Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 เมษายน 2555 กสทช.ประสานผู้ให้บริการฯ แจ้งเตือนแผ่นดินไหวทุกทาง ทั้ง TV sms และ พร้อมส่ง ศูนย์วิทยุสายลมลุย

กสทช.ประสานผู้ให้บริการฯ แจ้งเตือนแผ่นดินไหวทุกทาง ทั้ง TV sms และ พร้อมส่ง ศูนย์วิทยุสายลมลุย


ประเด็นหลัก

สำนักงาน กสทช.ได้ขอความร่วมมือจากผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคม สมาคมวิทยุสมัครเล่น สถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ ให้เตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบโดยพลันต่อไปแล้ว

นอกจากนี้ ศูนย์วิทยุสายลม (ศูนย์วิทยุสื่อสารของสำนักงาน กสทช.) ได้ตรวจสอบความพร้อมของข่ายวิทยุสื่อสารสมัครเล่น โดยได้ประสานงานกับนักวิทยุสมัครเล่นทั่วประเทศให้พร้อมให้การช่วยเหลือตลอด เวลา อนึ่ง ท่านสามารถแจ้งข่าวสารเหตุการณ์แผ่นดินไหว หรือเหตุภัยพิบัติได้ที่สำนักงาน กสทช. สายด่วน 1200 และสามารถแจ้งข่าวสารผ่านทางเครือข่ายนักวิทยุสมัครเล่นได้ที่ศูนย์สายลม

_________________________________________________________


กสทช.ประสานผู้ให้บริการฯ แจ้งเตือนแผ่นดินไหว

กสทช.ขอความร่วมมือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ สมาคมวิทยุสมัครเล่น วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ให้เตรียมความพร้อมในการแจ้งเตือนแผ่นดินไหวแก่ประชาชน พร้อมเปิดสายด่วน 1200 แจ้งเหตุแผ่นดินไหว

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้แถลงข่าวว่า กรณีในระหว่างวันที่ 16 เมษายน 2555 เวลา 16.44 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวบนบกขนาด 4.3 ริกเตอร์บริเวณตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้หลายพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต โดยได้มีการสั่นไหวต่อเนื่องอีกหลายครั้ง และเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555 เวลา 02.02 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0 ริกเตอร์อีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนี้ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันยังได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเลบริเวณตอนเหนือเกาะ สุมาตราหลายครั้ง มีขนาด 5.6-5.9 ริกเตอร์ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและแก้ไขปัญหาในการใช้งานระบบโทรคมนาคมของ ประชาชน รวมทั้งการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ โดยทางระบบ SMS สถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว

สำนักงาน กสทช.ได้ขอความร่วมมือจากผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคม สมาคมวิทยุสมัครเล่น สถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ ให้เตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบโดยพลันต่อไปแล้ว

นอกจากนี้ ศูนย์วิทยุสายลม (ศูนย์วิทยุสื่อสารของสำนักงาน กสทช.) ได้ตรวจสอบความพร้อมของข่ายวิทยุสื่อสารสมัครเล่น โดยได้ประสานงานกับนักวิทยุสมัครเล่นทั่วประเทศให้พร้อมให้การช่วยเหลือตลอด เวลา อนึ่ง ท่านสามารถแจ้งข่าวสารเหตุการณ์แผ่นดินไหว หรือเหตุภัยพิบัติได้ที่สำนักงาน กสทช. สายด่วน 1200 และสามารถแจ้งข่าวสารผ่านทางเครือข่ายนักวิทยุสมัครเล่นได้ที่ศูนย์สายลม

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000047773



_________________________________________________________

กสทช.เร่งระบบโทรคมฯ ทุกช่องทาง รับมือแผ่นดินไหว

กสทช.ไม่ นิ่งดูดาย เร่งควบคุมระบบแก้ไขระบบโทรคมนาคมของประชาชน ควบแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ทุกช่องทาง พร้อมประสานงานวิทยุสมัครเล่นทั่วประเทศช่วยเหลือตลอดเวลา...

เมื่อ วันที่ 17 เม.ย.นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า กรณีวานนี้ (16 เม.ย.) เวลา 16.44 น.ได้เกิดแผ่นดินไหวบนบกขนาด 4.3 ริกเตอร์ บริเวณตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้หลายพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต โดยได้มีการสั่นไหวต่อเนื่องอีกหลายครั้ง และวันนี้ (17 เม.ย.) เวลา 02.02 น.ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0 ริกเตอร์อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันยังได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเลบริเวณตอนเหนือเกาะ สุมาตรา มีขนาด 5.6-5.9 ริกเตอร์ หลายครั้ง

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบโทรคมนาคมของประชาชน รวมทั้งการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ โดยทางระบบเอสเอ็มเอส สถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว สำนักงาน กสทช. ได้ขอความร่วมมือจากผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคม สมาคมวิทยุสมัครเล่น สถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ ให้เตรียมความพร้อมการแก้ไขปัญหา และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบโดยพลันต่อไปแล้ว

นอกจากนี้ ศูนย์วิทยุสายลม (ศูนย์วิทยุสื่อสารของสำนักงาน กสทช.) ได้ตรวจสอบความพร้อมของวิทยุสื่อสารสมัครเล่น โดยได้ประสานงานกับนักวิทยุสมัครเล่นทั่วประเทศให้พร้อมให้การช่วยเหลือตลอด เวลา โดยสามารถแจ้งข่าวสารเหตุการณ์แผ่นดินไหว หรือเหตุภัยพิบัติ ได้ที่สำนักงาน กสทช. สายด่วน 1200 และสามารถแจ้งข่าวสารผ่านทางเครือข่ายนักวิทยุสมัครเล่นได้ที่ศูนย์สายลม

นพ.ประ วิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ในช่วงเกิดภาวะวิกฤตที่ระบบโทรคมนาคมหรือสัญญาโทรศัพท์อาจเกิดปัญหาล่มใน ช่วงแรก ควรใช้วิทยุสื่อสารสำหรับการติดต่อสื่อสารกัน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์เดียวที่สามารถใช้งานได้ดีที่สุด พร้อมมองว่า การแจ้งเตือนภัยทางเอสเอ็มเอส ควรแจ้งให้ทันภายในช่วงระยะแรกที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น เพราะหากปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไปนานแล้วค่อยแจ้งเตือนภัย ก็จะไม่ทันการณ์

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/253730

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.