Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 ธันวาคม 2554 รอง กสทช. ส่งสัญญาณพิเศษ!!!! อาการสัญญาณหลุดบ่อยเป็นพวกบริษัทมือถือไม่ลงทุนเพิ่ม++เตรียมนำข้อดีแผนเดิมประมูล3Gใช้

รอง กสทช. ส่งสัญญาณพิเศษ!!!! อาการสัญญาณหลุดบ่อยเป็นพวกบริษัทมือถือไม่ลงทุนเพิ่ม++เตรียมนำข้อดีแผนเดิมประมูล3Gใช้


ประเด็นหลัก


***เรื่องการประมูล 3G ดำเนินการอย่างไร



ทั้งนี้ กสทช. เองยังได้หยิบยกขั้นตอนการดำเนินการของร่างเก่ามาเป็นแบบอย่างด้วย โดยจะนำเอาสิ่งที่ดีมาใช้ ส่วนอะไรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์โลกก็ต้องแก้ไขโดยเฉพาะเรื่อง ของฐานราคาเริ่มต้นในการประมูลที่ไม่สามารถนำมาใช้ในครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น ได้

ขณะที่ ราคาตั้งต้นประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz กสทช. จะใช้วิธีคิดในการกำหนดราคาตั้งต้นในการประมูล 3G ครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงไม่เกินไตรมาส 3 ปี 2555 โดยจะใช้นักเศรษฐศาสาตร์มาคิดคำนวนว่า ราคาตั้งต้นที่แพง กับราคาที่ถูกอยู่ตรงไหน

ในตอนนี้การดำเนินการจัดตั้งอนุกรรมการ 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากต้องการคนที่เหมาะสมจริงๆมาเป็นกรรมการเพื่อเข้ามาบริหารคลื่นความ ถี่อย่างเหมาะสมที่สุด โดยคาดว่าทั้งคณะจะมีทีมงานประมาณ 10 กว่าคนแบ่งเป็นในแต่ละด้าน อาทิเช่น นักเศรษฐศาสาตร์, คุ้มครองผู้บริโภค, โทรคมนาคม




***ความคืบหน้าเรื่องผู้บริโภคร้องเรียนสัญญาณมือถือหลุดบ่อย (QOS)



โดยได้ให้การบ้านกับทั้ง 2 รายเพื่อไปดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งเอไอเอสได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นปัยหาเรื่องจำนวนความถี่หรือแบนด์ วิดธ์ ต่ำลงจริงในการใช้งานเนื่องจากต้องแบ่งแบนด์วิดธ์ระหว่างบริการ 2G กับ 3G จากแต่ก่อนมีเพียง 2G เท่านั้นซึ่งเอไอเอสกำลังปรับปรุงและดำเนินการแก้ไขอยู่ ขณะที่ดีแทคอธิบายว่าสัญญาณ 2G ของดีแทคไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

แต่ทั้งนี้กสทช.จะว่าจ้างทีมงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบสัญญาณ (Drive Test) เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลของผู้ประกอบว่าตรงกันหรือไหม ซึ่งผมมองว่าถ้ามีคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เรื่องดังกล่าวทั้งหมดจะหายไป


ส่วนสาเหตุที่ค่ายมือถือในช่วงนี้สัญญาณหลุดบ่อยนั้น ผมมองว่าเนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดต่างไม่มีใครกล้าที่จะลงทุนมาก เพราะอนาคตยังไม่ชัดเจน อีกทั้งสัญญาสัมปทานก็กำลังจะทยอยหมดลงตามลำดับ จึงกลัวที่จะไม่คุ้มทุน แต่หากรู้ว่าอนาคตแผนบริหารคลื่นความถี่จะออกมาเป็นอย่างไร จะเปิดประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHzเมื่อไร เมื่อนั้นผมเชื่อว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะกลับมาคึกคัก และมีสีสันอีกครั้ง






_____________________________________________________

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์โทรคมไทย (สัมภาษณ์)


พัน เอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้สัมภาษณ์พิเศษวันสุดท้ายของเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา มีหลายเรื่องที่น่าสนใจที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโทรคมไทยภาย ในอนาคตอันใกล้นี้

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz การตั้งอนุกรรมการมาตรา 46 และอนุกรรมการ 3G เพื่อเข้ามาบริหารจัดสรรคลื่นความถี่และการประมูลใบอนุญาต 3G ให้เป็นธรรมที่สุด โดยเฉพาะคำตอบของมาตรา 46 ที่จะไขข้อข้องใจว่าสัญญาการตลาดรูปแบบใหม่ของบริษัท กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรู ถือว่าเป็นการโอนสิทธิการใช้ความถี่และขัดกับกฎหมายหรือไม่ หรือเป็นสัญญาที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เพราะโอเปอเรเตอร์รายอื่นกำลังเข้าแถวรอเอาอย่าง โดยใช้การขอทดสอบความถี่ LTE รอท่าอยู่ รวมถึงความคืบหน้าที่ผู้บริโภคร้องเรียนสัญญาณมือถือหลุดบ่อยหลังผู้ประกอบ การเปิดให้บริการ 3G

***3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จะเกิดขึ้นเมื่อไร

คงต้องเริ่มพูดตั้งแต่ต้นว่าคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เป็นองค์กรอิสระของรัฐ จัดตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งในพรบ.ระบุเอาไว้ชัดเจนว่าอะไรก็ตามเกี่ยวกับคลื่นความถี่ที่ทำเชิง พาณิชย์จะต้องมีการประมูล แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องทำแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ให้เสร็จก่อน ซึ่งล่าสุดดำเนินการไปแล้วกว่า 90% นอกจากนี้ยังมีอีก 2 แผนคือแผนประกอบกิจการโทรคมนาคม และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ โดยทั้ง 3 แผนแม่บทดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จจึงจะสามารถเปิดประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz แต่หากใช้คลื่นความถี่ในรูปแบบทดลอง ไม่ได้นำไปทำในเชิงพาณิชย์ก็สามารถทำเรื่องขอทดลองได้

การประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เร็วสุดเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นภายในเดือน ก.พ. - มี.ค. อย่างแน่นอน เนื่องจากกระบวนการขั้นตอนทำแผนแม่บททั้ง 3 แผนยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ รวมไปถึงต้องเปิดประชาพิจารณ์ โดยการประมูล 3G น่าจะไม่เกินไตรมาส 3 ปี 2555 แน่นอน เพราะกสทช.ก็ต้องการให้เกิดขึ้นโดยเร็วเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดีแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ดังกล่าว โชคดีที่ยึดหลักร่างแผนเดิมของบอร์ดเก่ากทช.ร่างไว้ก่อนหน้าทำให้ไม่ต้อง เริ่มนับหนึ่งใหม่ แต่มีการเพิ่มเติม แก้ไข และปรับปรุงบางอย่างที่ไม่ครอบคลุม ซึ่งตามกฎหมายมีระยะเวลากำหนดในการจัดทำแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ให้แล้ว เสร็จภายใน 1 ปี

***เรื่องการประมูล 3G ดำเนินการอย่างไร

ในตอนนี้กสทช.กำลังจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อมีหน้าที่บริหาร คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz อย่างไรก็ดีในการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน IMT-2000 and IMT- Advanced หรือที่เรียกกันว่าย่าน 3G ภายหลังมีมติจากที่ประชุมบอร์ดชุดใหญ่ โดยในย่านความถี่ดังกล่าวไม่อยากให้เรียกว่าย่าน 3G เนื่องจาก 3G ถือว่าเก่าไปแล้ว เพราะความถี่ย่านนี้ยังสามารถต่อยอดเทคโนโลยีได้ทันสมัยกว่า 3G อีกด้วย

สำหรับหน้าคณะอนุกรรมการบริหารคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz มีหน้าที่หลักในการกำหนดเงื่อนไข และกำหนดเทคโนโลยีจะใช้อะไรดี วิธีการประมูลเป็นอย่างไร รวมไปถึงใบอนุญาตจะมีทั้งหมดกี่ใบ เป็นต้น

ทั้งนี้ กสทช. เองยังได้หยิบยกขั้นตอนการดำเนินการของร่างเก่ามาเป็นแบบอย่างด้วย โดยจะนำเอาสิ่งที่ดีมาใช้ ส่วนอะไรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์โลกก็ต้องแก้ไขโดยเฉพาะเรื่อง ของฐานราคาเริ่มต้นในการประมูลที่ไม่สามารถนำมาใช้ในครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น ได้

ขณะที่ ราคาตั้งต้นประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz กสทช. จะใช้วิธีคิดในการกำหนดราคาตั้งต้นในการประมูล 3G ครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงไม่เกินไตรมาส 3 ปี 2555 โดยจะใช้นักเศรษฐศาสาตร์มาคิดคำนวนว่า ราคาตั้งต้นที่แพง กับราคาที่ถูกอยู่ตรงไหน

ในตอนนี้การดำเนินการจัดตั้งอนุกรรมการ 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากต้องการคนที่เหมาะสมจริงๆมาเป็นกรรมการเพื่อเข้ามาบริหารคลื่นความ ถี่อย่างเหมาะสมที่สุด โดยคาดว่าทั้งคณะจะมีทีมงานประมาณ 10 กว่าคนแบ่งเป็นในแต่ละด้าน อาทิเช่น นักเศรษฐศาสาตร์, คุ้มครองผู้บริโภค, โทรคมนาคม

สำหรับอนุกรรมการชุดดังกล่าวมีประธานคือ พันเอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ จากนั้นให้บอร์ดเสนอรายชื่อคณะทำงาน นอกจากนี้จะเชิญบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และมีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยขับเคลื่อนคณะทำงานชุดนี้ให้มีศักยภาพใน การบริหารจัดการ

***ปัญหาความไม่ชัดเจนมาตรา 46 (ห้ามโอนสิทธิใช้ความถี่)

บอร์ด กทค. มีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณามาตรา 46 ขึ้น เพื่อที่จะเข้ามาดูแล และตรวจสอบว่ามาตรา 46 ต้องตีความอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการพัฒนากิจการโทรคมนาคมของประเทศ ซึ่งในวันที่ 14 ธ.ค.จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าเสนอต่อบอร์ดใหญ่ กสทช. อีกครั้งเพื่อให้อนุมัติรายชื่อคณะอนุกรรมการ โดยคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในการตั้งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว

หลังจากอนุกรรมการพิจารณาและมีความเห็นเรื่องการตีความมาตรา 46 เช่นไร ก็จะใช้เป็นบรรทัดฐานในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง MVNO ของทีโอที หรือสัญญากสท กับทรูที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ซึ่ง กสทช. ไม่ได้เจาะจงว่าจะเข้าไปดูเรื่องไหนเป็นพิเศษ ทั้งนี้หลักการทำงานของบอร์ดคือไม่เข้าข้างฝ่ายใดเป็นพิเศษ และไม่เจาะจงเรื่องไหนเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน

โดยคาดว่าหลังตั้งคณะอนุกรรมการมาตรา 46 แล้วจะสามารถดำเนินการสะสางกรณีต่างๆที่ผิดต่อมาตรา 46 ภายใน 3 เดือนอย่างแน่นอน

สำหรับคณะอนุกรรมการมาตรา 46 ยังไม่ได้สรุปว่าใครเป็นประธาน ขณะที่คณะทำงานมีการเสนอรายชื่อหลายคนโดยหนึ่งในนั้นมีชื่อ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานทีดีอาร์ไอ อยู่ด้วยซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในเรื่องโทรคมนาคม อย่างไรก็ตามคณะกรรมการที่กำลังจะตั้งขึ้นมา หากมีความเห็นต่างกันก็ไม่เป็นไร เพราะจะทำให้ทุกเรื่องตกผลึกได้ในที่สุด

***ประเด็นประกาศครอบงำกิจการโดยต่างด้าว

ประเด็นที่มีการออกประกาศการครอบงำกิจการโดยต่างด้าว ต้องย้อนไปในสมัย ที่มีนายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกทช.ได้ทำค้างเอาไว้ โดยเมื่อมีประกาศออกไปแล้วต้องให้ทำประชาพิจารณ์ภายใน 90 วัน ซึ่งต้องยอมรับว่าบอร์ดกสทช.ชุดใหม่ไม่มีความรู้ และความเข้าใจกับประกาศการครอบงำกิจการโดยต่างด้าวเลยจึงเชิญผู้ที่มีความ รู้ในเรื่องดังกล่าวมาให้ข้อมูลแต่กลับโดนกล่าวหาว่ามีการประชุมแอบแฝง

ดังนั้นในวันที่ 2 ธ.ค.ทางกสทช.มีการจัดงานเสวนา ในหัวข้อ ที่มาและเจตนารมณ์ของประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ.2554 ขึ้น ซึ่งหลังจากการรับฟังความคิดเห็นต่างๆแล้ว กสทช. จะกลับมาประชุมกันอีกครั้งเพื่อหาแนวทางว่าบอร์ดจะยังคงยืนยันใช้ประกาศครอบ งำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ.2554 ฉบับเก่าอยู่หรือไม่ หรืออาจจะมีการแก้ไขในบางประเด็นก็เป็นได้

***เปรียบเทียบกทช.ชุดเก่า กับกสทช.ชุดปัจจุบัน

ผมมองว่าการที่จะทำงานได้ดี หรือไม่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีกำหนดการอะไรเป็นพิเศษเอาไว้ก่อนเข้ามารับตำแหน่งหรือเปล่า ซึ่งผมเองไม่มีอะไรแอบแฝงเป็นพิเศษก่อนเข้ามาอยู่แล้ว ซึ่งจริงๆแล้วบอร์ดไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง แต่ยังมีคณะทำงานในการช่วยเหลือ และให้บอร์ดพิจารณาความคิดเห็นที่ถูกต้อง

บอร์ด กทค. ทั้ง 5 คนผมมองว่าเป็นส่วนผสมที่ลงตัว คือมีการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา ไม่มีอะไรเป็นพิเศษหรือเอนเอียงไปฝั่งใด ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ยาก เพราะต้องนั่งทำงานบนกองเงินที่มีมูลค่าเป็นหมื่นหมื่นล้านบาท ซึ่งเมื่อไหร่ที่เรากระโดดเข้าไปเอาด้วย หรือ ทำให้งานที่ควรออกมาจากผิดกลายไปถูกทั้งหมด แล้วแบบนี้ใครจะมานับถือเราอีก

นอกจากนี้ผมยังมองว่ากสทช. ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นนั้นมีอำนาจหน้าที่ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ในสมัยที่เป็นกทช. เพียงแต่อาจจะมีอุปสรรคมากมายที่ต้องผ่านไปให้ได้เท่านั้น เนื่องจากมีสัญญาสัมปทาน และปัญหาที่ค้างคารอให้ต้องพิจารณาอยู่หลายเรื่อง ซึ่งหาก กสทช.ชุดนี้ทำได้ดี ชุดหน้าก็สบายเพราะดำเนินการสิ่งต่างๆที่ค้างคาไปหมดแล้ว

***เป็นกสทช.แล้วมีเรื่องหนักใจอะไรหรือไม่

พูดตรงๆว่าไม่ได้หนักใจอะไรเลย แต่เหนื่อยมากกว่าทำงานมาเดือนกว่าๆเหมือนทำงานมาเป็นปีๆ เนื่องจากผมไม่ได้ต้องเกรงใจใคร โดยเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องมาโดยตลอด ซึ่งถ้าหากเราไปเชื่อคนอื่นในแบบผิดๆสุดท้ายเราจะตายคนเดียวไม่มีใครมาตาย กับเรา

อย่างไรก็ตาม กสทช. ชุดนี้ยังตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อเดินเครื่องปรับปรุง และบูรณาการกฎระเบียบ กฎหมาย หรือประกาศของกทช.ชุดเดิมโดยมีนายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกทค.เป็นประธานในคณะดังกล่าว โดยจะเชิญผู้ประกอบการทั้งหมดมาให้ความคิดเห็นว่าประกาศฉบับไหนที่ทำให้ผู้ ประกอบการที่อยู่ในตลาดทั้งหมดไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เลย หรือทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่ก้าวหน้า ประชาชนไม่ได้ประโยชน์มีประกาศอะไรบ้างจะได้ดำเนินการแก้ไขให้ดีกว่าในอดีต ที่ผ่านมา ซึ่งในตอนนี้คณะอนุกรรมการก็เริ่มทำงานทันทีภายหลังจัดตั้ง ทั้งนี้ผมมองว่าประกาศต่างๆที่ออกไปจากกทช.ที่ผ่านมามีความสำคัญมากในการขับ เคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ

ส่วนการทำงานจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเก่งหรือไม่เก่งเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ซึ่งผมก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถทำได้ดี

***ความคืบหน้าเรื่องผู้บริโภคร้องเรียนสัญญาณมือถือหลุดบ่อย (QOS)

จากการที่ประชาชนออกมาร้องเรียนเรื่องสัญญาณโทรศัพท์มือถือหลุดบ่อย หลังจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเปิดบริการ 3G นั้นล่าสุดได้เชิญผู้ประกอบการเข้ามาให้ข้อมูลเรื่องดังกล่าวทั้ง 3 รายแต่ในตอนนี้ (30พ.ย.)ได้พูดคุยไปแล้ว 2 ราย คือ เอไอเอส กับ ดีแทค ส่วนทรูกำลังรอเข้ามาให้ข้อมูลอยู่

โดยได้ให้การบ้านกับทั้ง 2 รายเพื่อไปดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งเอไอเอสได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นปัยหาเรื่องจำนวนความถี่หรือแบนด์ วิดธ์ ต่ำลงจริงในการใช้งานเนื่องจากต้องแบ่งแบนด์วิดธ์ระหว่างบริการ 2G กับ 3G จากแต่ก่อนมีเพียง 2G เท่านั้นซึ่งเอไอเอสกำลังปรับปรุงและดำเนินการแก้ไขอยู่ ขณะที่ดีแทคอธิบายว่าสัญญาณ 2G ของดีแทคไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

แต่ทั้งนี้กสทช.จะว่าจ้างทีมงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบสัญญาณ (Drive Test) เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลของผู้ประกอบว่าตรงกันหรือไหม ซึ่งผมมองว่าถ้ามีคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เรื่องดังกล่าวทั้งหมดจะหายไป

ทั้งนี้กสทช.ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในอนาคต ต่อจากนี้ คือการประมูลต้องมีกฎระเบียบเดียวกัน ส่วนใครที่มาขวางก็คือผู้ร้ายที่ไม่อยากให้เกิดการประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz

ส่วนสาเหตุที่ค่ายมือถือในช่วงนี้สัญญาณหลุดบ่อยนั้น ผมมองว่าเนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดต่างไม่มีใครกล้าที่จะลงทุนมาก เพราะอนาคตยังไม่ชัดเจน อีกทั้งสัญญาสัมปทานก็กำลังจะทยอยหมดลงตามลำดับ จึงกลัวที่จะไม่คุ้มทุน แต่หากรู้ว่าอนาคตแผนบริหารคลื่นความถี่จะออกมาเป็นอย่างไร จะเปิดประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHzเมื่อไร เมื่อนั้นผมเชื่อว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะกลับมาคึกคัก และมีสีสันอีกครั้ง

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9540000156618

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.