Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2555 คาดใบอนุญาต3Gไม่เกิน3ใบช่วงความถี่ 15 MHz เงื่อนไข N-1 ( รอพิจารณากรอบผู้เล่นหน้าใหม่!! ) คลื่นที่เหลือเก็บเพื่อสาธารณะ

คาดใบอนุญาต3Gไม่เกิน3ใบช่วงความถี่ 15 MHz เงื่อนไข N-1 ( รอพิจารณากรอบผู้เล่นหน้าใหม่!! ) คลื่นที่เหลือเก็บเพื่อสาธารณะ


ประเด็นหลัก

พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ในฐานะประธานด้านกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่น ความถี่ ย่าน 2.1 GHZ เพื่อรองรับเทคโนโลยี IMT-2000 หรือ IMT Advanced นัดแรกเมื่อวันที่ 7ก.พ.ว่าที่ประชุมได้นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องในการประมูลคลื่นความถี่ ประกอบด้วยเรื่องของราคาเริ่มต้นในการประมูล และเงื่อนไข N-1โดยเงื่อนไขจะต้องดำเนินการตามหลักวิชาการ และต้องดูภาพรวมไม่ใช่ดูเรื่องตัวเงินอย่างเดียว แต่ต้องดูเรื่องของประโยชน์ทางสังคมที่จะได้รับ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์

ส่วนคลื่น ความถี่ 2.1 Ghzนั้น กสทช.มีอยู่จำนวน 45 MHzซึ่งคณะอนุฯต้องศึกษารายละเอียดก่อนว่าจะประมูลใบอนุญาตช่วงคลื่นความถี่ ละเท่าไหร่ และกสทช.จะเก็บคลื่นไว้เท่าไหร่ ซึ่งกสทช.อาจจะเก็บคลื่นไว้เองประมาณ15 MHzเพื่อนำไปใช้ประโยชน์สาธารณะต่อไป

'ส่วนตัวเชื่อว่าการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไตรมาส 3ปีนี้ใบอนุญาตที่จะประมูลจะมีช่วงกว้างความถี่ใบละ15 MHzไม่ใช่ใบละ10 Mhzแน่นอนเพราะน้อยเกินไป'

_________________________________________________________


คาดใบอนุญาต 3G ไม่เกิน 3 ใบช่วงความถี่ 15 MHz

คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ ย่าน 2.1 GHZ ประชุมนัดแรก หารือ2เรื่องคือราคาเริ่มต้นการประมูล และเงื่อนไข N-1พร้อมให้ความสำคัญเรื่องการใช้สถานีฐานร่วมกับโรมมิ่ง รวมถึงTower-co Company เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในตลาด แต่ทั้งหมดยังไม่ฟันธง

พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ในฐานะประธานด้านกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่น ความถี่ ย่าน 2.1 GHZ เพื่อรองรับเทคโนโลยี IMT-2000 หรือ IMT Advanced นัดแรกเมื่อวันที่ 7ก.พ.ว่าที่ประชุมได้นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องในการประมูลคลื่นความถี่ ประกอบด้วยเรื่องของราคาเริ่มต้นในการประมูล และเงื่อนไข N-1โดยเงื่อนไขจะต้องดำเนินการตามหลักวิชาการ และต้องดูภาพรวมไม่ใช่ดูเรื่องตัวเงินอย่างเดียว แต่ต้องดูเรื่องของประโยชน์ทางสังคมที่จะได้รับ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นที่ประชุมยังไม่สามารถฟันธงในประเด็นต่างๆได้ แต่ได้ตั้งคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีตนเป็นประธาน และให้รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ เป็นผู้ไปดูแล

'ราคาเริ่มต้นในการประมูลครั้งที่แล้วที่ 12,800 ล้านบาทและมีใบอนุญาต 3 ใบ แต่ที่ประชุมในวันนี้คาดว่าจะมีราคาที่อาจจะถูกลงเนื่องจากเทคโนโลยีมีราคา ถูกลงทุกปี ส่วนใบอนุญาตคาดว่าจะไม่เกิน 3ใบ และไม่น้อยกว่า 2 ใบแน่นอน'

นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีกรณีเรื่องการใช้เสา และสถานีฐานร่วมกันโดยคาดว่าจะออกหลักเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการฟ้อง ร้อง หรือร้องเรียนภายหลัง และต้องมีหลักเกณฑ์ที่เปิดกว้างให้มีรายใหม่ๆ เข้ามา รวมไปถึงในประเด็นที่อาจจะมีการเปิดเป็น Tower-co Company ให้สำหรับบริษัทรายใหม่ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง อีกทั้งยังมีเรื่องโรมมิ่งที่ต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมในเรื่องของการ ดำเนินการ โดยคณะอนุกรรมการฯได้เห็นชอบกรอบเวลาการดำเนินงานให้เสร็จสิ้นมีการประมูล อย่างช้าที่สุดภายในไตรมาสที่3ของปีนี้ โดยคณะอนุกรรมการฯมีข้อตกลงกันว่าจะมีการประชุมกันเดือนละ 3 ครั้ง

'ทั้งนี้เบื้องต้นคาดว่าร่างหลักเกณฑ์ IMT 2000 จะได้เห็นไม่เกิน 3เดือน ซึ่งโครงสร้างของประกาศIMT 2000 คงไม่รื้อจากฉบับเก่าทั้งหมด'

ส่วนคลื่นความถี่ 2.1 Ghzนั้น กสทช.มีอยู่จำนวน 45 MHzซึ่งคณะอนุฯต้องศึกษารายละเอียดก่อนว่าจะประมูลใบอนุญาตช่วงคลื่นความถี่ ละเท่าไหร่ และกสทช.จะเก็บคลื่นไว้เท่าไหร่ ซึ่งกสทช.อาจจะเก็บคลื่นไว้เองประมาณ15 MHzเพื่อนำไปใช้ประโยชน์สาธารณะต่อไป

'ส่วนตัวเชื่อว่าการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไตรมาส 3ปีนี้ใบอนุญาตที่จะประมูลจะมีช่วงกว้างความถี่ใบละ15 MHzไม่ใช่ใบละ10 Mhzแน่นอนเพราะน้อยเกินไป'

สำหรับคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวประกอบด้วย พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานกทค., นายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.,รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กสทช.น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ,พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กสทช., พล.อ.ประสิทธิชัย พิบูลรัตน์ กสทช. ,ผศ.วีระชาติ กิเลนทอง ,ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์,นายจิตรนรา นวรัตน์,นายอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์,นายเชิดชัย ขันธ์นะภา,นายองอาจ เรืองรุ่มโสภา,นายดำรงค์ วัสโสทก และดร.เจษฎา ศิวรักษ์,รศ ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ, ดร.วาชิต รัตนเพียร, นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน,นส.พูลศิริ นิลกิจศรานนท์


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000017237

____________________________________________________________



กสทช. คาดเปิดประมูล 3G ปลาย Q3/55


พ.อ.เศรษฐ พงศ์ มะลิสุวรรณ กรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เพื่อรองรับเทคโนโลยี IMT 2000 หรือ IMT Advanced ที่วันนี้ได้ประชุมนัดแรกที่มีตนเป็นประธานอนุกรรมการ คาดว่าจะสามารถสรุปร่างข้อสนเทศการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ภายใน 2 เดือนครึ่งหรือ 3 เดือน ก่อนที่จะเปิดประมูลใบอนุญาตใหม่ในปลายไตรมาส 3/55

ทั้ง นี้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)จะมีการปรัปปรุงประกาศเกี่ยวกับการกำหนดข้อ ห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการ, การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure Sharing) เช่น เสาโทรคมนาคม ไฟเบอร์ออพติค เป็นต้น จะมีการดำเนินการคู่ขนานไปด้วยกันเพื่อให้การประมูลไม่เกิดสะดุดหรือกลับมา มีปัญหาภายหลัง

พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าวว่า ใบอนุญาตใหม่ที่จะให้คาดว่าจะไม่เกิน 3 ราย โดยปัจจุบันมีคลื่นอยู่ 45 MHz แบ่งรายละ 15 MHz แต่ต้องกลับมาพิจารณาว่าจะเก็บไว้เพื่อกิจการสาธารณะหรือไม่อย่างไร แต่จะไม่แบ่งเป็น 10 MHz เพราะคลื่นจะน้อยเกินไป ขณะที่ราคา Reserve Price จะยังไม่เปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิมที่กำหนดระดับที่ 1.28 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม จะนำมาพิจารณาในเชิงเศรษฐศาตร์กันอีกครั้ง

ขณะที่แผน แม่บทบริหารคลื่นความถี่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายเดือนมี.ค.55 โดยในวันที่ 10 ก.พ.นี้จะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และเมื่อได้แผนบริหารคลื่นความถี่แล้วจะนำเรื่องเสนอให้กับศาลปกครอง เพื่อถอนฟ้องที่ยังค้างอยู่ จากการที่บมจ.กสท โทรคมนาคม ฟ้องให้ยุติการเปิดประมูล 3G เมื่อคราวที่แล้ว ซึ่งศาลเห็นว่ายังไม่มีแผนบริหารคลื่นความถี่ คาดว่าเรื่องนี้แก้ไขไม่ยาก

moneychannel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Moneylinenews/tabid/89/newsid491/168409/Default.aspx

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.