Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 สิงหาคม 2555 สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (บีบคอ) กสทช. ที่ประมูล 4,500 ลบ.ต่อ 5 MHzเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก // กสทช. สู้ไม่มีการฮั่ว

สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (บีบคอ) กสทช. ที่ประมูล 4,500 ลบ.ต่อ 5 MHzเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก // กสทช. สู้ไม่มีการฮั่ว


ประเด็นหลัก


ประธานสหพันธ์องค์กรผู้ บริโภคกล่าวว่า เรื่องเพดานการถือครองคลื่นกับเรื่องราคาตั้งต้นประมูล ควรมีการพิจารณาสอดคล้องกันไป เนื่องจากคลื่นที่นำออกประมูลคราวนี้มี 45 เมกะ เฮิรตซ์ และเป็นที่รู้อยู่แล้วว่ามีผู้ประกอบการที่จะเข้าประมูล 3 ราย ดังนั้น เมื่อกำหนดลดขั้นการถือครองคลื่นสูงสุดจากรายละ 20 เมกะเฮิรตซ์ เป็น 15 เมกะเฮิรตซ์ ย่อมเท่ากับลดสภาพการแข่งขันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ราคาตั้งต้นที่กำหนด ไว้ 4,500 ล้านบาทต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์นั้น แท้จริงเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก

"เมื่อปรับลดเพดานการถือครอง ลง ตัวเลขหารกันลงตัวทันที ฉะนั้นถ้าไม่เพิ่มราคาตั้งต้น ผู้ประกอบการก็ยิ้มเลย เพราะในความเป็นจริงจากที่เราติดตามในขั้นการพิจารณาของ กทค. ก่อนหน้านี้ที่ตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการ และให้ทางนักวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาเรื่องราคาเราก็ได้รู้ว่าผล การศึกษาบอกว่า ราคาตลาดนั้นอย่างต่ำที่สุดก็คือ 6,230 ล้านบาท และเป็นไปได้ว่าจะสูงถึง 13,000 กว่าล้านบาท" ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกล่าว


พ.อ.เศรษฐ พงค์ กล่าวต่อว่า วิธีการประมูล3G นั้น จะเคาะราคาเริ่มต้น 4,500 ล้านบาท การเคาะราคาแต่ละครั้งเพิ่มขึ้นครั้งละ 5% ของราคาเริ่มต้น หรือประมาณ 200 ล้านบาท และเมื่อการประมูลสิ้นสุดจะนำราคาประมูลมารวมกัน 3 ใบอนุญาต ผู้ประมูลรายใดเสนอราคาสูงสุด จะมีสิทธิ์เลือกช่วงคลื่นความถี่ที่ดี 3 ช่วงจากทั้งหมด 9 ช่วงคลื่นความถี่ แต่ถ้าหากผู้ร่วมประมูลเสนอราคาเท่ากันก็ต้องจับสลากว่ารายใดจะได้ช่วงคลื่น ความถี่ที่ดีสุด ซึ่งถือว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการป้องกันการฮั้ว และเป็นวิธีการที่ดีกว่าN-1 เนื่องจากผู้ร่วมประมูลต้องการคลื่นความถี่ที่ดีที่สุด ที่ไม่มีสัญญาณการใช้งานที่ติดกับผู้ประกอบการรายอื่น


______________________________________


โวย'กทค.'ล็อกสเปก3Gเอ็นจีโอซัดเอื้อนายทุน


สหพันธ์ องค์กรผู้บริโภคโวย "กทค." ปรับร่างเงื่อนไขประมูลใบอนุญาต 3G เอื้อผู้ประกอบการ หลังยอมลดถือครองคลื่นจาก20 เมกะเฮิรตซ์เหลือ 15 เมกะเฮิรตซ์ พร้อมขยายเวลาจ่ายเงินให้นานถึง 5 ปี ขู่! เอื้อผลประโยชน์ระวังสะดุดขาตัวเอง

เมื่อวันที่15 ส.ค. น.ส. บุญยืน ศิริธรรม ประธานสห พันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวถึง การเตรียมการประมูลใบอนุ ญาต 3G ที่คณะกรรมการกิจ การโทรคมนาคม หรือ กทค.กำลังดำเนินการว่า หลังจากที่มีการจัดรับฟังความคิดเห็นร่างเงื่อนไขการประมูลแล้วในขณะนี้ กทค.กำลังพิจารณาปรับเงื่อนไขเพื่อตอบสนองต่อเสียงสะท้อนของฝ่ายต่างๆ แต่เท่าที่ติดตามพบว่า กทค.มีทิศทางการปรับเงื่อนไขเอาใจแต่ผู้ประกอบการเพียงฝ่ายเดียว โดยมีการตั้งธงปรับ 3 เรื่องหลักเรื่องแรกคือการลดเพดานขั้นสูงของการถือครองคลื่นเรื่องที่สองคือ การกำหนดระยะเวลาชำระค่าใบอนุญาต และเรื่องราคาเริ่มต้นการประมูล


น.ส.บุญ ยืนกล่าวว่า ประ ธาน กทค.ให้ข่าวจะมีการประ ชุมพิจารณาปรับแก้เงื่อนไขการประมูลในวันที่ 15 ส.ค. แล้วก็บอกธงว่าคงมีการปรับลดการ ถือครองคลื่นสูงสุดเป็น15 เมกะ เฮิรตซ์ จากเดิมกำหนดไว้ที่ 20 เมกะเฮิรตซ์ และขยายเวลาให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทยอยจ่ายเงินได้นานขึ้นเป็น 5 ปี จากที่เดิมกำหนดจ่ายใน 3 ปี รวมถึงจะยืดเวลาการจ่ายเงินงวดแรก จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ 45 วัน

"เราฟังแล้วชัดเจน ทั้ง หมดนี้ทำเพื่อผู้ประกอบการเท่านั้น เพราะผู้ประกอบการเรียกร้อง ทั้งเรื่องลดเพดานและขยายเวลาจ่ายเงิน และที่จริงก็ขอให้ลดราคาตั้งต้นประมูลด้วย แต่เรื่องนี้อ่อนไหวกทค. อาจจะเกรงใจสังคม เลยยังไม่ตามใจแบบสุดลิ่มทิ่มประตูทุกข้อ แต่เท่านี้ก็มากแล้ว และเท่ากับไม่แยแสผู้บริโภคเลย เพราะไม่ได้คิดอะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น" น.ส.บุญยืนกล่าว

ประธาน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกล่าวว่า เรื่องเพดานการถือครองคลื่นกับเรื่องราคาตั้งต้นประมูล ควรมีการพิจารณาสอดคล้องกันไป เนื่องจากคลื่นที่นำออกประมูลคราวนี้มี 45 เมกะ เฮิรตซ์ และเป็นที่รู้อยู่แล้วว่ามีผู้ประกอบการที่จะเข้าประมูล 3 ราย ดังนั้น เมื่อกำหนดลดขั้นการถือครองคลื่นสูงสุดจากรายละ 20 เมกะเฮิรตซ์ เป็น 15 เมกะเฮิรตซ์ ย่อมเท่ากับลดสภาพการแข่งขันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ราคาตั้งต้นที่กำหนด ไว้ 4,500 ล้านบาทต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์นั้น แท้จริงเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก

"เมื่อปรับลดเพดานการถือครอง ลง ตัวเลขหารกันลงตัวทันที ฉะนั้นถ้าไม่เพิ่มราคาตั้งต้น ผู้ประกอบการก็ยิ้มเลย เพราะในความเป็นจริงจากที่เราติดตามในขั้นการพิจารณาของ กทค. ก่อนหน้านี้ที่ตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการ และให้ทางนักวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาเรื่องราคาเราก็ได้รู้ว่าผล การศึกษาบอกว่า ราคาตลาดนั้นอย่างต่ำที่สุดก็คือ 6,230 ล้านบาท และเป็นไปได้ว่าจะสูงถึง 13,000 กว่าล้านบาท" ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกล่าว

น.ส.บุญยืนกล่าวว่า เครือข่ายผู้บริโภคมีจุดยืนสนับสนุนการประมูล 3G เพราะถือว่าผลปลายทางเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะได้ใช้บริการที่มีคุณภาพ แต่การประมูลต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศเช่นกัน เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติ นอกจากนั้นก็ต้องแข่งขันอย่างเป็นธรรม และมีการกำกับดูแลที่ดีเพื่อให้เกิดการให้บริการอย่างมีคุณ ภาพ สมราคา และคุ้มครองผู้บริโภคด้วย

"เราไม่ได้ขู่ แต่อยากเตือนว่าประมูล 3G คราวนี้ กทค.อย่าเน้นเอาใจผู้ประกอบการเกินไป ไม่งั้นจะสะดุดล้มเพราะผลประโยชน์พันขาตัวเอง" ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคระบุ.

ไทยโพสต์
http://www.ryt9.com/s/tpd/1468044


______________________________________________


ไม่หวั่นฮั้วประมูล กทค.ปรับเงื่อนไข 3G เหลือ 15 MHz ราคาเดิม


ไม่หวั่นข้อครหา กทค.ฟันธงลดเพดานการถือครองความถี่ในการประมูล 3G 2.1 GHz เหลือ 15 MHz พร้อมยืนราคาเดิม 4,500 ล้านบาทต่อ 1 สล็อตหรือ 1 ใบอนุญาต (5 MHz) เชื่อคนเข้าประมูลต้องแข่งกันอย่างจริงจังเพราะผู้ชนะจะได้สิทธิเลือกช่วง ความถี่ที่ดีกว่าคนอื่น

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่าในการประชุมบอร์ดกทค.เมื่อวันที่ 15 ส.ค. มีวาระเรื่องร่างประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์ มือถือ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz จำนวน 45 MHz จำนวน 9 ใบอนุญาต(สล็อต) โดยบอร์ดมีมติเห็นชอบตามสำนักงานกสทช.ที่เสนอให้ลดกรอบเพดานให้สิทธิผู้เข้า ประมูลถือครองคลื่นได้สูงสุด 15 MHz จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 20 MHzแต่บอร์ดยังให้คงราคาเริ่มต้นการประมูลที่สลอตละ 4,500 ล้านบาทเช่นเดิมแม้จะมีหลายฝ่ายอยากให้ปรับราคาขึ้นไปเป็น6,000ล้านบาท

'เราเชื่อว่าจะมีการแข่งขันในการประมูลแน่นอนแม้จะปรับเพดานการถือครองคลื่นเป็น 15MHz ก็ตาม'

นอกจากนี้บอร์ดยังมีมติเรื่องการชำระเงินค่าไลเซ่นส์หลังการประมูล โดยแบ่งเป็น 3 งวด เริ่มจากงวดแรกจะต้องชำระเงินภายใน 90 วัน จากเดิม 45 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3G อย่างสมบูรณ์ที่สุด ส่วนการชำระค่าใบอนุญาตงวดแรก 50% ส่วนอีก 2 งวดๆละ 25% ส่วนประเด็นอื่นๆ ไม่มีการแก้ไขในรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญ

ส่วนการที่บอร์ดกทค.ให้คงราคาเดิมที่ 4,500 ล้านบาทแม้จะไม่เป็นเอกฉันท์ก็ตามเนื่องจากบอร์ดส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นราคาที่ เหมาะสมแล้ว ซึ่งหากราคาสูงเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาในการเปิดให้บริการในอนาคตได้ และการคำนวนยังไม่มีปัจจัยเรื่องของเพดานความถี่มาเกี่ยวข้องด้วย

อย่างไรก็ตามการแก้ไขครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอีก เนื่องจากเป็นการปรับแก้แค่ถ้อยคำบางประเด็นเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนต่อไปหลังจากบอร์ด กทค.เห็นชอบก็จะนำเสนอบอร์ดกสทช.ในวันที่ 22 ส.ค.นี้เพื่อพิจารณาอนุมัติ และนำไปประกาศในราชกิจานุเบกษา เพื่อบังคับใช้ต่อไป และคาดว่าไม่เกินปลายเดือนส.ค.นี้ และในช่วงเดือนก.ย.จะเป็นช่วงเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูล พร้อมกับการเตรียมการประมูลในกลางเดือนต.ค.นี้ต่อไป

พ.อ.เศรษฐ พงค์ กล่าวต่อว่า วิธีการประมูล3G นั้น จะเคาะราคาเริ่มต้น 4,500 ล้านบาท การเคาะราคาแต่ละครั้งเพิ่มขึ้นครั้งละ 5% ของราคาเริ่มต้น หรือประมาณ 200 ล้านบาท และเมื่อการประมูลสิ้นสุดจะนำราคาประมูลมารวมกัน 3 ใบอนุญาต ผู้ประมูลรายใดเสนอราคาสูงสุด จะมีสิทธิ์เลือกช่วงคลื่นความถี่ที่ดี 3 ช่วงจากทั้งหมด 9 ช่วงคลื่นความถี่ แต่ถ้าหากผู้ร่วมประมูลเสนอราคาเท่ากันก็ต้องจับสลากว่ารายใดจะได้ช่วงคลื่น ความถี่ที่ดีสุด ซึ่งถือว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการป้องกันการฮั้ว และเป็นวิธีการที่ดีกว่าN-1 เนื่องจากผู้ร่วมประมูลต้องการคลื่นความถี่ที่ดีที่สุด ที่ไม่มีสัญญาณการใช้งานที่ติดกับผู้ประกอบการรายอื่น

ขณะเดียวกันบอร์ดกทค.จะเดินหน้าประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไป โดยล่าสุดบอร์ดได้ตั้งคณะอนุกรรมการซึ่งมีนายกิตติน อุดมเกียรติ ที่ปรึกษากสทช.สุทธิพล ทวีชัยการ เป็นประธาน เพื่อเดินหน้าการประมูลหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดเนื่องจากเป็นอำนาจโดยตรงใน การนำคลื่นความถี่มาประมูลตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) แต่จะดำเนินการได้เมื่อใดนั้น ต้องรอผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการในการทำงานก่อน แต่คาดว่าภายในเดือนก.ย.นี้น่าจะมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวแน่นอน


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000100700

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.