Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ธันวาคม 2555 กสทช. ( บอร์ดมือถือ ) เริ่มเน้นคุ้มครองผู้บริโภค สลัดคดีขึ้นศาลนับ100000 ( ขอคนร้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือน )


ประเด็นหลัก


การแก้ปัญหาในเรื่องนี้ จะต้องมองที่แก่นของปัญหาและวิเคราะห์เหตุแห่งปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยจะต้องเกาให้ถูกที่คัน ทั้งนี้เห็นว่าควรเน้นการจัดการปัญหาที่ “ต้นน้ำ" แทนที่จะไปเน้นเฉพาะการเยียวยาปัญหาที่“ปลายน้ำ"  สำหรับการจัดการปัญหาที่ “ต้นน้ำ"นั้น สามารถดำเนินการได้โดยเน้นการให้องค์ความรู้แก่ผู้บริโภคทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งพื้นที่ห่างไกล เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ในการปกป้องสิทธิของผู้บริโภค หากถูกผู้ประกอบการเอาเปรียบจากการใช้บริการมือถือ  เพื่อให้ทราบว่าผู้บริโภคจะเข้าถึงช่องทางในการปกป้องสิทธิตัวเองอย่างไร และจะมีเครื่องมือใดในการขับเคลื่อนให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งการปกป้องสิทธินั้น

ที่สำคัญข้อมูลที่ให้ผู้บริโภคจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือน สำหรับในส่วนของผู้ให้บริการก็จะต้องมีการกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งเน้นเพื่อให้เข้าใจบทบาท หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนสร้างความเข้าใจถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากมีการฝ่าฝืนกฎหมายและขาดความรับผิดชอบต่อสังคม



สำหรับการเยียวยาปัญหาผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบในกิจการโทรคมนาคม “ที่ปลายน้ำ"  ซึ่ง กสทช. ต้องดำเนินการควบคู่ไป นั้น ขณะนี้ กสทช.กำลังเร่งยกเครื่องระบบการรับเรื่องร้องเรียน โดยมีแนวคิดจะจัดทำในรูปแบบ “วันสต็อปเซอร์วิส" เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกรวดเร็วและเป็นธรรมในการร้องเรียนปัญหาการใช้บริการ นอกจากนี้ กสทช. ยังได้ออกระเบียบว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ เพื่อเปิดเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการระงับข้อพิพาท  ซึ่งปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาระบบงานธุรการ และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อบังคับใช้ระเบียบดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด



ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่า การบริหารจัดการข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการมือถือนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะแม้แต่กระบวนการศาลยุติธรรมเองก็มีการต่อยอดระบบไกล่เกลี่ยคดีและระงับข้อพิพาทคดีไปสู่การตั้ง “ศูนย์สมานฉันท์และสันติวิธี” ส่งผลทำให้ศาลยุติธรรมสามารถบริหารจัดการคดีโดยไม่ต้องเข้าสู่สารบบการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมได้ปีละกว่า 100,000 คดี สำนักงาน กสทช.จึงมีแผนงานต่อยอดโครงการนี้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้สิทธิของตัวเองต่อการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมที่ใช้บริการมือถือ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองในการไม่ละเมิดสิทธิของผู้บริโภคและเรียนรู้การเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมือถือด้วยเช่นกัน ดังนั้นสำนักงาน กสทช.ร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรมจึงจะจัดงานสัมมนาเรื่อง “การไกล่เกลี่ยกับทางเลือกใหม่ของการระงับข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการโทรคมนาคม” ในวันพุธที่ 26 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ เพื่อแนะนำกลไกการไกล่เกลี่ยในด้านโทรคมนาคมให้เป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้บริโภคในการระงับข้อพิพาทที่มีต่อผู้ประกอบการโทรคมนาคม ตลอดจนสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง








________________________________



กสทช.เร่งวางมาตรการรองรับข้อพิพาทโทรคมฯ เน้นคุ้มครองผู้บริโภค


นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ด้านกฎหมายในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อมีการเปิดให้บริการ 3 จี อย่างเต็มรูปแบบแล้ว  สิ่งที่จะตามมาก็คือข้อพิพาทมือถือระหว่างผู้บริโภคที่ใช้บริการกับผู้ให้บริการจะเพิ่มขึ้นว ดังนั้นนอกจากจะเร่งปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ ตลอดจนนำระบบไกล่เกลี่ยมาใช้เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคแล้ว กสทช. จำเป็นจะต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในกิจการโทรคมนาคมให้รู้จักบทบาท  หน้าที่  และสิทธิ์ ที่พึ่งมีพึ่งปฎิบัติตามกรอบ กติกา ของกฎหมายที่บัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด


ในฐานะที่ กสทช. โดย บอร์ด กทค. เป็นหน่วยงานออกใบอนุญาตและมีหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม จึงต้องวางมาตรการรองรับปัญหาข้อพิพาทมือถือไว้ล่วงหน้า  และเพื่อเป็นการทำงานในเชิงรุก ซึ่งส่วนตัวแล้วเห็นว่า กระบวนการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม  จะต้องก้าวสู่ยุค “คิดในเชิงบวกทำในเชิงบวกทั้งระบบ"  เพราะที่ผ่านมางานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ถูกมองว่ามีลักษณะจ้องจับผิดรายวันในประเด็นปัญหาปลีกย่อยและมุ่งตำหนิการทำงานของบอร์ดและสำนักงาน กสทช.  ซึ่งมิได้เป็นการมองที่แก่นของปัญหาหรือมิได้มองไปที่เหตุแห่งปัญหา ส่งผลให้เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดและขาดประสิทธิภาพในการเยียวยาปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภคจากการถูกเอารัดเอาเปรียบในการใช้บริการมือถือ จนกลายเป็นปัญหารื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน

การแก้ปัญหาในเรื่องนี้ จะต้องมองที่แก่นของปัญหาและวิเคราะห์เหตุแห่งปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยจะต้องเกาให้ถูกที่คัน ทั้งนี้เห็นว่าควรเน้นการจัดการปัญหาที่ “ต้นน้ำ" แทนที่จะไปเน้นเฉพาะการเยียวยาปัญหาที่“ปลายน้ำ"  สำหรับการจัดการปัญหาที่ “ต้นน้ำ"นั้น สามารถดำเนินการได้โดยเน้นการให้องค์ความรู้แก่ผู้บริโภคทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งพื้นที่ห่างไกล เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ในการปกป้องสิทธิของผู้บริโภค หากถูกผู้ประกอบการเอาเปรียบจากการใช้บริการมือถือ  เพื่อให้ทราบว่าผู้บริโภคจะเข้าถึงช่องทางในการปกป้องสิทธิตัวเองอย่างไร และจะมีเครื่องมือใดในการขับเคลื่อนให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งการปกป้องสิทธินั้น

ที่สำคัญข้อมูลที่ให้ผู้บริโภคจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือน สำหรับในส่วนของผู้ให้บริการก็จะต้องมีการกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งเน้นเพื่อให้เข้าใจบทบาท หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนสร้างความเข้าใจถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากมีการฝ่าฝืนกฎหมายและขาดความรับผิดชอบต่อสังคม

"การจัดการปัญหาที่ต้นน้ำ ในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค คือการป้องปรามปัญหามิให้เกิดขึ้น มิใช่รอจนเกิดปัญหาแล้วค่อยไปหามาตรการเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งนอกเหนือจากการให้องค์ความรู้ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ผมยังคิดว่า การสร้างกลไกการขับเคลื่อนให้ผู้บริโภคที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการใช้บริการมือถือให้มีความเข้มแข็งอย่างแท้จริง ก็คือ จะต้องเปิดกว้างให้ผู้บริโภคที่เป็นตัวแทนจากทุกกลุ่มของสังคมไทย เช่น ผู้บริโภคที่เป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม กลุ่มคนพิการทางสายตา  พิการทางหู  พิการในส่วนต่างๆของร่างกาย  กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเยาวชน  กลุ่มผู้บริโภคในสังคมโซเซียลเน็ตเวิร์ค  หรือ แม้แต่กลุ่มผู้บริโภคที่มีความหลากหลายทางเพศ ฯลฯ เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับ กสทช. ในการวิเคราะห์สภาพปัญหาและหามาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น"นายสุทธิพล กล่าว

ทั้งนี้ งานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องยาก ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและที่สำคัญต้องไม่มีการผูกขาดแนวความคิดหรือถูกจำกัดกรอบการดำเนินการโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ควรจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมอย่างหลากหลายและต้องทำในเชิงสร้างสรรค์ ในลักษณะการคิดในเชิงบวกทำในเชิงบวก ซึ่งหากไม่มีการปรับปรุงวิธีการทำงานแล้วก็ยากที่จะทำให้งานคุ้มครองผู้บริโภคประสบผลสำเร็จ โดยในเบื้องต้นเพื่อให้งานสามารถขับเคลื่อนไปได้ควรจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมเพื่อทำงานในเชิงรุก ส่วนในระยะยาวน่าจะพิจารณาให้มีการปรับปรุงโครงสร้างสำนักงาน กสทช.โดยเพิ่มเติมในส่วนงานด้านการมีส่วนร่วม สำหรับรูปแบบที่ชัดเจนจำเป็นจะต้องมีการหารือในรายละเอียดเพื่อให้เกิดความรอบคอบ

สำหรับการเยียวยาปัญหาผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบในกิจการโทรคมนาคม “ที่ปลายน้ำ"  ซึ่ง กสทช. ต้องดำเนินการควบคู่ไป นั้น ขณะนี้ กสทช.กำลังเร่งยกเครื่องระบบการรับเรื่องร้องเรียน โดยมีแนวคิดจะจัดทำในรูปแบบ “วันสต็อปเซอร์วิส" เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกรวดเร็วและเป็นธรรมในการร้องเรียนปัญหาการใช้บริการ นอกจากนี้ กสทช. ยังได้ออกระเบียบว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ เพื่อเปิดเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการระงับข้อพิพาท  ซึ่งปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาระบบงานธุรการ และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อบังคับใช้ระเบียบดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1556045

________________________________



“สุทธิพล” เปิดเกมรุกคุ้มครองผู้บริโภครับปีใหม่ในยุค 3G


- จับมือศาลยุติธรรมผลิตบุคลากรด้านไกล่เกลี่ยเพื่อรับข้อพิพาทมือถือพุ่ง
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย ภายหลังจากเป็นประธานเปิดโครงการอบรมหลักสูตร “ความรู้และเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านโทรคมนาคม” จัดขึ้น ณ โรงแรม ชาโต เดอ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 17-20 ธ.ค. 2555 ว่า โครงการนี้เป็นผลพวงจากความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงาน กสทช. เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบระงับข้อพิพาทด้านโทรคมนาคมโดยวิธีไกล่เกลี่ย ซึ่งล่าสุด กสทช. ได้ออกระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ. 2555 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว โดยปัจจุบันสำนักงาน กสทช.อยู่ระหว่างการจัดระบบงานธุรการและเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินการตามระเบียบนี้ โดย กสทช. ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศาลยุติธรรม โดยเฉพาะท่านวิรัช ชินวินิจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดโครงการอบรมฯนี้ด้วย ทั้งยังสนับสนุนคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลยุติธรรม ในการนี้ กสทช.ยังได้รับความอนุเคราะห์องค์ความรู้จาก “กูรู” ทางด้านการไกล่เกลี่ยและการเจรจาด้วยสันติวิธี อาทิ ศ. นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า , นายโชติช่วง ทัพวงศ์ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลอุทธรณ์ภาค 7 รศ.ดร.โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ ในการเติมองค์ความรู้และถือเป็นโอกาสที่ดียิ่งที่บุคลากรของกสทช.จะเรียนรู้จากประสบการณ์ของศาลยุติธรรม และ “กูรู” เหล่านี้ นำความรู้มาต่อยอดกับแง่มุมของ กสทช. เพื่อนำระบบไกล่เกลี่ยมาใช้กับข้อพิพาทด้านโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว



“จากความร่วมมือและการสนับสนุนของสำนักงานศาลยุติธรรม ทำให้สำนักงาน กสทช.จัดติวเข้มบุคลากรกสทช.ทั่วประเทศ ด้วยการฝึกอบรมและสร้างความคุ้นเคยกับวิธีการไกล่เกลี่ย เพื่อเตรียมรับข้อพิพาทและมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเต็มที่ หลังเปิดบริการมือถือระบบ 3 จี โดยเน้นการเพิ่มทางเลือกในการระงับข้อพิพาทให้ผู้บริโภคด้วยการสร้างกลไกในการบังคับใช้ระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยเรื่องร้องเรียนระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อให้คู่กรณีทราบว่า ถ้าร้องเรียนเข้ามายัง กสทช. เกี่ยวกับข้อพิพาทมือถือแล้วจะมีระบบในการทำงานอย่างไรให้คู่กรณีเกิดความมั่นใจในระบบ และที่สำคัญต้องมีระบบบริหารที่ครบวงจร โดยมีบุคลากรให้คำแนะนำแก่ผู้ร้องเรียน มีการจัดห้องไกล่เกลี่ยอย่างเป็นระบบและเน้นบรรยากาศที่ผ่อนคลายเป็นมิตรระหว่างกันเพื่อนำไปสู่การหาทางออกร่วมกัน ดังนั้นจึงควรแยกประเภทข้อพิพาทเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการข้อพิพาทที่ร้องเรียนเข้ามายัง กสทช.”

ในการนี้ นายอดุลย์ ขันทอง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ในฐานะกำกับดูแลสำนักระงับข้อพิพาทของสำนักงานศาลยุติธรรม ได้แสดงความชื่นชมถึงแนวทางการทำงานของกสทช.ที่นำระบบไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาทด้านโทรคมนาคม ว่า กสทช.เดินมาถูกทางแล้ว ในขณะที่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้ให้ข้อสังเกต ว่า เมื่อมีการเปิดให้บริการ 3 จี อย่างเต็มรูปแบบแล้ว คาดว่าจะมีข้อพิพาทมือถือเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กสทช.จำเป็นจะต้องตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยเพื่อให้มีการบังคับใช้ระเบียบไกล่เกลี่ยของกสทช.โดยเร็ว เพื่อรองรับปริมาณเรื่องร้องเรียนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่า การบริหารจัดการข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการมือถือนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะแม้แต่กระบวนการศาลยุติธรรมเองก็มีการต่อยอดระบบไกล่เกลี่ยคดีและระงับข้อพิพาทคดีไปสู่การตั้ง “ศูนย์สมานฉันท์และสันติวิธี” ส่งผลทำให้ศาลยุติธรรมสามารถบริหารจัดการคดีโดยไม่ต้องเข้าสู่สารบบการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมได้ปีละกว่า 100,000 คดี สำนักงาน กสทช.จึงมีแผนงานต่อยอดโครงการนี้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้สิทธิของตัวเองต่อการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมที่ใช้บริการมือถือ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองในการไม่ละเมิดสิทธิของผู้บริโภคและเรียนรู้การเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมือถือด้วยเช่นกัน ดังนั้นสำนักงาน กสทช.ร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรมจึงจะจัดงานสัมมนาเรื่อง “การไกล่เกลี่ยกับทางเลือกใหม่ของการระงับข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการโทรคมนาคม” ในวันพุธที่ 26 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ เพื่อแนะนำกลไกการไกล่เกลี่ยในด้านโทรคมนาคมให้เป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้บริโภคในการระงับข้อพิพาทที่มีต่อผู้ประกอบการโทรคมนาคม ตลอดจนสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

“มีความเข้าใจอย่างผิดๆว่า การนำระบบไกล่เกลี่ยมาใช้เป็นการเลี่ยงไม่บังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายด้านโทรคมนาคมเพื่อเป็นการช่วยผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นเรื่องที่คลาดเคลื่อนอย่างมาก เพราะแท้จริงแล้วกลไกไกล่เกลี่ยได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นกลไกระงับข้อพิพาททางเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สุด และจะช่วยให้การบังคับกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะช่วยรองรับเรื่องร้องเรียนในยุค 3 จี อย่างได้ผล โดยจะดำเนินการในเรื่องนี้ควบคู่ไปกับการปรับปรุงกลไกรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคมากที่สุด” ดร.สุทธิพล กล่าวทิ้งท้าย


ThaiPR.net
http://www.ryt9.com/s/prg/1556079

_______________________________


กสทช.เดินหน้าเปิดเกมรุกคุ้มครองผู้บริโภครับ3จี

“สุทธิพล ทวีชัยการ” กรรมการ กสทช. เปิดเกมรุกคุ้มครองผู้บริโภครับปีใหม่ในยุค 3จี จับมือศาลยุติธรรมผลิตบุคลากรด้านไกล่เกลี่ยเพื่อรับข้อพิพาทมือถือพุ่ง...

นาย สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายหลังจากเป็นประธานเปิดโครงการอบรมหลักสูตร ความรู้ และเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านโทรคมนาคม ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-20 ธ.ค. 2555 ที่ผ่านมา ว่า โครงการนี้เป็นผลพวงจากความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงาน กสทช. เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบระงับข้อพิพาทด้านโทรคมนาคม โดยวิธีไกล่เกลี่ย ซึ่งล่าสุด กสทช. ได้ออกระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ. 2555 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว โดยปัจจุบันสำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างการจัดระบบงานธุรการและเตรียมบุคลากร เพื่อรองรับการดำเนินการตามระเบียบนี้

ทั้งนี้ จากความร่วมมือและการสนับสนุนของสำนักงานศาลยุติธรรม ทำให้สำนักงาน กสทช. จัดติวเข้มบุคลากร กสทช.ทั่วประเทศ ด้วยการฝึกอบรมและสร้างความคุ้นเคยกับวิธีการไกล่เกลี่ย เพื่อเตรียมรับข้อพิพาทและมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเต็มที่ หลังเปิดบริการมือถือระบบ 3 จี โดยเน้นการเพิ่มทางเลือกในการระงับข้อพิพาทให้ผู้บริโภคด้วยการสร้างกลไกใน การบังคับใช้ระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยเรื่องร้องเรียนระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการให้ เกิดความเป็นธรรมและเกิดประสิทธิภาพ

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า การบริหารจัดการข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการมือถือนั้น มีความจำเป็นมาก เพราะแม้แต่กระบวนการศาลยุติธรรมเองก็มีการต่อยอดระบบไกล่เกลี่ยคดีและระงับ ข้อพิพาทคดีไปสู่การตั้งศูนย์สมานฉันท์และสันติวิธี ส่งผลทำให้ศาลยุติธรรมสามารถบริหารจัดการคดี โดยไม่ต้องเข้าสู่สารบบการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมได้ปีละกว่า 1 แสนคดี ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองในการไม่ละเมิดสิทธิของผู้ บริโภคและเรียนรู้การเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมือถือด้วยเช่นกัน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ข้อสังเกตเมื่อเปิดให้บริการ 3จี อย่างเต็มรูปแบบแล้ว คาดว่าจะมีข้อพิพาทมือถือเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กสทช.จำเป็นต้องตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยเพื่อบังคับใช้ระเบียบไกล่เกลี่ยของ กสทช.โดยเร็ว เพื่อรองรับปริมาณเรื่องร้องเรียนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช.จะจัดงานสัมมนาเรื่อง “การไกล่เกลี่ยกับทางเลือกใหม่ของการระงับข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคกับผู้ ประกอบการโทรคมนาคม” เพื่อแนะนำกลไกการไกล่เกลี่ยในด้านโทรคมนาคมให้เป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้นแก่ ผู้บริโภคในการระงับข้อพิพาทที่มีต่อผู้ประกอบการโทรคมนาคม ตลอดจนสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น ในวันที่ 26 ธ.ค. 2555 ณ โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ.


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/315189


นักธุรกิจประเมินผลงาน 1 ปี กสทช.มีปัญหาเครือข่ายล่ม-ค่าบริการแพง

      นายอานุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระ กล่าวในงานสัมมนา "1 ปี กสทช. กับความสมหวังหรือไม่สมหวังของสังคมไทย" ว่า จากแนวทางการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันช่วงที่ผ่านมา นับว่าผิดหวัง เพราะหลังเกิดการประมูล 3 จีแล้วไม่เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ เพราะยังเป็นรายเดิมที่ตั้งบริษัทลูกขึ้นมา อีกทั้งค่าบริการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไม่ได้เข้าควบคุมโดยแท้จริง เพราะไม่ได้มีต้นแบบต้นทุนการให้บริการเพื่อกำหนดค่าบริการจากประชาชน แม้จะเป็นสิ่งแรกเร่งด่วนของ กสทช.ที่ต้องเร่งดำเนินการ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน
      นายอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทสยามอินเทลลิเจนท์ยูนิต จำกัด กล่าวว่า การย้ายค่ายมือถือเมื่อประชาชนต้องการเปลี่ยนเครือข่าย แต่ทำได้ช้ามากเพียงหลักหมื่น-แสนหมายเลข เพราะควรทำได้หลักล้านเลขหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนเครือข่ายแต่ใช้หมายเลขเดิม ประชาชนจำนวนมากยังไม่ตัดสินใจติดตั้งอินเทอร์เน็ต เพราะเห็นว่าค่าบริการยังแพง และยังไม่เห็นความชัดเจน เพื่อเปิดทางให้ค่ายมือถือโรมมิ่งการให้บริการ เมื่อเกิดภัยพิบัติธรรมชาติร้ายแรง เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสารได้
      ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจะเห็นเครือข่ายมือถือล่มหลายครั้ง แต่ กสทช.เป็นผู้กำกับนอกจากเปรีบเทียบค่าปรับแล้ว ยังไม่เห็นความชัดเจนกับแนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จะมีเพียงการแก้ปัญหารายกรณี เพราะยังไม่มีการออกประกาศ หรือกำหนดแนวทางชัดเชนเพื่อป้องกันปัญหาหลายด้าน ปัญหาโทรหลุด คิดเงินผิด ยังเกิดให้เห็นบ่อยครั้งจากผู้ประกอบการ ดังนั้นการคุ้มครองผู้บริโภคในปีนี้ยังสอบตก เพราะยังเน้นไปในการประมูลมือถือ 3 จี จึงไม่มีเวลามาดูแลผู้บริโภค เพื่ออำนวยความสะดวกกับนักลงทุนประชาชน เมื่อเดินทางเข้าอาเซียน ยังมีค่าบริการทั้งอินเทอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ ยังแพงเหมือนกับเดินทางไปต่างประเทศไกลๆ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนอาเซียนติดต่อกลับบ้าน เพื่อส่งเสริมการลงทุน และเดินทางให้สะดวกขึ้น ควรจับมือโรมมิ่งของกลุ่มอาเซียนไม่ให้มีค่าบริการแพงเกินจริง และการเข้าถึงข้อมูลของ กสทช.ยังไม่อัพเดท และมองว่าใช้งบประมาณมากเกินไปไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพผลงานที่ออกมารวม 1 ปี ใช้ไปแล้ว 2,690 ล้านบาท ทั้งรายจ่ายเงินเดือนดำเนินงาน ครุภัณฑ์นับว่าสูงเกินไป
      นายสมเกียรติ อ่อนวิมล สื่อมวลชนอาวุโส กล่าวว่า ยังไม่พอใจการทำงานของ กสทช. ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เพราะการประมูล 3 จี ควรอยู่บนพื้นฐานการสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนสูงที่สุด ไม่ควรมุ่งหวังการได้เงินเข้ารัฐเพียงอย่างเดียว แต่ กสทช.เกิดความกังวลกับบางฝ่ายว่าควรจะได้รับเงินเข้ารัฐจำนวนมาก เพราะไม่ควรเอาจำนวนเงินเป็นที่ตั้ง ที่สำคัญ กสทช.ควรจะยึดคลื่นวิทยุชุมชนที่สร้างความเสียหายกลับคืนมา เพราะวิทยุชมชนในปัจจุบันถูกนักการเมือง นายทุนตั้งขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการเมือง สร้างกระแส ความเกลียดชัง ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม การขายยาสมุนไพร สินค้าไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ควรนำกลับมาดูแลให้มีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญอีกด้าน ควรเร่งดำเนินการตามข้อตกลงของกลุ่มอาเซียน เพื่อให้โรงเรียนทุกแห่งเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึงในปลายปี 2558 เพราะอีกเพียง 3 ปี ไม่รู้ว่ารัฐบาลและ กสทช.จะดำเนินการได้ทันหรือไม่ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านดำเนินการได้หมดแล้ว เช่น อินโดนีเซีย ทุกเกาะทุกโรงเรียนมีอินเทอร์เน็ตฟรีใช้ได้หมดแล้ว แต่ไทยไม่รู้จะทำได้ทันหรือไม่

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000155708

_____________________________


1 ปี กสทช. นักวิชาการรุมจวก


      นักวิชาการ - ภาคประชาชน จวก 1 ปีกสทช. ล้มเหลวมากกว่าสมหวัง ทั้งตัวกฏหมาย การกำกับค่าบริการ ควบคุมผู้ประกอบการ และดูแลผู้บริโภค
     
      สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดงานเสวนา NBTC Public Forum เรื่อง '1 ปี กับความสมหวังหรือไม่สมหวังของสังคมไทย' โดยเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากมุมมอง จากนักวิชาการ ตัวแทนภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในแวดวงโทรคมนาคม และกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ถึงแนวทางการกำกับดูแลตลอดระยะเวลาของการทำงานของ กสทช.ใน 1 ปีที่ผ่านมา
     
      นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เปิดเผยว่า การกำกับดูแลของ กสทช.นับจากนี้จะดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งด้านโทรคมนาคมและด้านวิทยุโทรทัศน์มากขึ้น
     
      ทั้งนี้ยอมรับว่าปัญหาปัจจุบันมีจำนวนมาก เนื่องจากการเกิดขึ้น ของ กสทช. ล่าช้าไปกว่า 14 ปี ทำให้ปัญหาที่ต้องจัดการ และควบคุมดูแลเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาในการกำหนดแนวทางแก้ไข ขณะเดียวกันคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช. ต้องแสดงถึงความโปร่งใสในการกำกับดูแลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วย
     
      นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ บอร์ดกสทช. และบอร์ดกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า สำหรับการประเมิลผลงานกสทช.ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ในแง่การทำงานด้านกสท. แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.เรื่องการออกกลไกเพื่อกำกับดูแล และเรื่องการออกกฎหมายต่างๆ คิดเป็นความสำเร็จประมาณ 80 - 85% ส่วนในเรื่องการกำกับดูแลในกิจการ กสท. ยังค่อนข้างมีปัญหาอีกมาก และยังไม่สามารถกำกับดูแลได้ให้ความสำเร็จแค่ 50%
     
      ด้าน ดร.อนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การทำงานของ กสทช.1 ปีที่ผ่านมา ล้มเหลวในแง่ของกฏหมาย และองค์กร โดยกฏหมายต่างๆ ที่ กสทช.ประกาศใช้ ไม่สามารถทำให้เกิดการแข่งขัน และไม่ได้ดูแลเรื่องของอัตราค่าบริการได้ เช่น ในต่างประเทศอัตราการเข้าถึง และค่าบริการอินเทอร์เน็ต ในอัตราที่ถูก จากการสำรวจของบริษัท แม็คแคนซี่ ในประเทศที่พัฒนาแล้วรวมถึงประเทศไทย ราคาต้นทุน บวกอัตรากำไรต่อจำนวน 1 Mbps อยู่ที่ 3 สตางค์ และการให้บริการด้านเสียง ต้นทุนอยู่ที่ 12 สตางค์ บริการข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) 20 สตางค์ ปัจจุบันประเทศไทยราคาทั่วไปอยู่ที่ 1 Mbps ต่อ 10 บาท แต่ถ้าเป็นแพกแกจจะอยู่ที่ 1 Mbps ต่อ 10 สตางค์ ทำให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกับผู้ด้อยโอกาส
     
      "ภายหลังจากศาลมีคำสั่งยกคำร้องกรณีการกำหนดวันหมดอายุการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน (พรีเพด) โดย กสทช.สั่งปรับวันละ 1 แสนบาท บริษัท ทรูมูฟ จำกัด แล้ว กสทช.ก็ยังไม่สามารถทำอะไรผู้ประกอบการได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างแรกคือการผูกขาดของธุรกิจดาวเทียม ทั้งที่กสทช.ก็ทราบดีแต่ก็ไม่ทำอะไรเลย และหากถ้าวงโครงจรใดหลุดไปผมคงไม่พอใจอย่ามาก เพราะวงโครจรถือเป็นทรัพย์สินของประเทศชาติ"
     
      ขณะเดียวกันสื่อวิทยุ และโทรทัศน์ ก็เกิดปัญญาใหญ่มาก คือ 1.ไม่สามารถเข้าไปยุ่งกับเรื่องโครงสร้างได้ 2.เนื้อหา (คอนเทนต์) ปัจจุบันไม่มีการรู้เท่าทันสื่อทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคม โดยแนะว่าควรที่จะนำเงินกองทุน มาสนับสนุนการรู้เท่าทันสื่อในระดับการศึกษาต้นๆ
     
      ส่วน ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตั้งแต่ กสทช. ก่อตั้งขึ้นมา เป็นเหมือนมือใหม่หัดขับ ดังนั้น กสทช.ควรจะมากำกับดูแลปัญหาที่มีสะสมมากว่า 10 ปี โดยเฉพาะการทำงานด้าน กสท. เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดมากกำกับดูแลก่อนหน้านี้ ซึ่ง ต่างจาก กทค.ที่มีการดูในของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.มาก่อนหน้านี้
     
      "ปัญหาที่เห็นได้ชัดคือ กรอบการทำงานร่วมกัน ระหว่างบอร์ดของแต่ละฝั่ง คือ บอร์ดกสท. และกทค. เพราะที่ผ่านมา ต่างคนต่างทำไม่มีการทำงานวิจัยถึงผลดีผลเสีย ในการแก้ปัญหามาก่อน ทั้งเรื่องโทรคมนาคมและวิทยุโทรทัศน์"
     
      อย่างไรก็ตามกสทช.ยังจะต้องเผยแพร่ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้บริโภคและ กสทช.จะต้องออกกฏเกณฑ์เพื่อบังคับผู้ประกอบการเอกชนทั้งฝั่งวิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม ให้เปิดเผยข้อเท็จจริงแก่ผู้บริโภคในทุกๆ เรื่องเช่นเดียวกัน เนื่องจากที่ผ่านมาผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบมาโดยตลอด
     
      ทางด้านนายสุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การทำงาน ของกสทช.ที่ผ่านมาโดยเฉพาะเรื่องการออกฎหมายในกิจการโทรคมนาคม เท่าที่ผ่านมาถือว่าเป็นการออกกฎหมาย และกำหนดเกณฑ์ของ กทค.ไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย แต่เป็นเพียงการใช้กฎหมายที่ผิดเจตนารมณ์รวมถึงแผนแม่บท กสทช.ไม่มีการระบุการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดตั้งแต่ต้น และโครงสร้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเลย
     
      "การประมูล 3G ที่ผ่านมา ผมมองว่าหากเป็นในต่างประเทศจะให้ระยะเวลาสำหรับผู้ประกอบการเตรียมตัวกันเป็นปีๆ บางประเทศก็ถึง 3 ปี แต่สำหรับประเทศไทย แค่ 3 เดือน มันเหมือนเป็นการเตรียมตัวน้อยและเป็นการล็อคให้กับผู้ประกอบการรายเก่าอยู่แล้ว เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้าร่วมประมูลไม่สามารถเตรียมตัวได้ทันในระยะเวลาสั้นๆ อยู่แล้ว จึงทำให้การแข่งขันในตาดไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม"
     
      ขณะที่การกำกับดูแลของบอร์ด กสท.ควรที่จะควบคุมมากกว่ากำกับ เนื่องจากที่ผ่านมา ยังกลัวๆ กล้าๆ เรื่องอำนาจและหน้าที่ ในการเรียกคืนคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุและโทรทัศน์อีกทั้งทุกวันนี้ยังมีสื่อโทรทัศน์ที่เป็นของรัฐ แม้จะมีกฎหมายของพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ออกมาแล้ว 5 ปี แต่ก็เหมือนการทำหน้าที่ของกสท. กลัวคนที่มีอำนาจมีคลื่นอยู่แล้วเสียใจ ไม่กล้าเอาคืน ก็เกิดอาการกลัวๆ กล้าๆ ไม่เปิดการแข่งขันในตลาดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี
     
      นอกจากนี้ในภาคประชาชนได้ กล่าวว่า ปัญหาในกิจการโทรคมนาคม เรื่องการแก้ปัญญาการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ตทบิลิตี้) ปัจจุบันมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยากซ้ำซ้อน และใช้เวลาการโอนย้ายเลขหมายไปยังอีกผู้ให้บริการ ทั้งขาเข้าและขาออก เป็นเวลาหลายวัน ซึ่งตามกำหนดเดิมที่ กสทช.กำหนดไว้ให้ผู้ให้บริการต้องโอนย้ายให้สำเร็จภายใน 3 วัน ขณะที่ปัญหาเรื่องการติดตั้งเสาสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มีปัญญาเนื่องจากไม่มีระเบียบในการติดตั้ง โดยทำให้ความเสี่ยงและเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในบริเวณ การตั้งเสาสัญญาณนั้นๆ

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000155886

___________________________


กสทช. 1ปี ผลงานคุ้มครองผู้บริโภคไม่สมหวัง


กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคจัดเสวนา "1ปีกับความสมหวังหรือไม่สมหวังของสังคมไทย" นพ.ประวิทย์ ชี้เน้นโปร่งใสดูแลผู้บริโภค ด้านสุภิญญา ยอมรับสอบตกปัญหา จอดำ เร่งเดินหน้าออกประกาศเต็มสูบ
วันนี้ (24ธ.ค.) ที่ ห้องบอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.)จัดเวทีเสวนาหัวข้อ " 1ปี กสทช.กับความสมหวังหรือไม่สมหวังของสังคมไทย  โดยเปิดโอกาสให้นักวิชาการด้านโทรคมนาคมและด้านวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ได้แสดงความคิดเห็นการกำกับดูแลผู้บริโภคของกสทช.ระยะเวลา 1ปี โดยมี นพ.ประวิทย์ ลี่ สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคใน กิจการโทรคมนาคม(กทค .)และน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) ร่วมรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว

นพ.ประวิทย์ เปิดเผยว่า ในปัจจุบันปัญหาด้านโทรคมนาคมมีจํานวนมาก เนื่องจาก กสทช. ก่อตั้งล่าช้ากว่าระยะเวลา 14 ปีทําให้ปัญหาที่ต้องจัดการและควบคุมดูแลเกิดขึ้นและจำเป็นต้องใช้เวลาในการกําหนดแนวทางแก้ปัญหา และหลังจากนี้ กสทช.ได้ดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ส่วน กสทช.เองก็ต้องมีความโปร่งใสในการกํากับดูแลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านน.ส.สุภิญญา กล่าวว่า ยอมรับว่าการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสท.ที่ผ่านมาเกิดข้อผิดพลาดกรณีปัญหา จอดำ การถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 ซึ่งกสท.ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการทั่วไป หรือ มัสต์ เครี่ และ  หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์ที่สำคัญให้เผยแพร่ได้เฉพาะบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป หรือ มัสต์ แฮฟ ให้ถ่ายทอดกีฬาที่สำคัญ 7ชนิด แก่ประชาชนทุกครัวเรือนที่รับชมช่องฟรีทีวีผ่านทุกช่องทาง

“กสท.พยามสร้างกลไก กฎระเบียบ เงื่อนไขแล้วเสร็จประมาณ 80-85% แต่กสท.สามารถแก้ปัญหาได้จริง 50% เนื่องจากในขณะนี้ร่างประกาศอยู่ระหว่าง ประชาพิจารณ์ ปรับปรุงแก้ไข แล้วนำลงราชกิจจานุเบกษา เพื่อมีผลบังคับ และการกำกับดูแลมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่” น.ส.สุภิญญา กล่าว

เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/174235

_________________________________


สวดยับ กสทช.ชี้เงื่อนไขไลเซ่นส์ 3จี เลือนลาง ทำตัวเองตกม้าตาย

2นักเศรษฐศาสตร์ สวดยับไลเซ่นส์ 3จี กสทช. "วรากรณ์ สามโกเศศ" บี้ไร้เงื่อนไขชัดเจนก่อนประมูล "ภูรี สิรสุนทร" อัด กสทช.ลดทอนความน่าเชื่อถือจากฝีมือตัวเอง ชี้หลายเรื่องเร่งด่วน ขณะที่เห็นพ้องชื่นชม "สุภิญญา กลางณรงค์"-"ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" 2 ผู้กล้าหาญ กสทช. ...

เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. นายวรากร สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวในงานเสวนา NBTC Public Furum ครั้งที่ 11 หัวข้อ "1 ปี กสทช. กับความสมหวังหรือไม่สมหวังของสังคมไทย" ว่า ปีที่ผ่านมาถ้าให้เกรด กสทช.คือ I ไม่ใช่ F ส่วนตัวมองว่าไม่ไว้วางใจ กสทช. ยกตัวอย่างเรื่องเงื่อนไขการลดราคาค่าบริการ 3จี ลง 15% ถามว่ามีรายละเอียดหรือไม่ ควรเขียนให้ชัดเจน

อธิการบดี ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวต่อว่า ถ้าใครติดตามอย่างละเอียดการประมูลไลเซ่นส์ 3จี จะพบว่าเงื่อนเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ขณะที่ส่วนตัวมองว่าสังคมไทยหลงประเด็น คิดว่าผู้ประกอบการฮั้วการประมูล แต่มันไม่ใช่ประเด็น ทำไมเราถึงออกแบบการประมูลแบบนี้ เงื่อนไขที่เราได้คือ ให้ผู้ประกอบการทำออกมาได้ดี แต่ทำไม กสทช.ไม่ดีไซน์ หรือมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ อีกทั้ง กสทช.คงมีความคิดอยู่ในใจ แต่ทำไมไม่ให้คนนอกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยตัดสิน แต่ผลที่ออกมากลายเป็นว่าประโยชน์ที่ควรได้นั้นน้อยที่สุดด้วยเงื่อนไขที่เกิดขึ้น

"อะไรก็ตามที่รีบร้อน แล้วไม่เกิดประโยชน์ ได้มาแล้วคุณจะเจ็บตัวในวันข้างหน้า เงื่อนไขที่จะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุดไม่ใช่เงิน แต่เป็นเงื่อนไขที่ทำอย่างไรให้ประชาชนเกิดประโยชน์มากที่สุด และส่วนตัวชื่นชมการทำงานขอคุญสุภิญญา และ นพ.ประวิทย์ เพราะน้อยคนที่มีความกล้าหาญ ไม่ใช่ใครจะทำได้ง่ายๆ ยิ่งเป็นเสียงส่วนน้อยด้วย" นายวรากรณ์ กล่าว

อธิการบดี ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวอีกว่า เรื่องเร่งด่วน ที่ กสทช.ต้องทำ คือ 1.การใช้สมาร์ทโฟนต้องมีมากขึ้น ผู้บริโภคจะเสียประโยชน์ไป 2.แนวโน้มดิจิตอลทีวี และ4 จี ที่จะตามมาในปี 2556 โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและออกแบบ 3.การไว้วางใจ ต้องทำให้ปรากฏขึ้นจริง สร้างความน่าเชื่อถือ ใครทำผิดต้องลงโทษ ไม่ใช่เป็นแค่:-)ระดาษ 4.เชื่อว่าทุกคนที่ได้มาเป็น กสทช.ต้องมีเกียรติ ส่วนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หรือเป็นเสียงส่วนน้อยนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ต้องอธิบายและมีเหตุผลประกอบ

ด้านนางสาวภูรี สิรสุนทร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ตอนจัดตั้ง กสทช.ใหม่ๆ ไม่ได้คาดหวังอะไรกับองค์กรนี้อยู่แล้ว เพราะมันเป็นเรื่องที่คุณต้องทำหน้าที่กำกับดูแลอยู่แล้ว แต่ต้องดูว่าทำหน้าที่ได้เหมาะสมหรือเปล่า เพราะที่ผ่านมา การกำหนดเงื่อนไขการลดราคาค่าบริการ 3จี ทั้งดาต้าและว้อยซ์ ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่แรก นั่นหมายความว่า กสทช.ลดความน่าเชื่อถือของการทำงานตัวเอง

"กสทช. คุณกำลังลดทอนความน่าเชื่่อถือของคุณเอง เพราะคุณไม่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่แรก หรือถามว่าก่อนหน้านี้คุณได้บอกอะไรไว้หรือยัง" นางสาวภูรี กล่าว

อาจารย์คณะเศรษศาสตร์ มธ. กล่าวต่อว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ถามว่า กสทช.ให้ความรู้กับผู้ประกอบหรือยัง เพราะสิ่งนี้จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ เมื่อมองโดยภาพรวม กสทช.มีอิสระมาก ทำให้มีคำถามต่อเนื่องว่า เราห่วงใยในเรื่องอำนาจผูกขาดของผู้ให้บริการ จึงต้องเกิด กสทช.แต่ที่ผ่านมา 1 ปี คือภาพความผูกขาดในตลาด สวนทางกันกับสิ่งที่ควรทำ เงินที่ใช้ในการบริหารจัดการ ท้ายสุด คือเงินของประชาชนนั่นเอง

"คำว่าความเป็นอิสระของ กสทช.คำนี้ใหญ่มาก แต่คำถามมีอยู่ว่าอิสระแค่ไหน อย่างน้อยต้องมีกลไกของศาลที่ต้องดำเนินการเมื่อทำความผิด"

ขณะที่ที่ผ่านมา 1 ปี กสทช.พูดไม่ตรงกับกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โดยเฉพาะเรื่องคืนคลื่นความถี่ที่จะต้องนำมาจัดสรรใหม่ เพราะการพูดไม่ตรงกัน ซึ่งภาครัฐและองค์อิสระพูดไม่เหมือนกัน เป็นการส่งสัญญาณให้นักลงทุน แต่ไม่ใช่สัญญาญที่ดีหากต้องลงทุนต่อ

อย่างไรก็ตาม เรื่องเร่งด่วน ที่ กสทช. ต้องทำคือ การขยายตัวของตลาดที่เติบโตขึ้นแล้วปล่อยให้ ขอให้ดูเรื่องอื่น เช่น เรื่องผู้บริโภค การปฏิบัติหน้าที่ไร้ประโยชน์ การออกแบบให้เกิดประโยชน์ ยกย่องชื่นชม สุภิญญา กลางณรงค์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ในเรื่องที่หลายคนไม่กล้าพูดกัน น้อยคนที่จะกล้าหาญ แต่ภาพที่ออกมาต้องสะท้อนความเป็นภาพรวมหนึ่งเดียวขององค์กร และการจัดการเรื่องโรมมิ่ง ในการเข้าสู่เออีซี.




ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/315584

___________________________


นักวิชาการโทรคมฯ สับ1ปีกสทช. แก้ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้

นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ไล่บี้ กสทช. รับผิดหวัง 1 ปี กับการผลงานโทรคม แก้ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้ สอบตกด้านกำกับดูแล “อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์” เปิดงบรายจ่ายมากเกิน แต่ประสิทธิภาพไม่ถึงเป้า แนะแก้ปัญหาคืนคลื่น...

เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวในงานเสวนา NBTC Public Furum ครั้งที่ 11 หัวข้อ "1 ปี กสทช. กับความสมหวังหรือไม่สมหวังของสังคมไทย" ว่า การกำกับดูแลของ กสทช. นับจากนี้จะดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งด้านโทรคมนาคมและด้านวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ ยอมรับว่าปัญหาปัจจุบันมีจำนวนมากเนื่องจากการเกิดขึ้นของ กสทช.ล่าช้ากว่า 14 ปีทำให้ปัญหาที่ต้องจัดการและควบคุมดูแลเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาในการกำหนดแนวทางแก้ปัญหา ขณะเดียวกัน คณะกรรมการ กสทช ต้องแสดงถึงความโปร่งใสในการกำกับดูแล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม กล่าวถึงประเด็นมุมมองผู้บริโภคว่า ผ่านไป 1 ปี ค่อนข้างผิดหวังกับการทำงานของ กสทช. เพราะตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ กสทช.ทำงานมา ยังไม่สามารถขจัดปัญหาความเดือนร้อนของผู้บริโภคได้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องของอัตราการให้บริการของภาคเอกชนที่ยังคงคิดค่าบริการสูงกว่าต้นทุนการทำธุรกิจจริง ทั้งบริการด้านดาต้าและว้อยซ์ และการทำงานของ กสทช. ไม่ส่งผลในเชิงปฏิบัติ เพราะกฎหมาย กสทช. ไม่มีความชัดเจน เขียนกฎหมายกว้างมากไม่เฉพาะเจาะจง ไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้

นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม กล่าวต่อว่า ในด้านการกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม หลังทำงานมา 1 ปี จำนวนผู้ให้บริการก็ยังคงมี 3 รายเท่าเดิม ผู้ทำตลาดขายต่อบริการบนโครงการข่ายเสมือน หรือเอ็มวีเอ็นโอ ยังไม่เพิ่มกฎเกณฑ์ ด้านผู้ประกอบกิจการต่างด้าวยังคงไม่มีความคืบหน้า ราคาตั้งต้นการให้บริการก็ยังคงเริ่มต้นที่ 590 บาทเท่าเดิม แต่ผู้ให้บริการอ้างว่าเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตให้ ทั้งที่เอกชนควรจะสามารถลดอัตราค่าบริการตั้งต้นลงได้มากกว่านี้ ส่วนด้านการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน กสทช.นั้นล้มเหลว เพราะหาก กสทช.ต้องการให้กลไกตลาดทำงานด้านการตรวจสอบได้ก็จะตรวจสอบได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น กลไกตลาดทำงานไม่ได้ทุกเรื่อง เช่น การโฆษณาแฝง การตรวจสอบด้านจริยธรรม คุณธรรมในการทำธุรกิจ

นายอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท สยามอินเทลลิเจนต์ยูนิต จำกัด กล่าวว่า การทำงานของสำนักงาน กสทช.  1 ปีที่ผ่านมา ยังมีบทบาทที่ไม่ชัดเจนในการกำกับดูแลด้านกิจการโทรคมนาคม การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้นแท้จริง ยังกีดกันเรื่อง การคงสิทธิเลขหมาย หรือนัมเบอร์พอร์ตทิลิตี้ ระหว่างผู้ประกอบการ แม้ทาง กสทช.จะออกกฎมากำกับดูแลแต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีความเคลื่อนไหว

ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สยามอินเทลลิเจนต์ยูนิต กล่าวต่อว่า ส่วนประสิทธิภาพในการดำเนินงานนั้น จากงบรายจ่ายของ กสทช. ตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ย. 2555 ใช้จ่ายไปจำนวนทั้งสิ้น 2,690 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าบุคลากร 960 ล้านบาท งบดำเนินงาน 1,416 ล้านบาท งบสิ่งก่อสร้าง-ครุภัณฑ์ 93 ล้านบาท และเงินสมทบกองทุน 175 ล้านบาท ซึ่งมีการใช้งบประมาณในการทำประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมมากเกินความจำเป็น ทั้งจำนวนบุคลากรและประสิทธิภาพต่อผลงานที่ออกมานั้น คิดว่าใช้งบด้านนี้ในจำนวนดังกล่าวมีความเหมาะสมหรือไม่

นายอิสริยะ กล่าวอีกว่า ส่วนตัวมีข้อเสนอให้ กสทช. นำไปพิจารณา 2 ส่วน คือ 1.เรื่องแก้ไขเร่งด่วนปี 2556 ประกอบด้วย เรื่องเร่งด่วน ที่จะต้องแก้ไข คือ จะต้องเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการหมดสัญญาสัมปทานของคลื่นความถี่ 1800 MHz ในปี 2556 เรื่องกำกับดูแลบริการประเภทข้อมูล ทั้งในเรื่องราคาและคุณภาพ และแก้ปัญหาของผู้บริโภคอย่างจริงจังและเป็นระบบ เรื่องดำเนินการเชิงรุกกับ USO และ 2. การแก้ไขระยะยาว กสทช. ควรจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานการตัดสินใจในการออกนโยบาย และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ควรจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ที่มากกว่าการจัดกิจกรรมและลงโฆษณาในสื่อ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการที่ กสทช.ต้องสนใจมากกว่านี้ คือ การทำอาเซียนโรมมิ่ง เนื่องจากขณะนี้ อัตตราค่าโรมมิ่งแพงมาก จึงขอเสนอให้ กสทช. ทำความร่วมมือกับ กสทช.ในกลุ่มอาเซียนเพื่อให้มีการโรมมิงค่าบริการที่ถูกลง เพื่อใช้กันกลุ่มอาเซียน อีกทั้ง ที่ผ่านมา กสทช.ยังให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยเกินไป และเรื่องปรับปรุงเว็บไซต์ของ กสทช.ให้มีความเข้าใจและหาข้อมูลให้ง่ายขึ้น.




ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/315609



_____________________________


1 ปี กสทช. กับความล้มเหลวในมิติการคุ้มครองผู้บริโภค


เวทีสาธารณะ การประเมินบทบาทการทำงานของ กสทช. ต่อการปฏิบัติอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งด้านกิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม บุคคลจากหลายฝ่ายที่เข้าร่วมต่างเห็นว่า 1 ปีที่ผ่านมา กสทช.ประสบความล้มเหลว ในมิติการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะปัญหาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ขณะเดียวกันยังประเมินว่า ปีหน้า กสทช.ยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงในการฟ้องร้องงานด้านโทรคมนาคม และด้านกระจายเสียงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการทำให้กระบวนการต่างๆ เกิดความชัดเจน

"เวทีเสวนาสาธารณะ 1 ปี กสทช. ความสมหวัง หรือ ไม่สมหวังของสังคมไทย" ผู้ที่อยู่ในแวดวงกิจการโทรคมนาคม และกิจการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งนักวิชาการ, นักกฎหมาย รวมไปถึง ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค สะท้อนว่า กสทช.ประสบความล้มเหลวในมิติงานคุ้มครองผู้บริโภค แม้บางเรื่องจะออกประกาศบังคับใช้ไปแล้ว เช่น การกำหนดวันหมดอายุในบัตรเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่,เอสเอ็มเอสขยะ, ค่าบริการเกินจริง, โครงข่ายล่ม, ขาดกลไกเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภคในระยะยาว

 

รวมถึงปัญหาสัญญาสัมปทานโทรคมนาคม บริษัท ทรู ที่จะหมดลงในเดือนกันยายนปีหน้า ซึ่งยังเป็นปัญหาใหญ่ และอาจกระทบต่อลูกค้าของเครือข่าย"ทรู" กว่า 20 ล้านเลขหมาย รวมถึงอัตราค่าบริการในระบบ 3 จี

ขณะที่ภารกิจงานด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ จะยังเป็นภาระหนักของกสทช. ทั้งการเรียกคืนสัมปทานคลื่นความถี่ด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อนำจัดสรรให้ใบอนุญาต หรือเข้าสู่ระบบการประมูล

และการประมูลทีวีระบบภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในปีหน้าที่จะถูกจับตาดูถึงความโปร่งใส และการเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม และทั่วถึง, นักวิชาการหลายคน เสนอแนะว่าสิ่งที่ กสทช. ต้องดำเนินการคือทำให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ เพราะสื่อในปัจจุบัน อาจไม่ได้เป็น

 

นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมา กสทช ม่มีผลงานปรากฏ ทั้งๆ ที่เป็นองค์กรที่มีพนักงานประมาณ 1,000 คน มีการเบิกจ่ายงบประมาณจำนวนมาก โดย ปี 2554 กสทช.ใช้จ่ายสูงถึง 1 พัน 400 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินเดือน , ค่าจ้างที่ปรึกษางานต่างๆ ค่าเดินทางทั้งในและต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานที่ผ่านมา กสทช. อาททำงาน ไม่คุ้มกับงบประมาณ

THAI PBS
http://news.thaipbs.or.th/content/1-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-
%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-
%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2
%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB
%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B4
%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84
%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD
%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3
%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84


_____________________________


วงเสวนาประเมิน 1 ปี กสทช. ล้มเหลว-เสี่ยงถูกฟ้องร้องในปีหน้า


ตลอด 1 ปี ที่มีองค์กรอิสระ อย่าง กสทช. หลายฝ่ายเห็นว่า ในปีหน้า(2555) กสทช.ยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงในการฟ้องร้องงานด้านโทรคมนาคมและด้านกระจายเสียงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการทำให้กระบวนการต่างๆ เกิดความชัดเจน

"เวทีเสวนาสาธารณะ 1 ปี กสทช. ความสมหวัง หรือ ไม่สมหวังของสังคมไทย" ได้แลกเปลี่ยนความเห็นภารกิจงานของ กสทช. จากผู้ที่อยู่ในแวดวงกิจการโทรคมนาคม และ
กิจการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

โดยภาพรวมเห็นว่า ที่ผ่านมา แม้ กสทช. ออกมาตรการออกมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ค่าปรับเอกชน ที่ห้ามกำหนดวันหมดอายุในบัตรเติมเงิน แต่ กสทช. ก็ไม่ดำเนินการใดๆ
การปกป้องประโยชน์สาธารณะ/การส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน และ ราคาค่าบริการ 3จี ที่ยังไม่กำหนดให้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการประมูล

การไม่สั่งปรับทางปกครองกับค่ายมือถือ ที่กำหนดวันหมดอายุในบัตรเติมเงิน ซึ่ง กสทช. ออกประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี(2555) การแก้ปัญหาให้กับลูกค้าทรู ที่สัญญาจะหมด
สัมปทานเดือนกันยายน 2556 หรือ กระบวนการจัดประมูลใบอนุญาต 4 จี

นอกจากนี้ สิ่งที่ กสทช. จะต้องเผชิญ คือ ปัญหาการเรียกคืนคลื่นความถี่ด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ที่มีผู้ครอบครองคลื่นความถี่ การจัดสรรใบอนุญาต และการ
ประมูลทีวีดิจิตอล สิ่งสำคัญ คือ กระบวนการที่ทำให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ

โดยเห็นว่าที่ผ่านมา การบังคับใช้กฎหมายของ กสทช.อย่างไม่จริงจัง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.และเสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องในปีหน้า(2556)

THAI PBS
http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8
%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%
B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99-1-%E0%B8%9B%E0%B8%B
5-%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-
%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%
E0%B8%A7-
%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%
E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0
%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%
B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8
%B2




________________________________



'สมเกียรติ' จวก กสทช. ผลงาน 1 ปีไร้ประโยชน์สาธารณะ

"สมเกียรติ อ่อนวิมล" จวกยับผลการทำงาน 1 ปี กสทช.ไร้ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์จับต้องได้ จี้เรียกคืนคลื่นเพื่อจัดสรร ด้าน "พิรงรอง รามสูต" ย้ำผลักกรอบกำกับดูแล แนะ กสทช.ทุกคนต้องคุยกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำเพื่อสร้างผลงานให้ตัวเอง...

เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล รองประธานกรรมการบริหารสปริงนิวส์ กล่าวในงานเสวนา NBTC Public Forum ครั้งที่ 11 หัวข้อ 1 ปี กสทช. กับความสมหวังหรือไม่สมหวังของสังคมไทยว่า สิ่งที่ไม่เกิดขึ้นตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา คือ สิ่งที่เป็นประโยชน์สาธารณะ และผลประโยชน์ที่จับต้องได้ ซึ่งเสียหายนับหมื่นล้านบาท ขณะที่ภาพรวมในการออกใบอนุญาต 3จี ต้องประมูลให้ได้ราคามาก แต่พอออกมาได้น้อยก็ถูกตำหนิ และ กสทช.ไม่ได้เขียนในเงื่อนไขการประมูลว่าจะให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำอะไรให้เกิดประโยชน์สาธารณะบ้าง

รองประธานกรรมการบริหารสปริงนิวส์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ กสทช.ควรทำ คือ เร่งกระบวนการคืนคลื่นให้เร็วขึ้นแล้วจัดสรรใหม่ให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเรื่องบรอดแบนด์ ทุกประเทศที่เข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทุกโรงเรียนต้องเข้าถึงในปี 2558 ขณะที่อินโดนีเซียมีใช้ฟรีเกือบ 2 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังผิดหวังการกำกับดูแลวิทยุรายใหม่ (วิทยุชุมชน) ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ยังไม่มีประสิทธิภาพ-ประชาชนได้รับผลกระทบคลื่นรบกวน รวมทั้งคุณภาพเนื้อหา

ขณะที่เรื่องการประมูลทีวีดิจิตอล กสทช.ต้องเข้าใจว่าทีวีผ่านดาวเทียมใช้เงินในการผลิตงานเท่ากัน ถ้าจะผลิตงานให้มีคุณภาพ จะมาบอกว่าทีวีช่องไหนเป็นช่องใหญ่ช่องเล็กไม่ได้ ทำอย่างไรใบอนุญาตทีวีช่องต่างๆ จะมีสัดส่วนผกผัน ถ้าใบอนุญาตสูง ช่องรายการควรจะต่ำ ควรขึ้นอยู่กับคุณภาพ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีกระแสข่าวลือว่า กสทช.รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และมีธงที่จะทำ แต่ไม่ทำตามที่รับฟัง ซึ่งเป็นข่าวลือที่จริง

นางสาวพิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในฐานะอนุกรรมการหลายชุด จากเห็นการทำงาน ภาพรวมสิ่งที่เห็น คือการผลักกรอบ กำกับดูแล ส่วนตัวมองเห็นว่า ในแง่การสร้างกรอบต้องประเมินปัญหา เพราะเป็นสูญญากาศมาก่อน ไม่มีหน่วยงานกำกับ โดยเฉพาะด้านบอร์ดคลาส ต่อมาระบุปัญหา จากนั้นดูเป้าหมายว่าจะจัดการอย่างไร แล้วจึงดูระบอบที่กำกับ ตามด้วยเครื่องมือในการกำกับดูแล และสุดท้าย กสทช.ทุกคนต้องคุยกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับตนเอง


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/315538

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.