21 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) สว.โดดร่วมวง และเตรียมฟ้องปปช. ( นายไพบูลย์ ส.ว.สรรหา ชี้ กสทช. ไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องเร่งรีบ )
ประเด็นหลัก
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคมนี้ จะหารือกับวุฒิสภา และกรรมาธิการบางคน เพื่อออกหนังสือเตือนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เนื่องจากกระบวนการประมูล 3G ที่ผ่านมา พบว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชน และมีการรวบรัดในการประมูล โดยไม่สนคำทักท้วง ซึ่งตนเองมองว่าไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องเร่งรีบ อีกทั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ไม่มีอำนาจออกใบอนุญาตในการประมูลได้ เนื่องจากต้องเป็นอำนาจของ กสทช.โดยตรง จึงเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล ตามมาตรา 10 และอาจผิดต่อเนื่องถึง มาตรา 11 และมาตรา 12 ซึ่ง กสทช. ก็เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ดังกล่าว ด้วยเช่นกัน ตลอดจนในวันที่ 25 ตุลาคม จะเรียก กทค.ทั้ง 5 คน รวมถึงฝ่ายวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ตรวจการแผ่นดิน มาชี้แจ้งเรื่องดังกล่าวด้วย
"เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่า จะมีทำเรื่องถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจเต็มในการบังคับใช้ พรบ.ฮั้ว โดยจะขอให้มีการดำเนินการอย่างเข้มข้น กับ กรรมการ กทค. ผู้ที่ลงมติรับรองผลการประมูล 3จี ได้แก่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค., นายสุทธิพล ทวีชัยการ, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กทค. ทั้งนี้จะมีการดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ต.ค. นี้" นายไพบูลย์ กล่าว
____________________________________
"ไพบูลย์"เตรียมหารือ กมธ.สภาฯกรณีใบประมูล 3G จันทร์นี้
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคมนี้ จะหารือกับวุฒิสภา และกรรมาธิการบางคน เพื่อออกหนังสือเตือนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เนื่องจากกระบวนการประมูล 3G ที่ผ่านมา พบว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชน และมีการรวบรัดในการประมูล โดยไม่สนคำทักท้วง ซึ่งตนเองมองว่าไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องเร่งรีบ อีกทั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ไม่มีอำนาจออกใบอนุญาตในการประมูลได้ เนื่องจากต้องเป็นอำนาจของ กสทช.โดยตรง จึงเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล ตามมาตรา 10 และอาจผิดต่อเนื่องถึง มาตรา 11 และมาตรา 12 ซึ่ง กสทช. ก็เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ดังกล่าว ด้วยเช่นกัน ตลอดจนในวันที่ 25 ตุลาคม จะเรียก กทค.ทั้ง 5 คน รวมถึงฝ่ายวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ตรวจการแผ่นดิน มาชี้แจ้งเรื่องดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ นายไพบูลย์ ยังกล่าวว่า บุคคลที่จะสามารถยื่นทักท้วงได้ มี 2 ฝ่ายคือ คนใน กสทช.และเอกชนผู้ยื่นประมูล ซึ่งส่วนตัวมองว่าเอกชนไม่เข้ามาร้องเรียนอย่างแน่นอน จึงขอเตือนเอกชนว่าหากใบอนุญาตไม่สมบูรณ์ ทางเอกชนจะไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายจากภาครัฐได้
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000128627&Keyword=3g
___________________________________
สว.ฮึ่มฟ้องปปช. เชือ4กทค.ฮั้วประมูล 3 จี
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สว.สรรหา เปิดเผยว่า วันที่ ?22 ตุลาคม จะมีการหารือกับ สว. จำนวนหนึ่ง ที่มีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งส่อไปในทางไม่โปร่งใส และอาจขัดกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว แม้ว่าทาง กสทช. จะมีการชี้แจงข้อมูล แต่ยังคงพบประเด็นที่ส่อไปในทางมิชอบ เช่น การรีบเร่งรับรองการประมูล 3 จี ของคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) โดยไม่รับฟังข้อท้วงติงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่งท้วงติงในประเด็นการดำเนินการจัดประมูลโดยไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของการประมูล เนื่องจากมีการจัดสรรคลื่นความถี่ในจำนวนพอดีกับผู้ยื่นประมูล รวมทั้งมีการเสนอราคาน้อยครั้งเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่กำหนดให้มีการประมูล รวมถึงประเด็นการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4,500 ล้านบาท ทั้งที่ผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ควรมีราคาตั้งต้นที่ 6,440 ล้านบาท แต่ กสทช. กลับลดราคาตั้งต้นประมูลให้อยู่ที่ 4,500 ล้านบาท โดยอ้างเป็นราคาเริ่มต้นประมูล ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าคลื่น 67 เปอร์เซ็นต์ โดยความเห็นส่วนตัวมูลค่าการประมูลที่ได้ควรจะสูงกว่าราคาตั้งต้นที่ 6,440 ล้านบาท ไม่ใช่การลดราคาประมูลเหลือ 4,500 ต่อสลอตตามที่ กสทช. ได้ดำเนินการ
"เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่า จะมีทำเรื่องถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจเต็มในการบังคับใช้ พรบ.ฮั้ว โดยจะขอให้มีการดำเนินการอย่างเข้มข้น กับ กรรมการ กทค. ผู้ที่ลงมติรับรองผลการประมูล 3จี ได้แก่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค., นายสุทธิพล ทวีชัยการ, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กทค. ทั้งนี้จะมีการดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ต.ค. นี้" นายไพบูลย์ กล่าว
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1513244
________________________________
เตรียมยื่นปปช.สอบ3จียังวุ่นสว.โดดร่วมวงด้วย รองปลัดคลังสวนกลับ ยันตรวจสอบ กสทช.ได้ รักษาประโยชน์ของชาติ
ส.ว. เตรียมหารือที่ประชุมฯ กรณีประมูล 3จี เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล และ กทค.รีบให้การรับรองโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. เข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการเอาผิดได้หรือไม่ ส่วนรองปลัดคลัง สวนกลับ กสทช. แม้เป็นองค์กรอิสระทางการเมือง แต่จะต้องถูกตรวจสอบจากประชาชนด้วย โดยต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติด้วย เตรียมรายงานคณะกรรมการ ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ทราบในวันที่ 22 ต.ค.นี้ พร้อมส่งหนังสือ ให้ ป.ป.ช.เข้ามาตรวจสอบแล้ว ขณะที่ปลัดกระทรวงคลังยันไม่ได้ขวางประมูล 3จี ป้อง รองปลัดคลังทำตามหน้าที่ไม่มีเจตนาแฝง
ความคืบหน้ากรณีการประมูลคลื่น 3จี ที่มีหลายฝ่ายออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านว่ามีการฮั้วประมูล ไม่โปร่งใส ตามที่มีการเสนอข่าวไปแล้วนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ต.ค.55 นาย อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากโทรศัพท์สอบถาม น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการส่งหนังสือแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี นั้นไม่ได้มีเจตนาแอบแฝง เพียงแต่เป็นการแสดงความเห็นในฐานะประธานคณะกรรมการระเบียบพัสดุจัดซื้อจัดจ้างเท่านั้น กระทรวง การคลังจึงไม่กังวลต่อการแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ และไม่ถือว่ารองปลัดกระทรวงฯ ทำเกินหน้าที่แต่อย่างใด ทั้งนี้แม้ว่า กสทช.จะเป็นองค์กรอิสระ มีหน่วยงานควบคุมดูแล ทั้ง สตง. และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา ที่มีอำนาจโดยตรงมากกว่าในการทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้ แต่ต้องดูว่าเมื่อประมูล 3จี แล้วค่าใช้จ่ายด้านบริการของประชาชนจะถูกลงหรือไม่ ผู้บริโภคได้ประโยชน์อย่างไร
ด้าน น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระก็จริง แต่เป็นเพียงอิสระจากการแทรกแซงทางการเมืองโดยรัฐบาล แต่ไม่ได้เป็นอิสระจากการตรวจสอบของประชาชน และต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยในวันจันทร์ที่ 22 ต.ค.นี้ จะรายงานให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทราบ ทั้งนี้ได้ส่งหนังสือให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อตรวจสอบต่อไปแล้ว
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้หนังสือท้วงติงจาก น.ส.สุภา ในฐานะประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งถึงประธาน กสทช. ระบุว่า การประมูลใบอนุญาต 3จี ที่ผ่านมา ไม่เข้าข่ายการประมูลแบบอีออคชั่น เพราะสินค้าที่ขาย หรือคลื่นความถี่มีจำนวนเท่ากับผู้ซื้อ จึงไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริง ขณะที่คลื่นความถี่ ถือเป็นทรัพยากรจำกัดและเป็นของมีค่า หากการจัดสรรไม่เหมาะสม หรืออาจมีลักษณะสมยอมราคาตามความผิดของพระราชบัญญัติฮั้วประมูล จะทำให้รัฐเสียรายได้มหาศาล
ด้าน คณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวสามารถชี้แจงได้ เพราะเป็นการประมูลตามพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่ใช่ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีออคชั่น อีกทั้ง กสทช. เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมาย
วันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ในการประชุมวุฒิสภา วันที่ 22 ต.ค. จะมีการหารือกับ ส.ว.จำนวนหนึ่ง ซึ่งเห็นตรงกันถึงประเด็นการประมูลคลื่นความถี่ 3จี ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ส่อไปในทางไม่โปร่งใสและมีการกระทำที่ส่อว่าจะขัดกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) แม้ว่าทาง กสทช. จะมีการชี้แจงข้อมูล แต่ยังคงพบประเด็นที่ส่อไปในทางมิชอบ เช่น การรีบเร่งรับรองการประมูล 3จี ของคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) โดยไม่มีการรับฟังข้อท้วงติงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่งท้วงติงในประเด็นการดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3จี ที่ไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประมูลทั้ง 3 ราย มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นน้อยครั้งเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่กำหนดให้มีการประมูล และคลื่นความถี่ที่ประมูลมีจำนวนพอดีกับผู้เสนอราคาที่สามารถจัดสรรได้รายละ 3 สล็อต รวมถึงประเด็นการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4,500 ล้านบาท ทั้งที่ผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ควรมีราคาตั้งต้นที่ 6,440 ล้านบาท แต่ กสทช. กลับลดราคาตั้งต้นประมูลให้อยู่ที่ 4,500 ล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นราคาเริ่มต้นประมูลซึ่งต่ำกว่ามูลค่าคลื่น 67 เปอร์เซ็นต์ โดยความเห็นส่วนตัว มูลค่าการประมูลที่ได้ควรจะสูงกว่าราคาตั้งต้นที่ 6,440 ล้านบาท ไม่ใช่การลดราคาประมูลเหลือ 4,500 ต่อสล็อต ตามที่ กสทช. ได้ดำเนินการ
เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่าจะมีทำเรื่องถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจเต็มในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฮั้ว โดยจะขอให้มีการดำเนินการอย่างเข้มข้นกับกรรมการ กทค. ผู้ที่ลงมติรับรองผลการประมูล 3จี ได้แก่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค., นายสุทธิพล ทวีชัยการ, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และ พล.อ.สุกิจ เขมะสุนทร กรรมการ กทค. ทั้งนี้จะมีการแจ้งประเด็นที่จะดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ต.ค.นี้
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1513366
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคมนี้ จะหารือกับวุฒิสภา และกรรมาธิการบางคน เพื่อออกหนังสือเตือนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เนื่องจากกระบวนการประมูล 3G ที่ผ่านมา พบว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชน และมีการรวบรัดในการประมูล โดยไม่สนคำทักท้วง ซึ่งตนเองมองว่าไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องเร่งรีบ อีกทั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ไม่มีอำนาจออกใบอนุญาตในการประมูลได้ เนื่องจากต้องเป็นอำนาจของ กสทช.โดยตรง จึงเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล ตามมาตรา 10 และอาจผิดต่อเนื่องถึง มาตรา 11 และมาตรา 12 ซึ่ง กสทช. ก็เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ดังกล่าว ด้วยเช่นกัน ตลอดจนในวันที่ 25 ตุลาคม จะเรียก กทค.ทั้ง 5 คน รวมถึงฝ่ายวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ตรวจการแผ่นดิน มาชี้แจ้งเรื่องดังกล่าวด้วย
"เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่า จะมีทำเรื่องถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจเต็มในการบังคับใช้ พรบ.ฮั้ว โดยจะขอให้มีการดำเนินการอย่างเข้มข้น กับ กรรมการ กทค. ผู้ที่ลงมติรับรองผลการประมูล 3จี ได้แก่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค., นายสุทธิพล ทวีชัยการ, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กทค. ทั้งนี้จะมีการดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ต.ค. นี้" นายไพบูลย์ กล่าว
____________________________________
"ไพบูลย์"เตรียมหารือ กมธ.สภาฯกรณีใบประมูล 3G จันทร์นี้
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคมนี้ จะหารือกับวุฒิสภา และกรรมาธิการบางคน เพื่อออกหนังสือเตือนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เนื่องจากกระบวนการประมูล 3G ที่ผ่านมา พบว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชน และมีการรวบรัดในการประมูล โดยไม่สนคำทักท้วง ซึ่งตนเองมองว่าไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องเร่งรีบ อีกทั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ไม่มีอำนาจออกใบอนุญาตในการประมูลได้ เนื่องจากต้องเป็นอำนาจของ กสทช.โดยตรง จึงเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล ตามมาตรา 10 และอาจผิดต่อเนื่องถึง มาตรา 11 และมาตรา 12 ซึ่ง กสทช. ก็เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ดังกล่าว ด้วยเช่นกัน ตลอดจนในวันที่ 25 ตุลาคม จะเรียก กทค.ทั้ง 5 คน รวมถึงฝ่ายวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ตรวจการแผ่นดิน มาชี้แจ้งเรื่องดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ นายไพบูลย์ ยังกล่าวว่า บุคคลที่จะสามารถยื่นทักท้วงได้ มี 2 ฝ่ายคือ คนใน กสทช.และเอกชนผู้ยื่นประมูล ซึ่งส่วนตัวมองว่าเอกชนไม่เข้ามาร้องเรียนอย่างแน่นอน จึงขอเตือนเอกชนว่าหากใบอนุญาตไม่สมบูรณ์ ทางเอกชนจะไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายจากภาครัฐได้
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000128627&Keyword=3g
___________________________________
สว.ฮึ่มฟ้องปปช. เชือ4กทค.ฮั้วประมูล 3 จี
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สว.สรรหา เปิดเผยว่า วันที่ ?22 ตุลาคม จะมีการหารือกับ สว. จำนวนหนึ่ง ที่มีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งส่อไปในทางไม่โปร่งใส และอาจขัดกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว แม้ว่าทาง กสทช. จะมีการชี้แจงข้อมูล แต่ยังคงพบประเด็นที่ส่อไปในทางมิชอบ เช่น การรีบเร่งรับรองการประมูล 3 จี ของคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) โดยไม่รับฟังข้อท้วงติงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่งท้วงติงในประเด็นการดำเนินการจัดประมูลโดยไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของการประมูล เนื่องจากมีการจัดสรรคลื่นความถี่ในจำนวนพอดีกับผู้ยื่นประมูล รวมทั้งมีการเสนอราคาน้อยครั้งเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่กำหนดให้มีการประมูล รวมถึงประเด็นการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4,500 ล้านบาท ทั้งที่ผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ควรมีราคาตั้งต้นที่ 6,440 ล้านบาท แต่ กสทช. กลับลดราคาตั้งต้นประมูลให้อยู่ที่ 4,500 ล้านบาท โดยอ้างเป็นราคาเริ่มต้นประมูล ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าคลื่น 67 เปอร์เซ็นต์ โดยความเห็นส่วนตัวมูลค่าการประมูลที่ได้ควรจะสูงกว่าราคาตั้งต้นที่ 6,440 ล้านบาท ไม่ใช่การลดราคาประมูลเหลือ 4,500 ต่อสลอตตามที่ กสทช. ได้ดำเนินการ
"เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่า จะมีทำเรื่องถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจเต็มในการบังคับใช้ พรบ.ฮั้ว โดยจะขอให้มีการดำเนินการอย่างเข้มข้น กับ กรรมการ กทค. ผู้ที่ลงมติรับรองผลการประมูล 3จี ได้แก่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค., นายสุทธิพล ทวีชัยการ, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กทค. ทั้งนี้จะมีการดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ต.ค. นี้" นายไพบูลย์ กล่าว
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1513244
________________________________
เตรียมยื่นปปช.สอบ3จียังวุ่นสว.โดดร่วมวงด้วย รองปลัดคลังสวนกลับ ยันตรวจสอบ กสทช.ได้ รักษาประโยชน์ของชาติ
ส.ว. เตรียมหารือที่ประชุมฯ กรณีประมูล 3จี เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ฮั้วประมูล และ กทค.รีบให้การรับรองโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. เข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการเอาผิดได้หรือไม่ ส่วนรองปลัดคลัง สวนกลับ กสทช. แม้เป็นองค์กรอิสระทางการเมือง แต่จะต้องถูกตรวจสอบจากประชาชนด้วย โดยต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติด้วย เตรียมรายงานคณะกรรมการ ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ทราบในวันที่ 22 ต.ค.นี้ พร้อมส่งหนังสือ ให้ ป.ป.ช.เข้ามาตรวจสอบแล้ว ขณะที่ปลัดกระทรวงคลังยันไม่ได้ขวางประมูล 3จี ป้อง รองปลัดคลังทำตามหน้าที่ไม่มีเจตนาแฝง
ความคืบหน้ากรณีการประมูลคลื่น 3จี ที่มีหลายฝ่ายออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านว่ามีการฮั้วประมูล ไม่โปร่งใส ตามที่มีการเสนอข่าวไปแล้วนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ต.ค.55 นาย อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากโทรศัพท์สอบถาม น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการส่งหนังสือแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี นั้นไม่ได้มีเจตนาแอบแฝง เพียงแต่เป็นการแสดงความเห็นในฐานะประธานคณะกรรมการระเบียบพัสดุจัดซื้อจัดจ้างเท่านั้น กระทรวง การคลังจึงไม่กังวลต่อการแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ และไม่ถือว่ารองปลัดกระทรวงฯ ทำเกินหน้าที่แต่อย่างใด ทั้งนี้แม้ว่า กสทช.จะเป็นองค์กรอิสระ มีหน่วยงานควบคุมดูแล ทั้ง สตง. และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา ที่มีอำนาจโดยตรงมากกว่าในการทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้ แต่ต้องดูว่าเมื่อประมูล 3จี แล้วค่าใช้จ่ายด้านบริการของประชาชนจะถูกลงหรือไม่ ผู้บริโภคได้ประโยชน์อย่างไร
ด้าน น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระก็จริง แต่เป็นเพียงอิสระจากการแทรกแซงทางการเมืองโดยรัฐบาล แต่ไม่ได้เป็นอิสระจากการตรวจสอบของประชาชน และต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยในวันจันทร์ที่ 22 ต.ค.นี้ จะรายงานให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทราบ ทั้งนี้ได้ส่งหนังสือให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อตรวจสอบต่อไปแล้ว
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้หนังสือท้วงติงจาก น.ส.สุภา ในฐานะประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งถึงประธาน กสทช. ระบุว่า การประมูลใบอนุญาต 3จี ที่ผ่านมา ไม่เข้าข่ายการประมูลแบบอีออคชั่น เพราะสินค้าที่ขาย หรือคลื่นความถี่มีจำนวนเท่ากับผู้ซื้อ จึงไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริง ขณะที่คลื่นความถี่ ถือเป็นทรัพยากรจำกัดและเป็นของมีค่า หากการจัดสรรไม่เหมาะสม หรืออาจมีลักษณะสมยอมราคาตามความผิดของพระราชบัญญัติฮั้วประมูล จะทำให้รัฐเสียรายได้มหาศาล
ด้าน คณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวสามารถชี้แจงได้ เพราะเป็นการประมูลตามพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่ใช่ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีออคชั่น อีกทั้ง กสทช. เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมาย
วันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ในการประชุมวุฒิสภา วันที่ 22 ต.ค. จะมีการหารือกับ ส.ว.จำนวนหนึ่ง ซึ่งเห็นตรงกันถึงประเด็นการประมูลคลื่นความถี่ 3จี ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ส่อไปในทางไม่โปร่งใสและมีการกระทำที่ส่อว่าจะขัดกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) แม้ว่าทาง กสทช. จะมีการชี้แจงข้อมูล แต่ยังคงพบประเด็นที่ส่อไปในทางมิชอบ เช่น การรีบเร่งรับรองการประมูล 3จี ของคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) โดยไม่มีการรับฟังข้อท้วงติงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่งท้วงติงในประเด็นการดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3จี ที่ไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประมูลทั้ง 3 ราย มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นน้อยครั้งเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่กำหนดให้มีการประมูล และคลื่นความถี่ที่ประมูลมีจำนวนพอดีกับผู้เสนอราคาที่สามารถจัดสรรได้รายละ 3 สล็อต รวมถึงประเด็นการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4,500 ล้านบาท ทั้งที่ผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ควรมีราคาตั้งต้นที่ 6,440 ล้านบาท แต่ กสทช. กลับลดราคาตั้งต้นประมูลให้อยู่ที่ 4,500 ล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นราคาเริ่มต้นประมูลซึ่งต่ำกว่ามูลค่าคลื่น 67 เปอร์เซ็นต์ โดยความเห็นส่วนตัว มูลค่าการประมูลที่ได้ควรจะสูงกว่าราคาตั้งต้นที่ 6,440 ล้านบาท ไม่ใช่การลดราคาประมูลเหลือ 4,500 ต่อสล็อต ตามที่ กสทช. ได้ดำเนินการ
เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่าจะมีทำเรื่องถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจเต็มในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฮั้ว โดยจะขอให้มีการดำเนินการอย่างเข้มข้นกับกรรมการ กทค. ผู้ที่ลงมติรับรองผลการประมูล 3จี ได้แก่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค., นายสุทธิพล ทวีชัยการ, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และ พล.อ.สุกิจ เขมะสุนทร กรรมการ กทค. ทั้งนี้จะมีการแจ้งประเด็นที่จะดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ต.ค.นี้
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1513366
ไม่มีความคิดเห็น: