Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 มีนาคม 2555 กสทช.คุมเข้มเอสเอ็มเอส ประเดิมทายบอลยูโร งัดกฏหมายทุกรูปแบบ!!

กสทช.คุมเข้มเอสเอ็มเอส ประเดิมทายบอลยูโร งัดกฏหมายทุกรูปแบบ!!

ประเด็นหลัก

อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกัน ปัญหาการส่งเอสเอ็มเอส ทายผลการแข่งขันฟุตบอล ในช่วงที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ในเดือน มิ.ย.- ก.ค.นี้ ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายการพนัน กสทช. จะเชิญผู้ประกอบการด้านบรอดแคสต์ คอนเทนท์ โปรวายเดอร์ และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมาหารือ รูปแบบการถ่ายทอดสดและการจัดรายการ ที่เปิดให้มีการทายผลการแข่งขันทางเอสเอ็มเอส ที่จะต้องมีการขอใบอนุญาตชิงโชค จากกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งเข้มงวดผู้ดำเนินรายการถ่ายทอดสด “ห้าม” พูดเชิญชวนและกระตุ้นผู้ชมส่งเอสเอ็มเอสเข้ามาชิงโชค

อีกทั้งการ ถ่ายทอดสดที่จัดให้มีการชิงโชค จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การพนัน อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะประเด็นการแบ่งรายได้ ที่กฎหมายระบุว่าการชิงโชคใดๆ ห้ามผู้ดำเนินการมีการแบ่งรายได้ จากการชิงโชคดังกล่าว ซึ่งรูปแบบเอสเอ็มเอส ข่าว และรายการต่างๆ ที่เปิดให้ส่งเอสเอ็มเอส เข้ามาชิงของรางวัล และแบ่งรายได้จากเอสเอ็มเอส กับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และผู้วางระบบ ถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายเช่นกัน

_________________________________________________________


กสทช.คุมเข้มเอสเอ็มเอส ประเดิมทายบอลยูโร

กสทช.เตรียม ออกเกณฑ์คุมเข้ม "เอสเอ็มเอส" เข้าข่าย พ.ร.บ.การพนัน-ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ประเดิมทายผลบอลยูโร 2012 เรียกผู้ประกอบการถกราคาเหมาะสม


วาน นี้ (22 มี.ค.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดเสวนาสาธารณะ “ธุรกิจผ่าน sms ...แค่ไหนที่ไม่เอาเปรียบ” ซึ่งมีการเรียกผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น และเห็นว่าควรจะมีการควบคุมการส่งเอสเอ็มเอง โดยเฉพาะอัตราค่าส่งเอสเอ็มเอส

นาย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับการให้บริการข้อความสั้น ทางโทรศัพท์มือถือ หรือเอสเอ็มเอส คือปัญหาการถูกรบกวน และคิดค่าบริการสูง ซึ่งเข้าข่ายค้ากำไรเกินควร ทั้งที่การส่งเอสเอ็มเอส มีต้นทุนต่ำกว่าค่าโทรศัพท์ถึง 90% และปัญหาเนื้อหาไม่เหมาะสม รวมทั้งมีการเชิญชวนให้ส่งข้อความทายผลการแข่งขันกีฬา ที่อาจเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478

อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการ ส่งเอสเอ็มเอส ทายผลการแข่งขันฟุตบอล ในช่วงที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ในเดือน มิ.ย.- ก.ค.นี้ ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายการพนัน กสทช. จะเชิญผู้ประกอบการด้านบรอดแคสต์ คอนเทนท์ โปรวายเดอร์ และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมาหารือ รูปแบบการถ่ายทอดสดและการจัดรายการ ที่เปิดให้มีการทายผลการแข่งขันทางเอสเอ็มเอส ที่จะต้องมีการขอใบอนุญาตชิงโชค จากกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งเข้มงวดผู้ดำเนินรายการถ่ายทอดสด “ห้าม” พูดเชิญชวนและกระตุ้นผู้ชมส่งเอสเอ็มเอสเข้ามาชิงโชค

อีกทั้งการ ถ่ายทอดสดที่จัดให้มีการชิงโชค จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การพนัน อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะประเด็นการแบ่งรายได้ ที่กฎหมายระบุว่าการชิงโชคใดๆ ห้ามผู้ดำเนินการมีการแบ่งรายได้ จากการชิงโชคดังกล่าว ซึ่งรูปแบบเอสเอ็มเอส ข่าว และรายการต่างๆ ที่เปิดให้ส่งเอสเอ็มเอส เข้ามาชิงของรางวัล และแบ่งรายได้จากเอสเอ็มเอส กับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และผู้วางระบบ ถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายเช่นกัน

“ในระยะเร่งด่วน กสทช.จะเชิญผู้ประกอบการที่จะดำเนินการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ซึ่งมักมีการเชิญชวนให้ส่งเอสเอ็มเอสถ่ายผล มาหารือก่อน เพื่อไม่ดำเนินการผิดกฎหมายการพนัน และ กสทช. จะเข้มงวดในการตรวจสอบดูแลรายการดังกล่าว เพราะทุกปีพบว่ามีการพนันทายผลฟุตบอลจำนวนมาก หากพบว่ากระทำผิดจะดำเนินการตามกฎหมายการพนันทันที” นายประวิทย์ กล่าว

สำหรับ มาตรการระยะต่อไป คือ การออกประกาศหลักเกณฑ์ กำกับดูแล การส่งเอสเอ็มเอส จากผู้ประกอบการต่างๆ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนบุคคลของผู้รับ ซึ่งตามแผนแม่บท กำหนดให้ดำเนินการออกประกาศต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี แต่ กสทช. คาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 1 ปี เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม

เรียกแจงต้นทุนเอสเอ็มเอส

นาย ประวิทย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะเรียกเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ผู้วางระบบส่งเอสเอ็มเอส คอนเทนท์ โปรวายเดอร์ รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ มาให้ข้อมูลต้นทุนที่แท้จริงของการส่งเอสเอ็มเอส แต่ละครั้งว่ามีต้นทุนอย่างไร เพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสม เพราะปัจจุบันมีการเรียกเก็บเฉลี่ยที่ 3 บาท/ครั้ง กรณีการส่งในรูปแบบ "premium rate" ที่เป็นการร่วมสนุกชิงรางวัลจะมีราคาอยู่ที่ 6-9 บาทต่อครั้ง ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลต้นทุนที่แท้จริงของการส่งเอสเอ็มเอส

ด้าน นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ดำเนินรายการเรื่องเล่าเช้านี้, เรื่องเด่นเย็นนี้ และเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ และประธานกรรมการ บริษัทไร่ส้ม จำกัด กล่าวว่า รายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ เป็นรายการเดียวที่ไร่ส้มเป็นผู้ผลิตทางช่อง 3 ซึ่งไม่ได้มุ่งหวังรายได้จากเอสเอ็มเอส เช่นเดียวกับรายการข่าวและรายการเล่าข่าวอื่นๆ ที่ออกอากาศอยู่ในปัจจุบัน เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มต้นทุนการผลิตรายการแน่นอน แต่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ชมส่งเอสเอ็มเอส เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งให้รายการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่ในรูปแบบ “นักข่าวพลเมือง” และเป็นการสำรวจเรทติ้งผู้ชมรายการไปพร้อมกัน

สำหรับช่วงที่เปิด โอกาสให้ผู้ชมส่งเอสเอ็มเอส เข้ามาชิงโชคของรางวัล ได้มีการขอใบอนุญาตการชิงโชคจากกระทรวงมหาดไทย และจะแสดงเลขที่ใบอนุญาตผ่านหน้าจอทุกครั้งที่เปิดให้เอสเอ็มเอสชิงโชค โดยเก็บค่าบริการครั้งละ 3 บาท ในจำนวนดังกล่าวจะแบ่งรายได้ 50% หรือ 1.50 บาท ให้กับโอเปอเรเตอร์ มือถือ และอีก 1.50 บาท จะแบ่งกัน 3 ส่วน คือ สถานีโทรทัศน์, ผู้วางระบบ และบริษัทผู้ผลิตรายการ

หนุนหาจุดสมดุลในรูปแบบ-ราคา

เขา เห็นว่าบริการการส่งเอสเอ็มเอส ในอัตรา 6-9 บาทต่อครั้งเป็นราคาที่สูงไป ขณะที่ราคา 3 บาทต่อครั้งน่าจะเหมาะสม หรืออาจจะมีการหารือร่วมกัน ระหว่าง กสทช.และผู้ประกอบการเพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสมร่วมกัน

“คงไม่เห็น ด้วยหากจะไม่ให้มีการ ส่งเอสเอ็มเอส มาแสดงความคิดเห็นรายการต่างๆ เพราะถือเป็นสิทธิของผู้ชม แต่ทุกภาคส่วนควรหาความสมดุลร่วมกัน ทั้งรูปแบบการส่ง และราคา” นายสรยุทธ กล่าว

เขากล่าวว่า เฉลี่ยรายการ 1 ชั่วโมง จะมีการส่งข้อความเอสเอ็มเอสประมาณ 3,000 ข้อความ ซึ่งรายการไม่สามารถแสดงข้อความเอสเอ็มเอส บนหน้าจอทีวีได้ครบทั้งหมดเนื่องจากมีเวลาจำกัด โดยสามารถแสดงข้อความได้ประมาณ 480 ข้อความเท่านั้น แต่เชื่อว่าหากจะกำหนดให้เมื่อส่งข้อความครบ 480 ข้อความ แจ้งหยุดส่งเอสเอ็มเอส เชื่อว่าผู้บริโภคจะไม่หยุดส่ง เพราะเป็นการแสดงความคิดเห็นในเหตุการณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยกรณีที่เปิดให้ชิงโชคของรางวัล อาจจะกำหนดเป็นช่วงเวลาประมาณ 5 นาที เพื่อเปิดรับเอสเอ็มเอส เป็นต้น

เตรียมออกเกณฑ์รับเอสเอ็มเอส

จาก การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเอสเอ็มเอส ของ สบท. ร่วมกับสำนักวิจัยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัน หรือ เอแบค โพลล์ ระหว่างปี 2551-2553 พบว่าในปี 2551 ผู้ใช้มือถือได้รับเอสเอ็มเอส รบกวน 67.5% ในรอบ 3 เดือน และเคยส่งเอสเอ็มเอส ชิงโชคทางทีวี 24.7%

ในปี 2552 สำรวจผู้ใช้มือถือ 18 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า 38.8% เคยได้รับเอสเอ็มเอส เชิญชวนชิงโชค และ 7.5% เคยใช้บริการเอสเอ็มเอสชิงโชค

ในปี 2553 การสำรวจพบว่ามีโฆษณาไม่เหมาะผ่านโทรศัพท์มือถือ คือ คลิปและภาพลามก 86.4% โชว์ลามก 53.9% และการพนัน 47.3% นอกจากนี้ยังได้รับเอสเอ็มเอสให้ชิงโชค 56.7% โดยมีเพียง 4% เท่านั้นที่ต้องการรับเอสเอ็มเอส

นายอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ก่อตั้งเว็บบล็อกนัน (blognone.com) กล่าวว่า ในต่างประเทศจะมีกฎหมายที่ดูแลการส่งเอสเอ็มเอส ให้กับผู้บริโภค ในรูปแบบ off in คือ การส่งเอสเอ็มเอส ต้องได้รับการอนุญาตจากผู้บริโภคก่อน หากยังไม่ได้รับอนุญาต จะไม่สามารถส่งเอสเอ็มเอสได้ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย และ off out คือ ผู้ให้บริการส่งเอสเอ็มเอส ไปยังผู้บริโภคก่อน แต่หากผู้บริโภค แจ้งไม่รับข้อความเอสเอ็มเอสรายนั้น หากยังส่งมาให้อีก ถือว่าผิดกฎหมาย โดยผู้บริโภคจะได้รับการชดเชยข้อความละ 1 ดอลลาร์

นาย ประวิทย์ กล่าวเสริมว่า จะมีการศึกษากฎหมายการดูแลการส่งเอสเอ็มเอสในต่างประเทศ เพื่อมาปรับใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการออกประกาศดูแลผู้บริโภคของ กสทช. เช่นกัน ปัจจุบันปัญหาร้องเรียนจากการใช้เงินเอสเอ็มเอส มากที่สุดคือ กระบวนการยกเลิกการใช้บริการที่ล่าช้า และมีขั้นตอนยุ่งยากในการดำเนิน ดังนั้นจะมีการกำหนดแนวทางให้ผู้ประกอบการ ต้องระบุขั้นตอนการยกเลิกการใช้บริการ เอสเอ็มเอส ให้ผู้บริโภครับรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ที่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120323/4
43304/%A1%CA%B7%AA.%A4%D8%C1%E0%A2%E9%C1%E0
%CD%CA%E0%CD%E7%C1%E0%CD%CA-
%BB%C3%D0%E0%B4%D4%C1%B7%D2%C2%BA%CD%C5%C
2%D9%E2%C3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.