Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 ธันวาคม 2554 (( ลุย )) สั้งสอบ!!! กรณี CAT ไม่ซื้อ HUTCH แต่ไม่ถึง 3 เดือน TRUE ซื้อแทน//ICT จึงสั้งสอบ 60วัน

(( ลุย )) สั้งสอบ!!! กรณี CAT ไม่ซื้อ HUTCH แต่ไม่ถึง 3 เดือน TRUE ซื้อแทน//ICT จึงสั้งสอบ 60วัน


ประเด็นหลัก

ทั้งนี้ สาเหตุที่ไอซีทีอนุมัติการขยายเวลาเพราะต้องการให้สอบสวนข้อเท็จจริงทั้งหมด ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ กสท มีแผนซื้อคืนโครงข่ายซีดีเอ็มเอของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส (ฮัทช์) ในพื้นที่ 25 จังหวัด มูลค่า 7,500 ล้านบาท รวมถึงการเจรจาต่อรองให้ปรับลดราคา และต่อมาได้ยกเลิกการซื้อคืนโครงข่ายดังกล่าว โดยตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดจึงยกเลิกการซื้อคืนโครงข่ายจากกลุ่มฮัทชิสัน และใครเป็นผู้เสนอให้ยกเลิก และมีใครเกี่ยวกับการเสนอความเห็นดังกล่าว

การ ยกเลิกการซื้อคืนดังกล่าวเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่กลุ่มทรูจะเข้าไปซื้อกิจการแทน เหมือนเป็นการเตรียมการไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อยกเลิกการซื้อคืนแล้วก็ให้กลุ่ม ทรูเข้าซื้อกิจการแทน เพราะเป็นการดำเนินการอย่างรวดเร็วเพียง 3 เดือนก็บรรลุข้อตกลงซื้อขาย ขณะที่ กสท ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปีเจรจาซื้อคืนดังกล่าว

นอกจากนี้ คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ยังมีเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เข้าร่วมด้วย โดยได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วหลายส่วน เริ่มตั้งแต่พนักงานเดินเอกสาร พนักงานการลงทะเบียนรับเอกสาร และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเรียกพนักงานระดับดังกล่าวมาสอบสวนทำให้มีข้อสังเกตุว่าอาจมีข้อ พิรุธ หรือสิ่งผิดปกติของการทำสัญญาที่เกิดขึ้น

สำหรับการยกเลิกแผน การซื้อโครงข่ายจากฮัทช์นั้น สืบเนื่องมาจากนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีทีชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบาย กสท ไปเจรจาต่อรองราคากับฮัทช์จาก 7,500 ล้านบาท ให้เหลือไม่เกิน 4,000 ล้านบาท เนื่องจากราคาสินทรัพย์ และเสาสถานีฐานโทรคมนาคมเทคโนโลยีตกรุ่น และมีค่าเสื่อมราคาสูง

ด้านนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้การใหญ่ กสท ได้ชี้แจงกลับไปยังนายจุติ รมว.ไอซีที ซึ่งต่อมาได้เสนอที่ประชุมครม. วันที่ 28 ธ.ค.2553 ว่า กสท ได้ยกเลิกการเข้าซื้อกิจการซีดีเอ็มเอ เพราะหลังจากที่เข้าไปเจรจาประเมินแล้วเห็นว่าไม่คุ้มค่า และ กสท เจรจาต่อรองกับฮัทช์ให้ลดราคาเหลือ 4,000 ล้านบาทไม่ได้

ส่วนกลุ่ม ทรูได้ประกาศความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการฮัทช์ที่ราคา 6,300 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2553 โดยเป็นการให้บริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นเพื่อการเข้าซื้อกิจการ การเข้าเทคโอเวอร์ประกอบด้วย หุ้นของบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด (HWMH), หุ้นของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด (BFKT), หุ้นของ Rosy Legend Limited (RL) และหุ้นของ Prospect Gain Limited (PG)


_________________________________________________________


"อนุดิษฐ์"เล่นบทเข้ม เช็คสัญญากสท-ทรูถี่ยิบ

ผู้ สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ว่าจากการที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ได้อนุมัติขยายระยะเวลาจาก 15 วัน เป็น 60 วัน สำหรับการสอบสวน ข้อเท็จจริงการทำสัญญาโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ 3จี ด้วยภายใต้เทคโนโลยี HSPA ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับกลุ่มบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มี พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานนั้นเป็นเพราะน.อ.อนุดิษฐ์ได้สั่งให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงทั้ง หมด โดยให้เริ่มสอบสวนตั้งแต่การเสนอเรื่องให้ กสท ซื้อคืนโครงข่าย ซีดีเอ็มเอในพื้นที่ 25 จังหวัดจากกลุ่มบริษัทฮัทชิสัน จำกัด จากฮ่องกง มูลค่า 7,500 ล้านบาท รวมถึงการเจรจาต่อรองให้ปรับลดราคา และต่อมาได้มีการยกเลิกการซื้อคืนโครงข่ายดังกล่าว

โดยให้ตั้งข้อ สงสัยว่าเหตุใดจึงยกเลิกการซื้อคืนโครงข่าย จากกลุ่มฮัทชิสัน และใครเป็นผู้เสนอให้ยกเลิก และมีใครเกี่ยวข้องกับการเสนอความเห็นดังกล่าว เพราะการยกเลิกการซื้อคืนดังกล่าว เป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่กลุ่มทรูจะเข้าไปซื้อกิจการ เหมือนเป็น การเตรียมการไว้ล่วงหน้าแล้วว่า เมื่อยกเลิกการซื้อคืน แล้วก็ให้ กลุ่มทรูเข้าซื้อกิจการแทน เพราะเป็นการดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพียง 3 เดือนก็บรรลุข้อตกลงซื้อขาย ขณะที่ กสท ต้องใช้เวลา มากกว่า 1 ปี ในการเจรจาซื้อคืนดังกล่าว

นอกจากนี้ คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ยังมีเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) มาร่วมสอบสวนข้อเท็จจริงในครั้งนี้ด้วย โดยได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วหลายส่วน เริ่มตั้งแต่พนักงานเดินเอกสาร พนักงานการลงทะเบียนรับเอกสาร และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเรียกพนักงานระดับดังกล่าวมาสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า เหตุใดถ้าน.อ.อนุดิษฐ์ ต้องการสอบสวนข้อเท็จจริงว่าสัญญาดังกล่าว เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดหรือไม่ ทำไมไม่พิจารณารายละเอียด ของสัญญา เหตุใดจึงเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบสวนข้อเท็จจริง ทั้งๆ ที่ไม่มีส่วนรู้เห็นในรายละเอียดของสัญญาและการดำเนินการ ดังกล่าวแต่อย่างใด

แนวหน้า
http://www.naewna.com/news.asp?ID=291711


_____________________________________________________

ไอซีทีสั่งสอบแผน "กสท" ซื้อกิจการฮัทช์


"อนุ ดิษฐ์" สั่งกรรมการสอบ3จีกสท-ทรูตั้งแต่เริ่ม เผยขยายกรอบเวลาสอบเป็น 60 วัน เพราะต้องการเจาะลึกปัจจัยเลิกซื้อฮัทช์ของกสททำให้ทรูเสียบแทน


"อนุ ดิษฐ์" สั่งคณะกรรมการสอบสัญญา 3จีกสท-ทรูตั้งแต่เริ่ม เผยขยายกรอบเวลาสอบเป็น 60 วัน เพราะต้องการเจาะลึกถึงปัจจัยการยกเลิกซื้อกิจการฮัทช์ของ กสท ทำให้ทรูเสียบแทน ลั่นไม่ต้องการเอื้อประโยชน์เอกชนบางราย ข้องใจดีลเทคโอเวอร์ทรูจบเร็วใน 3 เดือน ขณะที่ กสท เจรจาเป็นปี สุดท้ายต้องพับโครงการไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสารสื่อสาร (ไอซีที) ได้อนุมัติขยายระยะเวลาจาก 15 วัน เป็น 60 วัน ในการสอบสวนข้อเท็จจริง การทำสัญญาโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ 3จีด้วยเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ ระหว่างบมจ.กสท โทรคมนาคม กับบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น คาดว่าผลสอบดังกล่าวจะทราบผลเดือนม.ค. 2555

ทั้งนี้ สาเหตุที่ไอซีทีอนุมัติการขยายเวลาเพราะต้องการให้สอบสวนข้อเท็จจริงทั้งหมด ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ กสท มีแผนซื้อคืนโครงข่ายซีดีเอ็มเอของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส (ฮัทช์) ในพื้นที่ 25 จังหวัด มูลค่า 7,500 ล้านบาท รวมถึงการเจรจาต่อรองให้ปรับลดราคา และต่อมาได้ยกเลิกการซื้อคืนโครงข่ายดังกล่าว โดยตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดจึงยกเลิกการซื้อคืนโครงข่ายจากกลุ่มฮัทชิสัน และใครเป็นผู้เสนอให้ยกเลิก และมีใครเกี่ยวกับการเสนอความเห็นดังกล่าว

การ ยกเลิกการซื้อคืนดังกล่าวเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่กลุ่มทรูจะเข้าไปซื้อกิจการแทน เหมือนเป็นการเตรียมการไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อยกเลิกการซื้อคืนแล้วก็ให้กลุ่ม ทรูเข้าซื้อกิจการแทน เพราะเป็นการดำเนินการอย่างรวดเร็วเพียง 3 เดือนก็บรรลุข้อตกลงซื้อขาย ขณะที่ กสท ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปีเจรจาซื้อคืนดังกล่าว

นอกจากนี้ คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ยังมีเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เข้าร่วมด้วย โดยได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วหลายส่วน เริ่มตั้งแต่พนักงานเดินเอกสาร พนักงานการลงทะเบียนรับเอกสาร และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเรียกพนักงานระดับดังกล่าวมาสอบสวนทำให้มีข้อสังเกตุว่าอาจมีข้อ พิรุธ หรือสิ่งผิดปกติของการทำสัญญาที่เกิดขึ้น

สำหรับการยกเลิกแผน การซื้อโครงข่ายจากฮัทช์นั้น สืบเนื่องมาจากนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีทีชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบาย กสท ไปเจรจาต่อรองราคากับฮัทช์จาก 7,500 ล้านบาท ให้เหลือไม่เกิน 4,000 ล้านบาท เนื่องจากราคาสินทรัพย์ และเสาสถานีฐานโทรคมนาคมเทคโนโลยีตกรุ่น และมีค่าเสื่อมราคาสูง

ด้านนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้การใหญ่ กสท ได้ชี้แจงกลับไปยังนายจุติ รมว.ไอซีที ซึ่งต่อมาได้เสนอที่ประชุมครม. วันที่ 28 ธ.ค.2553 ว่า กสท ได้ยกเลิกการเข้าซื้อกิจการซีดีเอ็มเอ เพราะหลังจากที่เข้าไปเจรจาประเมินแล้วเห็นว่าไม่คุ้มค่า และ กสท เจรจาต่อรองกับฮัทช์ให้ลดราคาเหลือ 4,000 ล้านบาทไม่ได้

ส่วนกลุ่ม ทรูได้ประกาศความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการฮัทช์ที่ราคา 6,300 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2553 โดยเป็นการให้บริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นเพื่อการเข้าซื้อกิจการ การเข้าเทคโอเวอร์ประกอบด้วย หุ้นของบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด (HWMH), หุ้นของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด (BFKT), หุ้นของ Rosy Legend Limited (RL) และหุ้นของ Prospect Gain Limited (PG)

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20111212/42
4019/%E4%CD%AB%D5%B7%D5%CA%D1%E8%A7%CA%CD%B
A%E1%BC%B9-%A1%CA%B7-
%AB%D7%E9%CD%A1%D4%A8%A1%D2%C3%CE%D1%B7%AA
%EC.html

______________________________________________________

“อนุดิษฐ์” หวั่น กสท ยกเลิกซื้อฮัทช์ CDMA ส่อเอื้อประโยชน์เอกชน

รมว.ไอซีที สั่ง พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี กสท ยกเลิกซื้อโครงข่าย CDMA มูลค่า 7,500 ล้านบาท แต่กลับเป็นกลุ่มทรูเข้าไปซื้อกิจการแทนในเวลาอันรวดเร็ว หวั่นเอื้อประโยชน์เอกชน

แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า จากกรณีที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) ได้อนุมัติให้มีการขยายระยะเวลาเพิ่มอีกอีก 60 วัน สำหรับการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำสัญญาโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานนั้น ซึ่งรมว.ไอซีที ได้สั่งให้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวทั้งหมด

โดยให้เริ่มสอบสวนข้อเท็จจริงตั้งแต่การเสนอเรื่องให้ กสท ซื้อโครงข่าย CDMA ในพื้นที่ 25 จังหวัด ของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมิเดีย จำกัด จากประเทศฮ่องกง มูลค่า 7,500 ล้านบาท รวมถึงการ ให้ กสท เจรจาต่อรองให้ปรับลดราคา และต่อมาได้มีการยกเลิกการซื้อโครงข่ายดังกล่าว

ซึ่งได้ตั้งข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงยกเลิกการซื้อโครงข่าย CDMA จากฮัทช์ และใครเป็นผู้เสนอให้ยกเลิก และมีใครเกี่ยวข้องกับการเสนอความเห็น เพราะการยกเลิกการซื้อโครงข่ายดังกล่าวเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่กลุ่มทรูจะเข้าไปซื้อกิจการ เหมือนเป็นการเตรียมการไว้ล่วงหน้าแล้ว

"ภายหลังจากที่ให้ กสท ยกเลิกการซื้อ ฮัทช์ ไม่นานกลุ่มทรูก็ได้เข้าซื้อกิจการ ฮัทช์ แทน โดยใช้เวลาในการเจราจาเพียง 3 เดือนก็สามารถบรรลุข้อตกลในการซื้อขาย แต่ก่อนหน้านี้ กสท ต้องใช้เวลานานมากกว่า 1 ปีในการเจรจาซื้อ"

ทั้งนี้ คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าว ได้มีการดึงตัวเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มาร่วมสอบสวนข้อเท็จจริงในครั้งด้วย โดยได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วหลายส่วน เริ่มตั้งแต่พนักงานเดินเอกสาร พนักงานการลงทะเบียนรับเอกสาร และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9540000157703


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.