Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 มกราคม 2555 ( กรุงเทพธุรกิจ เปิดใจ )2 ซีอีโอ มินิแบร์-ดับบลิวดี ลั่นไทยยังเด่นฐานผลิตอิเล็กฯโลก ( ผลิตฮาร์ดดิสก์ )

( กรุงเทพธุรกิจ เปิดใจ )2 ซีอีโอ มินิแบร์-ดับบลิวดี ลั่นไทยยังเด่นฐานผลิตอิเล็กฯโลก ( ผลิตฮาร์ดดิสก์ )


ประเด็นหลัก

"กรุงเทพไอที" ถ่ายทอด ทัศนะของ 2 ซีอีโอแห่งอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลก "จอห์น เอฟ คอยน์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล คอร์ป (ดับบลิวดี) และ "โยชิฮิสะ คาอินูมะ" ประธานและซีอีโอบริษัท มินีแบไทย จำกัด ถึงการยืนหยัดของธุรกิจท่ามกลางปัญหาภัยพิบัติ และความผันแปรของโลกเศรษฐกิจ

ดับบลิวดี ยังเดินหน้าลงทุนไทยต่อ

"คอยน์" เล่าว่า 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์แข่งขันกันสูงมาก มีบริษัทผลิตฮาร์ดดิสก์มากกว่า 20 บริษัท กระทั่งปัจจุบันเหลือแต่เพียงรายใหญ่ไม่เกิน 4 บริษัท ดับบลิวดี ครองส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ 10% กระทั่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาด 32%

บริษัท มีฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในไทยกว่า 40-45% ของฮาร์ดดิสก์ทั้งโลกส่งออกจากไทย ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ของบริษัทๆ จึงยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ ทำวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถูกผลักดันมาจากความต้องการฮาร์ดดิสก์ของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น

คอยน์ เป็นหนึ่งในผู้บริหารที่เข้ามาดูโรงงานดับบลิวดีในนิคมบางปะอินที่ถูกน้ำ ท่วมสูงกว่า 6 ฟุต คอยติดตาม สั่งการ หาวิธี เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ที่จะบรรเทาความสูญเสียจากสายการผลิตที่ได้รับผลกระทบ

"ผมชื่นชมจิตใจของคนไทย โดยเฉพาะคนงานไทย ที่ตั้งใจจะก้าวให้พ้นภาวะยากลำบากเหล่านั้น"


_________________________________________________________

2 ซีอีโอ มินิแบร์-ดับบลิวดี ลั่นไทยยังเด่นฐานผลิตอิเล็กฯโลก



ยักษ์อิเล็กทรอนิกส์โลกเลือก "ไทย" เป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกไปทั่วโลก มูลค่าตลาดรวมมหาศาลกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี


มูลค่า ตลาดรวมๆ ของ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไทยมีมหาศาล 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี ยักษ์อิเล็กทรอนิกส์โลกเลือก "ไทย" เป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกไปทั่วโลก ส่งผลให้อัตราเติบโตของอุตสาหกรรมนี้มีมากกว่า 10% ทุกปี

ปี 2554 ถือว่าเป็นปีที่ยากลำบาก สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุทกภัยครั้งใหญ่สร้างความเสียหายให้นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในประเทศ หนึ่งในนั้น คือ แหล่งผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำคัญ

"ดับบลิวดี" ผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ระดับโลก ที่มีฐานผลิตใหญ่ในไทย ถูกน้ำท่วมโรงงานเสียหายไปมากกว่า 8,000 ล้านบาท ขณะที่ "มินิแบ" ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ด้านตลับลูกปืน และเครื่องยนต์ขนาดเล็ก แม้ไม่ได้อยู่ในนิคมใดก็ไม่รอดจากพิษน้ำท่วม แม้ก่อนหน้านี้พนักงานจะวางแผนตั้งทำนบกั้นน้ำไว้ได้

"กรุงเทพไอที" ถ่ายทอด ทัศนะของ 2 ซีอีโอแห่งอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลก "จอห์น เอฟ คอยน์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล คอร์ป (ดับบลิวดี) และ "โยชิฮิสะ คาอินูมะ" ประธานและซีอีโอบริษัท มินีแบไทย จำกัด ถึงการยืนหยัดของธุรกิจท่ามกลางปัญหาภัยพิบัติ และความผันแปรของโลกเศรษฐกิจ

ดับบลิวดี ยังเดินหน้าลงทุนไทยต่อ

"คอยน์" เล่าว่า 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์แข่งขันกันสูงมาก มีบริษัทผลิตฮาร์ดดิสก์มากกว่า 20 บริษัท กระทั่งปัจจุบันเหลือแต่เพียงรายใหญ่ไม่เกิน 4 บริษัท ดับบลิวดี ครองส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ 10% กระทั่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาด 32%

บริษัท มีฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในไทยกว่า 40-45% ของฮาร์ดดิสก์ทั้งโลกส่งออกจากไทย ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ของบริษัทๆ จึงยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ ทำวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถูกผลักดันมาจากความต้องการฮาร์ดดิสก์ของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น

คอยน์ เป็นหนึ่งในผู้บริหารที่เข้ามาดูโรงงานดับบลิวดีในนิคมบางปะอินที่ถูกน้ำ ท่วมสูงกว่า 6 ฟุต คอยติดตาม สั่งการ หาวิธี เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ที่จะบรรเทาความสูญเสียจากสายการผลิตที่ได้รับผลกระทบ

"ผมชื่นชมจิตใจของคนไทย โดยเฉพาะคนงานไทย ที่ตั้งใจจะก้าวให้พ้นภาวะยากลำบากเหล่านั้น"

เขา บอกว่า สิ่งสำคัญที่ดับบลิวดียึดมั่นในการทำธุรกิจ คือ ความมุ่งมั่น (Passion) รักในสิ่งที่บริษัทกำลังทำ ความไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนานวัตกรรม และลงมือปฏิบัติ ทำให้เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่างทั้งวิกฤติการเงิน สึนามิ น้ำท่วม ธุรกิจก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความเข้มแข็ง

"ความมุ่งมั่น ที่เรามี แปรเป็นการกระทำ นั่นทำให้เมื่อธุรกิจเราต้องเจอกับอุปสรรค บริษัทก็พร้อมที่จะสู้ และยืนหยัดด้วยเกียรติภูมิ และความโปร่งใส"

ฟื้นความน่าเชื่อถือ มีเป้าชัดเจน

เขา กล่าวว่า ช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา ดับบลิวดีได้รับผลกระทบมาก หากจิตใจที่มีแต่ความมุ่งมั่นของพนักงาน มีส่วนสำคัญที่ทำให้ดับบลิวดีคืนสู่สภาพปกติได้เร็ว ใช้เวลาฟื้นตัวแค่ 46 วัน สายการผลิตก็กลับมาสู่สภาพปกติ น้ำท่วมครั้งนี้ให้บทเรียนกับบริษัทหลายอย่าง จากนี้จะเป็นการฟื้นความเชื่อมั่นของธุรกิจให้กลับมา ให้เป็นแผนงานที่น่าเชื่อถือ มีเป้าหมายที่ชัดเจน

"พันธกิจของดับ บลิวดีจากนี้ คือ การฟื้นความเชื่อมั่น ซึ่งจะเป็นแผนที่สร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะมีเป้าหมายที่เด่นชัด แผนใน 5 ปีข้างหน้าของบริษัทจะเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่ดับบลิวดียังต้องทำงานหนัก และต้องไม่หยุดพัฒนานวัตกรรม"

คอยน์ บอกว่า ที่ผ่านมา บริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานด้านส่งเสริมการลงทุนของไทย เพราะอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ถูกวางบทบาทไว้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นภาค การผลิต ซึ่งจะมีผลต่อองค์ประกอบทางเศรษฐกิจในประเทศ และจะเห็นว่าที่ผ่านมา ดับบลิวดีช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจไทยอันมีผลต่อการขยายตัวของจีดีพีที่เพิ่ม ขึ้น

ทำให้พนักงานรู้สึกภูมิใจในบริษัท

ขณะที่ "โยชิฮิสะ คาอินูมะ" ประธานและซีอีโอบริษัท มินิแบไทย จำกัด เล่าว่า มินิแบ เป็นผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภท ลูกปืน และเครื่องยนต์เล็กๆ ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนทั้งเรื่องค่าเงินเยนที่แข็ง ภัยธรรมชาติ สึนามิ แผ่นดินไหว ความแปรปรวนเหล่านี้จะยังอยู่ต่อ และดูเหมือนว่าจะขยายไปในวงกว้างมากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรธุรกิจต้องปรับตัว และสร้างความยั่งยืนให้บริษัทให้ได้

"ค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นมากจาก 120 เยนต่อดอลลาร์ อยู่ที่ 76 เยน เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายมากสำหรับบริษัทส่งออกอย่างมินีแบ รวมถึงภัยพิบัติที่สะท้อนว่าเราอยู่ในความแปรปรวนที่มากและหนักหนาขึ้น"

คา อินูมะ เห็นว่า ความยั่งยืนมีส่วนสำคัญ ในญี่ปุ่นมีคาถาทางพุทธศาสนาที่พระยึดถือสำหรับการควบคุมตัวเอง เรียกว่า "KEA" เป็นเหมือนภารกิจคุมตัวเองในระยะยาว

"มินีแบ ใช้หลักการเหล่านี้ เพื่อให้ธุรกิจยั่งยืน ประกอบด้วย 1.เป็นบริษัทที่ทุกคนรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงาน 2.หารายได้และรักษาค่านิยมของบริษัท 3.ตอบรับความคาดหวังของผู้ถือหุ้น 4.ต้องยั่งยืนกับประชาคมรอบข้าง และ 5.ต้องสร้างคุณูปการประชาคมโลก ขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องรักษากำไร ความอยู่รอด ทำตามแนวคิด KEA และโปร่งใส"

คิดช้า แต่มองการณ์ไกล

เขา บอกว่า บริษัทญี่ปุ่นจะมีแนวทางการบริหารที่เป็นของตัวเอง เน้นความยั่งยืนระยะยาว หลายคนอาจมองว่า ผู้บริหารญี่ปุ่นมักจะช้า แต่จริงๆ แล้วผู้บริหารเหล่านี้ มองการณ์ไกลมาก และ KEA ก็เป็นแนวคิดที่ให้คำนึงถึงผลในระยะยาว

"สิ่งสำคัญ คือการให้พนักงานรู้สึกมั่นใจกับตัวบริษัทจะไม่หนีไม่ไหน ผมยกตัวอย่างช่วงน้ำท่วมโรงงาน ก่อนหน้านั้นพนักงานเราได้มีแผนทำทำนบเพื่อจะกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมโรงงาน ของเรา แม้ว่าสุดท้ายจะโดนน้ำท่วมแต่พนักงานเราก็ไม่ถอย ผมบอกให้อพพยพ แต่เขาเลือกที่จะช่วยกันวิดน้ำ ช่วยกันปกป้องโรงงาน"

นอกจากนี้ บริษัทยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยในทุกโรงงานของบริษัทที่ไปตั้งอยู่จะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบๆ ข้าง ด้วย

“ผม ยังเชื่อมั่นในประเทศไทย ซึ่งมีตัวชี้วัดที่ดีมาก เรามีพนักงานที่นี่ ที่ดีมาก ผมเชื่อมั่นอย่างมากว่าไทยจะมีอนาคตที่สดใส" ซีอีโอ มินิแบ ทิ้งท้าย

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120123/4314
79/2-
%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%
82%E0%B8%AD-
%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%
81%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B9%8C-
%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%
A5%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5-
%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%
84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8
%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B
8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%
B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0
%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AF%E0%B9%82%
E0%B8%A5%E0%B8%81.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.