Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2554 กสทช.เปิดเวทีสัมมนา NBTC Public Forum// สังคมไทยหวังใช้ไอซีทีอย่างมีคุณค่า กสทช.เร่งสร้างกรอบตอบโจทย์ผู้บริโภค

กสทช.เปิดเวทีสัมมนา NBTC Public Forum// สังคมไทยหวังใช้ไอซีทีอย่างมีคุณค่า กสทช.เร่งสร้างกรอบตอบโจทย์ผู้บริโภค


ประเด็นหลัก

พล.อ.อ.ธ​เรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรม​การกิจ​การกระจาย​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์​และกิจ​การ​โทรคมนาคม ​หรือกสทช. ​เปิด​เผยว่า สำหรับ​การ​เปิด​เวที NBTC Public Forum ​หรือ ​ความคาดหวังของภาคประชาสังคมต่อ กสทช. นั้น​เพื่อต้อง​การ​ให้ภาคประชาชน​แสดง​ความคิด​เห็น​และ​ความต้อง​การ ​ซึ่ง กสทช.จะนำ​ความคิด​เห็นที่​ได้นั้น​ไปประมวลผลออกมา​ใน​แผน​การปฏิบัติงาน ​ซึ่งจะ​ไม่​ได้มี​การนำ​เอา​ไปรวมกับ 2 ​แผน​แม่บท ​เพราะ​เนื่องจากตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น​ความถี่​และกำกับ​การ ประกอบกิจ​การวิทยุกระจาย​เสียง วิทยุ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม พ.ศ.2553 มีบทบัญญัติ​เกี่ยวกับ​การส่ง​เสริมสิทธิ​เสรีภาพ ​ความ​เสมอภาค

​ การมีส่วนร่วมของประชาชน ​โดย​เฉพาะตามมาตรา 27 (13) กำหนด​ให้คณะกรรม​การกิจ​การกิจ​การกระ​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม ​หรือ กสทช. มีอำนาจหน้าที่คุ้มครองสิทธิ์​และ​เสรีภาพของประชาชนมิ​ให้ถูก​เอา​เปรียบ จาก​ผู้ประกอบกิจ​การ​และคุ้มครองสิทธิ์​ใน​ความ​เป็นส่วนตัว​และ​เสรีภาพ ของบุคคล​ใน​การสื่อสาร​ถึงกัน​โดยทาง​โทรคมนาคม​และส่ง​เสริมสิทธิ​เสรีภาพ ​และ​ความ​เสมอภาคของประชาชน​ใน​การ​เข้า​ถึง​และ​ใช้ประ​โยชน์คลื่น​ความ ถี่ที่​ใช้​ในกิจ​การกระจาย​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม ประกอบกับมาตรา 28 ​ให้ กสทช.จัด​ให้มี​การรับฟัง​ความคิด​เห็นของ​ผู้มีส่วน​ได้​เสีย​และประชาชน ทั่ว​ไป ​เพื่อนำ​ความคิด​เห็นที่​ได้มาประกอบ​การพิจารณาก่อนออกระ​เบียบ ประกาศ ​หรือคำสั่ง ​เกี่ยวกับ​การกำกับดู​แล​การประกอบกิจ​การกระจาย​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม ที่มีผลกระทบต่อประชาชน

ดัง นั้น ​เพื่อยืนยัน​เจตนารมณ์ของ กสทช.ที่มุ่งหวังจะ​เป็นองค์กรที่ดำ​เนินงานด้วย​ความ​โปร่ง​ใส มี​การ​เปิด​เผยข้อมูลอย่างตรง​ไปตรงมา ​และ​ให้​ความสำคัญกับ​การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ กสทช.​จึง​ได้จัด​ให้มี​เวที​เสวนาขึ้น ​เพื่อ​เป็น​การ​เปิด​โอกาส​ให้ประชาชนมีช่องทาง​ใน​การมีส่วนร่วม​ใน​การดำ ​เนินงานของ กสทช.​เพื่อประ​โยชน์ต่อสาธารณชน ​และประ​เทศชาติ ​ทั้งนี้​ได้มี​การ​เสนอ​ความคาดหวังจากภาคส่วน ​ไม่ว่าจะ​เป็นองค์กร​เอกชนด้าน​ผู้บริ​โภค ​เด็ก คนพิ​การ ​ผู้​ใช้​แรงงาน องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน นักวิชา​การ ตัว​แทนวิทยุชุมชน​เข้าร่วม
________________________________________________________

สังคม​ไทยหวัง​ใช้​ไอซีทีอย่างมีคุณค่า กสทช.​เร่งสร้างกรอบตอบ​โจทย์​ผู้บริ​โภค


กสทช. ​เปิด​เวทีสัมมนา NBTC Public Forum ​เวที​แรก ​เผยต้อง​การนำ​เอา​ความคิด​เห็นที่​ได้มารวบรวม​ไปสู่ขั้น​แผน​การปฏิบัติ งาน ด้านอดีตกรรม​การน​โยบาย ​เสนอ กสทช. ต้องกำหนด 3 ข้อ​เพื่อประชาชนอย่าง วิทยุชุมชน ภาค​เอกชน ​และสาธารณะ ​ซึ่งท้าทายต่อ​การ​ทำงานอย่างยิ่ง

พล.อ.อ.ธ​เรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรม​การกิจ​การกระจาย​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์​และกิจ​การ​โทรคมนาคม ​หรือกสทช. ​เปิด​เผยว่า สำหรับ​การ​เปิด​เวที NBTC Public Forum ​หรือ ​ความคาดหวังของภาคประชาสังคมต่อ กสทช. นั้น​เพื่อต้อง​การ​ให้ภาคประชาชน​แสดง​ความคิด​เห็น​และ​ความต้อง​การ ​ซึ่ง กสทช.จะนำ​ความคิด​เห็นที่​ได้นั้น​ไปประมวลผลออกมา​ใน​แผน​การปฏิบัติงาน ​ซึ่งจะ​ไม่​ได้มี​การนำ​เอา​ไปรวมกับ 2 ​แผน​แม่บท ​เพราะ​เนื่องจากตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น​ความถี่​และกำกับ​การ ประกอบกิจ​การวิทยุกระจาย​เสียง วิทยุ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม พ.ศ.2553 มีบทบัญญัติ​เกี่ยวกับ​การส่ง​เสริมสิทธิ​เสรีภาพ ​ความ​เสมอภาค

​ การมีส่วนร่วมของประชาชน ​โดย​เฉพาะตามมาตรา 27 (13) กำหนด​ให้คณะกรรม​การกิจ​การกิจ​การกระ​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม ​หรือ กสทช. มีอำนาจหน้าที่คุ้มครองสิทธิ์​และ​เสรีภาพของประชาชนมิ​ให้ถูก​เอา​เปรียบ จาก​ผู้ประกอบกิจ​การ​และคุ้มครองสิทธิ์​ใน​ความ​เป็นส่วนตัว​และ​เสรีภาพ ของบุคคล​ใน​การสื่อสาร​ถึงกัน​โดยทาง​โทรคมนาคม​และส่ง​เสริมสิทธิ​เสรีภาพ ​และ​ความ​เสมอภาคของประชาชน​ใน​การ​เข้า​ถึง​และ​ใช้ประ​โยชน์คลื่น​ความ ถี่ที่​ใช้​ในกิจ​การกระจาย​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม ประกอบกับมาตรา 28 ​ให้ กสทช.จัด​ให้มี​การรับฟัง​ความคิด​เห็นของ​ผู้มีส่วน​ได้​เสีย​และประชาชน ทั่ว​ไป ​เพื่อนำ​ความคิด​เห็นที่​ได้มาประกอบ​การพิจารณาก่อนออกระ​เบียบ ประกาศ ​หรือคำสั่ง ​เกี่ยวกับ​การกำกับดู​แล​การประกอบกิจ​การกระจาย​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม ที่มีผลกระทบต่อประชาชน

ดัง นั้น ​เพื่อยืนยัน​เจตนารมณ์ของ กสทช.ที่มุ่งหวังจะ​เป็นองค์กรที่ดำ​เนินงานด้วย​ความ​โปร่ง​ใส มี​การ​เปิด​เผยข้อมูลอย่างตรง​ไปตรงมา ​และ​ให้​ความสำคัญกับ​การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ กสทช.​จึง​ได้จัด​ให้มี​เวที​เสวนาขึ้น ​เพื่อ​เป็น​การ​เปิด​โอกาส​ให้ประชาชนมีช่องทาง​ใน​การมีส่วนร่วม​ใน​การดำ ​เนินงานของ กสทช.​เพื่อประ​โยชน์ต่อสาธารณชน ​และประ​เทศชาติ ​ทั้งนี้​ได้มี​การ​เสนอ​ความคาดหวังจากภาคส่วน ​ไม่ว่าจะ​เป็นองค์กร​เอกชนด้าน​ผู้บริ​โภค ​เด็ก คนพิ​การ ​ผู้​ใช้​แรงงาน องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน นักวิชา​การ ตัว​แทนวิทยุชุมชน​เข้าร่วม

ด้าน นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตกรรม​การน​โยบายองค์กรกระจาย​เสียง​และ​แพร่ภาพสาธารณะ กล่าวว่า ​ในปัจจุบัน​แผน​การบริหารคลื่น​ความถี่​โทรทัศน์​และคลื่น​ความถี่วิทยุที่ ​ได้​เกิดขึ้นนั้น มี​การตั้งคำถามว่าจะ​เอา​เงิน​ไป​ใช้​ทำอะ​ไร ​เพราะ​เนื่องจาก​ในปัจจุบันสื่อวิทยุบาง​แห่งกลาย​เป็นธุรกิจ​ไป​เป็นที่​ เรียบร้อย ​แล้วนอกจากนี้​ในส่วนของสื่อ​โทรทัศน์​และสื่อวิทยุ​ในขณะ​เดียวกันกลับ กลาย​เป็น​เครื่องมือ​เพื่อสื่อสาร​ให้ประชาชนว่า ต้อง​ทำอะ​ไร ​ใช้อะ​ไรต้องคิดอย่าง​ไร ​ซึ่งถือว่า​เป็น​การสื่อสารทาง​เดียวที่ประชาชน​ไม่สามารถที่จะตอบกลับ​ ความคิด​เห็นของตน​เอง​ได้ รวม​ทั้งสื่อวิทยุ​ก็​ไม่​ได้มี​ความ​แตกต่างจากสื่อ​โทรทัศน์ ​แม้ว่าจะ​เป็นสื่อที่ประชาชนสามารถที่จะ​เข้า​ใจ​ได้ง่าย​แต่กลับมีปัญหา​ ใน​เรื่องของผลประ​โยชน์ที่ตกอยู่กับคนบางกลุ่ม​เท่านั้น

สำหรับ​การ กำหนดคลื่น​ความถี่ต้องมี​การ​แบ่งออก​เป็น 3 ภาคส่วน คือ 1.วิทยุชุมชน ที่ กสทช.ต้อง​ให้​ความสำคัญมากกว่า​การออก​ใบอนุญาตตามปกติ ​เพราะ​เนื่องจากจะต้องมีระบบ​การพิจารณา​และตรวจสอบ ​เช่น วิทยุชุมชน ​เป็นของประชาชนจริง​หรือ​ไม่ ​ซึ่งวิทยุชุมชนต้องรับ​ใช้ประชาชนที่หลากหลาย​ทั้งกลุ่มชาติพันธุ์​และ วัฒนธรรม ​ซึ่งถือว่า​เป็นวิทยุที่มี​ความ​เป็นประชาธิป​ไตยที่สุด ​โดยต้อง​ไม่​ให้ตกอยู่​ในมือ​ผู้มีอำนาจ ส่วนภาคธุรกิจ ​ก็ต้องสร้างราย​ได้​ให้ กสทช. ​เพื่อนำราย​ได้​ไปส่ง​เสริม​ให้กับวิทยุภาคชุมชน ​และภาคสาธารณะ ​โดยวิทยุภาคสาธารณประ​โยชน์ ​เป็น​ได้​ทั้งของภาครัฐ​และ​เอกชน ​ซึ่ง กสทช.ควรจัดสรรรูป​แบบ​เนื้อหา​ให้ชัด​เจน ​เพื่อ​ให้รองรับกลุ่ม​เป้าหมายทุกภาคส่วน ​เช่น สถานีวิทยุที่มี​เนื้อหา​เกี่ยวกับ​ผู้หญิง ​เด็ก ​และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

2.ภาค ​เอกชน ที่ต้องมี​การ​ให้บริ​การ​ได้อย่างมีคุณภาพ​ใน​เรื่องของ​ความบัน​เทิง ​ซึ่ง กสทช.ต้องยอมรับว่าราย​ได้ส่วนหนึ่งของ กสทช.มาจาก​การ​ให้บริ​การของภาค​เอกชน ​แต่​ทั้งนี้ภาค​เอกชน​ก็ต้องส่ง​เสริม​ให้วิทยุชุมชน​และวิทยุสาธารณประ​ โยชน์ มากกว่า​การ​แสวงหาผลกำ​ไรระกับชาติ ​แต่​ให้มี​การดำ​เนินธุรกิจ​ในระดับท้องถิ่น​แทน ​และ 3.ภาคสาธารณประ​โยชน์ ที่ภาครัฐ ​หรือภาค​เอ็นจี​โอ ​ซึ่งถือว่า​เป็นองค์กรที่​ไม่​แสวงหาผลกำ​ไร ดังนั้น กสทช. มีสิทธิ์​ใน​การกำหนด​เนื้อหา​ได้อย่างทันท่วงที มี​การ​เน้น​การ​ให้บริ​การ​ในกลุ่มของชาติพันธุ์ ​เด็ก ​ผู้​ใหญ่ ​ให้มี​การสนับสนุน​ใน​เรื่องของ​ความรู้​ความ​เข้า​ใจ​ให้​เกิดประ​โยชน์​ และหลากหลายมากยิ่งขึ้น

​ทั้งนี้มองว่า​การ​เปลี่ยนผ่าน​ไปสู่ ดิจิตอล​ในอีก 4-5 ปีนั้น ​เสนอว่า​เมื่อจะมี​การ​เปลี่ยน​แปลง​ก็ควรที่จะ​เปลี่ยน​ใน​เรื่องของ​การ พัฒนา​เนื้อหา​เพื่อประ​โยชน์ของประ​เทศ ต้อง​เน้น​ใน​การสร้าง​ความ​เข้า​ใจ​ใน​เนื้อหา​เพื่อที่จะ​ไม่กระทบต่อประ​ เทศ​เพื่อนบ้าน มากกว่า​การที่จะ​เปลี่ยน​ไปสู่ดิจิตอล​แต่กลับ​ไม่มี​การ​เปลี่ยน​แปลง​ใน​ เรื่องของ​เนื้อหา ​ซึ่ง​ทั้งนี้ถือว่า​เป็น​เรื่องที่ท้าทายของ กสทช. อย่างมาก ​เพราะ​เนื่องจาก​ในมุมมองนั้น​เสนอ​ให้สื่อ​โทรทัศน์​และสื่อวิทยุกลาย​ เป็น​การศึกษานอกระบบ ​เร่ง​และกระตุ้น​การศึกษา​ให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

นายประ​ เวศ วะสี ราษฎรอาวุ​โส ​เปิด​เผยว่า ที่ผ่านมานั้นสังคม​ไทยขาด​การ​เคารพศักดิ์ศรีคุณค่า​ความ​เป็นคน​ในระดับ ล่าง ขาด​การส่ง​เสริมประชาธิป​ไตย สิทธิมนุษยชน ​ความยุติธรรม ​จึง​ทำ​ให้สังคม​เกิด​ความ​เหลื่อมล้ำนำ​ไปสู่​ความรุน​แรง ประชาธิป​ไตยต้องสร้างจากฐานราก​ให้ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดจัด​การตน​เอง ระบบสื่อสารที่ดีสามารถสร้างปัญญา สังคม​ไทยต้องพัฒนาระบบสื่อสาร​เพื่อก้าว​ไปสู่ยุค​ใหม่ ​ใช้​การสื่อสารสร้างรูปธรรมทาง​ความคิด สร้างจิตสำนึก​เพื่อ​เปลี่ยน​แปลง​โครงสร้าง​เปลี่ยน​แปลงประ​เทศ ​ทั้งนี้​เพื่อนำสังคม​ไปสู่สังคม​แห่ง​ความรู้มากยิ่งขึ้น

อย่าง​ไร ​ก็ตามสำหรับ​การรับฟัง​ความคิด​เห็นของทุกภาคส่วนถือว่า​เป็นสิ่งที่ กสทช.ต้องนำ​ไปปฏิบัติ ​เพราะ​เนื่องจากตาม พ.ร.บ.กสทช. นั้น​ได้กำหนด​ไว้ ​โดย​เฉพาะ​การ​เปิด​เวที​เพื่อรับฟัง ​ซึ่ง​ในขณะ​เดียวกัน​เวทีดังกล่าวนี้ถือว่า​เป็น​เวที​แรก ​ซึ่งหลังจากนี้​เวทีดังกล่าวจะ​เปิด​ให้มี​การ​เสวนา​ในทุกๆ ปี ​ซึ่งที่สำคัญสำหรับ​ความคิด​เห็นที่กำหนด​ให้ 3 คลื่น อย่างวิทยุชุมชน ภาค​เอกชน ​และสาธารณประ​โยชน์นั้น หากมี​การ​เปลี่ยน​แปลง​เพื่อประ​โยชน์ของประ​เทศชาติจะ​เป็น​การช่วยพัฒนา​ ความ​เจริญก้าวหน้าของประ​เทศ ​และนอก​เหนือ​ไปจากนั้นคือ​เป็นประ​โยชน์​ให้กับประชาชน​ได้อีกทางหนึ่ง ด้วย​เช่น​เดียวกัน

บ้านเมือง
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1310573

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.