26 ตุลาคม 2555 TOT ชงแผนงาน ขอใช้คลื่น 2.3GHz ทำ 4G LTE เพื่อขยายโครงข่ายอินเตอร์เนตความเร็ว (ไปสู่พื้นที่ห่างไกล หรือ ! )
ประเด็นหลัก
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการ?ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทีโอทีกำลังอยู่ระหว่างร่างแผนงานการขอใช้คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ทีโอทีถือครองอยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ โดยแผนงานที่ทีโอทีจะเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)คือ การใช้คลื่นดังกล่าว เพื่อทำเป็นระบบมือถือโครงข่ายหลัก (โมบาย แบ็คฮอล) สำหรับเป็นโครงข่ายสำรองให้สถานีฐาน ในการเชื่อมต่อจุดไว-ไฟ ฮอทสปอต และขอใช้ทดสอบเทคโนโลยี 4จี (แอลทีอี) เพื่อขยายโครงข่ายอินเตอร์เนตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ไปสู่พื้นที่ห่างไกล ตามนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ของรัฐบาล
____________________________________
ทีโอทีชงแผนงาน ขอใช้คลื่น2.3GHz ทำโมบาย แบ็คฮอล หวังสร้างความต่าง
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการ?ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทีโอทีกำลังอยู่ระหว่างร่างแผนงานการขอใช้คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ทีโอทีถือครองอยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ โดยแผนงานที่ทีโอทีจะเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)คือ การใช้คลื่นดังกล่าว เพื่อทำเป็นระบบมือถือโครงข่ายหลัก (โมบาย แบ็คฮอล) สำหรับเป็นโครงข่ายสำรองให้สถานีฐาน ในการเชื่อมต่อจุดไว-ไฟ ฮอทสปอต และขอใช้ทดสอบเทคโนโลยี 4จี (แอลทีอี) เพื่อขยายโครงข่ายอินเตอร์เนตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ไปสู่พื้นที่ห่างไกล ตามนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ของรัฐบาล
ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องขอใช้คลื่น 2.3 GHz เนื่องจากทีโอทีได้ครอบครองอยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ แต่การให้บริการตามใบอนุญาตเดิมที่คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คือ ให้ใช้สำหรับบริการโทรศัพท์สาธารณะในพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น ดังนั้นทีโอทีจำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ของตัวเองในการทำธุรกิจดังกล่าวให้เสร็จโดยเร็ว เพราะต้องยอมรับว่าตั้งแต่ที่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประมูลใบอนุญาต(ไลเซ่นส์) 3จีคลื่น 2.1 GHz แล้วเสร็จ ทำให้ความได้เปรียบของทีโอทีในการชิงฐานลูกค้า 3จี หมดไป ดังนั้นจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างและนำคลื่น 2.3 GHz มาใช้ประโยชน์
สำหรับบริการ 3จีของทีโอที ขณะนี้สถานีฐานได้มีการขยายไปแล้วกว่า 3,000 แห่ง แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องการใช้โครงข่ายร่วม
(โค-ไซค์) กับผู้ประกอบการเอกชน จึงเป็นผลให้ตามกรอบเวลาเดิมที่ทีโอทีจะขยายให้ได้ครบ 5,320 แห่งในสิ้นปี 2555 ต้องเลื่อนออกไปเป็นไตรมาส 1 ปี 2556 ส่วนรายได้จากบริการ 3จี ก็คาดว่าจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมในปี 2556 ประมาณ 1,400 ล้านบาท
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1515830
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการ?ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทีโอทีกำลังอยู่ระหว่างร่างแผนงานการขอใช้คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ทีโอทีถือครองอยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ โดยแผนงานที่ทีโอทีจะเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)คือ การใช้คลื่นดังกล่าว เพื่อทำเป็นระบบมือถือโครงข่ายหลัก (โมบาย แบ็คฮอล) สำหรับเป็นโครงข่ายสำรองให้สถานีฐาน ในการเชื่อมต่อจุดไว-ไฟ ฮอทสปอต และขอใช้ทดสอบเทคโนโลยี 4จี (แอลทีอี) เพื่อขยายโครงข่ายอินเตอร์เนตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ไปสู่พื้นที่ห่างไกล ตามนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ของรัฐบาล
____________________________________
ทีโอทีชงแผนงาน ขอใช้คลื่น2.3GHz ทำโมบาย แบ็คฮอล หวังสร้างความต่าง
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการ?ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทีโอทีกำลังอยู่ระหว่างร่างแผนงานการขอใช้คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ทีโอทีถือครองอยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ โดยแผนงานที่ทีโอทีจะเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)คือ การใช้คลื่นดังกล่าว เพื่อทำเป็นระบบมือถือโครงข่ายหลัก (โมบาย แบ็คฮอล) สำหรับเป็นโครงข่ายสำรองให้สถานีฐาน ในการเชื่อมต่อจุดไว-ไฟ ฮอทสปอต และขอใช้ทดสอบเทคโนโลยี 4จี (แอลทีอี) เพื่อขยายโครงข่ายอินเตอร์เนตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ไปสู่พื้นที่ห่างไกล ตามนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ของรัฐบาล
ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องขอใช้คลื่น 2.3 GHz เนื่องจากทีโอทีได้ครอบครองอยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ แต่การให้บริการตามใบอนุญาตเดิมที่คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คือ ให้ใช้สำหรับบริการโทรศัพท์สาธารณะในพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น ดังนั้นทีโอทีจำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ของตัวเองในการทำธุรกิจดังกล่าวให้เสร็จโดยเร็ว เพราะต้องยอมรับว่าตั้งแต่ที่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประมูลใบอนุญาต(ไลเซ่นส์) 3จีคลื่น 2.1 GHz แล้วเสร็จ ทำให้ความได้เปรียบของทีโอทีในการชิงฐานลูกค้า 3จี หมดไป ดังนั้นจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างและนำคลื่น 2.3 GHz มาใช้ประโยชน์
สำหรับบริการ 3จีของทีโอที ขณะนี้สถานีฐานได้มีการขยายไปแล้วกว่า 3,000 แห่ง แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องการใช้โครงข่ายร่วม
(โค-ไซค์) กับผู้ประกอบการเอกชน จึงเป็นผลให้ตามกรอบเวลาเดิมที่ทีโอทีจะขยายให้ได้ครบ 5,320 แห่งในสิ้นปี 2555 ต้องเลื่อนออกไปเป็นไตรมาส 1 ปี 2556 ส่วนรายได้จากบริการ 3จี ก็คาดว่าจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมในปี 2556 ประมาณ 1,400 ล้านบาท
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1515830
ไม่มีความคิดเห็น: