Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 พฤศจิกายน 2554 รอง กสทช. มั่นใจ!! ปีหน้า3Gเกิดแน่นอน.// งานพระเอกงานหลักปีหน้าใช้โทรคมฯบรรเทาภัยพิบัติ

รอง กสทช. มั่นใจ!! ปีหน้า3Gเกิดแน่นอน.// งานพระเอกงานหลักปีหน้าใช้โทรคมฯบรรเทาภัยพิบัติ


ประเด็นหลัก

รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กทค. ฟุ้งปีหน้า 3G คลื่น 2.1 GHz ต้องเกิด พร้อมดันเต็มที่เพื่อสร้างการแข่งขันในตลาด ชี้ปีหน้านำบทเรียนจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปีนี้ มาสร้างการใช้โทรคมนาคมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ ขณะที่แผนแม่บทอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขก่อนการทำประชาพิจารณ์ เผย 6 ปีของการทำหน้าที่ กสทช. หวังสร้างการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

“คิด ว่า 3G ปีหน้าต้องเกิด ถ้าไม่เกิดก็ไม่ไหวแล้ว 3G หรือคลื่น 2.1 GHz จะต้องเกิดการประมูล เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาด รวมไปถึงการให้บริการให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพได้ ส่วนตัวเชื่อว่าปีหน้าได้เห็น 3G แต่อาจจะมีล้มลุกคลุกคลานจากการฟ้องร้องบ้าง และผมมีความมั่นใจว่าจะต้องเกิด ผมจะดันเต็มที่ ไม่มียึกยักแน่นอน”

งานหลักปีหน้าใช้โทรคมฯบรรเทาภัยพิบัติ

อย่าง ไรก็ดี มองว่าเรื่องที่สำคัญอีกประการหนึ่งในอนาคต คือ การใช้โทรคมนาคมมาใช้เพื่อบรรเทาภัยพิบัติ ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้เป็นพระเอกในการดำเนินงาน อีกทั้งในแผนแม่บท ซึ่งประชุมบอร์ดก็มีความเห็นชอบเรื่องที่เกี่ยวข้องในการบริการโทรคมนาคมมา เป็นภารกิจเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ
__________________________________________________________


ดัน 3G เต็มเหนี่ยว ฝันปีหน้าเกิดแน่!!!


รอง ประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กทค. ฟุ้งปีหน้า 3G คลื่น 2.1 GHz ต้องเกิด พร้อมดันเต็มที่เพื่อสร้างการแข่งขันในตลาด ชี้ปีหน้านำบทเรียนจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปีนี้ มาสร้างการใช้โทรคมนาคมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ ขณะที่แผนแม่บทอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขก่อนการทำประชาพิจารณ์ เผย 6 ปีของการทำหน้าที่ กสทช. หวังสร้างการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

พ.อ.รศ. ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานฝ่ายกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ระบุว่า 3G เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งการที่ 3G จะสำเร็จ ในส่วนของแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่จะต้องเสร็จ และต้องมีความชัดเจน รวมถึงแผนแม่บทของทั้งกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคมที่จะต้องแล้วเสร็จด้วย ทั้งนี้จากการประชุมบอร์ดในครั้งที่ผ่านๆ มา คาดว่าแผนแม่บทจะเสร็จเร็ว ซึ่งคาดว่าจะเป็นไปตามเวลา หรือประมาณต้นปีหน้าจะเรียบร้อย

“คิดว่า 3G ปีหน้าต้องเกิด ถ้าไม่เกิดก็ไม่ไหวแล้ว 3G หรือคลื่น 2.1 GHz จะต้องเกิดการประมูล เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาด รวมไปถึงการให้บริการให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพได้ ส่วนตัวเชื่อว่าปีหน้าได้เห็น 3G แต่อาจจะมีล้มลุกคลุกคลานจากการฟ้องร้องบ้าง และผมมีความมั่นใจว่าจะต้องเกิด ผมจะดันเต็มที่ ไม่มียึกยักแน่นอน”

งานหลักปีหน้าใช้โทรคมฯบรรเทาภัยพิบัติ

อย่าง ไรก็ดี มองว่าเรื่องที่สำคัญอีกประการหนึ่งในอนาคต คือ การใช้โทรคมนาคมมาใช้เพื่อบรรเทาภัยพิบัติ ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้เป็นพระเอกในการดำเนินงาน อีกทั้งในแผนแม่บท ซึ่งประชุมบอร์ดก็มีความเห็นชอบเรื่องที่เกี่ยวข้องในการบริการโทรคมนาคมมา เป็นภารกิจเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ

ทั้งนี้ ต่อคำถามที่ว่าควรจะมีหน่วยงานขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะหรือไม่ พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า กสทช. มีอำนาจหน้าที่ที่เป็นองค์กรกำกับดูแล ซึ่งเราไม่ได้มีหน้าที่ในภาคปฏิบัติ แต่ กสทช.มีบทบาทอำนาจหน้าที่มากที่จะประสานความร่วมมือ รวมถึงสามารถสร้างกลไกให้เกิดขึ้นได้โดยที่จะนำเอาการให้บริการทางด้านโทร คมนาคมมาบูรณาการกัน อีกทั้งยังเชื่อมโยงทรัพยากรที่มีอยู่เข้าด้วยกัน

“เรา เป็นเหมือนตัวกลางที่จะเชื่อมโยงหรือประสานงานกัน เราไม่ได้ครอบครองทรัพยากรเอง แต่เราให้ทรัพยากรไปใช้ตามกลไกที่เราวางไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ ซึ่งส่วนใหญ่คนมักไม่เข้าใจและพูดว่า ทำไม่ถึงไม่ทำ ซึ่งเราขอบอกว่าต้องรอก่อน เพราะทำเองไม่ได้ ต้องให้คนอื่นทำ แต่ทำยังไงเราเป็นคนบอก”

นอกจากนี้ ในปีหน้า ส่วนตัวมองว่าเรื่องการใช้โทรคมนาคมมาใช้เพื่อบรรเทาภัยพิบัติเป็นเรื่อง หลัก โดยได้เริ่มมีการหาข้อมูล รวมถึงได้หาบุคลากรเพื่อร่วมประชุมวางแผนแล้ว เช่น การประชุมเรื่องการใช้การสื่อสารเพื่อภัยพิบัติ จากนั้นจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อมาดำเนินการ อีกทั้งยังจะมีการฝึกเพื่อตอบโต้สถานการณ์ภัยพิบัติในอนาคตอีกด้วย

ร่างแผนแม่บทฯ ข้อดีมีเยอะ

ใน ส่วนของแผนบทนั้น ที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ชุดเดิมได้ร่างไว้ทั้ง 3 แผน จากการที่มาตรวจสอบหรือวิเคราะห์แผนแม่บทดังกล่าว จึงได้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็งหลายประการ ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่ามีจุดดีเยอะ ส่วนในด้านของจุดเสียไม่มี มีเพียงแต่เป็นจุดอ่อนมากกว่า อย่างไรก็ดี แผนฯ ที่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ทำมานั้น กสทช.ชุดใหม่ได้เห็นชอบในหลักการ แต่ควรที่จะมีการแก้ไข

“จะมีการปรับ ซึ่งคณะกรรมการ กสทช. ชุดใหม่นี้ มีหลายท่านที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในแผนแม่บทดังกล่าว ผมมองว่าเป็นเรื่องดี เหมือนคนอยู่ข้างนอกมองเข้ามา จะดูอะไรๆ เห็นมากกว่าคนที่อยู่ข้างในกันเอง เพราะคนข้างนอกไม่รู้มาก่อน อาจจะเห็นว่ายังไม่ใช่ ซึ่งสามารถบอกได้ดีมากกว่า”

ทั้งนี้ จากการที่ กสทช. หลายท่านไม่ได้มีส่วนร่วมกับแผนแม่บททั้ง 3 แผน ซึ่งได้ให้มุมมองบางอย่างที่น่าสนใจว่าควรมีการแก้ไขปรับปรุง เช่น สุทธิพล ทวีชัยการ โฆษก กสทช. จากจุดนี้เองส่วนตัวมองว่า น่าจะเดินหน้าไปได้ด้วยดี

สำหรับ กระบวนการในขณะนี้อยู่ในระหว่าง คณะกรรมการ กสทช. นำร่างฯ มาพิจารณา รวมถึงอยู่ในช่วงของการเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนำมาปรับปรุง และแก้ไข จากนั้นก็จะเข้าสู่การทำประชาพิจารณ์

6 ปี กสทช. หวังเกิดการแข่งขันในอุตฯโทรคมฯ

ทั้ง นี้ หากให้กล่าวถึงการตั้งเป้า 6 ปีของการทำงานเป็น กสทช. นั้น ส่วนตัวต้องการให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมพอสมควร เนื่องจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นต่างกับอุตสาหกรรมอื่นๆ สาเหตุเพราะคู่แข่งมีน้อยราย อาจเป็นเพราะด้วยการลงทุนสูง แต่อย่างไรก็ดีจะต้องมีการสร้างกลไกการแข่งขันที่เสรี และเป็นธรรมด้วย

“6 ปีของการทำงานผมต้องการให้เกิดการแข่งขันในวงการโทรคมฯ แต่ด้วยหลายปัจจัยจึงทำให้การแข่งขันอาจขรุขระนิดๆ ซึ่งเป็นเพราะคู่แข่งมีน้อย มีไม่กี่เจ้า อีกทั้งการลงทุนมีสูง และผมอยากให้การแข่งขันสร้างประโยชน์ต่อผู้บริโภค และผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการแข่งขัน รวมถึงได้รับบริการที่มีคุณภาพด้วย”

งานด่วนตอนนี้เน้นเรื่องน้ำท่วม

อย่าง ไรก็ดี ในขณะนี้ด้านของโทรคมนาคมงานส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปในเรื่องของน้ำท่วม ซึ่ง กสทช. ต้องประสานงานกับวิทยุสมัครเล่น ทั้งนี้ กสทช. ก็เป็นส่วนเสริม โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูล ทั้งนี้ กสทช. ได้มีการสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินการ รวมถึงบอร์ดได้อนุมัติโดยให้ทางกลุ่มวิทยุสมัครเล่นรายงานว่าต้องการความ ช่วยเหลือใด

นอกจากนี้ ในส่วนของความเสียหายซึ่งถือได้ว่าเสียหายมาก โดยเฉพาะที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งผู้ประกอบการจะมีการแจ้งความเสียหายเข้ามาว่ามีสถานีฐานใดบ้างได้รับ ความเสียหาย


tjinnovation
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=783

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.