Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 สิงหาคม 2555 (เกาะติดประมูล 3G ) ดร.สมเกียรติ TDRI +++ เชื้อหรือ กสทช. กำหนดเพดาณคลื่นความถี่ จะป้องกันการ ฮั้วได้ !!!

(เกาะติดประมูล 3G ) ดร.สมเกียรติ TDRI +++ เชื้อหรือ กสทช. กำหนดเพดาณคลื่นความถี่ จะป้องกันการ ฮั้วได้ !!!


ประเด็นหลัก



ทั้งนี้ จะมีการกำหนดปริมาณคลื่นความถี่ที่โอเปอเรเตอร์(ผู้ให้บริการมือถือ )แต่ละรายจะสามารถประมูลได้ ไม่ให้เกิน 4 ชิ้น หรือ 20 MHz ซึ่งหมายความว่า โอเปอเรเตอร์ที่เข้าประมูลอาจได้คลื่น 20, 15, 10 หรือ 5 MHz แล้วแต่ผลการประมูล โดยตนไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้นัก เพราะไม่แน่ใจว่าจะสามารถป้องกันการ “ฮั้ว” หรือไม่ แต่ก็พอยอมรับได้ หากมีการกำหนดราคาประมูลตั้งต้นที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายในกรณีที่มีการฮั้วกันเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ท่าทีล่าสุดของ กสทช. มีแนวโน้มว่าจะลดปริมาณคลื่นสูงสุดที่โอเปอเรเตอร์แต่ละรายจะสามารถประมูล ได้จากเดิม20MHzให้เหลือไม่เกิน 15 MHz ซึ่งท่าทีดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเรียกร้องของกลุ่มโอเปอเรเตอร์ที่จะเข้า ประมูล ที่อ้างว่า การลดปริมาณคลื่นสูงสุดของแต่ละรายลงเหลือ 15 MHz เพื่อให้โอเปอร์เตอร์ 3ราย ได้คลื่นเท่ากันคือ 15 MHz จะได้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม และเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาประมูลสูงเกินไปจนทำให้ค่าบริกมารสูงเป็นภาระแก่ ผู้บริโภค


_________________________________________

นักวิชาการติงเงื่อนไขประมูล3G หวั่นเอื้อผู้ให้บริการมือถือ3ราย


ดร.สม เกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้เขียนบทความแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการคลื่นความถี่โทรศัพท์ 3G เมื่อวันที่ 17สิงหาคมว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะเปิดประมูลคลื่นความถี่ที่มีอยู่ 45 MHz ออกเป็น 9 ชิ้น (หรือ 9 สล็อต) ชิ้นละ 5 MHz โดยกำหนดราคาประมูลตั้งต้นไว้ที่ชิ้นละ 4,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ จะมีการกำหนดปริมาณคลื่นความถี่ที่โอเปอเรเตอร์(ผู้ให้บริการมือถือ )แต่ละรายจะสามารถประมูลได้ ไม่ให้เกิน 4 ชิ้น หรือ 20 MHz ซึ่งหมายความว่า โอเปอเรเตอร์ที่เข้าประมูลอาจได้คลื่น 20, 15, 10 หรือ 5 MHz แล้วแต่ผลการประมูล โดยตนไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้นัก เพราะไม่แน่ใจว่าจะสามารถป้องกันการ “ฮั้ว” หรือไม่ แต่ก็พอยอมรับได้ หากมีการกำหนดราคาประมูลตั้งต้นที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายในกรณีที่มีการฮั้วกันเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ท่าทีล่าสุดของ กสทช. มีแนวโน้มว่าจะลดปริมาณคลื่นสูงสุดที่โอเปอเรเตอร์แต่ละรายจะสามารถประมูล ได้จากเดิม20MHzให้เหลือไม่เกิน 15 MHz ซึ่งท่าทีดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเรียกร้องของกลุ่มโอเปอเรเตอร์ที่จะเข้า ประมูล ที่อ้างว่า การลดปริมาณคลื่นสูงสุดของแต่ละรายลงเหลือ 15 MHz เพื่อให้โอเปอร์เตอร์ 3ราย ได้คลื่นเท่ากันคือ 15 MHz จะได้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม และเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาประมูลสูงเกินไปจนทำให้ค่าบริกมารสูงเป็นภาระแก่ ผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม ดร.สมเกียรติ กลับมองว่า การที่ กสทช. จะลดปริมาณคลื่นสูงสุดที่โอเปอเรเตอร์แต่ละรายจะสามารถประมูลได้ลงเหลือ 15 MHz จะทำให้ไม่มีเรื่องที่ต้องแข่งขันกันอีกเลย เพราะโอเปอเรเตอร์3รายจะได้คลื่นไปเท่ากันคือ 15 MHz (รวม 45MHz)

ส่วน ราคาประมูลตั้งต้นซึ่ง กสทช. กำหนดไว้ที่ชิ้นละ 4,500 ล้านบาทนั้น ต่ำกว่ามูลค่าจริงที่มีการประมาณการไว้มาก การศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งสำนักงาน กสทช. เป็นผู้ว่าจ้างเอง ชี้ว่า มูลค่าของคลื่นดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 6,440 ล้านบาท ราคาประมูลตั้งต้นของ กสทช. จึงต่ำกว่ามูลค่าที่ประเมินไว้ถึงร้อยละ 30 ขณะที่โอเปอเรเตอร์ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐ

ส่วนการกำหนดราคา ประมูลสูงไม่ทำให้อัตราค่าบริการของผู้บริโภคแพงขึ้น เพราะปัจจัยที่กำหนดอัตราค่าบริการก็คือ ความสามารถในการจ่ายของผู้บริโภค (อุปสงค์) และสภาพการแข่งขันในตลาด (อุปทาน) โดยหากตลาดไม่มีการแข่งขัน ในขณะที่ผู้บริโภคมีกำลังจ่ายมาก แม้โอเปอเรเตอร์จะได้คลื่นความถี่ฟรี ก็จะไม่ทำให้ค่าบริการลดลงแต่อย่างใด เพราะโอเปอเรเตอร์ย่อมจะเก็บค่าบริการที่ทำให้ตนมีกำไรมากที่สุดอยู่นั่นเอง

แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/18680

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.