Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ( กสทช.จัดฮั้วรวมหัวแบ่งสมบัติชาติ3G?เอื้อบริษัทมือถืออ้างความต้องการประชาชน )

ประเด็นหลัก

3) ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีบริษัทมือถือเอกชน เข้าร่วมประมูลเพียง 3 บริษัท
ซึ่งแท้จริงก็คือเจ้าเดิม เอไอเอส ดีแทค ทรู
มีคู่แข่ง 3 ราย เมื่อแต่ละรายถูกกำหนดให้ประมูลไปได้ไม่เกิน 3 แปลง ในขณะที่มีทั้งหมด 9 แปลง ก็แสดงว่า ทุกรายจะต้องได้คลื่นไปครองอย่างแน่นอน รายละ 3 แปลง ตามเงื่อนไขที่ กสทช.ล็อคไว้ให้
ด้วยเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนดไว้เช่นนี้ ถามว่า บริษัทมือถือทั้ง 3 ราย จะแข่งกันเสนอราคาแพงๆ หรือจะสู้ราคากันไปหาสวรรค์วิมานอันใด




4) มีคนชอบอ้างว่า ถ้าเอกชนได้คลื่นไปราคาถูกๆ เขาจะคิดค่าบริการ 3G จากประชาชนถูกๆ ตามไปด้วย
นี่คือข้ออ้างที่เลื่อนลอย และไร้เหตุผลในโลกความเป็นจริงของธุรกิจ
สมมติว่า ถ้ารัฐยกที่ดินบ่อน้ำมันให้เอกชนไปฟรีๆ ไม่คิดค่าสัมปทาน เมื่อเขาขุดเจาะน้ำมันออกมาขาย นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เขาจะขายน้ำมันราคาถูกๆ ให้กับคนไทย เพราะนักธุรกิจก็จะคิดราคาที่เขาได้กำไรสูงสุด โดยอิงกับราคาตลาดที่เป็นอยู่
ตัวอย่างกรณีคลื่นความถี่โทรทัศน์ จะพบว่า ช่อง 7 และ ช่อง 3 จ่ายค่าสัมปทานคลื่นความถี่ถูกกว่าช่องอื่น แต่ผลปรากฏว่า ช่อง 3 และช่อง 7 ก็คิดค่าเวลาโฆษณาแพงกว่าทีวีช่องอื่นๆ ที่มีต้นทุนค่าคลื่นความถี่ถูกกว่า
สะท้อนชัดเจนว่า ราคาค่าบริการที่เอกชนจะกำหนดในอนาคต ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขาประมูลได้คลื่นความถี่ไปในราคาเท่าใด
เพราะฉะนั้น ที่เล่านิทานกันว่า ถ้าเอกชนได้คลื่นไปถูกๆ แล้วจะคิดค่าบริการถูกๆ จึงเป็นนิทานหลอกเด็กอย่างแท้จริง






_________________________________________


กสทช.จัดฮั้ว รวมหัว แบ่งสมบัติชาติ 3G?
เอื้อบริษัทมือถือ อ้างความต้องการประชาชน
ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต



การจัดประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมเพื่อจะนำไปประกอบกิจการมือถือระบบ 3G กำลังถูกจับตาว่า เป็นการดำเนินการที่จะมีผลให้เกิดการฮั้วกันนำสมบัติของชาติไปประกอบกิจการมือถือ ทำให้รัฐสูญเสียผลประโยชน์ และได้รับเงินจากการประมูลต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

1) ผมเป็นคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการจะให้โทรศัพท์มือถือของไทยก้าวไปสู่ระบบ 3G
ยิ่งในแวดวงสื่อสารมวลชน จะสามารถใช้ 3G อำนวยประโยชน์ด้านการรับส่งข้อมูลสารสนเทศ ภาพและเสียง รวดเร็วฉับไว เต็มประสิทธิภาพ ก็ยิ่งต้องการให้นำคลื่นความถี่ประมูลทำ 3G ออกมาให้บริการไวๆ

2) คลื่นความถี่ที่จะนำไปใช้ทำ 3G เป็นสมบัติสาธารณะ เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ
มีอยู่จำกัด เหมือนที่ดินของหลวง
สมมติว่า ที่ดินมีบ่อน้ำมันอยู่ 45 ไร่ จัดแบ่งเป็น 9 แปลง แปลงละ 5 ไร่
เช่นเดียวกับคลื่นคลื่น 3G ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) กำลังจะนำออกประมูลทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็น 9 ช่อง (ช่องละ 5 เมกะเฮิรตซ์) โดยกำหนดให้ผู้ประมูลแต่ละรายประมูลได้สูงสุดรายละ 3 ช่อง

3) ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีบริษัทมือถือเอกชน เข้าร่วมประมูลเพียง 3 บริษัท
ซึ่งแท้จริงก็คือเจ้าเดิม เอไอเอส ดีแทค ทรู
มีคู่แข่ง 3 ราย เมื่อแต่ละรายถูกกำหนดให้ประมูลไปได้ไม่เกิน 3 แปลง ในขณะที่มีทั้งหมด 9 แปลง ก็แสดงว่า ทุกรายจะต้องได้คลื่นไปครองอย่างแน่นอน รายละ 3 แปลง ตามเงื่อนไขที่ กสทช.ล็อคไว้ให้
ด้วยเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนดไว้เช่นนี้ ถามว่า บริษัทมือถือทั้ง 3 ราย จะแข่งกันเสนอราคาแพงๆ หรือจะสู้ราคากันไปหาสวรรค์วิมานอันใด



4) มีคนชอบอ้างว่า ถ้าเอกชนได้คลื่นไปราคาถูกๆ เขาจะคิดค่าบริการ 3G จากประชาชนถูกๆ ตามไปด้วย
นี่คือข้ออ้างที่เลื่อนลอย และไร้เหตุผลในโลกความเป็นจริงของธุรกิจ
สมมติว่า ถ้ารัฐยกที่ดินบ่อน้ำมันให้เอกชนไปฟรีๆ ไม่คิดค่าสัมปทาน เมื่อเขาขุดเจาะน้ำมันออกมาขาย นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เขาจะขายน้ำมันราคาถูกๆ ให้กับคนไทย เพราะนักธุรกิจก็จะคิดราคาที่เขาได้กำไรสูงสุด โดยอิงกับราคาตลาดที่เป็นอยู่
ตัวอย่างกรณีคลื่นความถี่โทรทัศน์ จะพบว่า ช่อง 7 และ ช่อง 3 จ่ายค่าสัมปทานคลื่นความถี่ถูกกว่าช่องอื่น แต่ผลปรากฏว่า ช่อง 3 และช่อง 7 ก็คิดค่าเวลาโฆษณาแพงกว่าทีวีช่องอื่นๆ ที่มีต้นทุนค่าคลื่นความถี่ถูกกว่า
สะท้อนชัดเจนว่า ราคาค่าบริการที่เอกชนจะกำหนดในอนาคต ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขาประมูลได้คลื่นความถี่ไปในราคาเท่าใด
เพราะฉะนั้น ที่เล่านิทานกันว่า ถ้าเอกชนได้คลื่นไปถูกๆ แล้วจะคิดค่าบริการถูกๆ จึงเป็นนิทานหลอกเด็กอย่างแท้จริง

5) วิธีคิดค่าสัมปทาน คลื่น 3G ก็จะต้องคิดตามมูลค่าแท้จริงของกำไรพิเศษที่เอกชนจะได้รับจากการครอบครองคลื่นดังกล่าว
ยิ่งถ้าเขาได้อำนาจผูกขาด หรือสามารถผ่องถ่ายผลประโยชน์ส่วนอื่นไหลเข้ามาในการใช้คลื่น 3G เช่น โอนลูกค้าที่ใช้ระบบ 2G ในสัมปทานเดิมที่ต้องแบ่งรายได้ให้หน่วยงานของรัฐ เข้ามาอยู่ในระบบ 3G ที่ไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ ถ้าสามารถถ่ายโอนลูกค้าไปได้ทั้งหมดก็จะทำให้หน่วยงานของรัฐเสียหายปีละกว่า 48,000 ล้านบาท เป็นต้น แบบนี้ก็ยิ่งจะต้องคิดค่าคลื่นความถี่แพงๆ

6) ก่อนหน้านี้ กสทช. เคยให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษามูลค่ากำไรพิเศษจากคลื่นความถี่ 3G ปรากฏว่า สามารถตีราคาออกมาที่ช่องละ 6,640 ล้านบาท
เหมือนที่ดินบ่อน้ำมันแปลงละ 6,640 ล้านบาท
แต่น่าแปลกใจ กสทช.กลับตั้งราคาประมูลขั้นต่ำครั้งนี้ไว้ที่แปลงละ 4,500 ล้านบาท
ต่ำกว่ามูลค่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้

7) การที่ กสทช.แบ่งคลื่น 3G ออกเป็น 9 ช่อง เหมือนที่ดิน 9 แปลง
จัดแจงให้เอกชน 3 ราย เข้าประมูล โดยกำหนดให้หนึ่งรายได้ไม่เกิน 3 แปลง
ก็เท่ากับแบ่งที่ให้เอกชนทั้ง 3 ราย รายละ 3 แปลง
อีหรอบนี้ เอกชนก็ไม่ต้องแข่งขันกันเสนอราคา หรือสู้ราคากัน เพราะที่ดิน 3 แปลงเป็นเหมือนของตาย ไม่ต้องแย่งกัน ได้แน่ๆ ในราคาขั้นต่ำที่กำหนดไว้
ในความเป็นจริง หาก กสทช.กำหนดให้แต่ละรายสามารถจะได้ไปไม่เกิน 4 แปลง ก็จะเกิดการแข่งขันกันมากขึ้น เพราะหากเอกชนรายใดสู้ราคาจนชนะ ได้มา 4 แปลง มากว่ารายอื่น ก็จะได้ผลประโยชน์ในขั้นตอนการประกอบกิจการ เช่น ลดต้นทุนการตั้งเสาส่ง ประกอบกิจการได้ดีกว่ารายอื่นๆ ฯลฯ ย่อมเกิดแรงจูงใจที่จะสู้ราคากัน
แต่แบบที่ กสทช.เลือกดำเนินการในขณะนี้ เสมือนจัดให้มีการฮั้ว รวมหัว แบ่งสมบัติของชาติไปทำมาหากิน

8) งานนี้ เอกชนสามารถนั่งสบาย อยู่เฉยๆ เพราะมีระบบที่สร้างให้เกิดการฮั้วกันอย่างเรียบร้อย
ราคาที่จะเสนอในพิธีกรรมการประมูล ก็น่าจะอยู่ใกล้ๆ กับราคาขั้นต่ำที่กำหนดไว้ 4,500 ล้านต่อแปลง
ไม่มีการสู้ราคากันขึ้นไปสูงๆ แน่นอน
ถ้าผู้ประมูลทั้ง 3 ราย พร้อมใจกันประมูลไปในราคาเริ่มต้น 4,500 ล้านบาท รัฐก็จะเสียหายไปทันทีเกือบ 18,000 ล้านบาท!
ในขณะที่เอกชนจะได้ใช้สมบัติของชาติไปทำมาหากินต่อไปเป็นระยะเวลายาวนานถึง 15 ปี

9) ประเด็นทั้งหมดนี้ นักวิชาการและภาคประชาสังคมได้เสนอแนะ วิพากษ์วิจารณ์ และตักเตือนเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบไปแล้วหลายครั้ง
หาก กสทช. ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ จงใจจัดให้มีการประมูลในลักษณะให้มีการฮั้วกันแบ่งสมบัติของชาติไปทำมาหากิน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ จะอ้างว่ากระทำไปโดยไม่ตั้งใจ ผิดหลง หรือมีความจำเป็นอันใด ย่อมจะฟังไม่ขึ้น

10) การจัดประมูลคลื่น 3G เพื่อให้เอกชนนำไปประกอบกิจการมือถือ ยกระดับการพัฒนาระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารของไทยนั้น ทุกคนล้วนต้องการสนับสนุน
ใครๆ ก็อยากให้มีระบบ 3G
ไม่มีใครอยากล้มการประมูล 3G เล่นๆ
แต่ควรแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูล ไม่เอื้อให้มีการรวมหัวฮั้วกันแบ่งสมบัติของชาติ ให้มีการแข่งขันแท้จริง
อย่าเอาความต้องการใช้ 3G ของประชาชนมาเป็นข้ออ้างในการจัดพิธีกรรมประมูล จัดสรรคลื่นความถี่ออกไปให้เอกชนโดยถ้วนหน้า โดยที่ภาครัฐไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็น ขณะที่ผู้บริโภคก็ไม่มีหลักประกันอื่นใด นอกจากได้จ่ายเงินค่าใช้บริการ 3G
ระวังว่า ใครปู้ยี้ปู้ยำสมบัติของชาติ กรรมจะตามทันในไม่ช้า
แม้จะผ่านพิธีกรรมการประมูลกันไปแล้ว ใครละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สร้างระบบที่ทำให้เกิดการฮั้วกันนำคลื่นความถี่สมบัติของแผ่นดินไปใช้แสวงหาผลประโยชน์โดยไม่เป็นธรรม ก็ยังจะต้องถูกตรวจสอบและรับกรรมต่อไป
...............๐...............


https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%88%
E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%
81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-
%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8
%97%E0%B8%AD%E0%B8%87/181318038626087

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.