Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G)(กทค.ทั้ง5คน)มีมติเห็นชอบผลประมูล3G/นางเอกกระจายเสียงทำหนังสือด่วนให้เข้าที่ประชุมใหญ่อนุมัติ

ประเด็นหลัก

ร.ศ. ประเสริฐ กล่าวว่า จากนี้ไปจะมองไปที่การกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบ ที่ 3 ที่จะให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ได้รับใบอนุญาตไป โดยจะดูตั้งแต่ว่ามีการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเกิดขึ้นหรือไม่ อัตราค่าบริการสมเหตุสมผลหรือไม่ ต้นทุนเป็นอย่างไร คุณภาพของการให้บริการเป็นอย่างไร “ โดยส่วนตัวคิดว่าค่าบริการต้องถูกกว่าปัจจุบัน”

วันที่ 18 ตุลาคม 2555 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ครั้งที่ 38/2555 มีมติเห็นชอบผลการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่าน 2.1 GHz ตามผลดังนี้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เสนอราคาเป็นเงิน 14,625 ล้านบาท ได้เลือกย่านความถี่ชุดที่ 7-9 (1950 MHz -1965 MHz และ 2140 MHz — 2155 MHz) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เสนอราคาเป็นเงิน 13,500 ล้านบาท เลือกย่านความถี่ชุดที่ 4-6 (1935 MHz — 1950 MHz และ 2125 MHz — 2140 MHz) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เสนอราคาเป็นเงิน 13,500 ล้านบาท เลือกย่านความถี่ชุดที่ 1-3 (1920 MHz — 1935 MHz และ 2110 MHz — 2125 MHz) และให้สำนักงานดำเนินการตามที่กำหนดในประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ต่อไป



นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ทำหนังสือถึง พล.อ.อ.ธเรศ  ปุณศรี ประธาน กสทช. เรื่อง ขอให้นัดประชุม กสทช. วาระเร่งด่วนเรื่องการรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz

ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ในข้อ 18 ยังระบุว่า “ให้ประธานกรรมการเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือเป็นที่สุด" ทั้งนี้ “คณะกรรมการ" ตามที่ระบุในประกาศหมายถึง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


____________________________


กสทช.ยันประมูล 3G โปร่งใส คาดออกใบอนุญาตไม่เกิน 20 พ.ย.นี้


      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ส่วนตัวไม่ขอพูดถึงเรื่องการประมูล 3 จี เพราะเรื่องนี้ได้ชี้แจง และยืนยันถึงความโปร่งใสในการจัดประมูล 3 จี ต่อ 4 หน่วยงาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งยอมรับว่า 3 จี ไม่ควรที่จะถูกชะลอให้ล่าช้าออกไป เพราะจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
      ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจในเรื่องค่าบริการ 3 จี ด้วยว่า จะต้องถูกลงไม่น้อยกว่า 15-20 เปอร์เซ็นต์
      นายฐากร กล่าวต่อไปว่า หากกระบวนการตรวจสอบการประมูล 3 จีไม่พบสิ่งผิดปกติ คาดว่าไม่เกินวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ จะมีการออกใบอนุญาต และจากนั้นภายใน 3 เดือน ประชาชนจะมี 3 จีใช้


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000130527&Keyword=3g


_______________________________________


บอร์ด กทค. มีมติเห็นชอบผลการประมูลใบอนุญาต 3 G


ร.ศ. ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ตามที่สำนักงาน กสทช. ได้จัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz เพื่อนำเอาคลื่นความถี่มาให้บริการประชาชน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา นั้น



วันที่ 18 ตุลาคม 2555 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ครั้งที่ 38/2555 มีมติเห็นชอบผลการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่าน 2.1 GHz ตามผลดังนี้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เสนอราคาเป็นเงิน 14,625 ล้านบาท ได้เลือกย่านความถี่ชุดที่ 7-9 (1950 MHz -1965 MHz และ 2140 MHz — 2155 MHz) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เสนอราคาเป็นเงิน 13,500 ล้านบาท เลือกย่านความถี่ชุดที่ 4-6 (1935 MHz — 1950 MHz และ 2125 MHz — 2140 MHz) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เสนอราคาเป็นเงิน 13,500 ล้านบาท เลือกย่านความถี่ชุดที่ 1-3 (1920 MHz — 1935 MHz และ 2110 MHz — 2125 MHz) และให้สำนักงานดำเนินการตามที่กำหนดในประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ต่อไป

ร.ศ. ประเสริฐ กล่าวต่อว่า การประชุมในวันนี้เป็นการประชุมวาระเดียวเพื่อพิจารณาผลการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ฯ ย่าน 2.1 GHz ส่วนการดำเนินการต่อไปเป็นเรื่องของสำนักงาน กสทช. ที่จะดำเนินการให้ใบอนุญาต ทั้งนี้ กทค. จะออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ให้แก่แต่ละบริษัท ภายหลังจากที่บริษัทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนได้รับใบอนุญาต ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ครบถ้วน ภายใน 90 นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการประมูล

สำหรับเงื่อนไขการดำเนินการก่อนได้รับใบอนุญาต แต่ละบริษัทต้องดำเนินการชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz งวดที่ 1 เป็นจำนวน 50% ของราคาสูงสุดที่ได้เสนอในการประมูล พร้อมส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz งวดที่ 2 และงวดที่ 3 ทั้งนี้เงินค่าประมูลที่ต้องชำระยังไม่รวมภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ และดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด และต้องนำส่งเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการอนุญาตสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ตามข้อ 4 ของภาคผนวก ก ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 แก่สำนักงานฯ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามรายละเอียดที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กรณีปรากฏว่าเอกสารหลักฐานและข้อมูลเหล่านั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอ

ร.ศ. ประเสริฐ กล่าวอีกว่า ผู้เสนอราคาในการประมูลแต่ละรายน่าจะได้รับใบอนุญาตภายใน 7 วัน หลังจากที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนได้รับใบอนุญาต ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 เรียบร้อย ในส่วนของเงินรายได้จากการประมูลจะนำเงินที่ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแล้วส่งกระทรวงการคลังให้เร็วที่สุด

สำหรับรายละเอียดเรื่อง การชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz นั้น แต่ละบริษัท จะต้องชำระเงินตามราคาที่เสนอราคาสูงสุดของแต่ละราย โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด คือ งวดที่ 1 ชำระเงินเป็นจำนวน 50% ของราคาที่เสนอราคาสูงสุด พร้อมหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร เพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าประมูลในส่วนที่เหลือ ภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการประมูล งวดที่ 2 ชำระเงินเป็นจำนวน 25% ของราคาที่เสนอราคาสูงสุด พร้อมหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร เพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าประมูลงวดที่ 3 ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และงวดที่ 3 ชำระเงินเป็นจำนวน 25% ของราคาที่เสนอราคาสูงสุด ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้เงินที่แต่ละรายต้องชำระ ยังไม่รวมภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ และดอกเบี้ย ตามที่กฎหมายกำหนด

ร.ศ. ประเสริฐ กล่าวว่า จากนี้ไปจะมองไปที่การกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบ ที่ 3 ที่จะให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ได้รับใบอนุญาตไป โดยจะดูตั้งแต่ว่ามีการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเกิดขึ้นหรือไม่ อัตราค่าบริการสมเหตุสมผลหรือไม่ ต้นทุนเป็นอย่างไร คุณภาพของการให้บริการเป็นอย่างไร “ โดยส่วนตัวคิดว่าค่าบริการต้องถูกกว่าปัจจุบัน”

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
กลุ่มงานสื่อสารองค์กร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
โทรศัพท์ : 0-2271-0151 ต่อ 315 - 317 โทรสาร : 0-2290-5241

http://www.ryt9.com/s/prg/1516256

_____________________________________


กสทช.ชี้ 3จี ล่าช้าจะกระทบประเทศ คาดออกใบอนุญาต 20 พ.ย.นี้



กสทช. ชี้ 3 จี ต้องเดินหน้าไม่ควรที่จะถูกชะลอให้ล่าช้าออกไป เพราะจะส่งผลเสียต่อประเทศ เมื่อก้าวไปสู่ AEC คาดออกใบอนุญาตได้ไม่เกิน 20 พ.ย.นี้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เผยถึงกรณี 3 จี ว่าการประมูลเป็นไปด้วยความโปร่งใส ดังนั้น 3 จี ไม่ควรที่จะถูกชะลอให้ล่าช้าออกไป จะส่งผลเสียหายให้กับประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 จะทำให้เอกชนไทยไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ เพราะฉะนั้น 3 จี ต้องเดินหน้าต่อไปและหากกระบวนการตรวจสอบการประมูล 3 จี แล้วเสร็จ ก็คาดว่า ไม่เกินวันทื่ 20 พฤศจิกายน 2555 นี้ ก็จะมีการออกใบอนุญาต และจากนั้น ภายใน 3 เดือน ประชาชนก็จะมี 3 จี ใช้



--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iqry/1516109

_________________________________________


สุภิญญาทำหนังสือแนะกสทช.ประชุมด่วนรับรองผลประมูล 3G แทน กทค.


นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ทำหนังสือถึง พล.อ.อ.ธเรศ  ปุณศรี ประธาน กสทช. เรื่อง ขอให้นัดประชุม กสทช. วาระเร่งด่วนเรื่องการรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz เนื่องจากการประมูลคลื่นความถี่ที่ผ่านมาเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะอย่างมหาศาลและเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจติดตามจากสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง



อีกทั้งการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ยังมีผลทางกฎหมายต่อคณะกรรมการ กสทช. ทั้งคณะ 11 คน ตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553

นอกจากนี้ ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ในข้อ 18 ยังระบุว่า “ให้ประธานกรรมการเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือเป็นที่สุด" ทั้งนี้ “คณะกรรมการ" ตามที่ระบุในประกาศหมายถึง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ดังนั้น ประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ที่ลงนามโดยประธาน กสทช.  จึงถือเป็นหน้าที่ของประธาน กสทช.ในการเรียกประชุมตามที่ระบุในข้อ 18 ของประกาศฉบับดังกล่าว

--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1516521

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.