Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 ตุลาคม 2555 ( กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ) '3G ภารกิจเพื่อชาติหรือเพื่อใคร?' ( สอบตกอย่างสิ้นเชิงในการปกป้องประชาชนในฐา

( กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ) '3G ภารกิจเพื่อชาติหรือเพื่อใคร?' ( สอบตกอย่างสิ้นเชิงในการปกป้องประชาชนในฐา


ประเด็นหลัก

นักวิชาการและภาคประชาสังคม วิพากษ์การตัดสินใจปรับลดเพดานถือครองคลื่นว่าเป็นการเอื้อให้เกิดการฮั้ว ประมูล หรือกระทั่งวิจารณ์ว่า กสทช. ทำตัวเป็นผู้จัดฮั้วประมูลให้กับภาคเอกชนเสียเอง โดยคาดว่าผู้เข้าร่วมประมูลซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเดิมสามราย คือ AIS DTAC และ True จะได้คลื่นความถี่ไปเจ้าละ 15 MHz ในราคาที่ใกล้เคียงหรือเท่ากับราคาตั้งต้น การปรับลดเพดานถือครองคลื่นทำให้ความพยายามในการแบ่งคลื่นออกเป็นชุดเพื่อ ให้เกิดการแข่งขันนั้นไร้ความหมาย เพราะไม่ว่าจะแบ่งอย่างไร ท้ายสุดผู้ประกอบการก็จะได้คลื่นไปเท่ากัน คือ 15 MHz
กสทช. บางท่านได้ให้เหตุผลโต้แย้งว่า การลดเพดานประมูลคลื่นลงมาเหลือ 15 MHz เป็นการป้องกันผู้ประกอบการสองรายที่ทุนหนา (หมายถึง AIS และ DTAC) ทุ่มประมูลคลื่นความถี่ไปเจ้าละ 20 MHz และเหลือคลื่นเพียง 5 MHz ให้กับเจ้าเล็ก (หมายถึง True) ซึ่งไม่เพียงพอต่อการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและแข่งขันได้ในตลาด ในสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้เหลือผู้เล่นในตลาดเพียงสองราย และส่งผลกระทบกับผู้บริโภคในระยะยาว กล่าวได้ว่า กสทช. ให้ความสำคัญกับการแข่งในตลาด (ให้มีผู้เล่นมากราย) มากกว่าการแข่งขันเข้าสู่ตลาด (การแข่งขันประมูล)
นอกเหนือจากข้อ วิจารณ์บทบาทของ กสทช. ว่ากำลังทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดีที่คอยปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการรายเล็ก มากกว่าเล่นบทผู้กำกับดูแลที่สนใจผลประโยชน์สาธารณะ ข้ออ้างดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นปัญหาทางด้านวิสัยทัศน์ของ กสทช. สามประการ คือ


ความไม่เหมาะสมในวิธีการคำนวณมูลค่าขั้นต่ำดังกล่าว ยังมีเหตุผลหลัก 3 ประการ ที่สนับสนุนว่าควรมีการปรับเงินประมูลตั้งต้นให้สูงขึ้น ดังนี้
1. งานวิจัยของเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้คำนึงถึงลักษณะเฉพาะของโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเป็นระบบสัมปทานที่เอกชนต้องชำระค่าส่วนแบ่งรายได้ให้กับเจ้า ของคลื่นที่อัตราระหว่าง 20-30% การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใบอนุญาตที่ผู้ประกอบการจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีและ เงินในการจัดให้มีบริการทั่วถึงประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จะช่วยให้ภาคเอกชนประหยัดเงินส่วนแบ่งรายได้ไปได้ถึง 15-23 เปอร์เซ็นต์ โดยในปี 2554 เพียงปีเดียว ผู้ประกอบการหลักสามรายจ่ายเงินส่วนแบ่งรายได้รวมกันถึง 48,000 ล้านบาท
2. 3G จะกลายเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ เพราะในขณะที่รายได้จากการให้บริการเสียงมีแนวโน้มกำไรเพิ่มขึ้นทรงตัว รายได้จากการให้บริการที่ไม่ใช่บริการเสียง (non-voice) ของ AIS และ DTAC เติบโตเกินกว่า 30-40% ซึ่งช่วยให้รายได้เฉลี่ยต่อหมายเลขเพิ่มสูงขึ้น ตัวเลขการเติบโตดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการใช้บริการข้อมูลของตลาด โทรคมนาคมประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับตัวเลขจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ทที่เพิ่มขึ้นแบบก้าว กระโดด ดังนั้น ผู้ประกอบการจะยิ่งทำกำไรได้มากยิ่งขึ้นจากการให้บริการ 3G ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วและปริมาณการส่งข้อมูล
3. ผู้บริหารของบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สองเจ้าหลัก คือ AIS และ DTAC ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าได้กันเงินไว้สำหรับการประมูลคลื่นจำนวน 15 MHz ไว้ประมาณ 17,000 ล้านบาท และ 15,000 ล้านบาท ตามลำดับ หรือตกชุดละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวคาดการณ์ได้ว่าเป็นเงินขั้นต่ำที่ผู้ประกอบการเตรียมไว้ สำหรับการประมูล โดยไม่เกี่ยวกับเงินลงทุนในโครงข่ายที่ทั้ง AIS และ DTAC ได้จัดเตรียมไว้อีกส่วนหนึ่ง จึงไม่กระทบกับการลงทุนขยายเครือข่าย



กสทช. สอบตกอย่างสิ้นเชิงในการปกป้องประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี เนื่องจากการออกแบบการประมูลที่ไม่มีการแข่งขันและกำหนดราคาตั้งต้นไว้ต่ำ ทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์มหาศาลจากเงินประมูลที่นำส่งเข้ารัฐ เพื่อนำมาใช้พัฒนาบริการสาธารณะโดยไม่ต้องเรียกเก็บภาษีจากประชาชนมากเกินไป นอกจากนั้น กสทช. ยังสอบตกในการคุ้มครองประชาชนในฐานะพลเมือง ซึ่งควรได้รับสิทธิในการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
การเอื้อประโยชน์ให้กับภาคเอกชนโดยอ้างประชาชนแบบคับแคบย่อมทำให้สังคมอดสงสัยไม่ได้ว่า ภารกิจการประมูล 3G ทำเพื่อชาติหรือเพื่อใคร?














___________________________________


'3G ภารกิจเพื่อชาติหรือเพื่อใคร?'
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

“3G ภารกิจเพื่อชาติหรือเพื่อใคร?”
คณะติดตามการทำงาน กสทช.



เป็น เรื่องน่ายินดีสำหรับคนไทยที่คาดว่าจะมีโอกาสได้ใช้บริการ 3G ภายในช่วงต้นปี 2556 หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช. มีมติผ่านร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทร คมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunication – TMT) ย่าน 2.1 GHz ในวันที่ 22 สิงหาคม 2555 ก่อนที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 และกำหนดวันจัดประมูลคลื่นความถี่ในวันที่ 16 ตุลาคม 2555

การให้ บริการ 3G ถือเป็นสิ่งที่คนไทยต่างเฝ้ารอคอย เพราะการให้บริการ 3G อย่างเต็มรูปแบบบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติมหาศาล อย่างไรก็ตาม แม้คณะทำงานติดตาม กสทช. เห็นด้วยว่าควรมีการจัดประมูลให้เร็วที่สุด ทว่าประโยชน์ดังกล่าวไม่ได้หักล้างบทบาทหน้าที่ของ กสทช. ที่ต้องดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่โดยรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสูง สุด และด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม
รายงานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งด้วยการถอดรหัสชุดข้อมูลและความเชื่อที่ทางคณะกรรมการ กสทช. และที่ปรึกษาบางท่าน ได้พยายามสร้างความชอบธรรมให้กับการประมูลที่ดูจะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ ประกอบการเอกชนครั้งนี้ รวมถึงตรวจสอบความโปร่งใสของกระบวนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง

ถอดรหัสการประมูล 3G
ชุด ข้อมูลและความเชื่อที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อและงานสัมมนาต่างๆ โดย กสทช. เพื่อสนับสนุนการออกแบบการประมูลครั้งนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเด็นหลัก คือ 1) การปรับเพดานถือครองคลื่นความถี่จาก 20 MHz เหลือ 15 MHz ทำเพื่อป้องกันการผูกขาด 2) ราคาตั้งต้นการประมูล 4,500 ล้านบาทเป็นราคาที่เหมาะสม 3) ราคาการประมูลที่สูงเกินไปจะทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน และ 4) ผู้เข้าประมูลจะแข่งกันประมูลเพื่อให้ได้สิทธิเลือกย่านคลื่นความถี่
คณะทำงานถอดรหัสชุดข้อมูลและความเชื่อในการประมูล 3G ดังต่อไปนี้

- การปรับเพดานการประมูลคลื่นความถี่จาก 20 MHz เหลือ 15 MHz เป็นการส่งเสริมการแข่งขันในตลาดและป้องกันการผูกขาด
ใน การประมูลครั้งนี้ กสทช. เปิดให้มีการประมูลคลื่นทั้งหมด 45 MHz โดยแบ่งคลื่นความถี่ออกเป็น 9 ชุด ชุดละ 5 MHz (ดูภาพที่ 1) วัตถุประสงค์ของการแบ่งคลื่นออกเป็นชุดเพื่อให้ผู้ประมูลแข่งขันกันประมูล ชุดความถี่มากตามที่ตนต้องการ โดยท้ายสุดผู้เข้าประมูลอาจได้จำนวนจำนวนคลื่นความถี่ไม่เท่ากัน เดิมที กสทช. กำหนดเพดานการถือครองคลื่นความถี่ไว้ที่ 20 MHz และราคาตั้งต้นการประมูลที่ 4,500 ล้านบาท ทว่าหลังจากรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ กสทช. ได้ปรับลดเพดานถือครองคลื่นความถี่จาก 20 MHz เป็น 15 MHz โดยไม่ได้มีการปรับเพิ่มราคาตั้งต้นการประมูลที่กำหนดไว้ที่ 4,500 ล้านบาท





นัก วิชาการและภาคประชาสังคมวิพากษ์การตัดสินใจปรับลดเพดานถือครองคลื่นว่าเป็น การเอื้อให้เกิดการฮั้วประมูล หรือกระทั่งวิจารณ์ว่า กสทช. ทำตัวเป็นผู้จัดฮั้วประมูลให้กับภาคเอกชนเสียเอง โดยคาดว่าผู้เข้าร่วมประมูลซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเดิมสามราย คือ AIS DTAC และ True จะได้คลื่นความถี่ไปเจ้าละ 15 MHz ในราคาที่ใกล้เคียงหรือเท่ากับราคาตั้งต้น การปรับลดเพดานถือครองคลื่นทำให้ความพยายามในการแบ่งคลื่นออกเป็นชุดเพื่อ ให้เกิดการแข่งขันนั้นไร้ความหมาย เพราะไม่ว่าจะแบ่งอย่างไร ท้ายสุดผู้ประกอบการก็จะได้คลื่นไปเท่ากัน คือ 15 MHz
กสทช. บางท่านได้ให้เหตุผลโต้แย้งว่า การลดเพดานประมูลคลื่นลงมาเหลือ 15 MHz เป็นการป้องกันผู้ประกอบการสองรายที่ทุนหนา (หมายถึง AIS และ DTAC) ทุ่มประมูลคลื่นความถี่ไปเจ้าละ 20 MHz และเหลือคลื่นเพียง 5 MHz ให้กับเจ้าเล็ก (หมายถึง True) ซึ่งไม่เพียงพอต่อการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและแข่งขันได้ในตลาด ในสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้เหลือผู้เล่นในตลาดเพียงสองราย และส่งผลกระทบกับผู้บริโภคในระยะยาว กล่าวได้ว่า กสทช. ให้ความสำคัญกับการแข่งในตลาด (ให้มีผู้เล่นมากราย) มากกว่าการแข่งขันเข้าสู่ตลาด (การแข่งขันประมูล)
นอกเหนือจากข้อ วิจารณ์บทบาทของ กสทช. ว่ากำลังทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดีที่คอยปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการรายเล็ก มากกว่าเล่นบทผู้กำกับดูแลที่สนใจผลประโยชน์สาธารณะ ข้ออ้างดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นปัญหาทางด้านวิสัยทัศน์ของ กสทช. สามประการ คือ

1. การแข่งขันให้บริการข้อมูลความเร็วสูงในตลาดไม่ได้ขึ้นอยู่กับคลื่น 2.1 GHz เท่านั้น ในปัจจุบัน True ได้เปรียบผู้ประกอบการเจ้าอื่นด้วยการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz ภายใต้สัญญาร่วมกับบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยไม่ต้องเสียค่าประมูลคลื่น ดังนั้น ต่อให้ True ได้คลื่นไปเพียง 5 MHz ก็ไม่ได้หมายความว่า True จะไม่สามารถแข่งขันให้บริการ 3G ได้ นอกจากนั้น กสทช. บางท่านก็ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อตลอดว่า คลื่นความถี่ในช่วง 1800 MHz ที่จะกลับคืนมายัง กสทช. เพื่อจัดสรรใหม่ในปี 2556 จะถูกนำมาใช้รองรับเทคโนโลยี 4G ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแข่งขันในบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแข่งกับบริการ 3G ที่ประมูลก่อน อีกทั้ง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็มีแผนที่จะให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz เช่นกัน
2. แม้ True จะเคยมีปัญหาทางด้านการเงินอยู่บ้าง ทว่า True ก็เป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้ทุนขนาดใหญ่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของไทยที่ไปลงทุนมากมายในต่างประเทศ และประกาศอยู่เสมอว่า มีเงินไม่น้อยกว่ารายอื่น True จึงไม่น่ามีปัญหาเรื่องการระดมทุนสำหรับการประมูลและลงทุนในการให้บริการ 3G ครั้งนี้ อย่างที่คณะกรรมการ กสทช. กังวลไปเอง
3. หากเกรงว่าการประมูลที่กำหนดเพดานถือครองคลื่นความถี่สูงสุดไว้ที่ 20 MHz จะนำไปสู่สถานการณ์ 20-20-5 คือมีผู้ประกอบรายหนึ่งได้คลื่นไปเพียงแค่ 5 MHz ทางเลือกที่ดีกว่าการลดเพดานลงมาเหลือ 15 MHz คือ การการกำหนดเพดานขั้นสูงไว้ที่ 20 MHz และเพดานขั้นต่ำที่ 10 MHz ซึ่งจะทำให้เกิดผลลัพธ์การประมูล 2 แบบ คือ 15-15-15 MHz หรือ 20-15-10 MHz นอกจากนั้นยังมีข้อเสนอของ Siam Intelligence Unit ที่ให้ยกเลิกวิธีประมูลแบบแบ่งคลื่นเป็นชุดละ 5 MHz และใช้การกำหนดใบอนุญาตแบบตายตัวสามขนาดคลื่นความถี่ คือ 20-15-10 MHz วิธีนี้นอกจากจะทำให้เกิดการแข่งขันประมูลแล้ว ยังป้องกันผู้ประกอบรายหนึ่งได้คลื่นไปเพียง 5 MHz

การไม่คำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวทำให้สังคมอดตั้งข้อสงสัยไม่ได้ว่า กสทช. กำลังแกล้งหลงลืมประเด็นเหล่านี้เพื่อผลประโยชน์ของใครหรือไม่
- ราคาตั้งต้นการประมูล 4,500 ล้านบาทเหมาะสมแล้ว
ราคา ขั้นต่ำการประมูลเป็นเครื่องมือที่ช่วยประกันว่าต่อให้ไม่มีการแข่งขัน ประมูลเกิดขึ้น รัฐก็ยังได้รับรายได้ที่สอดคล้องกับมูลค่าคลื่นความถี่ คำถามสำคัญในกรณีนี้คือ ตัวเลขราคาตั้งต้นการประมูล 4,500 ล้านบาทมีที่มาที่ไปอย่างไรและเหมาะสมหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยและลักษณะเฉพาะของตลาดโทรคมนาคมในประเทศไทย หรือเป็นเพียงตัวเลขที่ถูกตั้งธงไว้ล่วงหน้า ดังข้อสงสัยที่สังคมมีต่อท่าทีของ ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ที่ให้สัมภาษณ์สื่อโดยชี้นำว่าราคาตั้งต้นไม่ควรเกิน 5,000 ล้านบาทต่อ 5 MHz หรือกระทั่งเคยเสนอให้อยู่ที่ประมาณ 2,300 ถึง 3,300 ล้านต่อ 5 MHz
ในหนังสือชี้แจงของสำนักงาน กสทช. ถึงเวลา 3G ประเทศไทยบนคลื่น 2.1 GHz ได้อธิบายถึงที่มาที่ไปของตัวเลขดังกล่าว ตามลำดับดังนี้
1. รายงานประเมินมูลค่าคลื่นความถี่และมูลค่าขั้นต่ำของการประมูลคลื่น 2.1 GHz ที่ กสทช. ว่าจ้างคณะวิจัยของเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เสนอว่า มูลค่าคลื่นความถี่ขนาด 5MHz ตามราคาตลาดอยู่ที่ 6,440 ล้านบาท
2. รายงานดังกล่าวเสนอว่าราคาตั้งต้นการประมูลไม่ควรต่ำกว่า 67% ของราคาประเมินมูลค่าคลื่น โดยที่ตัวเลข 67% นี้ได้มาจากค่าเฉลี่ยสัดส่วนระหว่างราคาตั้งต้นกับราคาชนะการประมูลของ 13 ประเทศ
3. มีการปรับตัวเลข 67% มาเป็น 70% ตามอัตราเงินเฟ้อ
4. เมื่อนำมูลค่าคลื่นมาคูณกับ 70% (6,440 x 0.7 = 4,508 ล้านบาท) จึงเป็นที่มาของตัวเลขราคาตั้งต้นการประมูลที่ 4,500 ล้านบาท
คำ ถามคือ ตัวเลข 67% มีความเหมาะสมในการคำนวณราคาตั้งต้นการประมูลหรือไม่? นักวิชาการบางท่านเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวไม่เหมาะสมเนื่องจากการประมูลในแต่ ละประเทศมีลักษณะเฉพาะของตลาดโทรคมนาคมที่ต่างกัน จำนวนผู้เข้าร่วมประมูลและวิธีการประมูลก็แตกต่างกัน จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นฐานคิดคำนวณมูลค่าขั้นต่ำของการประมูล และต่อให้เชื่อว่าวิธีการดังกล่าวเหมาะสม รายงานของเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ก็ชี้ชัดว่า สัดส่วนราคาตั้งต้นต่อราคาที่ชนะควรมีค่าสูงขึ้นในตลาดที่มีผู้ให้บริการ น้อยราย โดยเสนอว่าในกรณีที่มีผู้ประมูล 3 ราย (ดังเช่นที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในกรณีของประเทศไทย) สัดส่วนที่สัมพันธ์กันควรอยู่ที่ 0.82 หรือ 82% ซึ่งทำให้ตัวเลขราคาประมูลขั้นต่ำขยับมาอยู่ที่ประมาณ 5,280 ล้านบาท
นอก จากนั้น ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังวิเคราะห์ให้เห็นว่า มูลค่าคลื่น 6,440 ล้านบาท เป็นราคาประเมินโดยใช้ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและประสบการณ์การประมูลของ ต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ตัวเลขประเมินดังกล่าวจึงมีค่าต่ำกว่าในกรณีที่การประมูลมีการแข่งขันเต็ม ที่ ด้วยเหตุนี้ ตัวเลข 6,440 จึงควรเป็นขอบเขตล่างสุดของรายรับ หรือควรเป็นราคาที่ใช้ตั้งต้นการประมูลนั่นเอง
นอกจากความไม่เหมาะสมใน วิธีการคำนวณมูลค่าขั้นต่ำดังกล่าว ยังมีเหตุผลหลัก 3 ประการ ที่สนับสนุนว่าควรมีการปรับเงินประมูลตั้งต้นให้สูงขึ้น ดังนี้
1. งานวิจัยของเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้คำนึงถึงลักษณะเฉพาะของโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเป็นระบบสัมปทานที่เอกชนต้องชำระค่าส่วนแบ่งรายได้ให้กับเจ้า ของคลื่นที่อัตราระหว่าง 20-30% การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใบอนุญาตที่ผู้ประกอบการจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีและ เงินในการจัดให้มีบริการทั่วถึงประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จะช่วยให้ภาคเอกชนประหยัดเงินส่วนแบ่งรายได้ไปได้ถึง 15-23 เปอร์เซ็นต์ โดยในปี 2554 เพียงปีเดียว ผู้ประกอบการหลักสามรายจ่ายเงินส่วนแบ่งรายได้รวมกันถึง 48,000 ล้านบาท
2. 3G จะกลายเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ เพราะในขณะที่รายได้จากการให้บริการเสียงมีแนวโน้มกำไรเพิ่มขึ้นทรงตัว รายได้จากการให้บริการที่ไม่ใช่บริการเสียง (non-voice) ของ AIS และ DTAC เติบโตเกินกว่า 30-40% ซึ่งช่วยให้รายได้เฉลี่ยต่อหมายเลขเพิ่มสูงขึ้น ตัวเลขการเติบโตดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการใช้บริการข้อมูลของตลาด โทรคมนาคมประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับตัวเลขจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ทที่เพิ่มขึ้นแบบก้าว กระโดด ดังนั้น ผู้ประกอบการจะยิ่งทำกำไรได้มากยิ่งขึ้นจากการให้บริการ 3G ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วและปริมาณการส่งข้อมูล
3. ผู้บริหารของบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สองเจ้าหลัก คือ AIS และ DTAC ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าได้กันเงินไว้สำหรับการประมูลคลื่นจำนวน 15 MHz ไว้ประมาณ 17,000 ล้านบาท และ 15,000 ล้านบาท ตามลำดับ หรือตกชุดละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวคาดการณ์ได้ว่าเป็นเงินขั้นต่ำที่ผู้ประกอบการเตรียมไว้ สำหรับการประมูล โดยไม่เกี่ยวกับเงินลงทุนในโครงข่ายที่ทั้ง AIS และ DTAC ได้จัดเตรียมไว้อีกส่วนหนึ่ง จึงไม่กระทบกับการลงทุนขยายเครือข่าย

ด้วย ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด การที่ กสทช. เลือกกำหนดค่าประมูลตั้งต้นเพียง 4,500 ล้านบาท ทั้งที่ภาคเอกชนมีแรงจูงใจสูงมากเมื่อคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และคาดได้ว่าจะไม่มีการแข่งขันประมูลมากนัก จึงถือเป็นการเอื้อประโยชน์กับผู้ประกอบการ และปล่อยให้ประเทศชาติเสียรายได้เข้ารัฐอย่างไม่สมควร



-ราคาประมูลที่สูงจะทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน
คณะ กรรมการ กสทช. และที่ปรึกษาบางท่านได้สร้างชุดความเชื่ออย่างต่อเนื่องว่า ราคาค่าประมูลที่สูงนั้นจะกลายเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มที่ผู้ประกอบการจะนำไปบวก ในค่าบริการและกลายเป็นภาระกับผู้บริโภค แนวคิดนี้ไม่ได้ถูกถกเถียงมากนักโดย กสทช. จนกระทั่งมีการตัดสินใจลดเพดานถือครองคลื่นเหลือ 15 MHz และไม่มีการปรับเพิ่มราคาตั้งต้นให้สูงขึ้น โดยก่อนหน้านี้ ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ หนึ่งในคณะกรรมการ กสทช. และ ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ ผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบการประมูลครั้งนี้ ยังให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ คม ชัด ลึก ว่าการออกแบบการประมูลโดยตั้งเพดานไว้ที่ 20 MHz และแบ่งการประมูลออกเป็นชุดละ 5 MHz นั้น ล้วนมุ่งหวังให้เกิดการแข่งขันประมูล

ความเชื่อเรื่องราคาค่าประมูล จะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคหรือไม่นั้น นักวิชาการหลายท่าน ได้เขียนอธิบายมาอย่างต่อเนื่องว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากเงินที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ประมูลจะถูกคำนวณจากกำไรส่วนเกินหลัง หักต้นทุน และจะกลายเป็นต้นทุนจมซึ่งไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อราคาค่าบริการ (ดูภาพที่ 2) ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาค่าบริการคือสภาพการแข่งขันในตลาด เพราะถึงแม้จะมีการจัดสรรคลื่นความถี่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ประกอบการก็ไม่ได้ให้บริการฟรีหรือลดค่าบริการให้ แต่จะกำหนดราคาสูงสุดตามสภาวะการแข่งขันในตลาด หลักการทางเศรษฐศาสตร์นี้ไม่ได้ถูกอ้างโดยนักวิชาการนอก กสทช. เท่านั้น แต่รายงานการประมูลคลื่นความถี่ฯ ซึ่ง กสทช. ได้ว่าจ้างคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ รวมถึงรายงานผลกระทบจากการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ IMT ที่ กทช. ได้จัดทำขึ้นเพื่อเตรียมการประมูลครั้งก่อนหน้า ก็ยืนยันว่าราคาค่าประมูลไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค


ในเมื่อราคา ประมูลไม่ส่งผลกระทบกับราคาค่าบริการของผู้บริโภคดังที่กล่าวอ้าง ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการไม่ปรับราคาตั้งต้นในภาวะที่คาดการณ์ได้ว่าจะไม่มี การแข่งขันประมูล จึงมีเพียงผู้ประกอบการเท่านั้น
- สิทธิในการกำหนดช่วงคลื่นความถี่ก่อนจะทำให้เกิดการแข่งขันประมูล
หนึ่ง ในข้อโต้แย้งจากทาง กสทช. ภายหลังมีการปรับลดเพดานการถือครองคลื่นความถี่เหลือ 15 MHz คือ แม้ในกรณีที่มีผู้เข้าประมูลสามรายและทำให้ไม่มีการแข่งขันเพื่อประมูลจำนวน คลื่นความถี่ ผู้ประมูลก็ยังจะแข่งกันเพื่อชิงสิทธิในการเลือกตำแหน่งย่านความถี่ก่อน (ดูภาพที่ 3) ดร.เศรษฐพงค์ให้เหตุผลว่า การเลือกช่วงคลื่นที่ติดกับผู้ประกอบการรายอื่นเพียงด้านเดียวจะช่วยให้ผู้ ประกอบการใช้คลื่นความถี่ได้เต็มประสิทธิภาพมากกว่า รวมถึงส่งผลต่อต้นทุนในการวางโครงข่ายและการบำรุงดูแลรักษาโครงข่ายซึ่งเกิด จากคลื่นความถี่ที่ติดกันของผู้บริการรายอื่น

อย่างไรก็ตาม การศึกษาของทางสำนักงาน กสทช. เองกลับไม่ปรากฏข้อมูลที่ยืนยันว่าสิทธิในการเลือกย่านความถี่จะช่วยให้เกิด การแข่งประมูลดังที่กล่าวอ้าง อีกทั้งรายงานการประชุมของอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่น ความถี่ย่าน 2.1 GHz ก็ไม่ได้มีการถกเถียงหรือยืนยันความสำคัญของสิทธิเลือกย่านความถี่ต่อการ ประมูลมากนัก หากเชื่อว่าประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญถึงขั้นส่งผลต่อการแข่งขันประมูล
แม้ จะมีการกล่าวอ้างแง่มุมทางเทคนิคเพื่อสนับสนุนความเชื่อที่ว่าสิทธิในการ เลือกย่านคลื่นจะมีผลกระทบต่อการแข่งขันประมูล ทว่าสิ่งที่แน่ชัดคือ ย่านความถี่มีความสำคัญน้อยกว่าจำนวนคลื่นความถี่ ซึ่งควรถูกใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบเพื่อส่งเสริมการแข่งขันการประมูล มากกว่า ดังเช่นในกรณีการประมูล 3G ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการประมูลไม่ค่อยมีการแข่งขันเช่นเดียวกับไทย การแข่งขันเลือกย่านความถี่ส่งผลให้ราคาสุดท้ายสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.5% เท่านั้น
ความโปร่งใสของกระบวนการกำหนดนโยบาย
ในขั้นตอนกำหนด ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz มีข้อเคลือบแคลงสงสัยถึงความโปร่งใสและถูกต้องของกระบวนการด้วยกัน 3 ประการ ดังนี้
1. การไม่เผยแพร่รายงานประเมินมูลค่าคลื่นความถี่และมูลค่าขั้นต่ำฯ ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดมาตรา 59 ของ พรบ. องค์กรฯ ที่กำหนดให้ กสทช. ต้องตีพิมพ์ผลการศึกษาวิจัยที่ว่าจ้างให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการ รายงานฉบับนี้ถูกอ้างถึงและใช้เป็นข้อมูลหลักในการกำหนดราคาตั้งต้นการ ประมูล แต่กลับไม่มีการเผยแพร่เพื่อให้สังคมได้รับรู้ในวงกว้างและใช้ประกอบการรับ ฟังความคิดเห็น สาธารณชนไม่เคยรับรู้ที่มาที่ไปที่แท้จริงของตัวเลขการประเมินคลื่น และ กสทช. ไม่เคยเปิดโอกาสให้มีการวิจารณ์ระเบียบวิธีของการได้มาซึ่งตัวเลขที่มีความ สำคัญในการกำหนดเม็ดเงินเข้าประเทศชาติหลายหมื่นล้านบาท
2. กระบวนการจัดทำประกาศไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ พ.ศ. 2548 ข้อ 21 ของระเบียบนี้ระบุว่า ในการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะนั้น ให้คณะกรรมการจัดทำประกาศเชิญชวนล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ส่วนในช่วงรับฟังความเห็นนั้นต้องมีระยะเวลา 30 วัน รวมเวลาทั้งสิ้น 45 วัน ทว่าสำนักงาน กสทช. เริ่มเผยแพร่ร่างประกาศฯ ในวันที่ 28 มิถุนายน 2555 และกำหนดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 เท่านั้น รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 30 วัน มิใช่ 45 วันอย่างที่ควรจะเป็น ระยะเวลาที่ย่นย่อลงนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิและโอกาสในการแสดงความคิดเห็น ของประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความซับซ้อนเช่นประกาศฉบับนี้ และอาจส่งผลให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นส่วนมากเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ เกี่ยวข้องเป็นหลัก
3. ภายหลังจากกระบวนการรับฟังความเห็นและมีการปรับแก้ร่างประกาศฯ ในประเด็นสำคัญสองประเด็น คือ การลดเพดานประมูลคลื่นความถี่เหลือ 15 MHz และการขยายระยะเวลาชำระเงินค่าประมูลคลื่น ทาง กสทช. ไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมอนุกรรมการเตรียมความพร้อมฯ ซึ่งแต่งตั้งขึ้นจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอกและภายในองค์กร เพื่อให้ความเห็นก่อนที่จะนำเสนอวาระเข้าสู่การพิจารณาในชั้น กทค. การณ์กลับกลายเป็นว่า เรื่องถูกเสนอเข้า กทค. โดยคณะทำงานที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของอนุกรรมการฯ อีกทีหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องโดยตรง ด้วยเหตุนี้ การปรับเปลี่ยนสำคัญจึงไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองอย่างรอบคอบโดยคณะอนุกรรมการฯ ตามโครงสร้างการทำงานที่ควรจะเป็น การกระทำเช่นนี้ขัดแย้งกับคำสัมภาษณ์ของ ดร.เศรษฐพงค์ ที่มักกล่าวว่าการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับประกาศล้วนเป็นความเห็นของคณะ อนุกรรมการฯ ไม่ใช่การตัดสินใจของตนเองเพียงผู้เดียว

บทสรุป: 3G ภารกิจเพื่อชาติหรือเพื่อใคร?

ข้อ เท็จจริงที่ว่า เทคโนโลยี 3G จะสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับประเทศชาตินั้น เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนของ สังคมยอมรับและต้องการให้ 3G เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยเร็ว ทว่าประโยชน์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มี ต่อสังคม หาใช่สิ่งที่ กสทช. จะนำมาใช้อ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการตัดสินใจทางนโยบายของตน สิ่งที่สังคมคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของ กสทช. คือการออกแบบวิธีการให้อนุญาตใช้คลื่นความถี่อันเป็นสมบัติสาธารณะของชาติ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของชาติและความโปร่งใสของกระบวนการกำหนดนโยบาย

ใน การตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการประมูล 3G ครั้งนี้ กสทช. พยายามทำให้สังคมเชื่อว่าได้ปกป้องประชาชนในฐานะผู้บริโภคด้วยการสนับสนุน การแข่งขันในตลาดและป้องกันผู้บริโภคจากการส่งผ่านราคาค่าประมูลไปยังค่า บริการ ทว่าการออกแบบการประมูลให้เกิดการแข่งขันเพื่อนำรายได้เข้ารัฐไม่ได้มีผล กระทบกับการแข่งขันในตลาดและผู้บริโภคดังที่ได้วิเคราะห์ไป อีกทั้ง กสทช. ยังมีเครื่องมือทางนโยบายอื่นๆ เช่น การกำหนดเพดานราคาค่าบริการ สำหรับคุ้มครองผู้บริโภค
กสทช. สอบตกอย่างสิ้นเชิงในการปกป้องประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี เนื่องจากการออกแบบการประมูลที่ไม่มีการแข่งขันและกำหนดราคาตั้งต้นไว้ต่ำ ทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์มหาศาลจากเงินประมูลที่นำส่งเข้ารัฐ เพื่อนำมาใช้พัฒนาบริการสาธารณะโดยไม่ต้องเรียกเก็บภาษีจากประชาชนมากเกินไป นอกจากนั้น กสทช. ยังสอบตกในการคุ้มครองประชาชนในฐานะพลเมือง ซึ่งควรได้รับสิทธิในการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
การเอื้อประโยชน์ให้กับภาคเอกชนโดยอ้างประชาชนแบบคับแคบย่อมทำให้สังคมอดสงสัยไม่ได้ว่า ภารกิจการประมูล 3G ทำเพื่อชาติหรือเพื่อใคร?


ฐานเศษรฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=146680:3g-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.