Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2555 3ยักษ์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่นสาหัส คาดโซนี่-พานาโซนิค-ชาร์ป ขาดทุนรวมกัน 17,000 ล้านดอลลาร์

3ยักษ์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่นสาหัส คาดโซนี่-พานาโซนิค-ชาร์ป ขาดทุนรวมกัน 17,000 ล้านดอลลาร์


ประเด็นหลัก

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เดอะ วอลสตรีทเจอร์นัลรายงานว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ถือว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดของ ญี่ปุ่น 3 แห่งคือ โซนี่ คอร์ป ชาร์ป คอร์ป และพานาโซนิค คอร์ป หมดหวังที่จะคาดหวังถึงผลกำไรประจำปี โดยประเมินว่าทั้ง 3 บริษัทจะขาดทุนรวมกันแล้วเกือบ 17,000 ล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณนี้ที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม โดยพานาโซนิคคาดว่าจะขาดทุน 10,218 ล้านดอลลาร์ ชาร์ปขาดทุน 3,799 ล้านดอลลาร์ ขณะที่โซนี่ขาดทุน 2,882 ล้านดอลลาร์



__________________________________________________________


3ยักษ์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่นสาหัส คาดโซนี่-พานาโซนิค-ชาร์ป ขาดทุนรวมกัน 17,000 ล้านดอลลาร์


เมื่อ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เดอะ วอลสตรีทเจอร์นัลรายงานว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ถือว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดของ ญี่ปุ่น 3 แห่งคือ โซนี่ คอร์ป ชาร์ป คอร์ป และพานาโซนิค คอร์ป หมดหวังที่จะคาดหวังถึงผลกำไรประจำปี โดยประเมินว่าทั้ง 3 บริษัทจะขาดทุนรวมกันแล้วเกือบ 17,000 ล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณนี้ที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม โดยพานาโซนิคคาดว่าจะขาดทุน 10,218 ล้านดอลลาร์ ชาร์ปขาดทุน 3,799 ล้านดอลลาร์ ขณะที่โซนี่ขาดทุน 2,882 ล้านดอลลาร์

ปัญหาระยะสั้นที่มีส่วนทำให้ผลประกอบการแดงเถือกคือ เงินเยนแข็งค่า แผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิเมื่อปีที่แล้ว น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยและราคาพลังงานที่สูงขึ้น

แต่ปัญหาที่เกาะกิน บริษัทอย่างโซนี่ ชาร์ป และพานาโซนิคเป็นเรื่องพื้นฐานมากกว่านั้น จากที่เคยมีบทบาทครอบครองอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างโดดเด่น บริษัทของญี่ปุ่นเหล่านี้เพียงแค่ไม่สามารถสร้างสรรค์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในแบบที่ผู้คนต้องการได้


สิ่งที่บริษัทเหล่านี้ทำไม่อาจสร้าง ความแตกต่างได้มากพอ จึงต้องลงเอยด้วยการห้ำหั่นด้านราคากันอย่างโหดร้าย และเมื่อความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ก็ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วมากพอเนื่องจากทรัพยากรที่บริษัทเหล่านี้ มีนั้นแพร่กระจายตัวอยู่อย่างเบาบางในหลากหลายสายผลิตภัณฑ์มากเกินไป


ผล ที่ออกมาคือพวกเขาไม่สามารถเทียบได้กับนวัตกรรมของแอปเปิล อิงค์ อย่างเช่น ไอแพดและไอโฟน หรืออำนาจการผลิตที่ทรงพลังของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ โค มหาอำนาจด้านเซมิคอนดักเตอร์ โทรศัพท์มือถือและโทรทัศน์ แอปเปิลทำรายรับได้ 13,100 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสล่าสุดเพียงไตรมาสเดียวขณะที่ซัมซุงจัดตั้งงบประมาณสำหรับการลงทุน ในปี 2012 ไว้ 41,000 ล้านดอลลาร์

อาการเลือดไหลไม่หยุดนี้เกิดขึ้น ไม่กี่ปีหลังจากที่ทั้ง 3 บริษัท ปรับใช้ยุทธศาสตร์ที่แตกต่างไปอย่างชัดเจนเพื่อเพิ่มอัตราส่วนกำไรที่มีอยู่ น้อยมาก โดยโซนี่ใช้วิธีการบีบห่วงโซ่การผลิตของตนให้หดเล็กลง ชาร์ปสร้างโรงงานสำหรับผลิตจอภาพแอลซีดีขนาดมหึมาขึ้นในญี่ปุ่น ขณะที่พานาโซนิคเข้าซื้อกิจการของคู่แข่งรายเล็กๆ ในประเทศเพื่อขยายธุรกิจออกไป

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทยักษ์ ใหญ่ญี่ปุ่นเหล่านี้รวมไปถึงโทรทัศน์ เครื่องเล่นบลูเรย์ และคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป ขณะที่โซนี่ยังมีทั้งกล้องดิจิตอลและเครื่องเล่นเกมคอนโซลด้วย อย่างไรก็ดี พวกเขาพลาดส่วนใหญ่ของกระแสอุปกรณ์มือถือไป และตัวเลขยอดขายได้แสดงให้เห็น

โดย รายรับของกลุ่มคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์และวิดีโอเกมของโซนี่ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณนี้ลดลง 24 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่รายได้แผนกผลิตภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ของพานาโซนิคในไตรมาสที่สิ้นสุด เดือนธันวาคมนี้ลดลง 19 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรายได้แผนกอิเล็กทรอนิกส์ของชาร์ปซึ่งไม่รวมจอภาพแอลซีดีในไตรมาสนี้ ลดลง 5.3 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วสิ้นสุดเดือนกันยายน ทั้งที่มียอดขายในช่วงเทศกาลวันหยุดมาช่วยไว้ก็ตาม

มาสุงิ คามินางะ แห่งบริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์โรลันด์ แบร์เกอร์ กล่าวว่า �ในทางประวัติศาสตร์แล้ว นี่เป็นช่วงเวลาที่หนักหนาสาหัสที่สุดเท่าที่เคยผ่านมาสำหรับบริษัท อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น พวกเขาแทบไม่เคยพบกับปัญหาท้าทายมาก่อน แต่พอมาตอนนี้ต้องเจอในทุกทิศทาง�

คามินางะบอกว่า มีความเหมือนกันระหว่างยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาในยุค ทศวรรษที่ 1970 กับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นทุกวันนี้ ในขณะที่บริษัทที่สามารถยอมรับการปรับเปลี่ยนได้จะสามารถอยู่รอดและเจริญ รุ่งเรืองในท้ายที่สุดอย่างเช่น ไอบีเอ็ม ขณะที่บางบริษัทอาจจะถดถอยจนล้มละลายไปเหมือนอย่างอีสต์แมน โกดัก โค และนอกจากนี้ยังเหมือนกันในแง่ที่บริษัทสหรัฐในช่วงนั้นต้องเผชิญกับการผงาด ขึ้นมาของบริษัทเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นขณะที่ฝ่ายหลังต้องเผชิญกับการแข่งขัน ที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทของเกาหลีและยิ่งกว่านั้นก็คือบริษัทจากจีน

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1328669255&grpid=00&catid=&subcatid=


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.