Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) สุริยะใสแฉกสทช.ดันทุรัง3G// กรณ์ ชี้สังคมไทยขอให้กูได้มี 3G ใช้ //มัลลิกาชี้ทำรัฐเสียหาย 6.78 แสนลบ.

ประเด็นหลัก

สุริยะใส

ข้ออ้างที่ว่า กสทช.เป็นองค์กรอิสระไม่มีใครสามารถแทรกแซงได้นั้น ต้องถามกลับว่า กสทช.ทั้ง 4 ท่านตีความคำว่าอิสระอย่างไร แค่ไหน แม้รัฐธรรมนูญจะมีเจตนารมณ์ให้เป็นองค์กรอิสระ แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นรัฐอิสระที่อยู่เหนือการควบคุมตรวจสอบจากรัฐธรรมนูญและจากสังคม ถ้าหลงเข้าใจว่าอิสระโดยไม่สนใจการตรวจสอบวิพาก์วิจารณ์จากสังคม ก็ถือเป็นเรื่องอันตรายเพราะสุดท้ายองค์กรจะไม่ยึดโยงกับผลประโยชน์ของสาธารณะ เพราะถือเอาตัวเองคือความถูกต้องสูงสุด
     
      นายสุริยะใสกล่าวว่า องค์กรอิสระต้องอิสระจากการแทรกแซงครอบงำของรัฐและทุน แต่ต้องยึดโยงกับประชาชน ไม่ใช่อิสระจากรัฐและประชาชนแต่ถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนก็จะมีปัญหาในระยะยาว ทั้งนี้กลางสัปดาห์หน้ากลุ่มกรีนและเครือข่ายภาคประชาชนหลายองค์กรจะจัดสัมนาเพื่อประเมินผลงาน กสทช.และการตรวจสอบการประมูล 3G


กรณ์ จาติกวณิช

ผมมองว่า ที่เราบ่นๆมาตลอดว่า สังคมเราเป็นอะไร ที่มีเยาวชนจำนวนมากถึง 70-80% ออกมาบอกว่า โกงได้แต่ขอให้ตนได้ประโยชน์นั้น ไม่ได้ต่างกับการบอกว่า ฮั้วก็ฮั้วไป ขอให้กูได้มี 3G ใช้



น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ที่สำคัญเมื่อเทียบกับสัมปทานที่บมจ. ทีโอที และบมจ. กสท โทรคมนาคม เคยทำไว้คือ 15 ปี โดยแต่ละปีทั้ง 2 บริษัทจะต้องส่งเงินให้รัฐปีละ 48,000 ล้านบาท เมื่อรวม 15 ปี รัฐจะได้รับเงินจำนวนกว่า 720,000 ล้านบาท แต่ กสทช.กลับให้ทั้ง 3 บริษัทประมูลได้ราคารวมกัน 42,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 15 ปี ซึ่งทำให้รัฐสูญเสียรายได้และเสียหายกว่า 678,000 ล้านบาท





____________________________________


“สุริยะใส” แฉ กสทช.ดันทุรังประมูล 3จี เมินคำแนะนำ ป.ป.ช.ป้องกันฮั้ว


“สุริยะใส” เผย ป.ป.ช.เคยศึกษาสูตรประมูล 3G ชี้ N-1 ป้องกันการฮั้วได้ และส่งรายงานศึกษาให้ กสทช.ชุดนี้ดูแล้วแต่กลับปฏิเสธ และคิดสูตรใหม่แทน ย้ำจันทร์นี้ยื่น ป.ป.ช.-ผู้ตรวจฯ สอบฮั้วประมูล เตรียมจัดเวทีระดมประชาชน ประเมินผลงาน กสทช.
     
      นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า พฤติกรรม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทั้ง 4 คนที่มีมติรับรองผลการประมูล 3G ลุกลี้ลุกลนผิดปกติส่อพิรุธมากทีเดียว โดยเฉพาะท่วงทำนองที่ไม่ฟังเสียงทักท้วงใดๆ จากสังคม แม้แต่ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของตัวเองและรองปลัดกระทรวงการคลังที่ออกมาเสนอความเห็นเรื่องนี้
     
      ข้ออ้างที่ว่า กสทช.เป็นองค์กรอิสระไม่มีใครสามารถแทรกแซงได้นั้น ต้องถามกลับว่า กสทช.ทั้ง 4 ท่านตีความคำว่าอิสระอย่างไร แค่ไหน แม้รัฐธรรมนูญจะมีเจตนารมณ์ให้เป็นองค์กรอิสระ แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นรัฐอิสระที่อยู่เหนือการควบคุมตรวจสอบจากรัฐธรรมนูญและจากสังคม ถ้าหลงเข้าใจว่าอิสระโดยไม่สนใจการตรวจสอบวิพาก์วิจารณ์จากสังคม ก็ถือเป็นเรื่องอันตรายเพราะสุดท้ายองค์กรจะไม่ยึดโยงกับผลประโยชน์ของสาธารณะ เพราะถือเอาตัวเองคือความถูกต้องสูงสุด
     
      นายสุริยะใสกล่าวว่า องค์กรอิสระต้องอิสระจากการแทรกแซงครอบงำของรัฐและทุน แต่ต้องยึดโยงกับประชาชน ไม่ใช่อิสระจากรัฐและประชาชนแต่ถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนก็จะมีปัญหาในระยะยาว ทั้งนี้กลางสัปดาห์หน้ากลุ่มกรีนและเครือข่ายภาคประชาชนหลายองค์กรจะจัดสัมนาเพื่อประเมินผลงาน กสทช.และการตรวจสอบการประมูล 3G
     
      สำหรับการยื่น ป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อตรวจสอบการประมูล 3G ในวันจันทร์นี้ จะขอให้ทั้ง 2 องค์กรเร่งรัดเป็นกรณีพิเศษเพราะเรื่องนี้ยิ่งปล่อยช้ายิ่งจะทำให้เกิดความเสียหายและยุ่งยากซับซ้อนเข้าไปอีก ในส่วนของ ป.ป.ช.เชื่อว่าตามเรื่องนี้และมีข้อมูลมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เพราะ ปปช.เคยตั้งอนุกรรมการป้องกันการทุจริตด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมี ศาสตราจารย์เมธี ครองแก้ว กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ ได้ศึกษา วิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่และการออกใบอนุญาตโทรศัพท์ 3G ในสูตร N-1 ที่เป็นสูตรการประมูลครั้งที่แล้ว ที่กำหนดให้ออกใบอนุญาต จำนวน N-1 ใบ หรือน้อยกว่าจำนวนผู้เข้าร่วม ประมูล 1 ใบนั้น หากมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียง 3 ราย จะทำให้มีการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการ 3G เพียง 2 ใบเพื่อให้เกิดการแข่งขันกันจริง ซึ่ง ป.ป.ช.ชี้ว่าถ้าเป็นสูตรนี้จะป้องกันการฮั้ว หรือการสมยอมราคาได้ และ ป.ป.ช.ยังให้นำรายงานนี้ให้ กสทช.ชุดนี้ไปศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการจัดประมูล 3G แต่ กสทช.ชุดนี้กลับไม่สนใจคำแนะนำของ ป.ป.ช. โดยกำหนดสูตรขึ้นมาใหม่จนเป็นที่วิจารณ์ว่ามีการฮั้วกัน

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000128647&Keyword=3g

___________________________________

“กรณ์” พ้อ “ฮั้ว” แลกใช้ 3จี ถามสังคมยอมแพ้ปราบโกงแล้วหรือ


อดีต รมว.คลัง เหนื่อยใจตรรกะฮั้วได้แต่ขอให้มี 3G ใช้ ตัดพ้อถามสังคมเรายอมแพ้เรื่องคอร์รัปชันแล้วใช่หรือไม่ ยกคำรองปลัดคลังวิจารณ์ กสทช.ขวางโลกแต่น่าสนับสนุน
     
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง Korn Chatikavanij โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่าด้วยเรื่อง 3G ว่า “เมื่อวานผมคุยอยู่กับเพื่อนเรื่องการประมูลใบอนุญาต 3G เพื่อนบอกว่า ใครๆก็รู้อยู่แล้วว่ามันจะต้องมีการฮั้ว แต่ถ้าดูภาพใหญ่ผลประโยชน์ของประเทศ ต้องสรุปว่าถึงมันจะฮั้วกันจริง แต่อย่างน้อยเราก็จะได้ 3G เสียที ยังดีกว่าไม่มีการประมูล หรือแม้แต่ให้ไปประมูลใหม่ และผมคิดว่าที่เพื่อนผมพูดนั้น น่าจะเป็นกระแสหลักสังคม
     
      และด้วยเหตุนั้น นักการเมืองจึงเงียบมากกับเรื่องนี้ ใครได้เห็น รมต.ไอซีที ออกมาแสดงความคิดเห็นบ้างไหมครับ แม้แต่ฝ่ายค้านก็รู้สึกว่า หากออกมาพูดมากแล้วจะ 'เปลืองตัว' เพราะนักการเมืองเกาะติดกระแสสังคม และความต้องการของประชาชนอยู่แล้ว และเรารู้ว่าใครไปทำอะไรให้ประชาชนไม่ได้ใช้ 3G ก็จะถูกด่า เสียคะแนน
     
      ผมมองว่า ที่เราบ่นๆมาตลอดว่า สังคมเราเป็นอะไร ที่มีเยาวชนจำนวนมากถึง 70-80% ออกมาบอกว่า โกงได้แต่ขอให้ตนได้ประโยชน์นั้น ไม่ได้ต่างกับการบอกว่า ฮั้วก็ฮั้วไป ขอให้กูได้มี 3G ใช้
     
      เพื่อนผม และประชาชนทั่วไปคิดอย่างนี้ผิดไหม ก็ไม่ผิด ถ้าข้อเท็จจริงคือ ประชาชนไม่มีทางอื่นที่จะได้ประโยชน์ ถ้าเราไม่ยอมแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้กับผู้ที่มีอำนาจที่จะให้ประโยชน์กับเรา ไม่ว่าจะเป็นระดับค่าขนม ไปจนถึงค่าทีมฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ
     
      แต่คำถามคือ เราจำเป็นต้องยอมรับ 'ข้อเท็จจริง' นี้จริงหรือเปล่า สังคมเรายอมแพ้เรื่องคอร์รัปชั่นแล้วใช่หรือไม่ และต้องคิดให้ดีก่อนตอบนะครับ เพราะ 'สังคม' ไม่ใช่ใครคนอื่น สังคมคือคุณ คือผม คือเรานั่นเอง ดังนั้นคำถามคือ คุณยอมต้องเดือดร้อนแค่ไหน เพื่อต่อสู้การโกงกิน ยอมไปโรงพักแทนจ่ายตำรวจจราจรหรือไม่ ยอมที่จะไม่ได้สร้างบ้านแบบคนอื่นเขาแทนที่จะจ่ายให้สำนักงานเขตไหม ยอมที่จะให้ลูกไม่ได้เรียนแทนที่จะจ่ายให้ใครก็แล้วแต่หรือไม่
     
      ข้อเท็จจริงคือ เราไม่ค่อยยอมอดทนกันดอกครับ เพราะเรารู้สึกว่าอดทนไปก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นแถมเราต้องเสียประโยชน์และโอกาสอีก วันนี้ คนไทยปรับตัวให้อยู่กับคอร์รัปชั่น และดูเหมือนจะเลิกคิดที่จะกำจัดคอร์รัปชั่นแล้ว
     
      แต่ก็ยังไม่ใช่ทุกคนครับที่คิดแบบนี้ ผมขอยกข่าวข้างล่างนี้ เป็นคำพูดของคุณ"สุภา ปิยะจิตติ" รองปลัดกระทรวงการคลัง เคยทำงานร่วมกับผมมา ความคิดของคุณสุภาบางๆครั้งอาจจะไม่ถูกต้อง แต่ที่กระทรวง ทุกๆ คนจะเคารพในความเที่ยงตรงโดยไม่หวังประโยชน์ตอบแทนของท่าน (ผมเคยเสนอให้ท่านเป็นตัวเลือกที่จะได้เป็นปลัดกระทรวง แต่ท่านขอถอนตัว และขอเพียงได้ทำงานที่ถนัด)
     
      รองปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า “กสทช.เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระก็จริง แต่เป็นเพียงการเป็นอิสระจากการแทรกแซงทางการเมืองโดยรัฐบาล ไม่ได้อิสระจากการตรวจสอบของประชาชน รวมทั้งมีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ และการที่ กสทช.เป็นองค์กรอิสระ ยิ่งต้องมีธรรมาภิบาลมากกว่าองค์กรของรัฐอื่นๆ ดังนั้น การจัดการประมูลโดยที่ไม่ได้มีการสร้างเงื่อนไขการประมูลที่จูงใจให้เอกชนที่เข้าร่วมประมูลเสนอราคาแข่งขันกัน ย่อมมีโอกาสที่จะเข้าข่ายการสมยอมราคาหรือฮั้วประมูล
     
      ดิฉันพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้ดำเนินการไป เพราะถือว่าได้ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติแล้ว โดยในวันจันทร์ที่ 22 ต.ค. จะรายงานเรื่องนี้ให้ที่ประชุม กวพ.อ.ทราบตามระเบียบ ทั้งนี้ ได้ส่งหนังสือเรื่องเดียวกันให้ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อตรวจสอบต่อไปแล้ว”
     
      นี่เป็นคำพูดและการกระทำของคนที่ขวางโลก และเป็นอุปสรรคต่อความเจริญ หรือเป็นคำพูดของคนที่เราควรต้องปกป้อง และสนับสนุนครับ
     
      ดูเหมือนตอบง่ายเพราะคำตอบของเราก็คือแค่คำพูด แต่เอาเข้าจริงเราหนักแน่นแค่ไหนครับ...
     
      และคำตอบที่แท้จริงของพวกเราจะเป็นตัวชี้ว่าสังคมไทยในยุคนี้ และในยุคลูกหลานของเราจะเป็นอย่างไร

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000128713&Keyword=3g

_____________________________________



ปชป.จี้ กสทช.รับผิดชอบผลประมูลคลื่น 3G ทำรัฐเสียหาย 6.78 แสนลบ.


น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประมูลสัมปทานระบบ 3G โดยตั้งข้อสังเกตว่า มีการสมยอมราคากันหรือไม่ เพราะการประมูลดังกล่าว ไม่ได้แข่งขันราคาอย่างจริงจัง และเห็นว่าไม่มีการแข่งขันราคาหรือประมูลในราคาที่น้อยเกินไป กสทช. ควรใช้สิทธิยกเลิกประมูลได้ แต่กลับปล่อยให้ก่อนิติกรรมอย่างรวบรัด และ 3 บริษัทที่ประมูลได้รีบจ่ายเงินทันทีร้อยละ 50 ทั้งที่มีเวลาพิจารณาไม่เกิน 90 วัน



นอกจากนี้ คณะกรรมการเสียงข้างมากก็ไม่ควรลงมติรับรอง ทั้งที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติการณ์การประมูลราคา ซึ่งอาจส่งผลให้มติของ กสทช. ขัดต่อกฎหมายได้

ที่สำคัญเมื่อเทียบกับสัมปทานที่บมจ. ทีโอที และบมจ. กสท โทรคมนาคม เคยทำไว้คือ 15 ปี โดยแต่ละปีทั้ง 2 บริษัทจะต้องส่งเงินให้รัฐปีละ 48,000 ล้านบาท เมื่อรวม 15 ปี รัฐจะได้รับเงินจำนวนกว่า 720,000 ล้านบาท แต่ กสทช.กลับให้ทั้ง 3 บริษัทประมูลได้ราคารวมกัน 42,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 15 ปี ซึ่งทำให้รัฐสูญเสียรายได้และเสียหายกว่า 678,000 ล้านบาท

"รายได้ที่หายไปจำนวนมหาศาล กสทช. จะชดเชยตรงนี้อย่างไร เพราะเป็นเงินที่จะใช้ในการนำไปพัฒนาประเทศ เพื่อประโยชน์ประชาชน และราคาประมูลที่ถูกมาก จึงไม่ต้องสงสัยว่าเอกชนที่ชนะประมูลจะถอนทุนคืนภายใน 1 ปี และหลังจากนั้น 14 ปี คือกำไรมหาศาล จึงขอตั้งข้อสังเกตว่ามีใครบางคนที่ไปนั่งเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทเอกชนบางราย และอยากให้กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้เสียหายเกี่ยวกับการประมูล 3G ดำเนินการกับ กสทช.อย่างจริงจังด้วย" น.ส.มัลลิกา กล่าว.

--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq02/1513264

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.