03 ตุลาคม 2555 TRUEVISIONS สลัดภาพพรีเมี่ยม ผลิต "ละคร-หนัง" เจาะรากหญ้า ลงมากินส่วนแบ่งตลาดแมสอย่างเต็มตัว
TRUEVISIONS สลัดภาพพรีเมี่ยม ผลิต "ละคร-หนัง" เจาะรากหญ้า ลงมากินส่วนแบ่งตลาดแมสอย่างเต็มตัว
ประเด็นหลัก
แต่มองอย่างโฟกัสว่าตลาดแมสคือ "ขุมทองใหม่" เพราะแม้เป้าหมายรายได้ไม่ได้มาจากให้ค่าบริการของสมาชิกรายเดือน แต่เม็ดเงินอันมหาศาลจะมาจากโฆษณาที่มีมูลค่า 60,000 ล้านบาท
ภาพ การบุกตลาดแมสยังไม่หมด ทรูฯจัดหนักต่อเนื่องโดยร่วมมือกับช่องฟรีทูแอร์ของทีวีดาวเทียม 4 ช่องหลัก ได้แก่ มิราเคิล ของกันตนา เวิร์คพอยท์ทีวี เอ็มชาแนล และช่อง 8 ของอาร์เอส เปิดให้สมาชิกทรูฯรับชมได้ทุกแพ็กเกจอาณัติยอมรับว่า ตลาดแมสเป็นตลาดที่น่าสนใจ ทั้งนี้จากการทำวิจัยและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง พบว่าลูกค้ารู้จักทรูวิชั่นส์แต่ยังรู้สึกว่าแพงไป ซึ่งตลาดทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีมีอัตราการเติบโตในตลาดแมสสูงมาก ส่วนใหญ่เป็นช่องฟรีทูแอร์ ดังนั้นจึงต้องหาคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น โลคอลคอนเทนต์ ละคร สารคดีแบบมาตรฐาน และช่องฟรีทูแอร์ต่าง ๆ เหมาะกับตลาดแมส และคอนเทนต์เหมาะกับกลุ่มพรีเมี่ยมและกลุ่มกลาง
อย่าง ไรก็ตาม แนวโน้มรายได้โฆษณาของทรูวิชั่นส์จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีรายได้อยู่ที่ 10% ของรายได้ทั้งหมด คาดว่าปีหน้ารายได้ส่วนนี้จะเป็น 20% ของรายได้ทั้งหมด
สอดรับกับ "อรรถพล ณ บางช้าง" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายรายการบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีแนวคิดเดินหน้าพัฒนาและผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบละครเพิ่มขึ้น ซึ่งอนาคตอาจมีการเพิ่มละครที่ผลิตเองออกอากาศทั้งปีหลังจากละครคอฟฟี่ ปริ๊นซ์ ซึ่งเป็นโลคอลคอนเทนต์ออกอากาศผ่านช่องทรูเอเชี่ยนซีรีส์ ประสบความสำเร็จจนขึ้นแท่นอันดับ 1 ของช่องดังกล่าวที่มีซีรีส์เอเชียนทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น
"ถ้าต้องมี คอนเทนต์ละครที่ผลิตเอง ออกอากาศแบบต่อเนื่องทั้งปี ต้องผลิต 10-13 เรื่องต่อปี ใช้งบฯการผลิตเฉลี่ยตอนละ 1 ล้านบาท 1 เรื่องมี 18-20 ตอน ดังนั้นจะต้องใช้งบฯลงทุนราว 18-20 ล้านบาทต่อเรื่อง"
ล่าสุดได้ เปิดละครใหม่ "รักนี้ชั่วนิจนิรันดร์" ซื้อลิขสิทธิ์จาก KBS (Korean Broadcasting System) ของเกาหลีใต้ เป็นละครเรื่องที่ 2 ของทรูวิชั่นส์ที่จะเริ่มออกอากาศเมษายนปี 2556 พร้อมทั้งมีแผนที่จะผลิตละครและภาพยนตร์สำหรับออกอากาศช่องเอเชียนซีรีส์ อย่างละ 1 เรื่อง
การขยับตัวสู่การเป็นผู้ผลิตละครโลคอ ล เป็นอีกหนึ่งภาพการตอกย้ำสู่ "คอนเทนต์โพรไวเดอร์" ตามที่ "ศุภชัย เจียรวนนท์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เคยกล่าวว่า "จากนี้ไปคือจุดเปลี่ยนสำคัญของทรูฯกับการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์"
____________________________
ทรูวิชั่นส์ สลัดภาพพรีเมี่ยม ผลิต "ละคร-หนัง" เจาะรากหญ้า
ที่ ผ่านมาเจ้าตลาดโทรทัศน์บอกรับสมาชิกอย่างทรูวิชั่นส์ ผู้กุมหัวใจฐานลูกค้าพรีเมี่ยมอยู่ 1.6 ล้านราย มีอันต้องสั่นสะเทือนเมื่อสมรภูมิการแข่งขันถึงจุดเดือด เพราะการเข้ามาของกล่องรับสัญญาณ "จีเอ็มเอ็ม แซท" แกรมมี่ ที่ตีตลาดด้วยการถล่มราคา พร้อมเดินหน้าจับตลาดแมสอย่างจริงจัง
ความ แรงของกระแสทำให้ทรูฯเริ่มหันมามองตลาดแมส ทั้งที่ไม่เคยสนใจ แต่พอมีน้องใหม่เข้ามาทำให้รู้ว่าตลาดนี้มหาศาล สุดท้ายจึงตัดสินใจ "โดดร่วมวง !" เป็นการร่วมวงที่ไม่ได้มองแค่ผ่าน ๆ
แต่มองอย่าง โฟกัสว่าตลาดแมสคือ "ขุมทองใหม่" เพราะแม้เป้าหมายรายได้ไม่ได้มาจากให้ค่าบริการของสมาชิกรายเดือน แต่เม็ดเงินอันมหาศาลจะมาจากโฆษณาที่มีมูลค่า 60,000 ล้านบาท
"อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากนี้ไปทรูฯจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยมองลูกค้าเป็นที่ตั้ง และเมื่อรุกตลาดแมสมากขึ้น สิ่งที่ต้องทำคือแยกคอนเทนต์ให้ชัดเจนและสร้างความแตกต่างตามกลุ่มเป้าหมาย
ปัจจุบัน ทรูฯมีลูกค้า 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ พรีเมี่ยม (แพลทินัม โกลด์ และโกลด์ไลท์ แพ็กเกจ) กลุ่มกลางคือ ทรู โนว์ผเลจ และ "ซูเปอร์ สปอร์ตแพ็ค" ที่เปิดตัวเมื่อ ก.ย.และ กลุ่มแมส ขุมทองใหม่ที่เดินหน้าบุกอย่างจริงจังและหนักแน่นต่อเนื่อง
เริ่ม ด้วยการจับมือกับช่อง 3 ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2012/2013 รวม 17 คู่ จาก 380 คู่, ร่วมกับพีเอสไอเปิดตัวกล่องรับสัญญาณราคาถูก ชูคอนเทนต์ฟรีเมื่อ ส.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นร่วมกับซีทีเอชหรือสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย แบ่งคอนเทนต์ฟรีทูแอร์ให้แก่ซีทีเอชรวม 9 ช่องประกอบด้วย ทรูเอ็กซ์พลอร์ 1, ทราเวล, แชนแนล ไทยแลนด์, ทรูสปอร์ต, สยามกีฬาทีวี, ฟุตบอลสยาม ทีวี, สตาร์ซอคเกอร์ ทีวี, สปีดแชนแนล และมะจัง
"การแยกคอนเทนต์ในแต่ละ กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน เป็นแนวโน้มที่เหมือนกับตลาดโทรทัศน์บอกรับสมัครทั่วโลก ที่แบ่งเป็นแพ็กเกจตามกลุ่มลูกค้า ซึ่งทรูฯกำลังเดินไปในทิศทางเดียวกัน"
ภาพ การบุกตลาดแมสยังไม่หมด ทรูฯจัดหนักต่อเนื่องโดยร่วมมือกับช่องฟรีทูแอร์ของทีวีดาวเทียม 4 ช่องหลัก ได้แก่ มิราเคิล ของกันตนา เวิร์คพอยท์ทีวี เอ็มชาแนล และช่อง 8 ของอาร์เอส เปิดให้สมาชิกทรูฯรับชมได้ทุกแพ็กเกจอาณัติยอมรับว่า ตลาดแมสเป็นตลาดที่น่าสนใจ ทั้งนี้จากการทำวิจัยและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง พบว่าลูกค้ารู้จักทรูวิชั่นส์แต่ยังรู้สึกว่าแพงไป ซึ่งตลาดทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีมีอัตราการเติบโตในตลาดแมสสูงมาก ส่วนใหญ่เป็นช่องฟรีทูแอร์ ดังนั้นจึงต้องหาคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น โลคอลคอนเทนต์ ละคร สารคดีแบบมาตรฐาน และช่องฟรีทูแอร์ต่าง ๆ เหมาะกับตลาดแมส และคอนเทนต์เหมาะกับกลุ่มพรีเมี่ยมและกลุ่มกลาง
อย่าง ไรก็ตาม แนวโน้มรายได้โฆษณาของทรูวิชั่นส์จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีรายได้อยู่ที่ 10% ของรายได้ทั้งหมด คาดว่าปีหน้ารายได้ส่วนนี้จะเป็น 20% ของรายได้ทั้งหมด
สอดรับกับ "อรรถพล ณ บางช้าง" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายรายการบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีแนวคิดเดินหน้าพัฒนาและผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบละครเพิ่มขึ้น ซึ่งอนาคตอาจมีการเพิ่มละครที่ผลิตเองออกอากาศทั้งปีหลังจากละครคอฟฟี่ ปริ๊นซ์ ซึ่งเป็นโลคอลคอนเทนต์ออกอากาศผ่านช่องทรูเอเชี่ยนซีรีส์ ประสบความสำเร็จจนขึ้นแท่นอันดับ 1 ของช่องดังกล่าวที่มีซีรีส์เอเชียนทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น
"ถ้าต้องมี คอนเทนต์ละครที่ผลิตเอง ออกอากาศแบบต่อเนื่องทั้งปี ต้องผลิต 10-13 เรื่องต่อปี ใช้งบฯการผลิตเฉลี่ยตอนละ 1 ล้านบาท 1 เรื่องมี 18-20 ตอน ดังนั้นจะต้องใช้งบฯลงทุนราว 18-20 ล้านบาทต่อเรื่อง"
ล่าสุดได้ เปิดละครใหม่ "รักนี้ชั่วนิจนิรันดร์" ซื้อลิขสิทธิ์จาก KBS (Korean Broadcasting System) ของเกาหลีใต้ เป็นละครเรื่องที่ 2 ของทรูวิชั่นส์ที่จะเริ่มออกอากาศเมษายนปี 2556 พร้อมทั้งมีแผนที่จะผลิตละครและภาพยนตร์สำหรับออกอากาศช่องเอเชียนซีรีส์ อย่างละ 1 เรื่อง
การขยับตัวสู่การเป็นผู้ผลิตละครโลคอ ล เป็นอีกหนึ่งภาพการตอกย้ำสู่ "คอนเทนต์โพรไวเดอร์" ตามที่ "ศุภชัย เจียรวนนท์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เคยกล่าวว่า "จากนี้ไปคือจุดเปลี่ยนสำคัญของทรูฯกับการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์"
เรียก ได้ว่าทรูวิชั่นส์กำลังสลัดภาพตลาดพรีเมี่ยมราคาแพง ลงมากินส่วนแบ่งตลาดแมสอย่างเต็มตัว ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่น้องใหม่อย่างจีเอ็มเอ็ม แซทก็หมายมั่นปั้นมือมัดใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ หวังสร้างแพลตฟอร์มก่อนขยับเป็นเพย์ทีวีในอนาคต
และนี่คงถึงคราวที่ "ทรูวิชั่นส์" ต้องพิสูจน์แล้วว่า การมีโลคอลคอนเทนต์ที่ดี และแนวทางการร่วมมือกับหลากพันธมิตรจะเป็นวิถีทางที่ถูกต้อง จนส่งให้ทรูฯสามารถก้าวขึ้นมารวบส่วนแบ่งตลาดแมส ตามความคาดหวังได้หรือไม่ เพราะสมรภูมิในตลาดแมส ใครได้ใจผู้บริโภคมากกว่า ผู้นั้นคือผู้ชนะแท้จริง
ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1349266580&grpid=03&catid=11&subcatid=1100
ประเด็นหลัก
แต่มองอย่างโฟกัสว่าตลาดแมสคือ "ขุมทองใหม่" เพราะแม้เป้าหมายรายได้ไม่ได้มาจากให้ค่าบริการของสมาชิกรายเดือน แต่เม็ดเงินอันมหาศาลจะมาจากโฆษณาที่มีมูลค่า 60,000 ล้านบาท
ภาพ การบุกตลาดแมสยังไม่หมด ทรูฯจัดหนักต่อเนื่องโดยร่วมมือกับช่องฟรีทูแอร์ของทีวีดาวเทียม 4 ช่องหลัก ได้แก่ มิราเคิล ของกันตนา เวิร์คพอยท์ทีวี เอ็มชาแนล และช่อง 8 ของอาร์เอส เปิดให้สมาชิกทรูฯรับชมได้ทุกแพ็กเกจอาณัติยอมรับว่า ตลาดแมสเป็นตลาดที่น่าสนใจ ทั้งนี้จากการทำวิจัยและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง พบว่าลูกค้ารู้จักทรูวิชั่นส์แต่ยังรู้สึกว่าแพงไป ซึ่งตลาดทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีมีอัตราการเติบโตในตลาดแมสสูงมาก ส่วนใหญ่เป็นช่องฟรีทูแอร์ ดังนั้นจึงต้องหาคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น โลคอลคอนเทนต์ ละคร สารคดีแบบมาตรฐาน และช่องฟรีทูแอร์ต่าง ๆ เหมาะกับตลาดแมส และคอนเทนต์เหมาะกับกลุ่มพรีเมี่ยมและกลุ่มกลาง
อย่าง ไรก็ตาม แนวโน้มรายได้โฆษณาของทรูวิชั่นส์จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีรายได้อยู่ที่ 10% ของรายได้ทั้งหมด คาดว่าปีหน้ารายได้ส่วนนี้จะเป็น 20% ของรายได้ทั้งหมด
สอดรับกับ "อรรถพล ณ บางช้าง" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายรายการบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีแนวคิดเดินหน้าพัฒนาและผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบละครเพิ่มขึ้น ซึ่งอนาคตอาจมีการเพิ่มละครที่ผลิตเองออกอากาศทั้งปีหลังจากละครคอฟฟี่ ปริ๊นซ์ ซึ่งเป็นโลคอลคอนเทนต์ออกอากาศผ่านช่องทรูเอเชี่ยนซีรีส์ ประสบความสำเร็จจนขึ้นแท่นอันดับ 1 ของช่องดังกล่าวที่มีซีรีส์เอเชียนทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น
"ถ้าต้องมี คอนเทนต์ละครที่ผลิตเอง ออกอากาศแบบต่อเนื่องทั้งปี ต้องผลิต 10-13 เรื่องต่อปี ใช้งบฯการผลิตเฉลี่ยตอนละ 1 ล้านบาท 1 เรื่องมี 18-20 ตอน ดังนั้นจะต้องใช้งบฯลงทุนราว 18-20 ล้านบาทต่อเรื่อง"
ล่าสุดได้ เปิดละครใหม่ "รักนี้ชั่วนิจนิรันดร์" ซื้อลิขสิทธิ์จาก KBS (Korean Broadcasting System) ของเกาหลีใต้ เป็นละครเรื่องที่ 2 ของทรูวิชั่นส์ที่จะเริ่มออกอากาศเมษายนปี 2556 พร้อมทั้งมีแผนที่จะผลิตละครและภาพยนตร์สำหรับออกอากาศช่องเอเชียนซีรีส์ อย่างละ 1 เรื่อง
การขยับตัวสู่การเป็นผู้ผลิตละครโลคอ ล เป็นอีกหนึ่งภาพการตอกย้ำสู่ "คอนเทนต์โพรไวเดอร์" ตามที่ "ศุภชัย เจียรวนนท์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เคยกล่าวว่า "จากนี้ไปคือจุดเปลี่ยนสำคัญของทรูฯกับการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์"
____________________________
ทรูวิชั่นส์ สลัดภาพพรีเมี่ยม ผลิต "ละคร-หนัง" เจาะรากหญ้า
ที่ ผ่านมาเจ้าตลาดโทรทัศน์บอกรับสมาชิกอย่างทรูวิชั่นส์ ผู้กุมหัวใจฐานลูกค้าพรีเมี่ยมอยู่ 1.6 ล้านราย มีอันต้องสั่นสะเทือนเมื่อสมรภูมิการแข่งขันถึงจุดเดือด เพราะการเข้ามาของกล่องรับสัญญาณ "จีเอ็มเอ็ม แซท" แกรมมี่ ที่ตีตลาดด้วยการถล่มราคา พร้อมเดินหน้าจับตลาดแมสอย่างจริงจัง
ความ แรงของกระแสทำให้ทรูฯเริ่มหันมามองตลาดแมส ทั้งที่ไม่เคยสนใจ แต่พอมีน้องใหม่เข้ามาทำให้รู้ว่าตลาดนี้มหาศาล สุดท้ายจึงตัดสินใจ "โดดร่วมวง !" เป็นการร่วมวงที่ไม่ได้มองแค่ผ่าน ๆ
แต่มองอย่าง โฟกัสว่าตลาดแมสคือ "ขุมทองใหม่" เพราะแม้เป้าหมายรายได้ไม่ได้มาจากให้ค่าบริการของสมาชิกรายเดือน แต่เม็ดเงินอันมหาศาลจะมาจากโฆษณาที่มีมูลค่า 60,000 ล้านบาท
"อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากนี้ไปทรูฯจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยมองลูกค้าเป็นที่ตั้ง และเมื่อรุกตลาดแมสมากขึ้น สิ่งที่ต้องทำคือแยกคอนเทนต์ให้ชัดเจนและสร้างความแตกต่างตามกลุ่มเป้าหมาย
ปัจจุบัน ทรูฯมีลูกค้า 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ พรีเมี่ยม (แพลทินัม โกลด์ และโกลด์ไลท์ แพ็กเกจ) กลุ่มกลางคือ ทรู โนว์ผเลจ และ "ซูเปอร์ สปอร์ตแพ็ค" ที่เปิดตัวเมื่อ ก.ย.และ กลุ่มแมส ขุมทองใหม่ที่เดินหน้าบุกอย่างจริงจังและหนักแน่นต่อเนื่อง
เริ่ม ด้วยการจับมือกับช่อง 3 ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2012/2013 รวม 17 คู่ จาก 380 คู่, ร่วมกับพีเอสไอเปิดตัวกล่องรับสัญญาณราคาถูก ชูคอนเทนต์ฟรีเมื่อ ส.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นร่วมกับซีทีเอชหรือสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย แบ่งคอนเทนต์ฟรีทูแอร์ให้แก่ซีทีเอชรวม 9 ช่องประกอบด้วย ทรูเอ็กซ์พลอร์ 1, ทราเวล, แชนแนล ไทยแลนด์, ทรูสปอร์ต, สยามกีฬาทีวี, ฟุตบอลสยาม ทีวี, สตาร์ซอคเกอร์ ทีวี, สปีดแชนแนล และมะจัง
"การแยกคอนเทนต์ในแต่ละ กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน เป็นแนวโน้มที่เหมือนกับตลาดโทรทัศน์บอกรับสมัครทั่วโลก ที่แบ่งเป็นแพ็กเกจตามกลุ่มลูกค้า ซึ่งทรูฯกำลังเดินไปในทิศทางเดียวกัน"
ภาพ การบุกตลาดแมสยังไม่หมด ทรูฯจัดหนักต่อเนื่องโดยร่วมมือกับช่องฟรีทูแอร์ของทีวีดาวเทียม 4 ช่องหลัก ได้แก่ มิราเคิล ของกันตนา เวิร์คพอยท์ทีวี เอ็มชาแนล และช่อง 8 ของอาร์เอส เปิดให้สมาชิกทรูฯรับชมได้ทุกแพ็กเกจอาณัติยอมรับว่า ตลาดแมสเป็นตลาดที่น่าสนใจ ทั้งนี้จากการทำวิจัยและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง พบว่าลูกค้ารู้จักทรูวิชั่นส์แต่ยังรู้สึกว่าแพงไป ซึ่งตลาดทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีมีอัตราการเติบโตในตลาดแมสสูงมาก ส่วนใหญ่เป็นช่องฟรีทูแอร์ ดังนั้นจึงต้องหาคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น โลคอลคอนเทนต์ ละคร สารคดีแบบมาตรฐาน และช่องฟรีทูแอร์ต่าง ๆ เหมาะกับตลาดแมส และคอนเทนต์เหมาะกับกลุ่มพรีเมี่ยมและกลุ่มกลาง
อย่าง ไรก็ตาม แนวโน้มรายได้โฆษณาของทรูวิชั่นส์จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีรายได้อยู่ที่ 10% ของรายได้ทั้งหมด คาดว่าปีหน้ารายได้ส่วนนี้จะเป็น 20% ของรายได้ทั้งหมด
สอดรับกับ "อรรถพล ณ บางช้าง" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายรายการบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีแนวคิดเดินหน้าพัฒนาและผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบละครเพิ่มขึ้น ซึ่งอนาคตอาจมีการเพิ่มละครที่ผลิตเองออกอากาศทั้งปีหลังจากละครคอฟฟี่ ปริ๊นซ์ ซึ่งเป็นโลคอลคอนเทนต์ออกอากาศผ่านช่องทรูเอเชี่ยนซีรีส์ ประสบความสำเร็จจนขึ้นแท่นอันดับ 1 ของช่องดังกล่าวที่มีซีรีส์เอเชียนทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น
"ถ้าต้องมี คอนเทนต์ละครที่ผลิตเอง ออกอากาศแบบต่อเนื่องทั้งปี ต้องผลิต 10-13 เรื่องต่อปี ใช้งบฯการผลิตเฉลี่ยตอนละ 1 ล้านบาท 1 เรื่องมี 18-20 ตอน ดังนั้นจะต้องใช้งบฯลงทุนราว 18-20 ล้านบาทต่อเรื่อง"
ล่าสุดได้ เปิดละครใหม่ "รักนี้ชั่วนิจนิรันดร์" ซื้อลิขสิทธิ์จาก KBS (Korean Broadcasting System) ของเกาหลีใต้ เป็นละครเรื่องที่ 2 ของทรูวิชั่นส์ที่จะเริ่มออกอากาศเมษายนปี 2556 พร้อมทั้งมีแผนที่จะผลิตละครและภาพยนตร์สำหรับออกอากาศช่องเอเชียนซีรีส์ อย่างละ 1 เรื่อง
การขยับตัวสู่การเป็นผู้ผลิตละครโลคอ ล เป็นอีกหนึ่งภาพการตอกย้ำสู่ "คอนเทนต์โพรไวเดอร์" ตามที่ "ศุภชัย เจียรวนนท์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เคยกล่าวว่า "จากนี้ไปคือจุดเปลี่ยนสำคัญของทรูฯกับการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์"
เรียก ได้ว่าทรูวิชั่นส์กำลังสลัดภาพตลาดพรีเมี่ยมราคาแพง ลงมากินส่วนแบ่งตลาดแมสอย่างเต็มตัว ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่น้องใหม่อย่างจีเอ็มเอ็ม แซทก็หมายมั่นปั้นมือมัดใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ หวังสร้างแพลตฟอร์มก่อนขยับเป็นเพย์ทีวีในอนาคต
และนี่คงถึงคราวที่ "ทรูวิชั่นส์" ต้องพิสูจน์แล้วว่า การมีโลคอลคอนเทนต์ที่ดี และแนวทางการร่วมมือกับหลากพันธมิตรจะเป็นวิถีทางที่ถูกต้อง จนส่งให้ทรูฯสามารถก้าวขึ้นมารวบส่วนแบ่งตลาดแมส ตามความคาดหวังได้หรือไม่ เพราะสมรภูมิในตลาดแมส ใครได้ใจผู้บริโภคมากกว่า ผู้นั้นคือผู้ชนะแท้จริง
ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1349266580&grpid=03&catid=11&subcatid=1100
ไม่มีความคิดเห็น: