Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมล3G) EXCLUSIVE! เปิดงานวิจัยจุฬาฯ ชำแหละที่มาราคาเริ่มต้นประมูล 3G ( ราคาเริ่มต้นควรมีระดับที่เหมาะสม )

ประเด็นหลัก

โดยสรุป ราคาเริ่มต้นควรมีระดับที่เหมาะสม คือไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป หากราคาเริ่มต้นมีระดับต่ำเกินไปและมีจานวนผู้ประกอบการเข้าร่วมทาการประมูลไม่มาก การประมูลอาจเกิดปัญหา Collusion ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของรัฐและผลประโยชน์ของผู้บริโภค ในทางตรงกันข้าม หากราคาเริ่มต้นกำหนดไว้สูงเกินไปอาจไม่มีผู้เข้าร่วมประมูลจนทำให้การประมูลไม่สัมฤทธิ์ผล ส่งผลให้ไม่สามารถนำทรัพยากรคลื่นความถี่ใหม่ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ กระทบต่อประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรและทาให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงต่ำกว่าศักยภาพ

    จากผลการศึกษา พบว่าในกรณีประเทศไทย หากภาครัฐให้ความสำคัญต่อรายรับจากการประมูลพอสมควรเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ให้บริการซึ่งมีจำนวนไม่มาก สัดส่วนของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่ไม่ควรต่ำกว่า 0.67 (หรือ 67%) ซึ่งคือค่าเฉลี่ยของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่จากกรณีการประมูลของประเทศต่างๆ (จำนวน 13 ประเทศ ดังตารางที่ 4)






_________________________________________

ล้วงที่มาประมูล 3 จี ทำไมเริ่มต้นแค่ “4,500 ล้านบาท” ?



EXCLUSIVE! เปิดงานวิจัยจุฬาฯ ชำแหละที่มาราคาเริ่มต้นประมูล 3G "4,500 ลบ." ...ถูกเกินไป หรือ เหมาะสมแล้ว?



    ข้อสงสัยว่า “ราคาเริ่มต้น” การประมูลในอนุญาต 3 จี ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ในวันที่ 16 ต.ค.นี้ ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5 MHz มาจากที่ใด?

    ทั้งๆ ที่ มีงานวิจัยระบุว่ามูลค่าคลื่นความถี่ ต่อ 5 MHZ น่าจะอยู่ที่ 6,440 ล้านบาท

    กระทั่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ประเมินว่า การตั้งราคาเริ่มต้นการประมูลใบอนุญาต 3 จีที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นของ กสทช.ดังกล่าว น่าจะทำให้รัฐและประชาชนผู้เสียภาษี เสียประโยชน์กว่า 17,460 ล้านบาท (คำนวณจากส่วนต่างราคาเริ่มต้นกับมูลค่าแท้จริง คูณจำนวนใบอนุญาตทั้งหมด ที่ กสทช.ซอยออกเป็น 9 สล็อตๆ ละ 5 MHz)

    “ทีมข่าวอิศรา” ตรวจสอบผลการวิจัยของคณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย ที่มี “รศ.ไพฑูรย์ วิบูลชุติกุล” เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่ง กสทช.ใช้อ้างอิง ก่อนพบว่ามีข้อคิดเห็น ที่มาที่ไป ของราคาเริ่มต้นดังกล่าว ต่อไปนี้

…………………………………………………..

    การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับประเทศไทยใช้แบบจำลองและวิธีการทางเศรษฐมิติซึ่งมีความเหมาะสมกว่าวิธีการอื่น วิธีการทางเศรษฐมิติเป็นเครื่องมือที่ประยุกต์คณิตศาสตร์ สถิติและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อสร้างแบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าคลื่นความถี่กับปัจจัยที่ร่วมกันกำหนดมูลค่าคลื่นการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ด้วยวิธีการทางเศรษฐมิติมีข้อได้เปรียบกว่าวิธีการอื่นๆ หลายประการ

    ประการแรก วิธีการทางเศรษฐมิติใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในอดีตแทนที่จะใช้ข้อมูลการคาดการณ์ในอนาคตซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง

    ประการที่สอง วิธีการทางเศรษฐมิติมีความเหมาะสมกับฐานข้อมูลที่คณะผู้วิจัยฯ มีอยู่ หากประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ด้วยวิธีการอื่นๆ จะพบปัญหาด้านข้อมูลเพราะต้องรวบรวมข้อมูลทางธุรกิจในเชิงลึกที่ผู้ประกอบการไม่เปิดเผยสู่สาธารณชน

    ประการที่สาม วิธีการทางเศรษฐมิติสามารถปรับเปลี่ยนและทดสอบแบบจาลองได้ง่าย ทำให้สามารถหาแบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าคลื่นความถี่กับปัจจัยที่กำหนดคลื่นความถี่อย่างเหมาะสมและทำการพยากรณ์มูลค่าคลื่นความถี่ได้ดี

    ประการที่สี่ วิธีการทางเศรษฐมิติมีวิธีและเทคนิคการประมาณค่าที่หลากหลาย ดังนั้น จึงสามารถตรวจสอบผลการศึกษาระหว่างวิธีการต่างๆ ทำให้ได้รับผลลัพธ์การประมาณการที่ยืนยันได้

    การศึกษาได้ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่โดยสร้างแบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าคลื่นความถี่กับปัจจัยกาหนดมูลค่าคลื่นความถี่และทาการประมาณการโดยใช้ 3 วิธีการ ได้แก่

    1.วิธีการกำลังสองน้อยที่สุดหรือ Ordinary Least Squares (OLS) สำหรับแบบจำลอง Fixed Effects Model และ Generalized Least Squares (GLS) สา หรับแบบจา ลอง Random Effects Model

    2.วิธีการ Maximum Likelihood สา หรับแบบจา ลอง Censored Regression (Tobit Model)

    3.วิธีการ Neural Network

1.ปัจจัยกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่

    แบบจำลอง Fixed Effects Model และ Cencored Regression (Tobit Model) ใช้วิธีการประมาณการทางเศรษฐมิติในลักษณะ Parametric Estimation ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรส่วนใหญ่ที่กำหนดมูลค่าคลื่นความถี่สอดคล้องกันเป็นอย่างดี ดังแสดงไว้ในตารางที่ 1 ส่วนแบบจำลอง Neural Network ซึ่งใช้วิธีการประมาณการในลักษณะ Nonparametric Estimation ที่แตกต่างจากสองแบบจำลองแรก พบว่า แบบจำลองที่ดีที่สุดใช้ตัวแปรอิสระดังนี้คือรายได้ต่อหัว รายได้ประชาชาติ ขนาดของใบอนุญาตแบบจับคู่ ขนาดคลื่นความถี่ทั้งหมด จำนวนใบอนุญาต ระยะเวลาของใบอนุญาต การกันใบอนุญาตให้ผู้ประมูลรายใหม่ ความหนาแน่นของประชากร แนวโน้มเวลา สัดส่วนประชากรที่มีการศึกษาระดับมัธยม สัดส่วนรายได้จากภาคธุรกิจโทรคมนาคม จา นวนหมายเลขโทรศัพท์มือถือต่อประชากร

ตารางที่ 1: การเปรียบเทียบตัวแปรที่แสดงปัจจัยกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่อย่างมีนัยสำคัญในแบบจำลองพาราเมตริก



    จากตารางที่ 1 พบว่าตัวแปรมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนตัวแปรทั้งหมดในแบบจำลอง Fixed Effects Model และ Tobit Model สามารถอธิบายมูลค่าคลื่นความถี่ได้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสาคัญ และเมื่อเปรียบเทียบร่วมกับผลการศึกษาโดยใช้ Neural Network พบว่าตัวแปรร่วมที่เป็นปัจจัยกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ได้สอดคล้องกันมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ (GDP) ระยะเวลาของใบอนุญาต (LENGTH) การกันเผื่อใบอนุญาตสำหรับการประมูลครั้งถัดไป (SA) และแนวโน้มเวลา (1/LOG (TREND)) แสดงให้เห็นว่าตัวแปรเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ในประเทศต่างๆ

    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ ราคาคงที่ เป็นตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคที่สะท้อนภาพรวมของอุปสงค์ที่มีต่อคลื่นความถี่ รวมถึงทิศทางของเศรษฐกิจภายในประเทศ ปัจจัยข้างต้นส่งผลต่อการคาดการณ์ผลตอบแทนการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการซึ่งมีผลเป็นอย่างมากต่อการเสนอราคาประมูลคลื่นความถี่ ส่วนแนวโน้มเวลา (1/LOG (TREND)) ก็มีอิทธิพลต่อมูลค่าคลื่นความถี่เป็นอย่างมาก เช่นเดียวกันเพราะเป็นตัวแปรสะท้อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ส่งผลทำให้มูลค่าคลื่นความถี่มีค่าลดลง

    ในทุกแบบจำลองพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบการประมูลจำนวน 2 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าคลื่นความถี่ ได้แก่ ระยะเวลาของใบอนุญาต (LENGTH) และ การกันใบอนุญาตไว้ประมูลในครั้งถัดไป (SA) ระยะเวลาของใบอนุญาต (LENGTH) ส่งผลให้ผู้ประกอบการคาดการณ์ระยะเวลาของโครงการซึ่งมีผลต่อต้นทุนและผลตอบแทนจากการดำเนินธุรกิจคลื่นความถี่ หากระยะเวลาของใบอนุญาตยาวนานขึ้นย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนจากโครงการลงทุนสูงขึ้น ในขณะเดียวกันต้นทุนคงที่ต่อหน่วยซึ่งเป็น Sunk Costs ก็ลดลง ดังนั้นจึงส่งผลต่อเนื่องทาให้มูลค่าคลื่นความถี่มีค่าสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน การกันใบอนุญาตไว้ประมูลในครัง้ ถัดไป (SA) มีผลทำให้มูลค่าคลื่นความถี่ลดลง เนื่องจากการกันใบอนุญาตดังกล่าวเป็นการกันใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่เคยได้รับสิทธิ์จากการประมูลเข้าร่วมประมูล ผู้ประกอบการรายใหม่เหล่านี้มีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจต่ากว่าผู้ประกอบการดั้งเดิมที่ได้รับสิทธิ์จากการประมูลมาก่อนส่งผลให้ราคาเสนอประมูลของผู้ประกอบการรายใหม่และมูลค่าคลื่นมีค่าลดลง

    จากผลการศึกษาของทุกแบบจำลอง พบข้อสรุปที่สอดคล้องกันว่าตัวแปรกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยหลักกาหนดมูลค่าคลื่นความถี่ของประเทศต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นการยืนยันว่ารูปแบบของแบบจำลองที่ใช้ในการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ของประเทศไทยจากทัง้ 3 แบบจำลองมีความเหมาะสมที่ไม่ต่างกันมาก

2.ผลการพยากรณ์มูลค่าคลื่นความถี่

    เป้าหมายสำคัญของการประมาณการแบบจำลองมูลค่าคลื่นความถี่จากทั้ง 3 วิธีการ คือการพยากรณ์มูลค่าคลื่นความถี่สาหรับประเทศไทย ตารางที่ 2 ต่อไปนี้ แสดงการเปรียบเทียบมูลค่าคลื่นความถี่ต่อ MHz ต่อประชากร จากแบบจา ลองทางเศรษฐมิติทั้ง 3 ประเภท

ตารางที่ 2: ผลการพยากรณ์มูลค่าคลื่นความถี่จากแบบจำลองประเภทต่างๆ



    จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่าการพยากรณ์มูลค่าคลื่นความถี่ของประเทศไทยจาก 3 แบบจำลองและวิธีการ ให้ผลลัพธ์ที่ไม่ต่างกันมาก แบบจำลอง Fixed Effects ให้ผลการพยากรณ์มูลค่าคลื่นความถี่ที่ต่ำที่สุดคือ 0.31 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งใกล้เคียงมากกับผลการประมาณค่าจาก Tobit Model ที่ได้ผลการพยากรณ์เท่ากับ 0.35 ดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนแบบจำลอง Neural Network แม้ว่าจะให้ผลการพยากรณ์ที่มีค่ามากที่สุดคือ 0.45 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ก็เป็นมูลค่าที่ไม่แตกต่างกับสองแบบจำลองแรกมากนัก ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแบบจำลองทั้งสามให้ผลการพยากรณ์มูลค่าคลื่นความถี่สำหรับประเทศไทยที่มีความสอดคล้องกัน คือมีค่าระหว่าง 0.31 ถึง 0.45 ดอลล่าร์สหรัฐ

3.ข้อดีและข้อด้อยของแบบจำลองและวิธีการทางเศรษฐมิติต่างๆ

    ถึงแม้ว่าปัจจัยกำหนดและผลการประมาณการมูลค่าคลื่นความถี่ของทั้ง 3 แบบจำลองจะมีความสอดคล้อง แต่ทุกแบบจำลองมีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 3 ต่อไปนี้

ตารางที่ 3: ข้อดีและข้อด้อยของแบบจำลองทางเศรษฐมิติประเภทต่างๆ



    ในกรณีของการประยุกต์แบบจำลองแต่ละประเภทกับฐานข้อมูลที่มีอยู่สำหรับประมาณการมูลค่าคลื่นความถี่ที่มีอยู่จำนวน 45 MHz ในประเทศไทย ข้อจำกัดทางด้านขนาดของตัวอย่างเป็นประเด็นสำคัญ เพราะจำนวนตัวอย่างมขีขนาดเพียง 69 ตัวอย่าง ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าการประมาณการโดยแบบจำลอง Fixed Effects Model จะมีความเหมาะสมสำหรับการประมาณการมูลค่าคลื่นความถี่ของประเทศไทยมากกว่าแบบจำลองอื่น นั่นคือในกรณีประเทศไทยที่มีการแบ่งใบอนุญาตเพื่อการประมูลออกเป็น 9 ใบและใบละ 5 MHz มูลค่าคลื่นความถี่มีค่าประมาณการเท่ากับ 6,440 ล้านบาท

    ส่วนการกาหนดราคาเริ่มต้นหรือราคาขั้นต่า (Reserve Price) สำหรับการประมูลขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐที่ต้องคำนึงถึงบุคคลทุกกลุ่มภายในประเทศที่สมควรได้รับผลประโยชน์จากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้

    (1) ภาครัฐ : รัฐควรได้รับรายได้ที่เหมาะสมจากค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent) ที่ผู้ประกอบการได้รับจากการใช้คลื่นความถี่ที่ประมูลใหม่ไปประกอบธุรกิจ

    (2) ผู้บริโภค : ผู้บริโภคควรได้รับบริการโทรศัพท์มือถือจากคลื่นความถี่ใหม่ที่มีคุณภาพดีและราคาที่เป็นธรรม ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อการประมูลใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่มีการแข่งขันสูง นอกจากนี้ ภายหลังจากการประมูลสำเร็จ การประกอบธุรกิจโทรศัพท์มือถือก็ควรมีระดับการแข่งขันสูงต่อไป และ

    (3) ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ : ราคาเริ่มต้นที่รัฐกำหนดขึ้นควรอยู่ในระดับที่ทำให้การประมูลสำเร็จลุล่วง และผู้ประกอบการสามารถประกอบธุรกิจโดยได้รับผลตอบแทนสูงเพียงพอที่จะจูงใจให้มีการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการโทรคมนาคมของประเทศ

    โดยสรุป ราคาเริ่มต้นควรมีระดับที่เหมาะสม คือไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป หากราคาเริ่มต้นมีระดับต่ำเกินไปและมีจานวนผู้ประกอบการเข้าร่วมทาการประมูลไม่มาก การประมูลอาจเกิดปัญหา Collusion ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของรัฐและผลประโยชน์ของผู้บริโภค ในทางตรงกันข้าม หากราคาเริ่มต้นกำหนดไว้สูงเกินไปอาจไม่มีผู้เข้าร่วมประมูลจนทำให้การประมูลไม่สัมฤทธิ์ผล ส่งผลให้ไม่สามารถนำทรัพยากรคลื่นความถี่ใหม่ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ กระทบต่อประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรและทาให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงต่ำกว่าศักยภาพ

    จากผลการศึกษา พบว่าในกรณีประเทศไทย หากภาครัฐให้ความสำคัญต่อรายรับจากการประมูลพอสมควรเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ให้บริการซึ่งมีจำนวนไม่มาก สัดส่วนของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่ไม่ควรต่ำกว่า 0.67 (หรือ 67%) ซึ่งคือค่าเฉลี่ยของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่จากกรณีการประมูลของประเทศต่างๆ (จำนวน 13 ประเทศ ดังตารางที่ 4)

ตารางที่ 4 สัดส่วนราคาขั้นต่ำต่อราคาที่ชนะของแต่ละประเทศ

สำนักข่าวอิศรา
http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%
B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B
8%94%E0%B9%88%E0%B8%99/58-2012-08-12-13-59-01/17068
-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8
%B2-3G-4,500-%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8
%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.