22 พฤศจิกายน 2555 (ลงทุนเบื้องต้นกว่า 1 แสนล้านบาท ) “สมาคมโทรคมนาคมไทย” เดินหน้าหารือ เร่งเวลาอนุญาตตั้งเสาโทรคมนาคม
ประเด็นหลัก
นายวิชัย เบญจรงคกุล เปิดเผยภายหลังเข้าหารือว่า ได้ขอให้มีการทบทวนปรับปรุงแก้ไขประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้สิทธิในการปักเสาหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบให้บริการโทรคมนาคม เพื่อทำธุรกิจติดตั้งโครงข่ายและให้บริการโทรคมนาคม เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการมีกระบวนการ ขั้นตอนยื่นขอใช้ติดตั้งอุปกรณ์ มีระยะเวลานานกว่า 3-6 เดือน โดยต้องผ่านการบอร์ด กทค. และขอให้เห็นชอบต่อบอร์ด กสทช. จึงจะสามารถอนุญาตให้ผู้ประกอบการ เพื่อไปยื่นให้กับการไฟฟ้า เพื่อขออนุญาตติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม
นายก สทค. กล่าวต่อว่า ประเด็นที่หารือ ประกอบด้วย มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมภายในประเทศ โดยมีส่วนแบ่งจากงบประมาณลงทุนเบื้องต้นกว่า 1 แสนล้านบาท จากการติดตั้งและขยายโครงข่าย 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หลังได้รับใบอนุญาต หรือไลเซ่นส์จาก กสทช. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศได้มีส่วนแบ่งจากมูลค่าดังกล่าว และป้องกันการไหลออกนอกประเทศจากการที่ผู้ให้บริการหันไปเลือกใช้อุปกรณ์จากประเทศจีน และเกาหลีใต้แทนการใช้บริษัทในประเทศ
ดังนั้นจึงขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนให้มีความรวดเร็ว และขอให้มี กทค.พิจารณาขอใช้สิทธิแห่งทางแบบกระบวนการพิจารณาเร่งด่วน เป็นเวลา 7 วันทำการ และช่วยให้การไฟฟ้าเข้าใจกฎระเบียบเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน
_______________________________________
สทค. ขอ กสทช. เร่งเวลาอนุญาตตั้งเสาโทรคมนาคม
“สมาคมโทรคมนาคมไทย” เดินหน้าหารือ ขอ กสทช.พิจาณากระบวนการการใช้สิทธิพาดเสาโทรคมนาคม เร็วขึ้น จากเดิม 3-6 เดือน และหนุนให้ผู้ประกอบการใช้อุปกรณ์ผลิตในประเทศ
วันนี้ (22พ.ย.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายวิชัย เบญจรงคกุล นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(สทค.) ได้เข้าพบ พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กสทช.และคณะกรรมการโทรคมนาคม(กทค.) เพื่อขอให้พิจารณาการแก้ไขปัญหาและมีมาตรการช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมภายในประเทศ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้มีการแข่งขันที่เสรีเป็นธรรม ให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการพัฒนาของภาคเอกชน
นายวิชัย เบญจรงคกุล เปิดเผยภายหลังเข้าหารือว่า ได้ขอให้มีการทบทวนปรับปรุงแก้ไขประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้สิทธิในการปักเสาหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบให้บริการโทรคมนาคม เพื่อทำธุรกิจติดตั้งโครงข่ายและให้บริการโทรคมนาคม เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการมีกระบวนการ ขั้นตอนยื่นขอใช้ติดตั้งอุปกรณ์ มีระยะเวลานานกว่า 3-6 เดือน โดยต้องผ่านการบอร์ด กทค. และขอให้เห็นชอบต่อบอร์ด กสทช. จึงจะสามารถอนุญาตให้ผู้ประกอบการ เพื่อไปยื่นให้กับการไฟฟ้า เพื่อขออนุญาตติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม
ดังนั้นจึงขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนให้มีความรวดเร็ว และขอให้มี กทค.พิจารณาขอใช้สิทธิแห่งทางแบบกระบวนการพิจารณาเร่งด่วน เป็นเวลา 7 วันทำการ และช่วยให้การไฟฟ้าเข้าใจกฎระเบียบเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน
นอกจากขอให้ กทค.มีมาตรการส่งเสริม โดยให้พิจารณาแก้ไขประกาศ กทช.เรื่อง มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. 2553 โดยสมาคมฯขอให้เพิ่ม ผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตโดย ผู้ผลิตในประเทศ ที่มีคุณสมบัติรับรองคุณภาพ มอก.9001 , ใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ตาม มอก. , ใบแสดงเครื่องหมาย มอก.และหนังสือรับอนุมัติจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้ได้รับสิทธิ์ในการพิจารณา เพื่อสร้างความทัดเทียมและเป็นธรรม ให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/168321
_______________________________________
สทค.ถก กสทช.หนุนค่ายมือถือใช้อุปกรณ์โทรคมฯ ทำในไทย
“วิชัย เบญจรงคกุล” นายกสมาคมโทรคมนาคมไทย หารือ กสทช. หนุนค่ายมือถือเลือกใช้ผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์ในประเทศ พร้อมลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 3 จี...
เมื่อวันที่ 22 พ.ย. นายวิชัย เบญจรงคกุล นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ สทค. กล่าวว่า วันนี้ได้เข้าพบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เพื่อขอให้ กสทช. พิจารณาการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์แห่งทาง และมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมภายในประเทศ โดยมีพลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช. เป็นผู้รับเรื่องไว้
นายก สทค. กล่าวต่อว่า ประเด็นที่หารือ ประกอบด้วย มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมภายในประเทศ โดยมีส่วนแบ่งจากงบประมาณลงทุนเบื้องต้นกว่า 1 แสนล้านบาท จากการติดตั้งและขยายโครงข่าย 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หลังได้รับใบอนุญาต หรือไลเซ่นส์จาก กสทช. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศได้มีส่วนแบ่งจากมูลค่าดังกล่าว และป้องกันการไหลออกนอกประเทศจากการที่ผู้ให้บริการหันไปเลือกใช้อุปกรณ์จากประเทศจีน และเกาหลีใต้แทนการใช้บริษัทในประเทศ
ทั้งนี้ ขอให้ทบทวนปรับปรุงแก้ไขประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้สิทธิ์ในการปักเสาหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ ประกอบให้บริการโทรคมนาคม เพื่อลดระยะเวลาการติดตั้งโครงข่ายของผู้ประกอบการให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลา 3-6 เดือน โดยต้องเข้าบอร์ด กทค. เพื่อให้เห็นชอบ ก่อนนำเสนอเข้าบอร์ด กสทช. จึงจะสามารถอนุญาตให้ผู้ประกอบการเพื่อไปยื่นให้กับการไฟฟ้า เพื่อขออนุญาตติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม
นอกจากนี้ ยังต้องการให้ กทค.มีมาตรการส่งเสริม และพิจารณาแก้ไขประกาศ กทช.เรื่องมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 โดย สทค.ขอให้เพิ่มผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยผู้ผลิตในประเทศ ที่มีคุณสมบัติรับรองคุณภาพ มอก.9001 ใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ตาม มอก.ใบแสดงเครื่องหมาย มอก.และหนังสือรับอนุมัติจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้ได้รับสิทธิ์ในการพิจารณา เพื่อสร้างความเท่าเทียม และเป็นธรรมให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย
นายเจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สทค.เคยส่งจดหมายมาที่ กทค.แล้ว และคณะทำงานฯ เตรียมเสนอให้คณะกรรมการ หรือ บอร์ด กทค.พิจารณาปรับลดค่าธรรมเนียมไลเซ่นส์รายปี จากเดิม 2% เหลือ 1% สำหรับผู้ได้รับไลเซ่นส์ที่เลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งโครงข่าย เช่น ไฟเบอร์ออปติก เราท์เตอร์ สวิตช์ ของบริษัทในประเทศ
สำหรับเงื่อนไขดังกล่าวบรรจุอยู่ในระเบียบส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องโทรคมนาคม และจะนำเสนอ บอร์ด กทค.เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ หาก กทค.เห็นชอบจะส่งผลให้อัตราค่าธรรมเนียมไลเซ่นส์ที่เอกชนต้องจ่ายต่อปีเหลือเพียง 4.75% จากเดิมที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2% และค่ากองทุนพัฒนาบริการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ทั่วถึง หรือ USO 3.75% รวม 5.75%
ขณะที่เม็ดเงินลงทุนโครงข่าย 3 จี ของผู้ให้บริการทั้ง 3 รายใน 3 ปีแรก รวมกันอยู่ที่ 1.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด จำนวน 5 หมื่นล้านบาท บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด จำนวน 4 หมื่นล้านบาท และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด 2 หมื่นล้านบาท โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า บริการ 3 จี จะช่วยกระตุ้นการใช้ดาต้าให้เติบโตขึ้นเป็น 35.6-44% หรือมีมูลค่า 7 หมื่นล้านบาท และทำให้อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในปี 2556 หรือปีหน้า มีมูลค่ามากกว่า 2.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีมูลค่า 1.88 แสนล้านบาท
ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/308087
นายวิชัย เบญจรงคกุล เปิดเผยภายหลังเข้าหารือว่า ได้ขอให้มีการทบทวนปรับปรุงแก้ไขประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้สิทธิในการปักเสาหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบให้บริการโทรคมนาคม เพื่อทำธุรกิจติดตั้งโครงข่ายและให้บริการโทรคมนาคม เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการมีกระบวนการ ขั้นตอนยื่นขอใช้ติดตั้งอุปกรณ์ มีระยะเวลานานกว่า 3-6 เดือน โดยต้องผ่านการบอร์ด กทค. และขอให้เห็นชอบต่อบอร์ด กสทช. จึงจะสามารถอนุญาตให้ผู้ประกอบการ เพื่อไปยื่นให้กับการไฟฟ้า เพื่อขออนุญาตติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม
นายก สทค. กล่าวต่อว่า ประเด็นที่หารือ ประกอบด้วย มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมภายในประเทศ โดยมีส่วนแบ่งจากงบประมาณลงทุนเบื้องต้นกว่า 1 แสนล้านบาท จากการติดตั้งและขยายโครงข่าย 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หลังได้รับใบอนุญาต หรือไลเซ่นส์จาก กสทช. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศได้มีส่วนแบ่งจากมูลค่าดังกล่าว และป้องกันการไหลออกนอกประเทศจากการที่ผู้ให้บริการหันไปเลือกใช้อุปกรณ์จากประเทศจีน และเกาหลีใต้แทนการใช้บริษัทในประเทศ
ดังนั้นจึงขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนให้มีความรวดเร็ว และขอให้มี กทค.พิจารณาขอใช้สิทธิแห่งทางแบบกระบวนการพิจารณาเร่งด่วน เป็นเวลา 7 วันทำการ และช่วยให้การไฟฟ้าเข้าใจกฎระเบียบเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน
_______________________________________
สทค. ขอ กสทช. เร่งเวลาอนุญาตตั้งเสาโทรคมนาคม
“สมาคมโทรคมนาคมไทย” เดินหน้าหารือ ขอ กสทช.พิจาณากระบวนการการใช้สิทธิพาดเสาโทรคมนาคม เร็วขึ้น จากเดิม 3-6 เดือน และหนุนให้ผู้ประกอบการใช้อุปกรณ์ผลิตในประเทศ
วันนี้ (22พ.ย.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายวิชัย เบญจรงคกุล นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(สทค.) ได้เข้าพบ พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กสทช.และคณะกรรมการโทรคมนาคม(กทค.) เพื่อขอให้พิจารณาการแก้ไขปัญหาและมีมาตรการช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมภายในประเทศ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้มีการแข่งขันที่เสรีเป็นธรรม ให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการพัฒนาของภาคเอกชน
นายวิชัย เบญจรงคกุล เปิดเผยภายหลังเข้าหารือว่า ได้ขอให้มีการทบทวนปรับปรุงแก้ไขประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้สิทธิในการปักเสาหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบให้บริการโทรคมนาคม เพื่อทำธุรกิจติดตั้งโครงข่ายและให้บริการโทรคมนาคม เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการมีกระบวนการ ขั้นตอนยื่นขอใช้ติดตั้งอุปกรณ์ มีระยะเวลานานกว่า 3-6 เดือน โดยต้องผ่านการบอร์ด กทค. และขอให้เห็นชอบต่อบอร์ด กสทช. จึงจะสามารถอนุญาตให้ผู้ประกอบการ เพื่อไปยื่นให้กับการไฟฟ้า เพื่อขออนุญาตติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม
ดังนั้นจึงขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนให้มีความรวดเร็ว และขอให้มี กทค.พิจารณาขอใช้สิทธิแห่งทางแบบกระบวนการพิจารณาเร่งด่วน เป็นเวลา 7 วันทำการ และช่วยให้การไฟฟ้าเข้าใจกฎระเบียบเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน
นอกจากขอให้ กทค.มีมาตรการส่งเสริม โดยให้พิจารณาแก้ไขประกาศ กทช.เรื่อง มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. 2553 โดยสมาคมฯขอให้เพิ่ม ผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตโดย ผู้ผลิตในประเทศ ที่มีคุณสมบัติรับรองคุณภาพ มอก.9001 , ใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ตาม มอก. , ใบแสดงเครื่องหมาย มอก.และหนังสือรับอนุมัติจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้ได้รับสิทธิ์ในการพิจารณา เพื่อสร้างความทัดเทียมและเป็นธรรม ให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/168321
_______________________________________
สทค.ถก กสทช.หนุนค่ายมือถือใช้อุปกรณ์โทรคมฯ ทำในไทย
“วิชัย เบญจรงคกุล” นายกสมาคมโทรคมนาคมไทย หารือ กสทช. หนุนค่ายมือถือเลือกใช้ผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์ในประเทศ พร้อมลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 3 จี...
เมื่อวันที่ 22 พ.ย. นายวิชัย เบญจรงคกุล นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ สทค. กล่าวว่า วันนี้ได้เข้าพบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เพื่อขอให้ กสทช. พิจารณาการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์แห่งทาง และมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมภายในประเทศ โดยมีพลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช. เป็นผู้รับเรื่องไว้
นายก สทค. กล่าวต่อว่า ประเด็นที่หารือ ประกอบด้วย มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมภายในประเทศ โดยมีส่วนแบ่งจากงบประมาณลงทุนเบื้องต้นกว่า 1 แสนล้านบาท จากการติดตั้งและขยายโครงข่าย 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หลังได้รับใบอนุญาต หรือไลเซ่นส์จาก กสทช. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศได้มีส่วนแบ่งจากมูลค่าดังกล่าว และป้องกันการไหลออกนอกประเทศจากการที่ผู้ให้บริการหันไปเลือกใช้อุปกรณ์จากประเทศจีน และเกาหลีใต้แทนการใช้บริษัทในประเทศ
ทั้งนี้ ขอให้ทบทวนปรับปรุงแก้ไขประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้สิทธิ์ในการปักเสาหรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ ประกอบให้บริการโทรคมนาคม เพื่อลดระยะเวลาการติดตั้งโครงข่ายของผู้ประกอบการให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลา 3-6 เดือน โดยต้องเข้าบอร์ด กทค. เพื่อให้เห็นชอบ ก่อนนำเสนอเข้าบอร์ด กสทช. จึงจะสามารถอนุญาตให้ผู้ประกอบการเพื่อไปยื่นให้กับการไฟฟ้า เพื่อขออนุญาตติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม
นอกจากนี้ ยังต้องการให้ กทค.มีมาตรการส่งเสริม และพิจารณาแก้ไขประกาศ กทช.เรื่องมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 โดย สทค.ขอให้เพิ่มผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยผู้ผลิตในประเทศ ที่มีคุณสมบัติรับรองคุณภาพ มอก.9001 ใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ตาม มอก.ใบแสดงเครื่องหมาย มอก.และหนังสือรับอนุมัติจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้ได้รับสิทธิ์ในการพิจารณา เพื่อสร้างความเท่าเทียม และเป็นธรรมให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย
นายเจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สทค.เคยส่งจดหมายมาที่ กทค.แล้ว และคณะทำงานฯ เตรียมเสนอให้คณะกรรมการ หรือ บอร์ด กทค.พิจารณาปรับลดค่าธรรมเนียมไลเซ่นส์รายปี จากเดิม 2% เหลือ 1% สำหรับผู้ได้รับไลเซ่นส์ที่เลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งโครงข่าย เช่น ไฟเบอร์ออปติก เราท์เตอร์ สวิตช์ ของบริษัทในประเทศ
สำหรับเงื่อนไขดังกล่าวบรรจุอยู่ในระเบียบส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องโทรคมนาคม และจะนำเสนอ บอร์ด กทค.เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ หาก กทค.เห็นชอบจะส่งผลให้อัตราค่าธรรมเนียมไลเซ่นส์ที่เอกชนต้องจ่ายต่อปีเหลือเพียง 4.75% จากเดิมที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2% และค่ากองทุนพัฒนาบริการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ทั่วถึง หรือ USO 3.75% รวม 5.75%
ขณะที่เม็ดเงินลงทุนโครงข่าย 3 จี ของผู้ให้บริการทั้ง 3 รายใน 3 ปีแรก รวมกันอยู่ที่ 1.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด จำนวน 5 หมื่นล้านบาท บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด จำนวน 4 หมื่นล้านบาท และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด 2 หมื่นล้านบาท โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า บริการ 3 จี จะช่วยกระตุ้นการใช้ดาต้าให้เติบโตขึ้นเป็น 35.6-44% หรือมีมูลค่า 7 หมื่นล้านบาท และทำให้อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในปี 2556 หรือปีหน้า มีมูลค่ามากกว่า 2.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีมูลค่า 1.88 แสนล้านบาท
ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/308087
ไม่มีความคิดเห็น: