Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มกราคม 2555 (กสทช.) กมธ.บี้ DTAC จ่ายชดเชยลูกค้า ระบบล่ม 3 ครั้ง 400 ล้านบาท!! จี้ SMS ขยะ

(กสทช.) กมธ.บี้ DTAC จ่ายชดเชยลูกค้า ระบบล่ม 3 ครั้ง 400 ล้านบาท!! จี้ SMS ขยะ


ประเด็นหลัก

ทั้งนี้ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2554 มีลูกค้าได้รับผลกระทบประมาณ 20 ล้านราย คิดเป็นเงินที่จะต้องชดเชยประมาณ 300 ล้านบาท ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ม.ค.2555 ลูกค้าได้รับผลกระทบประมาณ 1.8 ล้านราย คิดเป็นเงินชดเชยประมาณ 50 ล้านบาท และครั้งที่สามเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2555 ที่ผ่านมา มีลูกค้าได้รับผลกระทบประมาณ 2 ล้านราย คิดเป็นเงินชดเชย 50 ล้านบาท รวมทั้ง 3 ครั้งคิดเป็นเงินที่ดีแทคจะต้องชดเชยให้ลูกค้าทั้งสิ้น 400 ล้านบาท โดยดีแทคชี้แจงว่าการชดเชยให้ในลักษณะนี้น่าจะเป็นธรรมแล้ว

ประธาน กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวต่อว่า กรณีการหารือเกี่ยวการคิดค่าบริการโทรศัพท์ตามจริงและการคิดค่าบริการผิด พลาด ตลอดจนเรื่องเอสเอ็มเอสขยะในโทรศัพท์มือถือนั้น ทางผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ชี้แจงว่า มีการกลั่นกรองเนื้อหาของเอสเอ็มเอสไม่ให้มีเนื้อหา หรือโฆษณาที่ไม่เหมาะสมก่อนจะให้ส่งไปยังเลขหมายต่างๆ และหากผู้บริโภคไม่ต้องการรับเอสเอ็มเอสประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ก็สามารถโทรไปยกเลิกบริการได้ ขณะที่ ทางฝั่ง กสทช. ระบุว่าปัญหาเรื่องการคิดค่าบริการและเอสเอ็มเอสขยะทางกรรมาธิการคุ้มครอง ผู้บริโภคให้ความสำคัญมาก โดยจะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. เพื่อร่วมกันวางแนวทางดำเนินการต่อไป
__________________________________________________________


กมธ.บี้ดีแทค จ่ายชดเชยลูกค้า ระบบล่ม 3 ครั้ง 400 ล.บาท


กมธ.ไล่ บี้ดีแทคยอมจ่าย 400 ล้านบาท รับผิดชอบระบบล่ม 3 ครั้ง เติมเงินชดเชย 48 ชั่วโมง-รายเดือนชดเชยรอบบิลต่อไป แนะลูกค้าร้อง สคบ.เรียกค่าเสียโอกาสทางแพ่ง เผยระบบไม่ได้คุณภาพเนื่องจากผู้ให้บริการเก็บเงินไว้ประมูล 3จี ขณะที่ไอซีทีเตรียมเรียกค่ายมือถือถกแผนรองรับสัปดาห์นี้...

เมื่อ วันที่ 12 ม.ค.2555 นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ล่มถึง 3 ครั้ง ติดต่อกันภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือนว่า วันนี้ดีแทคเข้าไปชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นต่อคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายอนุสรณ์ ปั้นทอง เป็นประธาน โดยมี กสทช. ร่วมหารือด้วย โดยได้ข้อสรุปว่าดีแทคจะจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกค้าทุกรายที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุเครือข่ายล่มทั้ง 3 ครั้ง

ทั้งนี้ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2554 มีลูกค้าได้รับผลกระทบประมาณ 20 ล้านราย คิดเป็นเงินที่จะต้องชดเชยประมาณ 300 ล้านบาท ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ม.ค.2555 ลูกค้าได้รับผลกระทบประมาณ 1.8 ล้านราย คิดเป็นเงินชดเชยประมาณ 50 ล้านบาท และครั้งที่สามเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2555 ที่ผ่านมา มีลูกค้าได้รับผลกระทบประมาณ 2 ล้านราย คิดเป็นเงินชดเชย 50 ล้านบาท รวมทั้ง 3 ครั้งคิดเป็นเงินที่ดีแทคจะต้องชดเชยให้ลูกค้าทั้งสิ้น 400 ล้านบาท โดยดีแทคชี้แจงว่าการชดเชยให้ในลักษณะนี้น่าจะเป็นธรรมแล้ว

“แนว ทางจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกค้าดีแทคที่ได้รับผลกระทบนั้น ดีแทคชี้แจงว่าในส่วนของลูกค้าประเภทเติมเงิน ทางดีแทคจะคืนเงินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง ระหว่างที่เครือข่ายล่มเข้าสู่ระบบ ขณะที่ในส่วนของลูกค้าแบบรายเดือนนั้น จะนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวคืนเป็นเครดิตให้กับลูกค้าในรอบบิล ของเดือนถัดไป ส่วนการชดเชยค่าเสียโอกาสนั้น ทางคณะกรรมาธิการมองว่าเป็นเรื่องทางแพ่ง ซึ่งหากลูกค้าที่ได้รับผลกระทบต้องการเงินชดเชยในส่วนนี้ จะต้องทำเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจนถึงตอนนี้มีผู้ยื่นเรื่องต่อ สคบ. เพียงรายเดียว” นพ.ประวิทย์ กล่าว

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ดีแทคชี้แจงว่าสาเหตุที่ทำให้เครือข่ายล่มในครั้งแรก นั้นเกิดจากระบบซอฟต์แวร์ของฐานข้อมูลใหม่ ซึ่งเป็นของบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด โดยดีแทคและอีริคสันคาดว่าจะใช้เวลาในการปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ประมาณ 6 สัปดาห์ จึงจะแล้วเสร็จ ซึ่งระหว่าง 6 สัปดาห์ที่มีการปรับปรุงนั้น กสทช. สั่งห้ามดีแทคดำเนินการโอนย้ายฐานข้อมูลโดยเด็ดขาด และหากดีแทคจะโอนย้ายฐานข้อมูลภายหลังการปรับปรุงเสร็จสิ้น ก็ต้องแจ้งต่อ กสทช. ให้รับทราบพร้อมเตรียมแผนรับมือหากเกิดเหตุเครือข่ายล่มไว้ด้วยตามที่เคยได้ ข้อสรุปก่อนหน้านี้

นพ.ประวิทย์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ กสทช. ต้องเร่งดำเนินการตาม คือ คุณภาพการให้บริการที่กำหนดให้ผู้ให้บริการแต่ละรายต้องลงทุนปรับปรุงโครง ข่ายเดิมเพิ่มขึ้น หลังจากที่พบว่าขณะนี้ผู้ให้บริการหยุดการปรับปรุงโครงข่าย เนื่องจากต้องการเก็บเงินไว้ลงทุนครั้งเดียวกับการประมูลใบอนุญาตให้บริการ หรือ ไลเซนส์ 3 จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งไม่ยุติธรรมต่อลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ

ด้านนายอนุสรณ์ ปั้นทอง ประธานกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า คณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคพอใจกับการชี้แจงของดีแทค เนื่องจากดีแทคยืนยันว่าจะไม่ให้เกิดเหตุขัดข้องลักษณะนี้อีก ขณะเดียวกัน มองว่ามาตรการเยียวยาผู้บริโภคเหมาะสม อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคใน กิจการโทรคมนาคมทุกด้าน ทั้งการป้องกันและรองรับการเกิดปัญหาเครือข่ายล่ม การคิดค่าบริการ ตลอดจนปัญหาเอสเอ็มเอสขยะด้วย

ประธานกรรมาธิการคุ้ม ครองผู้บริโภค กล่าวต่อว่า กรณีการหารือเกี่ยวการคิดค่าบริการโทรศัพท์ตามจริงและการคิดค่าบริการผิด พลาด ตลอดจนเรื่องเอสเอ็มเอสขยะในโทรศัพท์มือถือนั้น ทางผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ชี้แจงว่า มีการกลั่นกรองเนื้อหาของเอสเอ็มเอสไม่ให้มีเนื้อหา หรือโฆษณาที่ไม่เหมาะสมก่อนจะให้ส่งไปยังเลขหมายต่างๆ และหากผู้บริโภคไม่ต้องการรับเอสเอ็มเอสประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ก็สามารถโทรไปยกเลิกบริการได้ ขณะที่ ทางฝั่ง กสทช. ระบุว่าปัญหาเรื่องการคิดค่าบริการและเอสเอ็มเอสขยะทางกรรมาธิการคุ้มครอง ผู้บริโภคให้ความสำคัญมาก โดยจะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. เพื่อร่วมกันวางแนวทางดำเนินการต่อไป

นอกจาก กมธ. คุ้มครองผู้บริโภคแล้ว น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ได้สั่งให้ผู้ให้บริการทุกรายส่งแผนการดำเนินการและแผนการรองรับหากเกิด ปัญหาโครงข่ายในลักษณะนี้ภายในสัปดาห์นี้เช่นกัน


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/230066


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.