14 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) TDRI ชี้ 3G ต้องเดินหน้า !!! เตรียมจับตาแหล่ง เรื่องเงินกู้ลงทุนมาจากไหน
ประเด็นหลัก
“ปัญหาอยู่ที่ข้อความที่กำกวมของกฎหมายกสทช. เรื่องความเป็นคนต่างด้าว คิดว่าจะต้องถูกแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ ด้วยคำพูดที่กว้างมากก็จะมีคนมาอ้างว่าคนโน้น คนนี้เป็นคนต่างด้าว ความเป็นจริงสถานะการถือหุ้นของดีแทคก็เป็นที่เปิดเผย ถ้ามีความเป็นห่วงเรื่องนี้จริงๆ ก็สามารถเรียกร้องให้ กสทช.ตรวจสอบหรืออธิบาย ชี้แจงได้ตั้งแต่ก่อนวันที่มีการตรวจสอบคุณสมบัติ ไม่ใช่มาร้องตอนที่กำลังจะประมูล มาร้องตอนนี้จะดูเหมือนมีเจตนาอื่นแอบแฝง”นายวีรพัฒน์ กล่าว
นายวีรพัฒน์ กล่าวต่อว่า ประกาศ กสทช. เรื่อง การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555 ไม่ได้ดูเรื่องกรรมการเป็นคนต่างชาติ แต่ดูเงื่อนไขสำคัญ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1.คนต่างด้าวถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวน สิทธิออกเสียงทั้งหมด 2.คนต่างด้าวมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 3.คนต่างด้าวมีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการ ทั้งหมด
ด้าน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า กรณีนี้คงล้มการประมูล 3จีไม่ได้ แต่หลังจากนี้จะมีสิทธิตรวจสอบ ต้องดูจากพฤติกรรม อาจเป็นเรื่องเงินกู้ลงทุนมาจากไหน เป็นปัญหาภายหลังจากประกอบธุรกิจแล้ว ถามว่าจะเป็นบรรทัดฐานหรือเป็นปัญหาในอนาคตอย่างไร ถ้าเป็นปัญหาคงเป็นตั้งแต่ระดับ องค์การการค้าโลก(WTO)แล้ว ไม่ต้องรอถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะมีข้อถกเถียง ขัดแย้งพอสมควร
“การ ใช้ดุลยพินิจตีความและการดูแต่ละเรื่องที่ลงรายละเอียดจุกจิกไปหมดเป็นสิ่ง ที่แปลกมากที่ทำกันเขาไม่ได้ใช้ดุลยพินิจ แต่ดูเรื่องหุ้นส่วนทางตรง ทางอ้อม และไม่ใช่อยู่ที่คนใช้กฎหมายว่าจะพิจารณาเอง ซึ่งอาจจะถูกหยิบมาใช้เฉพาะกรณีๆไปได้ ขึ้นอยู่กับคนใช้ว่าจะตีความอย่างไร”ดร.เดือนเด่น กล่าว
ดร.เดือนเด่น กล่าวอีกว่า เอา แค่เรื่องกู้เงินจากต่างประเทศถึงจุดไหนจึงจะถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติ ทั้งที่บริษัทไทยกู้จากต่างประเทศ การที่ธุรกิจโทรคมนาคมมีผลประโยชน์สูง การแข่งขันสูง เป็นไปได้ว่าคู่แข่งบางรายไม่อยากให้ต่างชาติมาแข่งกับไทย เป็นเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบ
“อาจมองว่าทุนต่างชาติมีมากกว่า สายป่านยาวกว่าจะสู้ไม่ไหว ความจริงควรมองผล ประโยชน์ประเทศชาติในภาพรวม ไม่ใช่แค่ผลประกอบการเอกชนรายใดรายหนึ่งในตลาดนั้นๆ ถ้าหลุดจากกรอบได้อะไรที่ดีต่อชาติ จะมองทะลุในเรื่องฉันเป็นไทยเธอเป็นเทศไปได้ ความรักชาติบางทีคุณอาจถูกหลอกให้ไปเชียร์อีกฝ่าย และต้องระวังเงินในกระเป๋าตัวเองให้ดีด้วย เขาไม่อยากให้คนอื่นมาแข่ง แต่อยากจะไถเงินคุณต่อไป ผู้ประกอบการเหมือนกันหมดทุกรายนั่นแหล่ะ ถ้ามีอำนาจผูกขาด เขาก็เอาเปรียบ” ดร.เดือนเด่น กล่าว
*** ทีดีอาร์ไอชี้ การประมูล 3G ควรเดินหน้า
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
มีความเห็นดังนี้ "ผมเห็นว่า ไม่น่าจะมีเหตุผลที่เพียงพอในการฟ้องร้องให้ระงับการประมูล 3G ออกไปอีก เพราะประเด็นต่างๆ ที่มีการหยิบยกขึ้นมา สามารถใช้เครื่องมือในการกำกับดูแลต่างๆ ของ กสทช. ที่มีอยู่ เช่น การกำกับดูแลค่าบริการ และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการในการคุ้มครองผู้บริโภคได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ การชะลอการประมูล 3G ออกไปจะทำให้ประเทศไทยมีบริการ 3G ใช้ล่าช้ากว่าประเทศอื่นต่อไปอีก" นอกจากนั้นดร.สมเกียรติให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า
ส่วนประเด็นเรื่องการนำรายได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ได้บัญญัติไว้แล้ว เช่น มาตรา 50 ที่กำหนดให้ กสทช. เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปจัดการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานโดยทั่วถึง หรือ มาตรา 65 ที่กำหนดเกี่ยวกับการนำรายได้ต่างๆ ของ กสทช. มาจัดสรรเพื่อสมทบกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ หรือ กองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาฯ เป็นต้น การจะมองเฉพาะเงินประมูลส่วนเดียว ย่อมเป็นการมองที่แคบเกินไป
_________________________________________
“ทีดีอาร์ไอ” ยันการฟ้อง “ดีแทค” เป็นต่างด้าวไม่ใช่เหตุล้ม 3จี
นักวิชาการชี้ “ดีแทค” ไม่ขาดคุณสมบัติประมูล 3จี "ทีดีอาร์ไอ" ระบุข้ออ้างนี้คงล้มประมูล 3จีไม่ได้ ส่วน 15 ต.ค.55 ลุ้นเครือข่ายภาคประชาชนฟ้องระงับประมูล 3จี
จากกรณีที่ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. นายประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค เดินทางมายื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อขอให้มีคำสั่งให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ 1.ขอให้เพิกถอนประกาศกสทช.เรื่องรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่แถลงเมื่อวันที่ 9 ต.ค.55 และ 2. ขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉินและกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราว โดยมีคำสั่งห้ามเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี ในวันที่ 16 ต.ค.55 เนื่องจากเห็นว่า บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่พบว่ามีนายจอน ทราวิส เอ็ดดี้ หรือ จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ มีอำนาจเป็นกรรมการลงนามผูกพันบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม และยังกำหนดทิศทางการบริหาร ซึ่งส่งผลต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ของชาติตกไปอยู่ในการควบคุมหรืออิทธิพลของคนต่างด้าว
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายมหาชน เปิดเผยว่า การคัดค้านบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ว่าขาดคุณสมบัติในการเข้ายื่นประมูล 3จี เป็นประเด็นที่มีการพูดกันมากว่าสองเดือนแล้ว แต่ก็ไม่มีใครสนใจให้มีการตรวจสอบ
“ปัญหาอยู่ที่ข้อความที่กำกวมของกฎหมายกสทช. เรื่องความเป็นคนต่างด้าว คิดว่าจะต้องถูกแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ ด้วยคำพูดที่กว้างมากก็จะมีคนมาอ้างว่าคนโน้น คนนี้เป็นคนต่างด้าว ความเป็นจริงสถานะการถือหุ้นของดีแทคก็เป็นที่เปิดเผย ถ้ามีความเป็นห่วงเรื่องนี้จริงๆ ก็สามารถเรียกร้องให้ กสทช.ตรวจสอบหรืออธิบาย ชี้แจงได้ตั้งแต่ก่อนวันที่มีการตรวจสอบคุณสมบัติ ไม่ใช่มาร้องตอนที่กำลังจะประมูล มาร้องตอนนี้จะดูเหมือนมีเจตนาอื่นแอบแฝง”นายวีรพัฒน์ กล่าว
นายวีรพัฒน์ กล่าวต่อว่า ประกาศ กสทช. เรื่อง การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555 ไม่ได้ดูเรื่องกรรมการเป็นคนต่างชาติ แต่ดูเงื่อนไขสำคัญ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1.คนต่างด้าวถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวน สิทธิออกเสียงทั้งหมด 2.คนต่างด้าวมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 3.คนต่างด้าวมีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการ ทั้งหมด
“ถึงแม้จะอ้างว่าเข้าลักษณะข้อห้าม กฎหมายนี้ก็ออกแบบให้ กสทช.แจ้งไปยังบริษัท ให้ไปทำการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด แต่ไม่ได้ให้อำนาจไปฟ้องศาลเพื่อล้มการประมูล”นายวีรพัฒน์ กล่าว
นายวีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า คลื่นความถี่เป็นของประชาชน เป็นทรัพยากรของชาติ ดังนั้นหากยิ่งให้มีการแข่งขันเพื่อให้ได้ราคา หรือจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบการเพิ่ม ประเทศก็จะได้ประโยชน์ แต่หากอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร หรือให้มีการผูกขาดประเทศก็ไม่ได้ประโยชน์ อย่างทีโอทีได้คลื่นไปแล้วไม่ทำอะไร ขณะที่เอกชนวิ่งแข่งขันเพื่อให้ได้คลื่น 15 เมกกะเฮิร์ตมา ถ้าลงมาแข่งด้วยกันเป็น 4 ราย ไม่ดีกว่าหรือ ใครเป็นลูกค้าทีโอทีอยากใช้ก็ใช้ไป มีฐานลูกค้าทั่วประเทศถือว่ามีความได้เปรียบ แต่การแข่งก็ต้องลงทุนมาก ต้องขยัน ไม่สามารถบริหารแบบเดิมๆได้ เหมือนที่เป็นอยู่
นายวีรพัฒน์ กล่าวว่า การทำให้เกิด การผูกขาดจะเกิดช่องว่างในการทุจริตง่ายและเป็นการทำลายเศรษฐกิจเสรีนิยม แต่เข้าใจได้ว่าธุรกิจโทรคมนาคมเป็นเค้กก้อนโต ผลประโยชน์มหาศาล ใครก็อยากได้เปรียบเหนือคู่แข่ง จึงพยายามจะเล่นนอกเกมและแอบชกใต้เข็มขัดกัน
ด้าน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า กรณีนี้คงล้มการประมูล 3จีไม่ได้ แต่หลังจากนี้จะมีสิทธิตรวจสอบ ต้องดูจากพฤติกรรม อาจเป็นเรื่องเงินกู้ลงทุนมาจากไหน เป็นปัญหาภายหลังจากประกอบธุรกิจแล้ว ถามว่าจะเป็นบรรทัดฐานหรือเป็นปัญหาในอนาคตอย่างไร ถ้าเป็นปัญหาคงเป็นตั้งแต่ระดับ องค์การการค้าโลก(WTO)แล้ว ไม่ต้องรอถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะมีข้อถกเถียง ขัดแย้งพอสมควร
“การ ใช้ดุลยพินิจตีความและการดูแต่ละเรื่องที่ลงรายละเอียดจุกจิกไปหมดเป็นสิ่ง ที่แปลกมากที่ทำกันเขาไม่ได้ใช้ดุลยพินิจ แต่ดูเรื่องหุ้นส่วนทางตรง ทางอ้อม และไม่ใช่อยู่ที่คนใช้กฎหมายว่าจะพิจารณาเอง ซึ่งอาจจะถูกหยิบมาใช้เฉพาะกรณีๆไปได้ ขึ้นอยู่กับคนใช้ว่าจะตีความอย่างไร”ดร.เดือนเด่น กล่าว
ดร.เดือนเด่น กล่าวอีกว่า เอา แค่เรื่องกู้เงินจากต่างประเทศถึงจุดไหนจึงจะถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติ ทั้งที่บริษัทไทยกู้จากต่างประเทศ การที่ธุรกิจโทรคมนาคมมีผลประโยชน์สูง การแข่งขันสูง เป็นไปได้ว่าคู่แข่งบางรายไม่อยากให้ต่างชาติมาแข่งกับไทย เป็นเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบ
“อาจมองว่าทุนต่างชาติมีมากกว่า สายป่านยาวกว่าจะสู้ไม่ไหว ความจริงควรมองผล ประโยชน์ประเทศชาติในภาพรวม ไม่ใช่แค่ผลประกอบการเอกชนรายใดรายหนึ่งในตลาดนั้นๆ ถ้าหลุดจากกรอบได้อะไรที่ดีต่อชาติ จะมองทะลุในเรื่องฉันเป็นไทยเธอเป็นเทศไปได้ ความรักชาติบางทีคุณอาจถูกหลอกให้ไปเชียร์อีกฝ่าย และต้องระวังเงินในกระเป๋าตัวเองให้ดีด้วย เขาไม่อยากให้คนอื่นมาแข่ง แต่อยากจะไถเงินคุณต่อไป ผู้ประกอบการเหมือนกันหมดทุกรายนั่นแหล่ะ ถ้ามีอำนาจผูกขาด เขาก็เอาเปรียบ” ดร.เดือนเด่น กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการยื่นฟ้องเพื่อระงับการประมูลใบอนุญาต 3จี ของกสทช. นอกจากกรณีนายประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค แล้วยังมี ดร.อนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่ได้ยื่นคำฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว เพื่อให้ กสทช. ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเงื่อนไขในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่ให้บริการ 3จีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ซึ่งคาดว่าศาลจะมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวภายในวันที่ 15 ต.ค.55
และในวันที่ 15 ต.ค. นายสุริยะใส กตะศิลา พร้อมด้วยองค์กรภาคประชาชนกว่า 10 องค์กร อดีตสหภาพ บริษัท ทีโอที และ ตัวแทนภาคประชาชน จะไปยื่นฟ้องศาลปกครองกลางเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีการเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3 จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ของ กสทช. เป็นไปโดยไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประชาชน
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/160839
_________________________________________
ระทึกศาลปกครองกลาง เช็กบิล'ประมูล3จี'
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์เหลืออีกไม่กี่วัน กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะเปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2555 แต่ปรากฏว่า
ดร.อานุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระทางด้านโทรคมนาคม เตรียมยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางในวันพุธที่ 10 ตุลาคม 2555 โดยจะดำเนินการฟ้องร้อง ด้วยกัน 4 เรื่อง คือ 1. เรื่องคุณภาพการให้บริการ 2. เรื่องราคาค่าบริการ 3. เรื่องคุ้มครองผู้ด้อยโอกาส และ 4. เรื่องการนำเงินประมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์
จังหวะที่น่าสนใจนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมความคิดเห็นจากนักกฎหมายและนักวิชาการเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้!
*** ทีดีอาร์ไอชี้ การประมูล 3G ควรเดินหน้า
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
มีความเห็นดังนี้ "ผมเห็นว่า ไม่น่าจะมีเหตุผลที่เพียงพอในการฟ้องร้องให้ระงับการประมูล 3G ออกไปอีก เพราะประเด็นต่างๆ ที่มีการหยิบยกขึ้นมา สามารถใช้เครื่องมือในการกำกับดูแลต่างๆ ของ กสทช. ที่มีอยู่ เช่น การกำกับดูแลค่าบริการ และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการในการคุ้มครองผู้บริโภคได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ การชะลอการประมูล 3G ออกไปจะทำให้ประเทศไทยมีบริการ 3G ใช้ล่าช้ากว่าประเทศอื่นต่อไปอีก" นอกจากนั้นดร.สมเกียรติให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า
จริงอยู่ การกำหนดหลักเกณฑ์การประมูล 3G ของ กสทช. ครั้งนี้ เป็นการเอื้อให้ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย สามารถเสนอราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเงื่อนไขของการประมูลแทบจะไม่ทำให้เกิดการแข่งขันเลย เหมือนจัดคน 3 คนมาเล่นเก้าอี้ดนตรี 3 ตัว ทั้งนี้ หากผลการประมูลได้ราคาใกล้เคียงกับราคาประมูลตั้งต้น รัฐและประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี ก็จะเสียหายประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท เมื่อคิดจากราคาประเมินของ กสทช. เอง ส่วนประชาชนในฐานะผู้บริโภคนั้นไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากราคาค่าประมูลอยู่แล้ว เพราะค่าประมูลเป็นส่วนที่ไปหักมาจากกำไรของผู้ประกอบการ ต่อให้ผู้ประกอบการได้คลื่นความถี่ไปฟรี ก็ยังจะคิดค่าบริการจากผู้บริโภคในอัตราที่ทำกำไรสูงสุดนั่นเอง
"วิธีเดียวที่จะทำให้การประมูลได้ราคาสูงกว่าที่เป็นอยู่ก็คือ กสทช. ต้องไปอ้อนวอนขอร้องผู้เข้าประมูลให้ประมูลสูงขึ้นบ้าง เพื่อไม่ให้ผลการประมูลออกมาน่าเกลียด จนประจานตัวเองมากเกินไป" ประธานทีดีอาร์ไอกล่าวและว่า
"เป็นเรื่องแปลกมาก ที่ผู้ประกอบการต่างพูดว่าพร้อมจะจ่ายค่าประมูลคลื่นความถี่สูงกว่า ที่กสทช. กำหนด เช่น มีรายหนึ่งบอกว่าพร้อมจะจ่าย 1.5 – 2 หมื่นล้านบาท แต่ กสทช. กลับไม่ต้องการให้มีการแข่งขันในการประมูล ดูเหมือนจงใจเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการ"
ดร.สมเกียรติสรุป ว่า "
ผมเห็นว่า การประมูลควรจะเดินหน้าต่อไป แต่ผมขอถามว่า กสทช. จะรับผิดชอบอย่างไร หากผลการประมูลออกมาอย่างที่คาด คือทำให้รัฐเสียประโยชน์เป็นหมื่นล้านบาท?"
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์***นักกฎหมายอิสระบุไม่น่ามีผลระงับประมูล
ขณะที่นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ให้เหตุผลว่าการฟ้องดังกล่าวไม่น่าจะนำไปสู่การระงับการประมูล 3G ได้ โดยเหตุผลต่อไปนี้ 1. การจะฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น "ผู้มีสิทธิฟ้องคดี" ต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนเสียหาย "โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้" อีกทั้งยังต้องได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนตามขั้นตอนวิธีการที่กฎหมายกำหนดไปก่อนแล้ว ดังนั้น หากผู้ใดฟ้องคดีอย่างกว้างๆ โดยคาดคะเนถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นการทั่วไป ศาลอาจมองว่าผู้นั้น "ไม่มีสิทธิฟ้องคดี"
ประเด็นที่สอง แม้สมมติว่า "มีสิทธิฟ้อง" แต่เหตุผลที่จะนำไปฟ้องนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่า กสทช. ได้ "ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ" ซึ่งย่อมเป็นคนละประเด็นกับ "การจัดการประมูล" กล่าวคือ การฟ้องว่า กสทช. กำหนดกฎระเบียบไม่ครบถ้วน ย่อมเป็นคนละประเด็นกับการฟ้องว่า การประมูลจัดขึ้นโดยผิดกฎหมาย ดังนั้น การจะขอให้ศาลสั่งระงับการประมูล ก็อาจเป็นคำขอที่ไม่ตรงประเด็น
ประเด็นที่สาม ที่สำคัญ เนื้อหาสาระที่ฟ้อง ก็ฟังดูขาดน้ำหนัก เพราะหากพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น "ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่น ย่าน 2.1 GHz" จะเห็นว่า กสทช. เอง ก็มีข้อกำหนดเพื่อกำกับดูแลเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว เช่น ข้อ 16 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินการให้โครงข่ายรองรับความเร็วได้ตามมาตรฐานและคุณภาพ ต้องสนับสนุนการอำนวยความสะดวกต่อผู้มีรายได้น้อย คนพิการ อีกทั้งต้องกำหนดอัตราค่าบริการให้เป็นธรรม ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ฯลฯ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ กสทช. ต้องกำหนดในรายละเอียดนั้น บางส่วน กสทช. ได้กำหนดไว้แล้ว แต่บางส่วน ก็ไม่อาจกำหนดล่วงหน้าเร็วเกินไป เช่น เรื่อง ราคาหรืออัตราขั้นสูงของค่าบริการ ซึ่ง กสทช. ย่อมต้องกำหนดขึ้นโดยคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น สภาพตลาด ต้นทุนจากการประมูล ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและขยายโครงข่าย ฯลฯ ซึ่ง กสทช. อาจกำหนดขึ้นหลังการประมูลเพื่อให้เป็นธรรมและสอดคล้องกับความเป็นจริง ก็เป็นได้
ส่วนประเด็นเรื่องการนำรายได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ได้บัญญัติไว้แล้ว เช่น มาตรา 50 ที่กำหนดให้ กสทช. เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปจัดการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานโดยทั่วถึง หรือ มาตรา 65 ที่กำหนดเกี่ยวกับการนำรายได้ต่างๆ ของ กสทช. มาจัดสรรเพื่อสมทบกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ หรือ กองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาฯ เป็นต้น การจะมองเฉพาะเงินประมูลส่วนเดียว ย่อมเป็นการมองที่แคบเกินไป
ที่สำคัญ เมื่อสุดท้ายมีการนำเงินประมูลที่เหลือส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ก็ย่อมเป็นความชอบธรรมทางประชาธิปไตยที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะนำรายได้ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แทนที่จะปล่อยให้ กสทช. ซึ่งเป็นเพียงองค์กรกำกับดูแลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มากำหนดวิธีการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเสียเอง และหากจะให้องค์กรตุลาการเข้าไปแทรกแซงเรื่องการบริหารรายได้แผ่นดิน ก็ยิ่งเป็นการไม่สมควรขึ้นไปอีก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=147212:-3&catid=123:2009-
02-08-11-44-33&Itemid=491
“ปัญหาอยู่ที่ข้อความที่กำกวมของกฎหมายกสทช. เรื่องความเป็นคนต่างด้าว คิดว่าจะต้องถูกแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ ด้วยคำพูดที่กว้างมากก็จะมีคนมาอ้างว่าคนโน้น คนนี้เป็นคนต่างด้าว ความเป็นจริงสถานะการถือหุ้นของดีแทคก็เป็นที่เปิดเผย ถ้ามีความเป็นห่วงเรื่องนี้จริงๆ ก็สามารถเรียกร้องให้ กสทช.ตรวจสอบหรืออธิบาย ชี้แจงได้ตั้งแต่ก่อนวันที่มีการตรวจสอบคุณสมบัติ ไม่ใช่มาร้องตอนที่กำลังจะประมูล มาร้องตอนนี้จะดูเหมือนมีเจตนาอื่นแอบแฝง”นายวีรพัฒน์ กล่าว
นายวีรพัฒน์ กล่าวต่อว่า ประกาศ กสทช. เรื่อง การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555 ไม่ได้ดูเรื่องกรรมการเป็นคนต่างชาติ แต่ดูเงื่อนไขสำคัญ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1.คนต่างด้าวถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวน สิทธิออกเสียงทั้งหมด 2.คนต่างด้าวมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 3.คนต่างด้าวมีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการ ทั้งหมด
ด้าน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า กรณีนี้คงล้มการประมูล 3จีไม่ได้ แต่หลังจากนี้จะมีสิทธิตรวจสอบ ต้องดูจากพฤติกรรม อาจเป็นเรื่องเงินกู้ลงทุนมาจากไหน เป็นปัญหาภายหลังจากประกอบธุรกิจแล้ว ถามว่าจะเป็นบรรทัดฐานหรือเป็นปัญหาในอนาคตอย่างไร ถ้าเป็นปัญหาคงเป็นตั้งแต่ระดับ องค์การการค้าโลก(WTO)แล้ว ไม่ต้องรอถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะมีข้อถกเถียง ขัดแย้งพอสมควร
“การ ใช้ดุลยพินิจตีความและการดูแต่ละเรื่องที่ลงรายละเอียดจุกจิกไปหมดเป็นสิ่ง ที่แปลกมากที่ทำกันเขาไม่ได้ใช้ดุลยพินิจ แต่ดูเรื่องหุ้นส่วนทางตรง ทางอ้อม และไม่ใช่อยู่ที่คนใช้กฎหมายว่าจะพิจารณาเอง ซึ่งอาจจะถูกหยิบมาใช้เฉพาะกรณีๆไปได้ ขึ้นอยู่กับคนใช้ว่าจะตีความอย่างไร”ดร.เดือนเด่น กล่าว
ดร.เดือนเด่น กล่าวอีกว่า เอา แค่เรื่องกู้เงินจากต่างประเทศถึงจุดไหนจึงจะถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติ ทั้งที่บริษัทไทยกู้จากต่างประเทศ การที่ธุรกิจโทรคมนาคมมีผลประโยชน์สูง การแข่งขันสูง เป็นไปได้ว่าคู่แข่งบางรายไม่อยากให้ต่างชาติมาแข่งกับไทย เป็นเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบ
“อาจมองว่าทุนต่างชาติมีมากกว่า สายป่านยาวกว่าจะสู้ไม่ไหว ความจริงควรมองผล ประโยชน์ประเทศชาติในภาพรวม ไม่ใช่แค่ผลประกอบการเอกชนรายใดรายหนึ่งในตลาดนั้นๆ ถ้าหลุดจากกรอบได้อะไรที่ดีต่อชาติ จะมองทะลุในเรื่องฉันเป็นไทยเธอเป็นเทศไปได้ ความรักชาติบางทีคุณอาจถูกหลอกให้ไปเชียร์อีกฝ่าย และต้องระวังเงินในกระเป๋าตัวเองให้ดีด้วย เขาไม่อยากให้คนอื่นมาแข่ง แต่อยากจะไถเงินคุณต่อไป ผู้ประกอบการเหมือนกันหมดทุกรายนั่นแหล่ะ ถ้ามีอำนาจผูกขาด เขาก็เอาเปรียบ” ดร.เดือนเด่น กล่าว
*** ทีดีอาร์ไอชี้ การประมูล 3G ควรเดินหน้า
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
มีความเห็นดังนี้ "ผมเห็นว่า ไม่น่าจะมีเหตุผลที่เพียงพอในการฟ้องร้องให้ระงับการประมูล 3G ออกไปอีก เพราะประเด็นต่างๆ ที่มีการหยิบยกขึ้นมา สามารถใช้เครื่องมือในการกำกับดูแลต่างๆ ของ กสทช. ที่มีอยู่ เช่น การกำกับดูแลค่าบริการ และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการในการคุ้มครองผู้บริโภคได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ การชะลอการประมูล 3G ออกไปจะทำให้ประเทศไทยมีบริการ 3G ใช้ล่าช้ากว่าประเทศอื่นต่อไปอีก" นอกจากนั้นดร.สมเกียรติให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า
ส่วนประเด็นเรื่องการนำรายได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ได้บัญญัติไว้แล้ว เช่น มาตรา 50 ที่กำหนดให้ กสทช. เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปจัดการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานโดยทั่วถึง หรือ มาตรา 65 ที่กำหนดเกี่ยวกับการนำรายได้ต่างๆ ของ กสทช. มาจัดสรรเพื่อสมทบกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ หรือ กองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาฯ เป็นต้น การจะมองเฉพาะเงินประมูลส่วนเดียว ย่อมเป็นการมองที่แคบเกินไป
_________________________________________
“ทีดีอาร์ไอ” ยันการฟ้อง “ดีแทค” เป็นต่างด้าวไม่ใช่เหตุล้ม 3จี
นักวิชาการชี้ “ดีแทค” ไม่ขาดคุณสมบัติประมูล 3จี "ทีดีอาร์ไอ" ระบุข้ออ้างนี้คงล้มประมูล 3จีไม่ได้ ส่วน 15 ต.ค.55 ลุ้นเครือข่ายภาคประชาชนฟ้องระงับประมูล 3จี
จากกรณีที่ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. นายประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค เดินทางมายื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อขอให้มีคำสั่งให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ 1.ขอให้เพิกถอนประกาศกสทช.เรื่องรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่แถลงเมื่อวันที่ 9 ต.ค.55 และ 2. ขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉินและกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราว โดยมีคำสั่งห้ามเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี ในวันที่ 16 ต.ค.55 เนื่องจากเห็นว่า บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่พบว่ามีนายจอน ทราวิส เอ็ดดี้ หรือ จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ มีอำนาจเป็นกรรมการลงนามผูกพันบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม และยังกำหนดทิศทางการบริหาร ซึ่งส่งผลต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ของชาติตกไปอยู่ในการควบคุมหรืออิทธิพลของคนต่างด้าว
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายมหาชน เปิดเผยว่า การคัดค้านบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ว่าขาดคุณสมบัติในการเข้ายื่นประมูล 3จี เป็นประเด็นที่มีการพูดกันมากว่าสองเดือนแล้ว แต่ก็ไม่มีใครสนใจให้มีการตรวจสอบ
“ปัญหาอยู่ที่ข้อความที่กำกวมของกฎหมายกสทช. เรื่องความเป็นคนต่างด้าว คิดว่าจะต้องถูกแก้ไข เพราะถ้าไม่แก้ ด้วยคำพูดที่กว้างมากก็จะมีคนมาอ้างว่าคนโน้น คนนี้เป็นคนต่างด้าว ความเป็นจริงสถานะการถือหุ้นของดีแทคก็เป็นที่เปิดเผย ถ้ามีความเป็นห่วงเรื่องนี้จริงๆ ก็สามารถเรียกร้องให้ กสทช.ตรวจสอบหรืออธิบาย ชี้แจงได้ตั้งแต่ก่อนวันที่มีการตรวจสอบคุณสมบัติ ไม่ใช่มาร้องตอนที่กำลังจะประมูล มาร้องตอนนี้จะดูเหมือนมีเจตนาอื่นแอบแฝง”นายวีรพัฒน์ กล่าว
นายวีรพัฒน์ กล่าวต่อว่า ประกาศ กสทช. เรื่อง การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555 ไม่ได้ดูเรื่องกรรมการเป็นคนต่างชาติ แต่ดูเงื่อนไขสำคัญ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1.คนต่างด้าวถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวน สิทธิออกเสียงทั้งหมด 2.คนต่างด้าวมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 3.คนต่างด้าวมีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการ ทั้งหมด
“ถึงแม้จะอ้างว่าเข้าลักษณะข้อห้าม กฎหมายนี้ก็ออกแบบให้ กสทช.แจ้งไปยังบริษัท ให้ไปทำการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด แต่ไม่ได้ให้อำนาจไปฟ้องศาลเพื่อล้มการประมูล”นายวีรพัฒน์ กล่าว
นายวีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า คลื่นความถี่เป็นของประชาชน เป็นทรัพยากรของชาติ ดังนั้นหากยิ่งให้มีการแข่งขันเพื่อให้ได้ราคา หรือจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบการเพิ่ม ประเทศก็จะได้ประโยชน์ แต่หากอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร หรือให้มีการผูกขาดประเทศก็ไม่ได้ประโยชน์ อย่างทีโอทีได้คลื่นไปแล้วไม่ทำอะไร ขณะที่เอกชนวิ่งแข่งขันเพื่อให้ได้คลื่น 15 เมกกะเฮิร์ตมา ถ้าลงมาแข่งด้วยกันเป็น 4 ราย ไม่ดีกว่าหรือ ใครเป็นลูกค้าทีโอทีอยากใช้ก็ใช้ไป มีฐานลูกค้าทั่วประเทศถือว่ามีความได้เปรียบ แต่การแข่งก็ต้องลงทุนมาก ต้องขยัน ไม่สามารถบริหารแบบเดิมๆได้ เหมือนที่เป็นอยู่
นายวีรพัฒน์ กล่าวว่า การทำให้เกิด การผูกขาดจะเกิดช่องว่างในการทุจริตง่ายและเป็นการทำลายเศรษฐกิจเสรีนิยม แต่เข้าใจได้ว่าธุรกิจโทรคมนาคมเป็นเค้กก้อนโต ผลประโยชน์มหาศาล ใครก็อยากได้เปรียบเหนือคู่แข่ง จึงพยายามจะเล่นนอกเกมและแอบชกใต้เข็มขัดกัน
ด้าน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า กรณีนี้คงล้มการประมูล 3จีไม่ได้ แต่หลังจากนี้จะมีสิทธิตรวจสอบ ต้องดูจากพฤติกรรม อาจเป็นเรื่องเงินกู้ลงทุนมาจากไหน เป็นปัญหาภายหลังจากประกอบธุรกิจแล้ว ถามว่าจะเป็นบรรทัดฐานหรือเป็นปัญหาในอนาคตอย่างไร ถ้าเป็นปัญหาคงเป็นตั้งแต่ระดับ องค์การการค้าโลก(WTO)แล้ว ไม่ต้องรอถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะมีข้อถกเถียง ขัดแย้งพอสมควร
“การ ใช้ดุลยพินิจตีความและการดูแต่ละเรื่องที่ลงรายละเอียดจุกจิกไปหมดเป็นสิ่ง ที่แปลกมากที่ทำกันเขาไม่ได้ใช้ดุลยพินิจ แต่ดูเรื่องหุ้นส่วนทางตรง ทางอ้อม และไม่ใช่อยู่ที่คนใช้กฎหมายว่าจะพิจารณาเอง ซึ่งอาจจะถูกหยิบมาใช้เฉพาะกรณีๆไปได้ ขึ้นอยู่กับคนใช้ว่าจะตีความอย่างไร”ดร.เดือนเด่น กล่าว
ดร.เดือนเด่น กล่าวอีกว่า เอา แค่เรื่องกู้เงินจากต่างประเทศถึงจุดไหนจึงจะถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติ ทั้งที่บริษัทไทยกู้จากต่างประเทศ การที่ธุรกิจโทรคมนาคมมีผลประโยชน์สูง การแข่งขันสูง เป็นไปได้ว่าคู่แข่งบางรายไม่อยากให้ต่างชาติมาแข่งกับไทย เป็นเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบ
“อาจมองว่าทุนต่างชาติมีมากกว่า สายป่านยาวกว่าจะสู้ไม่ไหว ความจริงควรมองผล ประโยชน์ประเทศชาติในภาพรวม ไม่ใช่แค่ผลประกอบการเอกชนรายใดรายหนึ่งในตลาดนั้นๆ ถ้าหลุดจากกรอบได้อะไรที่ดีต่อชาติ จะมองทะลุในเรื่องฉันเป็นไทยเธอเป็นเทศไปได้ ความรักชาติบางทีคุณอาจถูกหลอกให้ไปเชียร์อีกฝ่าย และต้องระวังเงินในกระเป๋าตัวเองให้ดีด้วย เขาไม่อยากให้คนอื่นมาแข่ง แต่อยากจะไถเงินคุณต่อไป ผู้ประกอบการเหมือนกันหมดทุกรายนั่นแหล่ะ ถ้ามีอำนาจผูกขาด เขาก็เอาเปรียบ” ดร.เดือนเด่น กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการยื่นฟ้องเพื่อระงับการประมูลใบอนุญาต 3จี ของกสทช. นอกจากกรณีนายประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค แล้วยังมี ดร.อนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่ได้ยื่นคำฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว เพื่อให้ กสทช. ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเงื่อนไขในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่ให้บริการ 3จีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ซึ่งคาดว่าศาลจะมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวภายในวันที่ 15 ต.ค.55
และในวันที่ 15 ต.ค. นายสุริยะใส กตะศิลา พร้อมด้วยองค์กรภาคประชาชนกว่า 10 องค์กร อดีตสหภาพ บริษัท ทีโอที และ ตัวแทนภาคประชาชน จะไปยื่นฟ้องศาลปกครองกลางเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีการเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3 จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ของ กสทช. เป็นไปโดยไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประชาชน
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/160839
_________________________________________
ระทึกศาลปกครองกลาง เช็กบิล'ประมูล3จี'
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์เหลืออีกไม่กี่วัน กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะเปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2555 แต่ปรากฏว่า
ดร.อานุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระทางด้านโทรคมนาคม เตรียมยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางในวันพุธที่ 10 ตุลาคม 2555 โดยจะดำเนินการฟ้องร้อง ด้วยกัน 4 เรื่อง คือ 1. เรื่องคุณภาพการให้บริการ 2. เรื่องราคาค่าบริการ 3. เรื่องคุ้มครองผู้ด้อยโอกาส และ 4. เรื่องการนำเงินประมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์
จังหวะที่น่าสนใจนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมความคิดเห็นจากนักกฎหมายและนักวิชาการเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้!
*** ทีดีอาร์ไอชี้ การประมูล 3G ควรเดินหน้า
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
มีความเห็นดังนี้ "ผมเห็นว่า ไม่น่าจะมีเหตุผลที่เพียงพอในการฟ้องร้องให้ระงับการประมูล 3G ออกไปอีก เพราะประเด็นต่างๆ ที่มีการหยิบยกขึ้นมา สามารถใช้เครื่องมือในการกำกับดูแลต่างๆ ของ กสทช. ที่มีอยู่ เช่น การกำกับดูแลค่าบริการ และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการในการคุ้มครองผู้บริโภคได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ การชะลอการประมูล 3G ออกไปจะทำให้ประเทศไทยมีบริการ 3G ใช้ล่าช้ากว่าประเทศอื่นต่อไปอีก" นอกจากนั้นดร.สมเกียรติให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า
จริงอยู่ การกำหนดหลักเกณฑ์การประมูล 3G ของ กสทช. ครั้งนี้ เป็นการเอื้อให้ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย สามารถเสนอราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเงื่อนไขของการประมูลแทบจะไม่ทำให้เกิดการแข่งขันเลย เหมือนจัดคน 3 คนมาเล่นเก้าอี้ดนตรี 3 ตัว ทั้งนี้ หากผลการประมูลได้ราคาใกล้เคียงกับราคาประมูลตั้งต้น รัฐและประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี ก็จะเสียหายประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท เมื่อคิดจากราคาประเมินของ กสทช. เอง ส่วนประชาชนในฐานะผู้บริโภคนั้นไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากราคาค่าประมูลอยู่แล้ว เพราะค่าประมูลเป็นส่วนที่ไปหักมาจากกำไรของผู้ประกอบการ ต่อให้ผู้ประกอบการได้คลื่นความถี่ไปฟรี ก็ยังจะคิดค่าบริการจากผู้บริโภคในอัตราที่ทำกำไรสูงสุดนั่นเอง
"วิธีเดียวที่จะทำให้การประมูลได้ราคาสูงกว่าที่เป็นอยู่ก็คือ กสทช. ต้องไปอ้อนวอนขอร้องผู้เข้าประมูลให้ประมูลสูงขึ้นบ้าง เพื่อไม่ให้ผลการประมูลออกมาน่าเกลียด จนประจานตัวเองมากเกินไป" ประธานทีดีอาร์ไอกล่าวและว่า
"เป็นเรื่องแปลกมาก ที่ผู้ประกอบการต่างพูดว่าพร้อมจะจ่ายค่าประมูลคลื่นความถี่สูงกว่า ที่กสทช. กำหนด เช่น มีรายหนึ่งบอกว่าพร้อมจะจ่าย 1.5 – 2 หมื่นล้านบาท แต่ กสทช. กลับไม่ต้องการให้มีการแข่งขันในการประมูล ดูเหมือนจงใจเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการ"
ดร.สมเกียรติสรุป ว่า "
ผมเห็นว่า การประมูลควรจะเดินหน้าต่อไป แต่ผมขอถามว่า กสทช. จะรับผิดชอบอย่างไร หากผลการประมูลออกมาอย่างที่คาด คือทำให้รัฐเสียประโยชน์เป็นหมื่นล้านบาท?"
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์***นักกฎหมายอิสระบุไม่น่ามีผลระงับประมูล
ขณะที่นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ให้เหตุผลว่าการฟ้องดังกล่าวไม่น่าจะนำไปสู่การระงับการประมูล 3G ได้ โดยเหตุผลต่อไปนี้ 1. การจะฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น "ผู้มีสิทธิฟ้องคดี" ต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนเสียหาย "โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้" อีกทั้งยังต้องได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนตามขั้นตอนวิธีการที่กฎหมายกำหนดไปก่อนแล้ว ดังนั้น หากผู้ใดฟ้องคดีอย่างกว้างๆ โดยคาดคะเนถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นการทั่วไป ศาลอาจมองว่าผู้นั้น "ไม่มีสิทธิฟ้องคดี"
ประเด็นที่สอง แม้สมมติว่า "มีสิทธิฟ้อง" แต่เหตุผลที่จะนำไปฟ้องนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่า กสทช. ได้ "ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ" ซึ่งย่อมเป็นคนละประเด็นกับ "การจัดการประมูล" กล่าวคือ การฟ้องว่า กสทช. กำหนดกฎระเบียบไม่ครบถ้วน ย่อมเป็นคนละประเด็นกับการฟ้องว่า การประมูลจัดขึ้นโดยผิดกฎหมาย ดังนั้น การจะขอให้ศาลสั่งระงับการประมูล ก็อาจเป็นคำขอที่ไม่ตรงประเด็น
ประเด็นที่สาม ที่สำคัญ เนื้อหาสาระที่ฟ้อง ก็ฟังดูขาดน้ำหนัก เพราะหากพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น "ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่น ย่าน 2.1 GHz" จะเห็นว่า กสทช. เอง ก็มีข้อกำหนดเพื่อกำกับดูแลเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว เช่น ข้อ 16 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินการให้โครงข่ายรองรับความเร็วได้ตามมาตรฐานและคุณภาพ ต้องสนับสนุนการอำนวยความสะดวกต่อผู้มีรายได้น้อย คนพิการ อีกทั้งต้องกำหนดอัตราค่าบริการให้เป็นธรรม ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ฯลฯ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ กสทช. ต้องกำหนดในรายละเอียดนั้น บางส่วน กสทช. ได้กำหนดไว้แล้ว แต่บางส่วน ก็ไม่อาจกำหนดล่วงหน้าเร็วเกินไป เช่น เรื่อง ราคาหรืออัตราขั้นสูงของค่าบริการ ซึ่ง กสทช. ย่อมต้องกำหนดขึ้นโดยคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น สภาพตลาด ต้นทุนจากการประมูล ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและขยายโครงข่าย ฯลฯ ซึ่ง กสทช. อาจกำหนดขึ้นหลังการประมูลเพื่อให้เป็นธรรมและสอดคล้องกับความเป็นจริง ก็เป็นได้
ส่วนประเด็นเรื่องการนำรายได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ได้บัญญัติไว้แล้ว เช่น มาตรา 50 ที่กำหนดให้ กสทช. เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปจัดการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานโดยทั่วถึง หรือ มาตรา 65 ที่กำหนดเกี่ยวกับการนำรายได้ต่างๆ ของ กสทช. มาจัดสรรเพื่อสมทบกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ หรือ กองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาฯ เป็นต้น การจะมองเฉพาะเงินประมูลส่วนเดียว ย่อมเป็นการมองที่แคบเกินไป
ที่สำคัญ เมื่อสุดท้ายมีการนำเงินประมูลที่เหลือส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ก็ย่อมเป็นความชอบธรรมทางประชาธิปไตยที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะนำรายได้ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แทนที่จะปล่อยให้ กสทช. ซึ่งเป็นเพียงองค์กรกำกับดูแลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มากำหนดวิธีการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเสียเอง และหากจะให้องค์กรตุลาการเข้าไปแทรกแซงเรื่องการบริหารรายได้แผ่นดิน ก็ยิ่งเป็นการไม่สมควรขึ้นไปอีก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=147212:-3&catid=123:2009-
02-08-11-44-33&Itemid=491
ไม่มีความคิดเห็น: