกอบ)
"นอกจากการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาจะสูงกว่าเป้าหมายแล้ว การดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล จะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้มีทิศทางเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การขยายเวลาการปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลของรัฐบาล จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2555 นี้"นายสมชัยกล่าว
อย่างไรก็ตามในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 141,624 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 8,883 ล้านบาท หรือ 5.9% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 24.0%) สาเหตุสำคัญมาจากการจัดเก็บภาษีรถยนต์ได้ต่ำกว่าประมาณการ 11,150 ล้านบาท หรือ 26.1% เนื่องจากโรงงานผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,983 ล้านบาท หรือ 10.6% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 61.9%) ซึ่งเป็นผลจากการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 0.005 บาท อย่างไรก็ดี ภาษียาสูบและภาษีเบียร์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,228 ล้านบาท และ 1,827 ล้านบาท คิดเป็น 14.4% และ 7.0% ตามลำดับ
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า ได้นัดหมายผู้บริหารกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร เพื่อหารือถึงช่องทางหารายได้ชดเชยจากส่วนที่หายไปจากนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายการลดภาษีน้ำมันดีเซลที่สูญเสียรายได้ไปประมาณ 9,000 ล้านบาทต่อเดือน
กรมสรรพากรในปัจจุบันมีการยกเว้นหรือลดหย่อนเป็นจำนวนมาก จึงต้องเข้าไปดูว่าอะไรที่ควรยกเลิกแต่ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าไปจัดเก็บ ภาษีทั้งหมดเพียงแต่จะดูในรายการที่เหมาะสม เช่น การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในบางธุรกิจมีถึง 22 รายการ เช่น การขายพืชผลทางการเกษตร อาหารสัตว์ ปุ๋ย หนังสือพิมพ์ เคมีภัณฑ์ การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น อีกทั้งเตรียมมอบให้กรมสรรพากรศึกษาแนวทางจัดเก็บเงินได้บุคคลธรรมดา ในอัตราเดียวสำหรับทุกขั้นของรายได้ โดยหลักของการศึกษานั้นให้พิจารณาถึงผลที่จะมีต่อผู้เสียภาษี และการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ทั้งนี้ การจัดเก็บเงินได้บุคคลธรรมดาจะขึ้นอยู่กับฐานรายได้ โดยมีอัตราการจัดเก็บแบบก้าวหน้าสูงสุดที่ 37%
" ผมจะมอบนโยบายให้กรมสรรพากรเขาไปคิดดูว่า ถ้าจะจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราเดียวกันทั้งหมด โดยไม่กระทบต่อฐานรายได้รวมนั้น จะทำได้ไหม และ ในส่วนแนวคิดที่กรมจะให้สามีกับภรรยาแยกยื่นรายได้เพื่อเสียภาษีนั้น ผมก็เห็นด้วย แม้จะกระทบรายได้แต่ต้องการสนับสนุนให้ฐานภาษีกว้างขึ้น เป็นเรื่องที่น่ายินดี และข้อเสนอจัดเก็บภาษีเป็นขั้นบันไดที่แคบลงก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ" นายทนุศักดิ์กล่าว
สำหรับกรมสรรพสามิตนั้นนายทนุศักดิ์เห็นว่า ยังมีหลายรายการสินค้าที่ควรมีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี เช่น ภาษีไวน์ ภาษีบุหรี่ และภาษีมือถือ โดยเฉพาะกรณีของสินค้าไวน์นั้น ปัจจุบันเก็บภาษีในอัตราสูง ทำให้เกิดการลักลอบนำเข้าสินค้าดังกล่าวจำนวนมาก ทำให้กรมต้องสูญเสียรายได้ จึงมีความคิดว่า ควรเก็บภาษีในอัตราที่น้อยลง และคิดภาษีต่อขวดเป็นอัตราเดียวเหมือนกันทุกประเภท
โต้ง"ลั่นทบทวน 4กลุ่ม
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังดูแลในการปรับโครงสร้างภาษีซึ่งต้องดูให้ครบถ้วนทั้งระบบ เพราะทุกตัวเกี่ยวเนื่องกัน ไม่เช่นนั้นจะทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป
ขณะนี้กำลังพิจารณาการปรับภาษีทั้ง 4 กลุ่มและภาษีอื่นๆ ได้แก่ 1.ภาษีกรมศุลกากร ที่จะลดเพดานภาษีลงจนถึงขั้นยกเลิกภาษี เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคด้านการค้าระหว่างประเทศ ก็มีผลข้างเคียงที่บางประเทศต้องการช่วยเหลือคนในประเทศ จึงออกมาใช้มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น เรื่องความไม่ปลอดภัยในธุรกิจอาหาร ความไม่เป็นมาตรฐาน ทำให้การดำเนินธุรกิจภาคเอกชนมีความลำบาก เพราะต้องใช้วิธีการเดาใจเจ้าหน้าที่ศุลกากร
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไทยจะลดเพดานภาษี จาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้และ 20 % ในปีหน้า ถือว่าใกล้เคียงกับมาเลเซียที่อยู่ 25% แต่ยังสูงกว่าสิงคโปร์ที่อยู่ 17% อย่างไรก็ตามการปรับลดภาษีนิติบุคคลของไทยไม่ได้มีเจตนาที่จะจุดชนวนการแข่ง ขันระหว่างประเทศ แต่การมีอัตราภาษีสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้นักลงทุนต้องเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจลงทุน
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT) ยังคงยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่มีการปรับภาษีจากปัจจุบันที่ 7% เพราะจะกระทบกับราคาสินค้าโดยตรง ขณะนี้ยังไม่มีเหตุผลที่จะปรับขึ้น และไม่มีความจำเป็นต้องลดลงเพื่อช่วยลดต้นทุนหรือลดราคาสินค้า เพราะเห็นว่าสินค้าบางประเทศมีราคาต่ำกว่าเดิมอยู่แล้ว แต่ยอมรับว่าสินค้าบางรายการมีราคาสูงขึ้นจากต้นทุนจริง ทางกระทรวงพาณิชย์กำลังดูแลอยู่
4 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั่วโลกใช้มาตรฐานเดียวกันที่ ผู้มีรายได้มากจะต้องเสียภาษีอัตราสูง ผู้มีรายได้น้อยก็ต้องเสียภาษีน้อย ดังนั้น อัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยในอัตราก้าวหน้าที่ 0% 10% 20% 30% และ 37% ถือว่าเหมาะสมแล้ว แม้จะมีผู้เรียกร้องว่าเป็นอัตราภาษีที่สูงเกินไป แต่มองว่าการปรับเปลี่ยนอัตราภาษี ต้องมีการพิจารณาทั้งระบบไม่สามารถแยกเป็นรายกรณีใด เพราะจะมีผลต่อพฤติกรรม
นอกจากนี้ ยังมีภาษีสรรพสามิตรถยนต์และน้ำมัน ที่ต้องจัดเก็บภาษีเพื่อนำรายได้ไปปรับปรุงระบบคมนาคมส่วนภาษีสุรา ยาสูบ ถือเป็นการบริโภคสินค้าที่ไม่จำเป็น จึงต้องเก็บภาษีเพื่อนำรายได้ส่งเข้ากองทุนส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อดูแลด้านสาธารณสุข ทางด้านการเก็บภาษีทรัพย์สิน อาทิ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะพิจารณา เพราะการดำเนินการต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ หากเป็นการเก็บภาษีจากสินทรัพย์ที่ไม่ได้สร้างรายรับจะทำให้ผู้ถือครอง ทรัพย์สินมีภาระในการหารายได้มาใช้จ่ายภาษี
จ้องรีดโทรคมนาคม
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ กระทรวงการคลัง จะให้ กรมสรรพสามิตเสนอพิจารณาทบทวน "ภาษีสรรพสามิตบริการโทรคมนาคม"จากการใช้โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์มือถือ และบริการส่งข้อความ (เอสเอ็มเอส) เพราะการเก็บภาษีสรรพสามิตดังกล่าวสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย เพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบก็ดำเนินการได้ ทันที
ภาษีสรรพสามิตจากบริการโทรคมนาคมที่กล่าวถึงนี้เดิมเคยจัดเก็บในอัตรา 10% และมีรายได้เข้ารัฐปีละ 15,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2549-2550 แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550เพราะมีปัญหาทางการเมืองและข้อกฎหมาย จากกรณีแปลงค่าสัมปทานโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต
สำหรับความคิดของกระทรวงการคลังที่จะจัดเก็บใหม่ในครั้งนี้มีข้อเสนอว่าจะ จัดเก็บในอัตราต่ำเพียง 3% ด้วยเหตุผลว่าปัจจุบันฐานผู้ใช้บริการมือถือและโทรศัพท์พื้นฐานขยายตัวขึ้น มาก อีกทั้งจะขยายไปยังบริการเอสเอ็มเอสด้วยเพราะถือว่าเป็นการใช้โทรศัพท์มือ ถือรูปแบบหนึ่ง
สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยคิดจะรื้อฟื้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบริการโทรคมนาคมแต่ยังไม่ทันได้ ทำก็มีการยุบสภาเสียก่อน มาถึงรัฐบาลปัจจุบันทางตระกูลชินวัตรก็ไม่ได้ถือหุ้นในกลุ่มชินคอร์ปแล้ว จึงมีความเป็นไปได้มากที่จะเริ่มจัดเก็บภาษีสรรพสามิตอีกครั้ง เพราะเป็นช่องทางสร้างรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำให้แก่รัฐ" แหล่งข่าวระบุ
ดีแทค-เอไอเอสโวย
ขณะที่นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกิจการองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายที่กระทรวงการคลังมีแผนทบทวนให้จัดเก็บภาษีค่า บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาทิ เช่น การส่งข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอสว่า รัฐบาลไม่ควรเก็บภาษีเพิ่มเติมจากค่าบริการดังกล่าวเพื่อชดเชยรายได้ส่วนที่ ขาดหายไปเพราะจะเป็นการผลักดันภาระให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ แม้ในหลักการภาครัฐมีอำนาจในการเก็บภาษีจากบริการต่างๆอยู่แล้ว อาทิเช่น การจัดเก็บภาษีรายได้จากธุรกิจ,ภาษีการบริโภค และ ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีนั้นจะต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่ายไม่เป็นการผลักภาระ ให้กับฝ่ายใดฝ่ายที่สำคัญการเก็บภาษีนั้นต้องเก็บภาษีเพื่อประโยชน์ต่อส่วน รวมไม่ควรเก็บภาษีเพื่อชดเชยส่วนใดส่วนหนึ่ง ขณะที่ผู้บริโภคก็เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 7% อยู่แล้ว
ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า การเก็บภาษีเป็นเรื่องของที่รัฐต้องการหารายได้และเป็นหน้าที่ของกรมสรรพ สามิตแต่ปัญหาก็คือการเก็บภาษีจากการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่คำถามคือเป็น สินค้าฟุ่มเฟือยหรือไม่ สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการพิจารณา เพราะในปัจจุบันผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เก็บภาษีการบริการจากผู้ บริโภคอยู่แล้วประมาณ 7%
สำหรับจำนวนผู้ใช้บริการเอสเอ็มเอสในแต่ละวันของทั้ง 3ค่ายนั้น ค่ายบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส(เบอร์ 1) มีผู้ส่งข้อความจำนวน 5-6 ล้านข้อความ จากจำนวนลูกค้า32.7ล้านเลขหมาย ขณะที่ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทคมีผู้ส่งข้อความสั้ อยู่ที่ 4 ล้านข้อความจากผู้ใช้บริการ 23.2ล้านเลขหมาย และบริษัททรูมูฟ จำกัดหรือค่ายทรูมูฟนั้นมีผู้ส่งข้อความจำนวนประมาณ 2- 3 ล้านข้อความจากฐานลูกค้าทั้งหมด 18ล้านเลขหมาย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=112770:-sms-3-
&catid=89:2009-02-08-11-24-05&Itemid=417
ไม่มีความคิดเห็น: