Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 ตุลาคม 2555 (บทความ) จุดเปลี่ยนตลาด "พีซี" โลก ลุ้นปาฏิหาริย์ "วินโดวส์ 8"


ประเด็นหลัก

 สำนัก ข่าว "เดอะ การ์เดี้ยน" รายงานว่า ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ยอดขายคอมพิวเตอร์พีซีลดลงคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุดในรอบ 11 ปี เนื่องจากผู้บริโภค องค์กรธุรกิจ และผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ต่างปล่อยเกียร์ว่างเพื่อรอระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 ซึ่งกำลังจะมา

ฟาก "นักวิเคราะห์" เองก็มองว่า บรรดาผู้ผลิตพีซีต่างพบกับความท้าทายครั้งใหญ่ในการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคใช้ จ่ายเงินกับเครื่องพีซี แทนที่จะเป็นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลต เพราะสภาพเศรษฐกิจในหลายพื้นที่ทั่วโลกดูจะแย่ลงอย่างต่อเนื่อง

"
แรนจิท แอทวอล" นักวิเคราะห์ด้านพีซี บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า "ก่อนหน้านี้เราต่างพูดถึงกันแต่คอมพิวเตอร์พีซี แต่ปัจจุบันการขาดนวัตกรรมในตลาดพีซีทำให้ผู้บริโภคมีเหตุผลน้อยมากที่จะ ซื้อผลิตภัณฑ์พีซีสักเครื่อง ทำให้มันกลายเป็นผลิตภัณฑ์อันดับหลัง ๆ ในการตัดสินใจซื้อของพวกเขา"

ดังนั้น ความหวังของผู้ผลิตพีซีในตอนนี้จึงเป็นเรื่องที่ว่า ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 จะสามารถนำปัจจัยใหม่ ๆ เข้ามาช่วยชีวิตอุตสาหกรรมนี้ไม่ให้ตายลงไปอย่าง

ช้า ๆ ได้หรือไม่ โดยบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์และไอดีซีเปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ยอดขายตลาดรวมพีซีลดลงมากกว่า 8% (การ์ทเนอร์ระบุว่า 8.2% และไอดีซีระบุว่า 8.6%) เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2554 คิดเป็นตัวเลขยอดขายน้อยกว่า 88 ล้านเครื่อง ถือเป็นยอดขายในไตรมาส 3 ที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ในปี 2544 ตอนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พีกำลังจะวางตลาด ทำให้ยอดขายพีซีลดลง 11.6% และไม่มีตลาดภูมิภาคใดที่มีอัตราการเติบโต

ข้อมูลจาก "การ์ทเนอร์" บ่งชี้ว่า ตลาดพีซีในไตรมาส 3 ของสหรัฐอเมริกา ลดลงถึง 13.8% โดยมียอดขายอยู่ที่ 15.3 ล้านเครื่อง ส่วนตลาดพีซีในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ลดลง 8.7% มียอดขายรวมอยู่ที่ 25.8 ล้านเครื่อง ตลาดเอเชีย-แปซิฟิกลดลง 5.6% มียอดขายรวมอยู่ที่ 31.3 ล้านเครื่อง และตลาดอเมริกาใต้ลดลง 6.2% มียอดขายรวมอยู่ที่ 9.7 ล้านเครื่อง


____________________________________________



จุดเปลี่ยนตลาด "พีซี" โลก ลุ้นปาฏิหาริย์ "วินโดวส์
8"

ตลาด คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี)โลก ล้มลุกคลุกคลานมาตั้งแต่ต้นปี 2555 หลังจากผ่านพ้นช่วงไตรมาส 3 มาได้ไม่นานนัก สองบริษัทวิเคราะห์ตลาดไอทีขาประจำอย่าง "การ์ทเนอร์" และ "ไอดีซี" ยังได้ออกมาประกาศผลการสำรวจยอดขายในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เห็นว่าตลาดคอมพิวเตอร์พีซีกำลังประสบชะตากรรมเดียวกันทั่วโลก นั่นคืออยู่ในช่วง "ถอยหลังลงคลอง" อย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 3 ปี 2555 มีอัตรการเติบโตติดลบมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 10 ปี และดูเหมือนว่าปัจจัยที่จะเป็นตัวช่วยชีวิตอย่าง "วินโดวส์ 8" ที่จะเปิดตัวในปลายเดือนตุลาคมนี้ กลับเป็นปัจจัยด้านลบที่ดึงให้ยอดขายคอมพิวเตอร์ในไตรมาส 3 น้อยลงกว่าเดิม

สำนัก ข่าว "เดอะ การ์เดี้ยน" รายงานว่า ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ยอดขายคอมพิวเตอร์พีซีลดลงคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุดในรอบ 11 ปี เนื่องจากผู้บริโภค องค์กรธุรกิจ และผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ต่างปล่อยเกียร์ว่างเพื่อรอระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 ซึ่งกำลังจะมา

ฟาก "นักวิเคราะห์" เองก็มองว่า บรรดาผู้ผลิตพีซีต่างพบกับความท้าทายครั้งใหญ่ในการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคใช้ จ่ายเงินกับเครื่องพีซี แทนที่จะเป็นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลต เพราะสภาพเศรษฐกิจในหลายพื้นที่ทั่วโลกดูจะแย่ลงอย่างต่อเนื่อง

"แรนจิท แอทวอล" นักวิเคราะห์ด้านพีซี บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า "ก่อนหน้านี้เราต่างพูดถึงกันแต่คอมพิวเตอร์พีซี แต่ปัจจุบันการขาดนวัตกรรมในตลาดพีซีทำให้ผู้บริโภคมีเหตุผลน้อยมากที่จะ ซื้อผลิตภัณฑ์พีซีสักเครื่อง ทำให้มันกลายเป็นผลิตภัณฑ์อันดับหลัง ๆ ในการตัดสินใจซื้อของพวกเขา"

ดังนั้น ความหวังของผู้ผลิตพีซีในตอนนี้จึงเป็นเรื่องที่ว่า ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 จะสามารถนำปัจจัยใหม่ ๆ เข้ามาช่วยชีวิตอุตสาหกรรมนี้ไม่ให้ตายลงไปอย่าง

ช้า ๆ ได้หรือไม่ โดยบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์และไอดีซีเปิดเผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ยอดขายตลาดรวมพีซีลดลงมากกว่า 8% (การ์ทเนอร์ระบุว่า 8.2% และไอดีซีระบุว่า 8.6%) เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2554 คิดเป็นตัวเลขยอดขายน้อยกว่า 88 ล้านเครื่อง ถือเป็นยอดขายในไตรมาส 3 ที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ในปี 2544 ตอนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พีกำลังจะวางตลาด ทำให้ยอดขายพีซีลดลง 11.6% และไม่มีตลาดภูมิภาคใดที่มีอัตราการเติบโต

ข้อมูลจาก "การ์ทเนอร์" บ่งชี้ว่า ตลาดพีซีในไตรมาส 3 ของสหรัฐอเมริกา ลดลงถึง 13.8% โดยมียอดขายอยู่ที่ 15.3 ล้านเครื่อง ส่วนตลาดพีซีในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ลดลง 8.7% มียอดขายรวมอยู่ที่ 25.8 ล้านเครื่อง ตลาดเอเชีย-แปซิฟิกลดลง 5.6% มียอดขายรวมอยู่ที่ 31.3 ล้านเครื่อง และตลาดอเมริกาใต้ลดลง 6.2% มียอดขายรวมอยู่ที่ 9.7 ล้านเครื่อง

"ช่วง รอการเปลี่ยนผ่านไปสู่วินโดวส์ 8 เกิดขึ้นในทุก ๆ ที่ ถึงแม้ไม่มีปัจจัยนี้ความต้องการซื้อคอมพิวเตอร์พีซีช่วงนี้ก็ค่อนข้างน้อย อยู่แล้ว เนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลก เมื่อบวกกับเรื่องที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 ยิ่งทำให้ยอดขายตลาดพีซีถดถอยลงมากขึ้นไปอีก" แรนจิทอธิบายเพิ่มเติม

"กา ร์ทเนอร์ และไอดีซี" เปิดเผยข้อมูลว่า ยอดขายพีซีขึ้นถึงจุดสูงสุดในช่วงไตรมาส 3 ปี 2554 โดยทำได้ต่ำกว่า 96 ล้านเครื่องนิดหน่อย อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นเป็นต้นมายอดขายก็ดิ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งยังมีอัตราการเติบโตแบบปีต่อปีค่อนข้างน้อย หรือถึงขั้นไม่มีการเติบโต

"แร นจิท" มองว่า แม้จะเป็นเรื่องปกติที่การเติบโตของยอดขายพีซีจะนิ่งสนิทในช่วงก่อนการเปิด ตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์รุ่นใหม่ เพราะลูกค้าและองค์กรธุรกิจต่างรอที่จะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบ ปฏิบัติการใหม่ติดตั้งมาให้ด้วย แต่การที่ผู้ผลิตพีซีต้องแข่งขันกับอุปกรณ์ประมวลผลคอมพิวเตอร์รูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ แค่ "พีซี" ก็ถือเป็นปัญหาใหม่ในตลาดด้วยเช่นกัน

โดย ส่วนตัวแรนจิทคาดว่า จะมีช่องว่างดังกล่าวเกิดขึ้นในตลาดพีซีในเวลานี้อยู่แล้ว แต่ไม่นึกว่าปัญหาดังกล่าวจะหนักหนาขนาดนี้ โดยความต้องการซื้อเครื่องถือได้ว่าน้อย ทำให้บรรดาร้านค้าปลีกและตัวแทนจำหน่ายรายต่าง ๆ หันไปหวังว่าระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 จะเป็นตัวแก้ปัญหาที่ตลาดกำลังประสบอยู่ได้

"เจ โช" นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัทวิจัยไอดีซี แสดงความคิดเห็นในประเด็นเดียวกันว่า พีซีกำลังผ่านช่วงสะดุดครั้งใหญ่ ตลาดนี้ต้องพบกับช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีที่แสนสาหัส และไตรมาสที่ 3 ก็ดูแย่ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ปัจจัยดังกล่าวแน่นอนว่ามาจากหลายอย่าง ทั้งปัญหาเศรษฐกิจในระดับโลก ความกังวลว่าตลาดพีซีกำลังเข้าสู่จุดอิ่มตัว และอัตราการเปลี่ยนเครื่องใหม่ของผู้บริโภคที่ช้าลงกว่าเดิม

แต่คำ ถามสำคัญที่ตลาด "พีซี" ยังไม่มีคำตอบให้ผู้บริโภคคือ อะไรเป็นผลิตภัณฑ์ไฮไลต์ของตลาดนี้ แม้ระดับราคาเครื่อง "อัลตร้าบุ๊ก" จะเริ่มลดลงบ้างแล้ว แต่ยังมีความท้าทายอีกหลายอย่างที่ผลิตภัณฑ์จะต้องตอบโจทย์ให้รองรับกับ วินโดวส์ 8 ที่จะมาในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

ทางฝั่ง "การ์ทเนอร์" ระบุว่า ผลิตภัณฑ์อัลตร้าบุ๊กที่เป็นคอมพิวเตอร์แล็ปทอปแบบบาง เบา และประสิทธิภาพสูง (อีกทั้งราคาสูงกว่าโน้ตบุ๊กทั่วไปด้วยเช่นกัน) ซึ่งเปิดตัวโดยผู้ผลิตพีซีหลายราย ทำให้เห็นเทรนด์สำคัญในตลาดพีซีในเรื่องที่ว่าอุตสาหกรรมพีซีจำเป็นต้องปรับ ระดับราคาเฉลี่ยให้สูงขึ้น อัลตร้าบุ๊กเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ผู้ผลิตทำแบบนั้นได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือราคาเฉลี่ยของ

อัลตร้าบุ๊กสูงเกินกว่าระดับ ที่จะดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจได้ แม้ต่อจากนี้ระดับราคาอัลตร้าบุ๊กจะลดลง แต่ผู้ผลิตยังจำเป็นต้องสื่อให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์อัลตร้าบุ๊ก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พกพาง่ายให้ได้

"เรื่องท้าทายสำคัญคือ ตอนนี้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมพีซีไม่ได้ทำงานร่วมกันอีกต่อไปแล้ว เพราะไมโครซอฟท์และอินเทลต่างพยายามผลักดันสายผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ผ่านระบบนิเวศของผู้ผลิตและช่องทางจำหน่าย (ผู้ค้าส่งและร้านค้าปลีก) ทั้งคู่ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วรูปแบบธุรกิจไม่ได้ต่างไปจากเดิม คือตัวแทนจำหน่ายเน้นขายสินค้าเป็นจำนวนมากแต่กำไรต่ำ ขณะที่ร้านค้าปลีกมีไว้สำหรับการเข้าถึงฐานผู้ใช้งาน"

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ตลาดรวมกำลังถดถอยนี้กลับเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญบางอย่างให้ เห็นในตลาดพีซี โดยข้อมูลจากการ์ทเนอร์ระบุว่า บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์สัญชาติจีน "เลอโนโว" ซึ่งซื้อส่วนธุรกิจพีซีของไอบีเอ็มไปตั้งแต่ปี 2547 ได้กลายเป็นผู้ผลิตพีซีที่ใหญ่ที่สุดในโลก แซงหน้าแบรนด์ "ฮิวเลตต์-แพคการ์ด" หรือเอชพีไปเรียบร้อย ด้วยยอดขายทั่วโลก 13.8 ล้านเครื่อง

ขณะที่ "เอชพี" ทำยอดขายได้ 13.6 ล้านเครื่อง สำหรับส่วนแบ่งการตลาดของ "เลอโนโว" ในตลาดพีซีโลกเพิ่มขึ้นจาก 13.1% ในไตรมาส 3 ของปีที่แล้วเป็น 15.7% ในไตรมาส 3 ปีนี้ แต่ข้อมูลของ "ไอดีซี" ระบุว่า ยอดขายของ "เอชพี" ในไตรมาส 3 ยังมากกว่าเลอโนโว โดย "เอชพี" สามารถทำยอดขายได้ 13.9 ล้านเครื่อง ครองส่วนแบ่งตลาด 15.9% ขณะที่เลอโนโวทำได้ 13.8 ล้านเครื่อง ครองส่วนแบ่งตลาด 15.7%

"เลอโน โว" เผยให้เห็นถึงสัญญาณการเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยมีอัตราการเติบโตถึง 10% หากเทียบจากเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ขณะที่แบรนด์อื่นอย่าง เอชพี, เดลล์ และเอเซอร์ ยอดขายมีอัตราการลดลงมากกว่าภาพรวมตลาดพีซี เว้นแต่แบรนด์ "เอซุส" ที่มีอัตราการเติบโตเทียบกับปีที่แล้วที่ 11.8% กลายเป็นแบรนด์คอมพิวเตอร์อันดับ 5 ในตลาดโลกขณะนี้

"ยาง หยวนควิง" ซีอีโอเลอโนโว ให้สัมภาษณ์ว่า เป้าหมายต่อจากนี้ของเลอโนโวคือการเป็นผู้นำในยุคพีซี ซึ่งรวมถึงคอมพิวเตอร์พีซี, แท็บเลต, สมาร์ทโฟน, สมาร์ททีวี, คลาวด์ และการประมวลผลคอมพิวเตอร์ในระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ โดยเมื่อปีที่แล้วเลอโนโวได้สร้างสายธุรกิจใหม่สำหรับเน้นการพัฒนาสมาร์ทโฟน แท็บเลต และสมาร์ททีวีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ

นอกจาก นี้ยังประกาศแผนการลงทุนประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 24,000 ล้านบาท ในโรงงานที่ประเทศจีนเพื่อพัฒนาและผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือ

สถานการณ์ตลาดพีซีโลกหลังการมาถึงของ "วินโดวส์ 8" จึงน่าจับตาอย่างยิ่ง


ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1350637613&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.