Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) กสทช.ยังเตรียมงบ เบ็ดเสร็จแล้ว 26 ลบ. ไม่เกิน 30 ลบ. ใช้หนี้ครั้งเก่าอีก 20 ลบ.

(เกาะติดประมูล3G) กสทช.ยังเตรียมงบ เบ็ดเสร็จแล้ว 26 ลบ. ไม่เกิน 30 ลบ. ใช้หนี้ครั้งเก่าอีก 20 ลบ.


ประเด็นหลัก

สำนักงาน กสทช.ยังเตรียมงบประมาณสำหรับเป็นค่าดำเนินการจัดการสถานที่ ได้แก่ การเตรียมระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม โดยเพิ่มพนักงานรักษาความปลอดภัย, เบี้ยเลี้ยงตำรวจสันติบาล, เตรียมการกรณีน้ำท่วม และไฟดับ มีการประสานงานรถไฟฟ้านครหลวง และเตรียมตู้คอนเทนเนอร์เผื่อเป็นออฟฟิศเคลื่อนที่ไว้ด้วย

การ ดำเนินการข้างต้น เตรียมเงินไว้ทั้งสิ้น 5 ล้านบาท เหมือนมาก แต่ยังใช้เงินน้อยกว่าการจัดเคานต์ดาวน์ประกาศความพร้อมในการเปิดประมูลใบ อนุญาต 3G เมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา

ไม่ใช่แค่การจัดเตรียมสถาน ที่ หรือแถลงข่าว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นอีก เช่น ค่าจ้างบริษัท พาวเวอร์ ออกชั่น ปรึกษาการประมูล เป็นเงิน 14.1 ล้านบาท การดำเนินการภารกิจเพื่อชาติในครั้งนี้ ที่เห็นเป็นตัวเงินชัด ๆ เบ็ดเสร็จแล้ว 26 ล้านบาท ซึ่งไม่ใช่แค่นี้แน่นอน

"กสทช." เคยบอกว่า น่าจะไม่เกิน 30 ล้านบาท แต่จะบานปลายไปถึงไหนคงต้องรอให้สิ้นสุดการประมูลก่อน เพราะรายได้จากการประมูลใบอนุญาต 3G หลังหักค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้วจึงจะส่งให้รัฐทั้งหมดครั้งที่แล้ว การเตรียมการประมูลแต่ไม่ได้ประมูลก็ใช้เงินไปไม่น้อย สำนักงาน กสทช.เพิ่งจ่ายค่าเสียหายไปประมาณ 20 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก่อนศาลมีคำสั่งระงับการประมูล ทั้งค่าโรงแรมและค่าจ้างบริษัทผู้จัดงานใบอนุญาตบริการ 3G ไม่เพียงนำไปสู่การเกิดขึ้นของบริการด้านการสื่อสารรูปแบบใหม่ ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้เท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในธุรกิจโทร คมนาคมไทยจากระบบสัมปทานแบบเดิมไปสู่ระบบใบอนุญาตด้วย




_______________________________

ภารกิจเพื่อชาติ ของ กสทช.

ถึง นาทีนี้คงไม่มีใครคิดว่าการประมูลใบอนุญาตใหม่ 3G บนคลื่น 2.1 GHz โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในวันที่ 16 ตุลาคม 2555 นี้จะมีพลิกล็อกล่ม ไม่มีประมูลเหมือนครั้งที่แล้ว เพราะคล้ายกับว่า ได้มีการปลดล็อกไปแล้วในประเด็นที่มีความเปราะบาง

"กสทช." ถือว่าการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G เป็นภารกิจเพื่อชาติ และเพิ่งจัดงานเคานต์ดาวน์ โดยเชิญค่ายมือถือมาประกาศสัตยาบันร่วมกันว่า จะเดินหน้าประมูลด้วยความซื่อสัตย์และโปร่งใส งานนี้ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่ใช้เงินจัดงานไปถึง 7 ล้านบาท ซึ่ง "กสทช." ระบุว่า คุ้มค่ามาก เพราะโทรทัศน์มาทำข่าวทุกช่อง และมีการรายงานในรายการข่าวเช้ายอดนิยมทุกรายการ

การจัดประมูลใบ อนุญาต 3G เป็นเรื่องที่สังคมเฝ้ารอ และลุ้นว่า เมื่อไรจะมีสักที เมื่อเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจขนาดนี้ถึง "กสทช." เปิดห้องนักข่าวจัดงานแถลงข่าวที่สำนักงาน กสทช. โดยไม่จำเป็นต้องมีการจัดเวที แสงสีเสียง หรือพิธีการใด ๆ เลย ย่อมไม่มีสำนักข่าวไหนยอมพลาดที่จะไปรายงานข่าวนี้ ระหว่าง 7 พัน 7 หมื่น หรือ 7 ล้านบาท ผลลัพธ์ย่อมไม่แตกต่าง

ก่อนหน้านี้ "กสทช." ย้ำหนักย้ำหนาว่า ยึดนโยบายประหยัด และว่าที่เลือกใช้สำนักงาน กสทช.เป็นสถานที่จัดประมูล
ก็ เพื่อประหยัดงบประมาณ น่าแปลกที่คำว่า "ประหยัด" ไม่ใช่มาตรฐานที่ใช้กับทุกเรื่องในกระบวนการจัดการประมูลใบอนุญาตใหม่ 3G บนคลื่น 2.1 GHz

สำนักงาน กสทช.ยังเตรียมงบประมาณสำหรับเป็นค่าดำเนินการจัดการสถานที่ ได้แก่ การเตรียมระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม โดยเพิ่มพนักงานรักษาความปลอดภัย, เบี้ยเลี้ยงตำรวจสันติบาล, เตรียมการกรณีน้ำท่วม และไฟดับ มีการประสานงานรถไฟฟ้านครหลวง และเตรียมตู้คอนเทนเนอร์เผื่อเป็นออฟฟิศเคลื่อนที่ไว้ด้วย

การ ดำเนินการข้างต้น เตรียมเงินไว้ทั้งสิ้น 5 ล้านบาท เหมือนมาก แต่ยังใช้เงินน้อยกว่าการจัดเคานต์ดาวน์ประกาศความพร้อมในการเปิดประมูลใบ อนุญาต 3G เมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา

ไม่ใช่แค่การจัดเตรียมสถาน ที่ หรือแถลงข่าว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นอีก เช่น ค่าจ้างบริษัท พาวเวอร์ ออกชั่น ปรึกษาการประมูล เป็นเงิน 14.1 ล้านบาท การดำเนินการภารกิจเพื่อชาติในครั้งนี้ ที่เห็นเป็นตัวเงินชัด ๆ เบ็ดเสร็จแล้ว 26 ล้านบาท ซึ่งไม่ใช่แค่นี้แน่นอน

"กสทช." เคยบอกว่า น่าจะไม่เกิน 30 ล้านบาท แต่จะบานปลายไปถึงไหนคงต้องรอให้สิ้นสุดการประมูลก่อน เพราะรายได้จากการประมูลใบอนุญาต 3G หลังหักค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้วจึงจะส่งให้รัฐทั้งหมดครั้งที่แล้ว การเตรียมการประมูลแต่ไม่ได้ประมูลก็ใช้เงินไปไม่น้อย สำนักงาน กสทช.เพิ่งจ่ายค่าเสียหายไปประมาณ 20 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก่อนศาลมีคำสั่งระงับการประมูล ทั้งค่าโรงแรมและค่าจ้างบริษัทผู้จัดงานใบอนุญาตบริการ 3G ไม่เพียงนำไปสู่การเกิดขึ้นของบริการด้านการสื่อสารรูปแบบใหม่ ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้เท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในธุรกิจโทร คมนาคมไทยจากระบบสัมปทานแบบเดิมไปสู่ระบบใบอนุญาตด้วย

ผู้ชนะในการ ประมูลใบอนุญาตครั้งนี้ มีได้ 3 ราย หากคำนวณจากแถบคลื่นความถี่ที่มี 45 MHz เข้ากับเงื่อนไขในการถือครองคลื่นของผู้ประกอบการแต่ละรายมีได้ไม่เกิน 15 MHz (ซึ่งเอาเข้าจริงก็คงแค่นี้ เพราะวันที่กำหนดให้ยื่นเอกสารเพื่อแสดงความจำนงเข้าประมูล มี 4 บริษัท คือ 3 ค่ายมือถือ อีก 1 คือตะวันโมบายแต่ยื่นเอกสารไม่ครบ) จึงเหลือแค่ 3 ราย แต่ใครจะพลิกล็อกหรือไม่ต้องรอ 9 ต.ค. ซึ่ง กสทช.จะประกาศเป็นทางการว่า ใครผ่านคุณสมบัติพร้อมเข้าประมูลได้บ้าง

ในการประมูล "กสทช." กำหนดราคาตั้งต้นของคลื่นไว้เป็นสลอต สลอตละ 5 MHz ที่ราคา 4,500 ล้านบาท ราคาตั้งต้นย่อมไม่ใช่ราคาสุดท้าย แต่จะสิ้นสุดเท่าไรไม่มีใครรู้ แม้ใครต่อใครจะคาดว่า แข่งกันแค่ 3 เจ้าคงไม่แพงกว่าราคาเริ่มต้นไปมากนักในมุม กสทช. ราคาตั้งต้นก็คือ รายได้ขั้นต่ำที่คิดว่าควรจะได้จากเอกชนแลกกับสิทธิ์ในการนำ "คลื่นความถี่" อันเป็นทรัพยากรของชาติไปใช้ได้ 15 ปี

"กสทช." มั่นใจว่า รูปแบบการประมูลจะทำให้เกิดการแข่งขันในการแย่งชิงคลื่น แต่ไม่ว่าจะแข่งดุเดือดได้แค่ไหนระหว่าง 3 ราย ไม่มีทางที่รายได้จะใกล้เคียงกับส่วนแบ่งรายได้ที่รัฐเคยได้จาก "สัมปทาน" เดิมอย่างแน่นอนเทียบระหว่างระบบสัมปทานกับใบอนุญาต ระบบใหม่ย่อมต่ำกว่ามากเป็นที่ถกเถียงกันมาตลอดว่า ต้นทุนที่ลดลงนี้จะส่งผ่านไปถึงมือ "ผู้บริโภค" ได้หรือไม่

นัก วิชาการข้างหนึ่งฟันธงว่า ต้นทุนที่ถูกลงไม่มีผลกับค่าบริการแต่อย่างใด แต่การแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการแต่ละรายต่างหากที่ทำให้ค่าบริการถูกลงได้

หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์การแข่งขันในสมรภูมิธุรกิจโทรศัพท์มือ ถือในช่วงที่ผ่านมา เป็นความจริงที่ต้นทุนที่สูงกว่าของผู้ประกอบการบางรายในระบบสัมปทานเดิม ไม่ได้ทำให้ดีกรีการแข่งขันลดความร้อนแรงลงแต่อย่างใด ถ้าจะต่างก็คงเป็นผลกำไรของผู้ประกอบการแต่ละราย ดังนั้นสิ่งที่ "กสทช." จำเป็นต้องทำ นอกจากการกำกับดูแลธุรกิจให้มีการแข่งขันอย่างแท้จริง ยังต้องจริงจังกับการดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคด้วยการประมูลใบอนุญาต 3G ทำให้

ผู้ประกอบการเริ่มต้นนับ 1 บนกฎกติกาเดียวกัน ต่างจากระบบเดิมที่เงื่อนไขในสัมปทานของผู้ให้บริการแต่ละรายแตกต่างกัน ทำให้การแข่งขันไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งค่ายมือถือเรียกร้องมาโดยตลอดระบบใบอนุญาตดีกับ "ผู้ประกอบการ" แล้ว ก็ควรจะดีกับ "ผู้บริโภค" ด้วยเช่นกัน

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1349411519&grpid=no&catid=02&subcatid=0200

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.