15 พฤศจิกายน 2555 (เกาะติดประมูล3G)(บทความ) ลุ้น!ซ้ำรอยประมูล3จียักษ์มือถืองัดแผนสำรอง // AIS เตรียมแผนไว้แล้ว และเตรียมป้องสิทธิของบริษัท
ประเด็นหลัก
ขณะที่นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ซึ่งได้ส่งบริษัทลูก คือ เอดับบลิว เอ็น เข้าประกวดราคา เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองปัญหาก็คือระยะเวลาการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทอดเวลาออกไปนานแค่ไหน ซึ่งในตอนนี้ เอไอเอส ได้เตรียมแผนสำรองฉุกเฉินในเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หนึ่งในผู้ชนะการประมูล แสดงท่าทีพร้อมดำเนินการตามมาตรการด้านกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของบริษัทบนความมั่นใจว่าขั้นตอนการประมูลทั้งหมดได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่นเดียวกับ กสทช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553
______________________________
ลุ้น!ซ้ำรอยประมูล3จียักษ์มือถืองัดแผนสำรอง
ใครๆ ก็ลุ้นกันว่าการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ผลัดใบจาก กทช.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) มาสู่ยุคของ กสทช. หรือ
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ น่าจะผ่านฉลุย!!
เพราะกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า การเปิดประมูลระบบ 3 จีนั้นต้องมีการแต่งตั้ง กสทช.ขึ้นมาบริหารจัดการ หลังวุฒิสภาผ่านการคัดเลือกได้ กสทช. จำนวน 11 คน
พลันที่ กสทช. จัดตั้งเป็นรูปธรรม พร้อมกำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ทำการเปิดประมูลให้กับเอกชนที่สนใจ แต่สุดท้ายแม้การประมูลจะผ่านพ้นไปแล้วแต่จนแล้วจนรอด กสทช. ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้กับเอกชนจำนวน 3 ราย ไล่เลียงตั้งแต่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น, บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด
เหตุผลหลัก ๆ ที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้กับบรรดาเอกชนได้ในครั้งนี้เนื่องจากว่าฝ่ายที่คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการประมูลเนื่องจากเข้าข่ายส่อเค้า "ฮั้ว" ส่งเรื่องให้ทั้งศาลปกครองกลาง , ป.ป.ช. (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการพิจารณา
จนในที่สุดผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลปกครองยับยั้งการออกใบอนุญาตในครั้งนี้จนกว่ามีคำสั่งศาลปกครองอย่างเป็นทางการ
*** ย้อนรอย
16 ตุลาคม 2555 เป็นวันประวัติศาสตร์ที่อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่จะผลัดใบจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เมื่อ กสทช.กำหนดให้เอกชนที่เข้าประมูลยื่นข้อเสนอราคาเริ่มต้นที่ 4.5 พันล้านบาทโดยแบ่งคลื่นความถี่ทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์แบ่งออกเป็น 9 สลอตสลอตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ โดย เอดับบลิว เอ็น ประมูลได้ในราคา 1.46 หมื่นล้านบาท, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ในวงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในวงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี
แต่หลังจากการประกวดราคาแล้วเสร็จปรากฏว่าทางฝ่ายนักวิชาการ ไล่เลียงตั้งแต่ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธาน ทีดีอาร์ไอ, นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง และ กลุ่มนายสุริยะใส กตะศิลา และกลุ่มกรีน ร้องเรียนและไม่เห็นด้วยว่าการประกวดราคาในครั้งนี้เข้าข่าย "ฮั้ว" และ ในที่สุดกลุ่มนายสุริยะใส กตะศิลา ได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปถึงศาลปกครอง แต่สุดท้ายศาลปกครองไม่รับคำฟ้องพร้อมกับชี้ช่องไว้ว่า บุคคลและกลุ่มบุคคลที่ยื่นคำร้องนี้ สามารถไปยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินให้พิจารณาคำร้องเพื่อยื่นเรื่องต่อศาลปกครองอีกทอดหนึ่งได้
*** ส่งเรื่องถึงศาลฯระงับใบอนุญาต
ในที่สุดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีมติในที่ประชุมกรณีที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล หรือ International Mobile Telecommunication (IMT) ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่วมกันที่จะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินการที่เป็นการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 47 และ พ.ร.บ.กสทช. (พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ โทรคมนาคม พ.ศ.2533 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 41 และ วรรค 7 หรือไม่โดยส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา
** ลุ้นระทึก!
อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นคำร้องไปต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวและให้ศาลปกครองมีมติระงับการออกใบอนุญาต การให้บริการ 3 จีในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคาดกันว่าศาลปกครองอาจจะมีคำสั่งในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ เนื่องจากตามขั้นตอนก็จะต้องตั้งองค์คณะเพื่อพิจารณาเนื้อหาที่ผู้ตรวจการยื่นฟ้องก่อน แต่จนถึง ณ ขณะนี้ยังไม่มีคำสั่งอย่างเป็นทางการจากศาลปกครองแต่อย่างใด
***'เศรษฐพงค์' พร้อมชี้แจง
ด้านพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)กล่าวว่า ในขณะนี้คงต้องรอเพียงว่าศาลจะรับเรื่องไว้ไต่สวนหรือไม่ ซึ่งหากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวด้วยการระงับการออกใบอนุญาต 3G กทค.ก็ต้องหยุดกระบวนการทั้งหมด
ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทั้ง 3 รายที่เข้าร่วมการประมูลหากจะฟ้องร้องกสทช.ในกรณีไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ทันตามกำหนดระยะเวลา 90 วันนั้น มองว่าไม่สามารถฟ้องได้ เนื่องจากเป็นคำสั่งศาล ไม่ใช่เป็นการดำเนินการของกสทช.ที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้แต่อย่างใด
***เอไอเอส เตรียมแผนสำรอง
ขณะที่นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ซึ่งได้ส่งบริษัทลูก คือ เอดับบลิว เอ็น เข้าประกวดราคา เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองปัญหาก็คือระยะเวลาการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทอดเวลาออกไปนานแค่ไหน ซึ่งในตอนนี้ เอไอเอส ได้เตรียมแผนสำรองฉุกเฉินในเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หนึ่งในผู้ชนะการประมูล แสดงท่าทีพร้อมดำเนินการตามมาตรการด้านกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของบริษัทบนความมั่นใจว่าขั้นตอนการประมูลทั้งหมดได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่นเดียวกับ กสทช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประมูล 3G ทั้ง 3 ราย ยืนยันหนักแน่นว่าไม่มีการสมรู้ร่วมคิดหรือการฮั้วใด ๆ ในขั้นตอนการประมูล โดยแม้จะมีกระแสข่าวว่าพบหลักฐานการฮั้วประมูล แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องล้วนไม่มีการดำเนินการใดๆ มีเพียงการกล่าวลอยๆ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรม และเพื่อความยุติธรรม ในเมื่อ 3G IM (หนังสือชี้ชวนการลงทุนสำหรับการประมูลใบอนุญาต 3G) ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ กสทช. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการประมูลอย่างจริงจัง ซึ่งหาก กสทช. ละเลยไม่สนใจดำเนินการ กสทช. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมก็จะมีความผิดตามกฎหมายเหมือนกัน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=153784:3&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
ขณะที่นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ซึ่งได้ส่งบริษัทลูก คือ เอดับบลิว เอ็น เข้าประกวดราคา เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองปัญหาก็คือระยะเวลาการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทอดเวลาออกไปนานแค่ไหน ซึ่งในตอนนี้ เอไอเอส ได้เตรียมแผนสำรองฉุกเฉินในเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หนึ่งในผู้ชนะการประมูล แสดงท่าทีพร้อมดำเนินการตามมาตรการด้านกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของบริษัทบนความมั่นใจว่าขั้นตอนการประมูลทั้งหมดได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่นเดียวกับ กสทช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553
______________________________
ลุ้น!ซ้ำรอยประมูล3จียักษ์มือถืองัดแผนสำรอง
ใครๆ ก็ลุ้นกันว่าการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ผลัดใบจาก กทช.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) มาสู่ยุคของ กสทช. หรือ
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ น่าจะผ่านฉลุย!!
เพราะกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า การเปิดประมูลระบบ 3 จีนั้นต้องมีการแต่งตั้ง กสทช.ขึ้นมาบริหารจัดการ หลังวุฒิสภาผ่านการคัดเลือกได้ กสทช. จำนวน 11 คน
พลันที่ กสทช. จัดตั้งเป็นรูปธรรม พร้อมกำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ทำการเปิดประมูลให้กับเอกชนที่สนใจ แต่สุดท้ายแม้การประมูลจะผ่านพ้นไปแล้วแต่จนแล้วจนรอด กสทช. ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้กับเอกชนจำนวน 3 ราย ไล่เลียงตั้งแต่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น, บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด
เหตุผลหลัก ๆ ที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้กับบรรดาเอกชนได้ในครั้งนี้เนื่องจากว่าฝ่ายที่คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการประมูลเนื่องจากเข้าข่ายส่อเค้า "ฮั้ว" ส่งเรื่องให้ทั้งศาลปกครองกลาง , ป.ป.ช. (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการพิจารณา
จนในที่สุดผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลปกครองยับยั้งการออกใบอนุญาตในครั้งนี้จนกว่ามีคำสั่งศาลปกครองอย่างเป็นทางการ
*** ย้อนรอย
16 ตุลาคม 2555 เป็นวันประวัติศาสตร์ที่อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่จะผลัดใบจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เมื่อ กสทช.กำหนดให้เอกชนที่เข้าประมูลยื่นข้อเสนอราคาเริ่มต้นที่ 4.5 พันล้านบาทโดยแบ่งคลื่นความถี่ทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์แบ่งออกเป็น 9 สลอตสลอตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ โดย เอดับบลิว เอ็น ประมูลได้ในราคา 1.46 หมื่นล้านบาท, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ในวงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในวงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี
แต่หลังจากการประกวดราคาแล้วเสร็จปรากฏว่าทางฝ่ายนักวิชาการ ไล่เลียงตั้งแต่ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธาน ทีดีอาร์ไอ, นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง และ กลุ่มนายสุริยะใส กตะศิลา และกลุ่มกรีน ร้องเรียนและไม่เห็นด้วยว่าการประกวดราคาในครั้งนี้เข้าข่าย "ฮั้ว" และ ในที่สุดกลุ่มนายสุริยะใส กตะศิลา ได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปถึงศาลปกครอง แต่สุดท้ายศาลปกครองไม่รับคำฟ้องพร้อมกับชี้ช่องไว้ว่า บุคคลและกลุ่มบุคคลที่ยื่นคำร้องนี้ สามารถไปยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินให้พิจารณาคำร้องเพื่อยื่นเรื่องต่อศาลปกครองอีกทอดหนึ่งได้
*** ส่งเรื่องถึงศาลฯระงับใบอนุญาต
ในที่สุดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีมติในที่ประชุมกรณีที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล หรือ International Mobile Telecommunication (IMT) ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่วมกันที่จะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินการที่เป็นการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 47 และ พ.ร.บ.กสทช. (พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ โทรคมนาคม พ.ศ.2533 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 41 และ วรรค 7 หรือไม่โดยส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา
** ลุ้นระทึก!
อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นคำร้องไปต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวและให้ศาลปกครองมีมติระงับการออกใบอนุญาต การให้บริการ 3 จีในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคาดกันว่าศาลปกครองอาจจะมีคำสั่งในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ เนื่องจากตามขั้นตอนก็จะต้องตั้งองค์คณะเพื่อพิจารณาเนื้อหาที่ผู้ตรวจการยื่นฟ้องก่อน แต่จนถึง ณ ขณะนี้ยังไม่มีคำสั่งอย่างเป็นทางการจากศาลปกครองแต่อย่างใด
***'เศรษฐพงค์' พร้อมชี้แจง
ด้านพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)กล่าวว่า ในขณะนี้คงต้องรอเพียงว่าศาลจะรับเรื่องไว้ไต่สวนหรือไม่ ซึ่งหากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวด้วยการระงับการออกใบอนุญาต 3G กทค.ก็ต้องหยุดกระบวนการทั้งหมด
ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทั้ง 3 รายที่เข้าร่วมการประมูลหากจะฟ้องร้องกสทช.ในกรณีไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ทันตามกำหนดระยะเวลา 90 วันนั้น มองว่าไม่สามารถฟ้องได้ เนื่องจากเป็นคำสั่งศาล ไม่ใช่เป็นการดำเนินการของกสทช.ที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้แต่อย่างใด
***เอไอเอส เตรียมแผนสำรอง
ขณะที่นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ซึ่งได้ส่งบริษัทลูก คือ เอดับบลิว เอ็น เข้าประกวดราคา เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองปัญหาก็คือระยะเวลาการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทอดเวลาออกไปนานแค่ไหน ซึ่งในตอนนี้ เอไอเอส ได้เตรียมแผนสำรองฉุกเฉินในเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หนึ่งในผู้ชนะการประมูล แสดงท่าทีพร้อมดำเนินการตามมาตรการด้านกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของบริษัทบนความมั่นใจว่าขั้นตอนการประมูลทั้งหมดได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่นเดียวกับ กสทช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประมูล 3G ทั้ง 3 ราย ยืนยันหนักแน่นว่าไม่มีการสมรู้ร่วมคิดหรือการฮั้วใด ๆ ในขั้นตอนการประมูล โดยแม้จะมีกระแสข่าวว่าพบหลักฐานการฮั้วประมูล แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องล้วนไม่มีการดำเนินการใดๆ มีเพียงการกล่าวลอยๆ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรม และเพื่อความยุติธรรม ในเมื่อ 3G IM (หนังสือชี้ชวนการลงทุนสำหรับการประมูลใบอนุญาต 3G) ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ กสทช. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการประมูลอย่างจริงจัง ซึ่งหาก กสทช. ละเลยไม่สนใจดำเนินการ กสทช. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมก็จะมีความผิดตามกฎหมายเหมือนกัน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=153784:3&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
ไม่มีความคิดเห็น: