Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 สิงหาคม 2555 กสทช.ยันประมูล3Gต.ค.เริ่มเปิดใช้ มี.ค.-เม.ย.56 DTAC จะไม่ทิ้งลูกค้า2Gสิ้นปีเสา3Gรวม5200ต้น AIS ประมูลแพงคิดค่าบริการแพง

กสทช.ยันประมูล3Gต.ค.เริ่มเปิดใช้ มี.ค.-เม.ย.56 DTAC จะไม่ทิ้งลูกค้า2Gสิ้นปีเสา3Gรวม5200ต้น AIS ประมูลแพงคิดค่าบริการแพง


ประเด็นหลัก


ดร.ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ปีนี้รายได้ของประเทศอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ 5.7 % หรือเท่ากับศูนย์เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวทำให้มองได้ว่าประเทศไทยก็เข้าสู่การชะลอ ตัว ขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงสร้างด้านโทรคมนาคม ซึ่งการที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวก็ต้องดูเรื่องการติดต่อ สื่อสารว่าสามารถติดต่อกลับประเทศได้หรือไม่ ขณะที่เรื่องการใช้งานเทคโนโลยี 3จี พบว่าปัจจุบันถ้าเดินทางออกไปชานเมืองจะพบว่าไม่มีสัญญาณ 3จีโดยสัญญาณจะเปลี่ยนกลับมาเป็นสัญญาณ 2จี ซึ่งดีแทคเพิ่งเปิดใช้สัญญาณ 3จีเมื่อ 10 เดือนที่ผ่านมา คาดภายในสิ้นปีจะมีเสาสัญญาณ 3จี จำนวน 5,200 ต้น แบ่งเป็นติดตั้งเสาสัญญาณ 3จีในกรุงเทพฯ กว่า 2,000 ต้น ซึ่งปัจจุบันลูกค้าของดีแทค 30% ใช้สมาร์ทโฟน ดังนั้นดีแทคจะไม่ทิ้งลูกค้าส่วนใหญ่ที่ยังใช้ 2จี ซึ่งดีแทคพร้อมที่จะร่วมประมูลใบอนุญาต 3จีของกสทช.

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “หากกสทช.มีการปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่จาก 20 เมกะเฮิร์ตซ เหลือ 15 เมกะเฮิร์ตซ ก็เป็นสิ่งที่ดี ขณะที่เรื่องราคาเริ่มต้นการประมูลถ้าราคาถูกก็ดีเพราะจะทำให้ต้นทุนไม่สูง ทำให้ประชาชนได้ใช้3จีในราคาที่ถูก เพราะราคาที่ประมูลได้จะสะท้อนต้นทุนการให้บริการด้วย”


_____________________________________________

กสทช.ยันประมูล3จี ต.ค.นี้ เริ่มเปิดใช้ มี.ค.-เม.ย.56

เมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวชั่น คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดสัมมนาเรื่อง “อนาคต 3จี ไทยจะไปได้อย่างไร” โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงาน 300 คน

พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ กสทช.และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวว่า ขณะนี้ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อน ที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ พ.ศ…. และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่านความถี่วิทยุ 1920-1980 / 2110-2170 และ 2010-2025 เมกะเฮิร์ตซ เรียบร้อยแล้ว และจะนำเข้าที่ประชุมกทค.ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ ซึ่งคาดว่าจะนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้สิ้นเดือนส.ค.นี้ และได้กำหนดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3จีในกลางเดือนต.ค.นี้ และเดือนมี.ค.-เม.ย.56 จะเริ่มเปิดใช้งาน 3จีบนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ตามหัวเมืองใหญ่ได้

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า สำหรับเรื่อง การปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่ (Spectrum Cap) จาก 20 เมกะเฮิร์ตซ เหลือ 15 เมกะเฮิร์ตซ ตามความเห็นจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นฯ บอร์ดกทค.ยังมีเวลาพิจารณาจนถึงวันที่ 22 ส.ค.ที่จะประชุมบอร์ด รวมทั้งเรื่องราคาเริ่มต้นประมูลใบละ 4,500 ล้านบาท ที่จะมีการพิจารณาว่าจะเพิ่มเป็น 6,000 ล้านหรือไม่

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติไม่ใช่สมบัติของรัฐบาล โดยการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3จีของกสทช.จะได้เงินหลายหมื่นล้านบาทซึ่งนำเข้าคลังไม่ได้เข้ากสทช. นอกจากนี้การมี 3จีทำให้เกิดการขยายตัวของอัตราการเติบโตในการจ้างงาน เพิ่มการแข่งขัน และเพิ่มการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของประเทศ

ดร.ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ปีนี้รายได้ของประเทศอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ 5.7 % หรือเท่ากับศูนย์เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวทำให้มองได้ว่าประเทศไทยก็เข้าสู่การชะลอ ตัว ขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงสร้างด้านโทรคมนาคม ซึ่งการที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวก็ต้องดูเรื่องการติดต่อ สื่อสารว่าสามารถติดต่อกลับประเทศได้หรือไม่ ขณะที่เรื่องการใช้งานเทคโนโลยี 3จี พบว่าปัจจุบันถ้าเดินทางออกไปชานเมืองจะพบว่าไม่มีสัญญาณ 3จีโดยสัญญาณจะเปลี่ยนกลับมาเป็นสัญญาณ 2จี ซึ่งดีแทคเพิ่งเปิดใช้สัญญาณ 3จีเมื่อ 10 เดือนที่ผ่านมา คาดภายในสิ้นปีจะมีเสาสัญญาณ 3จี จำนวน 5,200 ต้น แบ่งเป็นติดตั้งเสาสัญญาณ 3จีในกรุงเทพฯ กว่า 2,000 ต้น ซึ่งปัจจุบันลูกค้าของดีแทค 30% ใช้สมาร์ทโฟน ดังนั้นดีแทคจะไม่ทิ้งลูกค้าส่วนใหญ่ที่ยังใช้ 2จี ซึ่งดีแทคพร้อมที่จะร่วมประมูลใบอนุญาต 3จีของกสทช.

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนไทยประมาณ 30% ที่ไม่มีโทรศัพท์ใช้ โดยในอนาคตเลขหมายโทรศัพท์จะเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ ตู้เย็น ดังนั้นในอนาคตเลขหมายโทรศัพท์จะไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้งาน ประเทศไทยมีคนใช้เฟซบุ๊กในกรุงเทพฯ 7.8 ล้านคน ซึ่งมากกว่าเมืองของประเทศใหญ่ๆ ประเทศไทยไมจำเป็นต้องคิดค้นเฟซบุ๊ก แต่ใช้เพื่อประโยชน์ได้ ทุกวันนี้ประเทศไทยเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีไม่ใช่ประเทศที่ผลิต

“หากก สทช.มีการปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่จาก 20 เมกะเฮิร์ตซ เหลือ 15 เมกะเฮิร์ตซ ก็เป็นสิ่งที่ดี ขณะที่เรื่องราคาเริ่มต้นการประมูลถ้าราคาถูกก็ดีเพราะจะทำให้ต้นทุนไม่สูง ทำให้ประชาชนได้ใช้3จีในราคาที่ถูก เพราะราคาที่ประมูลได้จะสะท้อนต้นทุนการให้บริการด้วย”

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1344504940&grpid=10&catid=no&subcatid=0000




_______________________________________


กทค.คาดหาข้อสรุปข้อเสนอลดถือครองคลื่นความถี่-ปรับราคาเริ่มต้น ก่อน 22 ส.ค.


พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เชื่อว่า กทค.จะสามารถหาข้อสรุปกรณีการปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่ (Spectrum Cap) จาก 20 MHz เหลือ 15 MHz ซึ่งเป็นข้อเสนอจากการเปิดรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งเรื่องราคาเริ่มต้นประมูลใบละ 4,500 ล้านบาท ที่จะมีการพิจารณาว่าจะเพิ่มเป็น 6,000 ล้านบาทหรือไม่ ก่อนถึงกำหนดวันที่ 22 ส.ค.55 ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการ กทค.


ขณะนี้ขั้นตอนการรับ ฟังความคิดเห็นร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อน ที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่านความถี่ 2.1 GHz พ.ศ.... และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่านความถี่วิทยุ 1920-1980/ 2110-2170 และ 2010-2025 MHz เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ จะนำเข้าที่ประชุม กทค.ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ คาดว่าจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในช่วงสิ้นเดือนส.ค.นี้ และได้กำหนดให้มีการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3จีในช่วงกลางเดือน ต.ค.นี้ และเดือนมี.ค.-เม.ย.56 จะเริ่มเปิดใช้งาน 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ตามหัวเมืองใหญ่ได้

“มั่นใจว่าไม่มีการล้มประมูลแน่นอน การฮั้วประมูลก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะเอกชนต้องเลือกย่านของคลื่นความถี่ที่ดีที่สุดให้กับองค์กรของตนเอง เพราะใบอนุญาตนั้นมีอายุ 15 ปี มูลค่าธุรกิจเป็นแสนล้าน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดการตกลงกัน และภายในเดือนนี้จะสามารถสรุปวัน สถานที่การประมูลใบอนุญาตได้" พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวในงานสัมนามนาเรื่อง “อนาคต 3จี ไทยจะไปได้อย่างไร" ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ร่วมกับ กสทช.

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) กล่าวว่า หากกสทช.จะปรับเพดานการถือครองคลื่นความถี่จาก 20 MHz เหลือ 15 MHz ถือเรื่องดีและจะมีความชัดเจน แต่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการปรับราคาเริ่มต้นประมูลจาก 4,500 ล้านบาท ไปเป็น 6,000 ล้านบาท ต่อ 5 MHz หรือ 1 สล็อต เพราะจะมีผลต่อค่าบริการที่เรียกเก็บจากประชาชน

นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(DTAC) กล่าวว่า เรามีความพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3จีเต็มที่ เพราะมองว่าคลื่น 2.1 GHz จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย โดยเรามั่นใจว่าการประมูลจะเกิดขึ้น เนื่องจากกสทช.มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง ส่วนประเด็นการฮั้วประมูลนั้นถึงแม้ว่าเราจะเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันแต่รับรอง ว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะเป็นการแข่งขันทางธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ทั้งเพื่อองค์กร ตอบแทนลูกค้าและประเทศของตน

ก่อนหน้านี้ บริษัทโดนกีดกันที่จะให้เปิดบริการ 3จี จึงทำให้ล่าช้ากว่ารายอื่นคือเปิดบริการ 3จี เมื่อ 10 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อบริษัทได้ดำเนินการแล้ว ก็มั่นใจว่าภายในสิ้นปี 55 บริษัทจะมีเสาสัญญาณ 3จี รวมกว่าจำนวน 5,200 สถานีฐาน แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ กว่า 2,000 สถานี และต่างจังหวัดอีกกว่า 3,000 สถานี ส่วนระบบ 2จี ปัจจุบันมีสถานีฐานให้บริการกว่า 10,000 สถานีทั่วประเทศ

นายดามพ์ กล่าวว่า ปีนี้รายได้ของประเทศอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ 5.7% โดยขณะนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวทำให้มองได้ว่าประเทศไทยก็เข้าสู่การชะลอ ตัว ขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงสร้างด้านโทรคมนาคม ซึ่งการที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวก็ต้องดูเรื่องการติดต่อ สื่อสารว่าสามารถติดต่อกลับประเทศได้หรือไม่ ขณะที่เรื่องการใช้งานเทคโนโลยี 3จี พบว่าปัจจุบันถ้าเดินทางออกไปชานเมืองจะพบว่าไม่มีสัญญาณ 3จีโดยสัญญาณจะเปลี่ยนกลับมาเป็นสัญญาณ 2จี



http://www.ryt9.com/s/iq05/1463740
อินโฟเควสท์


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.