Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 ตุลาคม 2555(เกาะติดประมูล3G) จากห้องประชุม!! ( 3G ถูกอนุมัติแล้ว )มติ กทค. 4 ต่อ 1ไม่เอกฉันท์ รับรองผลประมูล 3G แล้ว ( ส่งเอกสารทางเงินครบ 7 วันเอาใบอนุญาติไปเลย)

ประเด็นหลัก

  การ ประชุม กรรมการกิจการโทรคมนาคม ( กทค.) เพื่อรับรองผลการประมูล 3 จี ในช่วง เวลา 14.50 น. วันนี้ (18 ต.ค.) หลังจากการประชุมผ่านไปนานเกือบ 4 ชั่วโมง ล่าสุด คณะกรรมการโทรคมนาคม หรือ กทค. ก็ได้ลงมติรับรองผลการประมูล 3G เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา ด้วยมติ 4 ต่อ 1 ทั้งนี้ กทค. ที่รับรอง 4 รายได้แก่ ได้แก่ พันเอกเศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. นายสุทธิพล ทวีชัยการ นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร และหนึ่งเสียง กทค. ที่ไม่รับรองได้แก่ นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
       
ทั้ง นี้ วันพรุ่งนี้จะส่งหนังสือไปยังผู้ที่เข้าประมูลว่า เป็นผู้ชนะการประมูลอย่างเป็นทางการ ซึ่งสำนักงานกสทช.จะส่งหนังสือแจ้งไปยังผู้เข้าร่วมประมูลภายใน 7 วันหลังจากตรวจสอบเอกสารแล้วเสร็จ จากนั้นกระบวนการให้ใบอนุญาตจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน
โดย ผู้ที่ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินค่าใบอนุญาต งวดแรกจำนวน 50% ของราคาใบอนุญาต และยื่นหนังสือรับรองทางการเงิน (แบงก์ การันตี) ส่วนงวดที่เหลือ ให้ชำระในปีที่ 2 และ 3 ตามลำดับ

 โดยที่ประชุมได้ยืนยันว่า การประมูล3 จี ไม่ได้เข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ตามที่เป็นกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ ซึ่งการประมูลได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายดังกล่าว และพ.ร.บ.ฮั้ว ไม่ได้กำหนดว่าหากมีผู้เข้าประมูลน้อยรายจะเข้าข่ายกระทำความผิด แต่กำหนดว่าการแข่งขันต้องไม่กีดกั้นผู้เข้าร่วมประมูล
          
ส่วน พฤติกรรมการประมูลของทั้ง 3 ราย คือ ไม่พบความผิดปกติปกติในการประมูลครั้งนี้ และเป็นการประมูลที่เหมือนกับประเทศอื่นๆ คือมีการแข่งขัน ส่วนระบบซอฟต์แวร์ของบริษัท พาวเวอร์ ออกชั่น ก็มีระบบการป้องกันไม่ให้เกิดการสมรู้ร่วมคิดการเคาะประมูล และเป็นไปตามรูปแบบการประมูลทุกประการ.








_____________________________________



มติ กทค. 4 ต่อ 1ไม่เอกฉันท์ รับรองผลประมูล 3G แล้ว "ประวิทย์" ส่ายหัวไม่เอาด้วย

คณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค) รับรองผลการประมูล 3 จี แบบไม่เอกฉันท์ 4 ต่อ 1 "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" ไม่รับรองข้องใจการตั้งราคาประมูล 4,500 ล้านบาท ต่ำเกินไป
       
       การประชุม กรรมการกิจการโทรคมนาคม ( กทค.) เพื่อรับรองผลการประมูล 3 จี ในช่วง เวลา 14.50 น. วันนี้ (18 ต.ค.) หลังจากการประชุมผ่านไปนานเกือบ 4 ชั่วโมง ล่าสุด คณะกรรมการโทรคมนาคม หรือ กทค. ก็ได้ลงมติรับรองผลการประมูล 3G เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา ด้วยมติ 4 ต่อ 1 ทั้งนี้ กทค. ที่รับรอง 4 รายได้แก่ ได้แก่ พันเอกเศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. นายสุทธิพล ทวีชัยการ นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร และหนึ่งเสียง กทค. ที่ไม่รับรองได้แก่ นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
       
       โดยภายในการประชุม มีการพูดคุยกันตั้งแต่ประเด็นหลักเกณฑ์การประมูล การตั้งราคาขั้นต้น และพฤติกรรมการเคาะราคา ซึ่งระหว่างนั้น น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หนึ่งในคณะกรรมการ กทค. ต้องการข้อมูลพฤติกรรมการเคาะราคาประมูล เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องโปร่งใส เนื่องจากมีความเคลือบแคลงใจของหลายฝ่าย ตลอดจนมองว่า การตั้งราคาประมูล 4,500 ล้านบาท ต่ำเกินไป
       
       ขณะที่นายสุทธิพล ทวีชัยการ แสดงความเห็นว่า ทุกขั้นตอนการประมูลมีการศึกษากฎหมายรองรับไว้แล้ว ทำให้เกิดการโต้เถียงกันในที่ประชุม และกรรมการ กทค.จำนวน 2 คน ได้วอล์กเอาต์ออกจากห้องประชุม โดยให้เหตุผลว่า ควรเดินหน้าลงมติมากกว่าการกลับไปโต้แย้งเรื่องที่ดำเนินการแล้ว ก่อนจะกลับเข้ามาลงมติในตอนท้ายของการประชุมอีกครั้ง

ASTV ผู้จัดการ

_________________________________________________________________________



กสทช.เตรียมแถลงรับรองผลประมูล 3จี เที่ยงนี้

       ช่วงเช้าวันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีวาระการประชุมเพื่อพิจารณาหารือรับรองผลการประมูลใบอนุญาตโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3 จี หลังจากที่ได้จัดประมูลแล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา ซึ่งการประมูลจบลงที่มูลค่าคลื่นความถี่รวม 41,625 ล้านบาท โดยบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือเอไอเอส เป็นผู้เสนอราคาสูงสุดในการประมูล ส่วนนบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เสนอราคาประมูลเท่ากัน
        โดยหลังเสร็จสิ้นการประชุม พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมกิจการโทรคมนาคม จะเป็นผู้แถลงผลการประชุมต่อสื่อมวลชนในเวลา 12.00 น. ที่สำนักงาน กสทช.

ASTV ผู้จัดการ

___________________________________________________________________________

บอร์ดกทค.มีมติรับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3G

นายพิทยาพล จันทะนะสาโร รองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีลงมติ 4:1 รับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3G แล้ว
โดยบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ในกลุ่มบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เป็นผู้ชนะการประมูลในราคา 14,625 ล้านบาท ได้ครอบครองคลื่นความถี่ในชุด 7-9 บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ในกลุ่มบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ชนะการประมูลในราคา 13,500 ล้านบาท ได้ครอบครองชุดความถี่ 4-6 และบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค ในกลุ่มบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ชนะประมูลในราคา 13,500 ล้านบาท ได้ครอบครองชุดความถี่ 1-3
ทั้งนี้ วันพรุ่งนี้จะส่งหนังสือไปยังผู้ที่เข้าประมูลว่า เป็นผู้ชนะการประมูลอย่างเป็นทางการ ซึ่งสำนักงานกสทช.จะส่งหนังสือแจ้งไปยังผู้เข้าร่วมประมูลภายใน 7 วันหลังจากตรวจสอบเอกสารแล้วเสร็จ จากนั้นกระบวนการให้ใบอนุญาตจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน
โดยผู้ที่ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินค่าใบอนุญาต งวดแรกจำนวน 50% ของราคาใบอนุญาต และยื่นหนังสือรับรองทางการเงิน (แบงก์ การันตี) ส่วนงวดที่เหลือ ให้ชำระในปีที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
ด้านนายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกสทช. กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไป ก็จะส่งผลการรับรองมติของกทค.ให้บอร์ดกสทช.รับทราบเท่านั้น ส่วนเงินค่าใบอนุญาตที่ได้จากการประมูลดังกล่าว จะส่งให้รัฐบาลอย่างเร็วที่สุดทันที ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตชำระเงินในงวดแรก
ข่าวหุ้นธุรกิจ
http://www.kaohoon.com/online/48388/%BA%CD%C3%EC%B4%A1%B7%
A4.%C1%D5%C1%B5%D4%C3%D1%BA%C3%CD%A7%BC%C5%A1%D2%C3%BB
%C3%D0%C1%D9%C5%E3%BA%CD%B9%D8%AD%D2%B5-3G-.htm

______________________________________________________

บอร์ด กทค. ยืนยัน ไม่พบพฤติกรรมผิดปกติในการประมูล 3G
บอร์ด กทค. ยืนยัน ไม่พบพฤติกรรมผิดปกติในการประมูล 3G พร้อมถ่ายทอดเสียงที่ประชุมรับรองผลประมูล 3จี เพื่อความโปร่งใส

วันนี้ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) อาคารหอประชุมชั้น 2 ได้จัดให้มีการถ่ายทอดเสียงการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรือใบอนุญาต 3 จีของวันที่ 16 ต.ค.55 ที่ผ่านมา ให้สื่อมวลชนทราบเพื่อความโปร่งใส โดยเริ่มถ่ายทอดเสียงตั้งแต่เริ่มการประชุมบอร์ด กทค. เมื่อเวลา 11.30 น. 
          
โดยที่ประชุมได้ยืนยันว่า การประมูล3 จี ไม่ได้เข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ตามที่เป็นกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ ซึ่งการประมูลได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายดังกล่าว และพ.ร.บ.ฮั้ว ไม่ได้กำหนดว่าหากมีผู้เข้าประมูลน้อยรายจะเข้าข่ายกระทำความผิด แต่กำหนดว่าการแข่งขันต้องไม่กีดกั้นผู้เข้าร่วมประมูล
          
ส่วนพฤติกรรมการประมูลของทั้ง 3 ราย คือ ไม่พบความผิดปกติปกติในการประมูลครั้งนี้ และเป็นการประมูลที่เหมือนกับประเทศอื่นๆ คือมีการแข่งขัน ส่วนระบบซอฟต์แวร์ของบริษัท พาวเวอร์ ออกชั่น ก็มีระบบการป้องกันไม่ให้เกิดการสมรู้ร่วมคิดการเคาะประมูล และเป็นไปตามรูปแบบการประมูลทุกประการ.
 

moneychannel
http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/5126-2012-10-18-08-17-40

___________________________________________________

รับรองผลประมูล 3 จีวุ่น
กสทช.เสียงแตก รับรองประมูล 3 จีวันนี้ คณะกรรมการห่วงเจอข้อหาเข้าข่ายพ.ร.บ.ฮั้ว  
     
พันเอกเศรษฐพงค์  มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. บอกว่า  วันนี้(18 ต.ค.) จะมีการประชุมคณะกรรมการกทค. เพื่อรับรองผลการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3 จี ให้กับทั้ง 3 บริษัท ที่เข้าร่วมประมูล คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก จำกัด ในเครือบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ในเครือบมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือทรู
ด้านนพ. ประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา   คณะกรรมการ กทค.  บอกว่า จะไม่รับรองผลการประมูลจนกว่าจะได้ข้อมูลและขั้นตอนการประมูล และพฤติกรรมการเคาะราคาในแต่ละครั้ง เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ว่า  การออกแบบประมูลเอื้อต่อเอกชนหรือไม่ หากพบว่าเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) กทค.ควรต้องเปิดประมูลใหม่ เพราะถือเป็นทางออกที่ดีใน   ขณะนี้ เนื่องจากราคาที่ออกมาในลักษณะนี้ มีความเสี่ยงสูงมากที่กทค. จะรับรองผลการประมูลได้ ทั้งนี้ หากต้องยกเลิกการประมูลจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอกชน   เพราะในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลกำหนดชัดเจนว่า กสทช. สามารถยกเลิกได้หากมีเหตุแห่งความจำเป็น
ส่วนเรื่องราคาตั้งต้นการประมูลได้เสนอให้ปรับเพิ่มขึ้น  แต่ได้รับการท้วงติงว่าราคาตั้งต้น 4,500 ล้านบาท ต่อ 5 เมกะเฮิร์ตซ์   เป็นราคาที่เอกชนจะแข่งขันกันได้   แต่ผลการประมูลครั้งนี้ยืนยันชัดเจน 4,500 ล้านบาท 6 สล็อตจาก 9 สล็อต  ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐต้องสูญเสียไป

 moneychannel
http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/5071-accept


_______________________________________________

กทค.มีมติ 4:1 รับรองผลประมูล 3G เตรียมออกใบอนุญาต ADVANC-TRUE-DTAC

 
ที่ประชุมกรรมการกิจการโทรคมนาคม( กทค.)วันนี้ลงมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 รับรองผลการประมูลใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G บนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา และเตรียมออกใบอนุญาตให้ผู้ประมูลทั้ง 3 ราย คือ 1.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น (บริษัทในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส หรือ ADVANC) 2.บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (ในเครือบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE) และ 3.บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด (ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC)
 
การประชุมวันนี้ กรรมการกทค.เข้าร่วม 5 คน คือ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกทค.และรองประธานคณะ กรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายสุทธิพล ทวีชัยการ น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร
ขณะที่หารือมีการถกเถียงกันอย่างหนักระหว่างนายสุทธิพล และนายประวิทย์ เป็นเวลามากกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง ก่อนจะมีการลงมติในเวลา 14.50 น.ระหว่างนั้นนายประเสริฐ และพล.อ.สุกิจ ได้เดินออกจากห้องประชุม เพราะไม่เห็นด้วยกับการถกเถียงกันเรื่องเดิมคือราคาตั้งต้นการประมูลที่ 4,500 ล้านบาทต่อสล็อต หรือ 5 MHz ต่อมาได้มีการเรียกกรรมการกสทช.ทั้ง 2 คนเข้าห้องประชุมเพื่อลงมติแล้ว โดยพล.อ.สุกิจ เป็นผู้ลงมติรับรองผลการประมูลเป็นคนแรก ต่อมาคือนายประเสริฐ และนายสุทธิพล ส่วนน.พ.ประวิทย์ ไม่ขอลงมติรับรองผลการประมูล
นายพิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการกสทช.กล่าวว่า กทค.ลงมติรับรองผลการประมูล 3จี ด้วยคะแนน 4 ต่อ 1 สรุปคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก  ในเครือ  ADVAC เป็นผู้ชนะการประมูลในราคา 14,625 ล้านบาท ได้สิทธิเลือกคลื่นความถีก่อนโดยเลือกช่วงคลื่นชุด 7-9  บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ในเครือกลุ่ม TRUE ชนะ การประมูลในราคา 13,500 ล้านบาท และเลือกชุดคลื่นความถี่ 4-6  และบริษัท ดีแทค เนควอร์ค ในเครือ DTAC ในราคา 13,500 ล้านบาท และได้ช่วงคลื่นความถี่ชุดที่ 1-3
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 ต.ค.นี้ จะส่งหนังสือไปยังผู้ที่เข้าประมูลทั้ง 3 รายว่าเป็นผู้ชนะการประมูลอย่างเป็นทางการ และจะถือเป็นการสิ้นสุดช่วงเวลาไซเร้นท์ พีเรียด โดยจะแจ้งไปยังผู้เข้าร่วมประมูลภายใน 7 วันหลังจากตรวจสอบเอกสารแล้วเสร็จ จากนั้นกระบวนการให้ใบอนุญาตจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน ผู้ที่ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกจำนวน 50% ของราคาใบอนุญาต และยื่นหนังสือ รับรองทางการเงิน (แบงก์ การันตี) ส่วนงวดที่เหลือ ให้ชำระในปีที่ 2 และ 3 ตามลำดับ พร้อมให้ใบอนุญาตประกอบกิจการ
สำหรับการชำระค่าใบอนุญาตของผู้เข้าประมูลนั้น ADVANC ประมูลในราคา 14,625 ล้านบาท จะชำระ 50% อยู่ที่ 7,312 ล้านบาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในขณะที่ TRUE และ DTAC ชำระงวดแรกเท่ากันที่ 6,750 ล้านบาท ไม่ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1512155 


_____________________________________________________
 

บอร์ด กทค.ถ่ายทอดเสียงที่ประชุมรับรองผลประมูล 3จี

วันนี้(18 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)  อาคารหอประชุมชั้น 2 ได้จัดให้มีการถ่ายทอดเสียงการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรือใบอนุญาต 3 จีของวันที่ 16 ต.ค.55 ที่ผ่านมา ให้สื่อมวลชนทราบเพื่อความโปร่งใส โดยเริ่มถ่ายทอดเสียงตั้งแต่เริ่มการประชุมบอร์ด กทค. คือเวลา 11.30 น. ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีท่าทีว่าจะจบการประชุม

โดยคณะทำงานการประมูล 3 จี ได้ชี้แจ้งรายละเอียดตั้งแต่เริ่มการออกร่างประกาศ 3 จี การกำหนดระยะเวลา การกำหนดคุณสมบัติการแข่งขัน การกำหนดราคาตั้งต้นอ้างอิงกลไกตลาด การออกระเบียบป้องกันการสมยอม และขั้นตอนการตรวจสอบการประมูล ให้บอร์ด กทค. รับทราบการดำเนินงานที่ผ่านกระบวนการขั้นตอน ตามกฎหมายทุกประการ

ทั้งนี้ จากเสียงที่ถ่ายทอดสดออกมาจับใจความได้ว่าในห้องประชุมได้ยืนยันว่าการประมูล3 จี  ไม่ได้เข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ตามที่เป็นกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ ซึ่งการประมูลได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายดังกล่าว และพ.ร.บ.ฮั้ว ไม่ได้กำหนดว่าหากมีผู้เข้าประมูลน้อยรายจะเข้าข่ายกระทำความผิด แต่กำหนดว่าการแข่งขันต้องไม่กีดกั้นผู้เข้าร่วมประมูล

ส่วนพฤติกรรมการประมูลของทั้ง 3 ราย คือ  ไม่พบความผิดปกติปกติในการประมูลครั้งนี้ และเป็นการประมูลที่เหมือนกับประเทศอื่นๆ คือมีการแข่งขัน  ส่วนระบบซอฟต์แวร์ของบริษัท พาวเวอร์ ออกชั่น ก็มีระบบการป้องกันไม่ให้เกิดการสมรู้ร่วมคิดการเคาะประมูล และเป็นไปตามรูปแบบการประมูลทุกประการ.

เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/161673 

__________________________________

บอร์ดกทค.มติ4ต่อ1รับรองผลประมูล3จี

วันนี้(18 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)  อาคารหอประชุมชั้น 2 ได้จัดให้มีการถ่ายทอดเสียงการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรือใบอนุญาต 3 จีของวันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา ให้สื่อมวลชนทราบเพื่อความโปร่งใส โดยเริ่มถ่ายทอดเสียงตั้งแต่เริ่มการประชุมบอร์ด กทค. ในเวลา 11.30 น.- 15.00 น. เป็นการสิ้นสุดการประชุมบอร์ด โดยบอร์ดกทค. มี 5 คน ประกอบด้วยพ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กทค., พล.อ. สุกิจ ขมะสุนทร กสทช.ด้านการศึกษา วัฒนธรรม และพัฒนาสังคม, ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.ด้านกฎหมาย, รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ ด้านเศรษฐศาสตร์ และนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างถ่ายทอดสดเสียงการประชุมบอร์ดกทค. เนื้อหาที่ถกเถียงกันซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้บอร์ด กทค. 2 คน คือ รศ.ประเสริฐ และพล.อ. สุกิจ จะวอล์คเอ้าท์ออกจากห้องประชุม ส่งผลให้ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ต้องตัดบทบอกให้ที่ประชุมกทค.ลงมติรับรองผลการประมูล 3จี ของกสทช ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ซึ่งมีบริษัทเอกชนเข้าร่วมประมูล 3 รายโดยบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ประมูลคลื่นความถี่ได้ในราคา 14,625 ล้านบาท บริษัท ดีแทค เนควอร์ค และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ประมูลคลื่นความถี่ไปในราคา 13,500 ล้านบาทเท่ากัน รวมทั้งสามรายประมูลคลื่นความถี่ไปในมูลค่า 41,625 ล้านบาท
ผลปรากฏว่า การลงมติรับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3 จี ของกทค. มีมติบอร์ด 4 : 1 โดยบอร์ด กทค.ทั้ง 4 คนที่รับรองผลประกอบด้วย พล.อ. สุกิจ ลงชื่อรับรองผลคนแรก ต่อด้วยดร.สุทธิพล ตามด้วยรศ.ประเสริฐ และพ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ลงมติรับรองผลเป็นคนสุดท้าย โดยที่นพ.ประวิทย์ ไม่รับรองผลโดยขอดูเอกสารการเคาะราคาการประมูลทั้ง 7 ครั้งเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ส่งผลให้ที่ประชุมบอร์ดขอปิดเสียงถ่ายทอดสดเพื่อนำเอกสารมาอธิบายให้นพ.ประวิทย์ ฟังประมาณ 5 นาที จึงได้เปิดเสียงถ่ายทอดสด และได้สรุปผลการลงมติรับรองการประมูล 3จีของบอร์ด กทค. 
เวลา 15.15 น. รศ.ประเสริฐ ได้แถลงผลการประชุมบอร์ด กทค. ว่า ในวันพรุ่งนี้( 19 ต.ค.) จะส่งหนังสือรับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3 จีให้ผู้ชนะประมูล 3จีทั้ง 3 ราย โดยผู้ชนะทั้ง 3 รายต้องจ่ายเงินงวดแรก 50%ของเงินที่ประมูลได้ ภายใน 90 วัน และจะได้ใบอนุญาตครอบครองคลื่น15 ปีทันทีใน 7 วัน การลงมติของบอร์ด กทค.เพื่อรับรองผลการประมูล 3จีนี้ถือเป็นที่สิ้นสุดแล้ว สำหรับเงินที่ได้จากการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3จี จะนำส่งเข้ารัฐให้เร็วที่สุด โดยหักค่าใช้จ่ายในการจัดประมูลประมาณ 20 ล้านกว่าบาท
สำหรับผลการประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือเอไอเอส เสนอราคาสูงสุดที่ 14,625 ล้านบาท ได้สิทธิใช้คลื่นความถี่ชุดที่ 7 แถบคลื่น 1950-1955  คู่กับ 2140-2145 ชุดที่ 8 แถบคลื่น 1955-1960 คู่กับ 2145-2150 และชุดที่ 9 แถบคลื่น 1960-1965 คู่กับ 2150-2155
ส่วนบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือทรูมูฟ และบริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือดีแทค เสนอราคาเท่ากันที่ 13,500 ล้านบาท โดย เรียลฟิวเจอร์ ได้สิทธิใช้คลื่นความถี่ชุดที่ 4  แถบคลื่น 1935-1940 คู่กับ 2125-2130  ชุดที่ 5 คลื่น 1940-1945 คู่กับ 2130-2135 และชุดที่ 6 ช่วงคลื่น 1940-1950 คู่กับ 2135-2140
และดีแทค เน็คเวอร์ค ได้แถบคลื่นความถี่ชุดที่ 1 ถึง ชุดที่ 3 ได้แก่ช่วงคลื่น 1920-1925 คู่กับ 2110-2115 ช่วงคลื่น 1925-1930 คู่กับ 2115-2120 และช่วงคลื่น 1930-1935 คู่กับ 2120-2125

เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/161694

______________________________________________
 

กสทช.เผยผู้เสนอราคาประมูล3จีจะได้รับใบอนุญาตภายใน7วันหลังเดินตามเงื่อนไข

ร.ศ. ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ตามที่สำนักงาน กสทช. ได้จัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz เพื่อนำเอาคลื่นความถี่มาให้บริการประชาชน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา นั้น

วันนี้ (18 ตุลาคม 2555) ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ครั้งที่ 38/2555 มีมติเห็นชอบผลการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz ตามผลดังนี้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เสนอราคาเป็นเงิน 14,625 ล้านบาท ได้เลือกย่านความถี่ชุดที่ 7-9 (1950 MHz -1965 MHz และ 2140 MHz – 2155 MHz) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เสนอราคาเป็นเงิน 13,500 ล้านบาท เลือกย่านความถี่ชุดที่ 4-6 (1935 MHz – 1950 MHz และ 2125 MHz – 2140 MHz) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เสนอราคาเป็นเงิน 13,500 ล้านบาท เลือกย่านความถี่ชุดที่ 1-3 (1920 MHz – 1935 MHz และ 2110 MHz – 2125 MHz) และให้สำนักงานดำเนินการตามที่กำหนดในประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ต่อไป

ร.ศ. ประเสริฐ กล่าวต่อว่า การประชุมในวันนี้เป็นการประชุมวาระเดียวเพื่อพิจารณาผลการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ฯ ย่าน 2.1 GHz ส่วนการดำเนินการต่อไปเป็นเรื่องของสำนักงาน กสทช. ที่จะดำเนินการให้ใบอนุญาต ทั้งนี้ กทค. จะออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ให้แก่แต่ละบริษัท ภายหลังจากที่บริษัทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนได้รับใบอนุญาต ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ครบถ้วน ภายใน 90 นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการประมูล

สำหรับเงื่อนไขการดำเนินการก่อนได้รับใบอนุญาต แต่ละบริษัทต้องดำเนินการชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz งวดที่ 1 เป็นจำนวน 50% ของราคาสูงสุดที่ได้เสนอในการประมูล พร้อมส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz งวดที่ 2 และงวดที่ 3 ทั้งนี้เงินค่าประมูลที่ต้องชำระยังไม่รวมภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ และดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด และต้องนำส่งเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการอนุญาตสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ตามข้อ 4 ของภาคผนวก ก ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 แก่สำนักงานฯ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามรายละเอียดที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กรณีปรากฏว่าเอกสารหลักฐานและข้อมูลเหล่านั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอ

ร.ศ. ประเสริฐ กล่าวอีกว่า ผู้เสนอราคาในการประมูลแต่ละรายน่าจะได้รับใบอนุญาตภายใน 7 วัน หลังจากที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนได้รับใบอนุญาต ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 เรียบร้อย ในส่วนของเงินรายได้จากการประมูลจะนำเงินที่ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแล้วส่งกระทรวงการคลังให้เร็วที่สุด

สำหรับรายละเอียดเรื่อง การชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz นั้น แต่ละบริษัท จะต้องชำระเงินตามราคาที่เสนอราคาสูงสุดของแต่ละราย โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด คือ งวดที่ 1 ชำระเงินเป็นจำนวน 50% ของราคาที่เสนอราคาสูงสุด พร้อมหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร เพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าประมูลในส่วนที่เหลือ ภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการประมูล งวดที่ 2 ชำระเงินเป็นจำนวน 25% ของราคาที่เสนอราคาสูงสุด พร้อมหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร เพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าประมูลงวดที่ 3 ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และงวดที่ 3 ชำระเงินเป็นจำนวน 25% ของราคาที่เสนอราคาสูงสุด ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้เงินที่แต่ละรายต้องชำระ ยังไม่รวมภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ และดอกเบี้ย ตามที่กฎหมายกำหนด

ร.ศ. ประเสริฐ กล่าวว่า จากนี้ไปจะมองไปที่การกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบ  ที่ 3 ที่จะให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ได้รับใบอนุญาตไป โดยจะดูตั้งแต่ว่ามีการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเกิดขึ้นหรือไม่ อัตราค่าบริการสมเหตุสมผลหรือไม่ ต้นทุนเป็นอย่างไร คุณภาพของการให้บริการเป็นอย่างไร “ โดยส่วนตัวคิดว่าค่าบริการต้องถูกกว่าปัจจุบัน”                              
  
ฐานเศรษฐกิจ
 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=149140:-37&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
 

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.