Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 ธันวาคม 2555 (อ้าง 11 คนทำงานเป็นปีไร้เงินเดือน ) งบค่าใช้จ่ายกสทช.2556วงเงิน3,513.60ลบ.หนึ่งในนั้นทำ FREE WIFI 150,000จุด

ประเด็นหลัก


วันพุธที่ 26 ธ.ค. 2555 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างประกาศ กสทช. และเรื่องอื่นๆ โดยมีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 6 ฉบับ กิจการโทรคมนาคม 1 ฉบับ




นายฐากร กล่าวว่า สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 วงเงิน 3,513.60 ล้านบาท แยกเป็นงบประมาณรายจ่ายของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. 2,159.67 ล้านบาท งบประมาณรายจ่ายสำหรับภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ 610.29 งบประมาณรายจ่ายสำหรับภารกิจโทรคมนาคม 643.69 ล้านบาท รวมถึงเงินจัดสรรเข้ากองทุน 50 ล้านบาท เงินงบกลางกรณีฉุกเฉินและจำเป็น 50 ล้านบาทด้วย



ส่วนสาระสำคัญของโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ได้แก่ การกำหนดสถานที่ให้บริการเป้าหมาย ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ ประมาณ 30,000 แห่ง จำนวน 150,000 จุด (Assess Point (AP)) หรือ ติดตั้งแห่งละ 5 AP  ความเร็วในการให้บริการ 2Mbps ใช้งานได้ครั้งละ 20 นาที  รวม 2 ชั่วโมง/คน/วัน โดยมีหลักการเพื่อให้เกิดความครอบคลุมและคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนสามารถมีโอกาสในการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และเป็นจุดติดตั้งที่มีประชาชนจำนวนมากเข้ามาใช้บริการ โดยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการดังกล่าวใน  2 มิติ คือ
1 มิติประโยชน์ในด้านสังคม และคุณภาพชีวิต ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายได้อย่างทั่วถึงในพื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ และสถานศึกษา  ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลทางด้านดิจิทัล    ด้านการศึกษา เป็นการนำ ICT เป็นสื่อการเรียนการสอนได้มากขึ้น ด้านเศรษฐกิจ จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้ประกอบ SMEs และ ประชาชนทั่วไป เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในด้าน ICT เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้าน ICT ในอนาคต และด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการประหยัดพลังงานที่ใช้ในการเดินทาง รวมถึงลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสาร เช่นการส่งโทรสาร และ การส่งเอกสารทางไปรษณีย์ เป็นต้น



สำหรับอัตราเงินเดือนของ กสทช.ทั้ง 11 คน ขณะนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่ได้อนุมัติ โดย กสทช.ได้ทำงานมาเป็นเวลา 1 ปีกว่าแล้ว เพราะรับตำแหน่งมา แต่ กสทช.ได้สำรองจ่ายให้ กสทช.ทั้ง 11 คนไปก่อนจนกว่า ครม.จะอนุมัติ ซึ่งในขณะเดียวกันได้ทำเรื่องเสนอขออนุมัติ ครม.อีกครั้ง โดยประธาน กสทช.อัตราเงินเดือนๆ ละ 330,000 บาท กรรมการ กสทช. เดือนละ 260,000 ล้านบาท

นายฐากร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังไม่อนุมัติกรอบวงเงิน 950 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการกองทุนพัฒนาและวิจัยฯ เสนอ เพื่อนำไปสนับสนุนโครงการนโยบายบริการไวไฟฟรีของรัฐบาล เนื่องจากให้ไปกลับพิจารณารายละเอียดว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ หรือไม่ และตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรทคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) หรือไม่.





__________________________________

กสทช.ผ่านร่างประกาศกระจายเสียงและโทรทัศน์ และโทรคมนาคม และงบปี56 พร้อมหนุนบริการฟรี Wi-Fi



นายฐากร  ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แถลงผลการประชุม กสทช. ครั้งที่ 16/2555 วันพุธที่ 26 ธ.ค. 2555 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างประกาศ กสทช. และเรื่องอื่นๆ โดยมีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 6 ฉบับ กิจการโทรคมนาคม 1 ฉบับ

มีมติเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ส่วนโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ประชุมขอให้นำเรื่องกลับให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาทบทวนเพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 52(1) และสถานที่ติดตั้งมีความสอดคล้องกับแผน USO โทรคมนาคมของ กสทช.
โดยมีรายละเอียดดังนี้


1. เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดหมวดหมู่และการจัดลำดับบริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป  ทั้งนี้โดยการกำหนดหลักเกณฑ์หมวดหมู่และการจัดลำดับรายการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จะเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่   เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพด้านเนื้อหา เทคนิค และความหลากหลายของสื่อและเทคโนโลยี ตลอดจนเป็นการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการดังกล่าวด้วย

2. เห็นชอบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การอบรมและทดสอบเพื่อขอรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามมาตรา 27(6) และ (24) และมาตรา 37 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 และมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551   เพื่อให้เป็นบทบัญญัติเพื่อส่งเสริมและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และเพื่อสนองต่อแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2559) ในยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาคุณภาพการประกอบกิจการตามแผนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์


3. เห็นชอบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล โดยหลังจากนี้จะได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป โดยที่ร่างประกาศดังกล่าวได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ประสงค์ประกอบกิจการการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลรับทราบหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์   เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไขหรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว
4. เห็นชอบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล พ.ศ. ... โดยหลังจากนี้จะได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
5. เห็นชอบผลสรุปการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และการปรับปรุงร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ...
6. เห็นชอบผลสรุปการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และการปรับปรุงร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่มีโทษทางปกครอง พ.ศ. ....
นอกจากนี้ที่ประชุม กสทช. ยังได้ให้ความเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม  เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... และให้นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ทันภายในปี 2555   สาระสำคัญของร่างดังกล่าวคือ ไม่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตนำค่าใช้จ่ายในการซื้อหรือเช่าโครงข่ายโทรคมนาคม และค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ซึ่งจ่ายให้กับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นหรือผู้ให้บริการโทรคมนาคมในต่างประเทศมาหักลดหย่อนจากรายได้การประกอบกิจการโทรคมนาคมก่อนการคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และให้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจากอัตราที่กำหนดไว้จากเดิมที่ประกาศไว้ในร่างประกาศนี้เป็นรายได้จากการประกอบกิจการ
รายได้ 0 – 100 ล้านบาท อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตร้อยละ 0.25
เกิน 100 ล้านบาท ถึง 500 ล้านบาท อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตร้อยละ 0.5
เกิน 500 ล้านบาทถึง 1,000 ล้านบาทอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตร้อยละ 1.0
เกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตร้อยละ 1.5 เป็นต้น

นายฐากร กล่าวว่า สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 วงเงิน 3,513.60 ล้านบาท แยกเป็นงบประมาณรายจ่ายของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. 2,159.67 ล้านบาท งบประมาณรายจ่ายสำหรับภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ 610.29 งบประมาณรายจ่ายสำหรับภารกิจโทรคมนาคม 643.69 ล้านบาท รวมถึงเงินจัดสรรเข้ากองทุน 50 ล้านบาท เงินงบกลางกรณีฉุกเฉินและจำเป็น 50 ล้านบาทด้วย
ส่วนสาระสำคัญของโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ได้แก่ การกำหนดสถานที่ให้บริการเป้าหมาย ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ ประมาณ 30,000 แห่ง จำนวน 150,000 จุด (Assess Point (AP)) หรือ ติดตั้งแห่งละ 5 AP  ความเร็วในการให้บริการ 2Mbps ใช้งานได้ครั้งละ 20 นาที  รวม 2 ชั่วโมง/คน/วัน โดยมีหลักการเพื่อให้เกิดความครอบคลุมและคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนสามารถมีโอกาสในการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และเป็นจุดติดตั้งที่มีประชาชนจำนวนมากเข้ามาใช้บริการ โดยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการดังกล่าวใน  2 มิติ คือ
1 มิติประโยชน์ในด้านสังคม และคุณภาพชีวิต ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายได้อย่างทั่วถึงในพื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ และสถานศึกษา  ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลทางด้านดิจิทัล    ด้านการศึกษา เป็นการนำ ICT เป็นสื่อการเรียนการสอนได้มากขึ้น ด้านเศรษฐกิจ จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้ประกอบ SMEs และ ประชาชนทั่วไป เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในด้าน ICT เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้าน ICT ในอนาคต และด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการประหยัดพลังงานที่ใช้ในการเดินทาง รวมถึงลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสาร เช่นการส่งโทรสาร และ การส่งเอกสารทางไปรษณีย์ เป็นต้น


มิติที่ 2 จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กล่าวคือ จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ ช่วยเพิ่มอันดับของประเทศไทยในการจัดอันดับความพร้อมด้าน ICT ทั้งในระดับโลก และภูมิภาค และยกระดับความพร้อมทางด้าน ICT ของประเทศไทย ตลอดจนเป็นการยกระดับจุดยืนประเทศไทยในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวและการค้าที่สำคัญ โดยนักท่องเที่ยวหรือนักธุรกิจชาวต่างชาติสามารถติดต่อสื่อสารผ่านบริการภายใต้เงื่อนไชการใช้งานที่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ที่ประชุมขอให้นำเรื่องกลับให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาทบทวนเพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 52(1) และสถานที่ติดตั้งมีความสอดคล้องกับแผน USO โทรคมนาคมของ กสทช. ก่อน

ฐานเศษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=161223&catid=176&Itemid=524


________________________________


กสทช.อนุมัติงบฯปี2556 วงเงิน 3,513.61 ล้านบาท


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) กสทช. ว่า ที่ประชุมอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 แบบสมดุลทั้งรายได้และรายจ่าย วงเงิน 3,513.61 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายของสำนักงาน กสทช. อาทิ ค่านำ ค่าไฟ ค่าเช่าอาคาร และเงินเดือนพนักงาน 2,159.68 ล้านบาท งบประมาณรายจ่ายสำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 612.29 ล้านบาท งบประมาณสำหรับกิจการโทรคมนาคม 610.64 ล้านบาท รวมถึงเงินจัดสรรเข้ากองทุน 50 ล้านบาท และงบกลางกรณีฉุกเฉินและจำเป็น 50 ล้านบาท




“งบรายจ่ายครั้งนี้ถือว่าลดลงกว่าปีที่ผ่านมา 12%  เนื่องจาก กสทช. มีการจัดเก็บรายได้ที่ลดลง ทั้งนี้เชื่อว่าการจัดเก็บรายได้จะมากขึ้นในปี 2557 จากการจัดเก็บอัตราค่าธรรมเนียมจากใบอนุญาตต่างๆได้มากขึ้น” นายฐากรกล่าว





นอกจากนี้ที่ประชุมให้นำเรื่องการสนับสนุนโครงการบริการอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง วงเงิน 950 ล้านบาท ของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ได้ของบการสนับสนุนมา กลับไปพิจารณาใหม่เนื่องจากอาจจะผิดพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรา 52(1) ที่ระบุไว้ว่า การนำเงินกองทุนมาใช้ในการสนับสนุนด้านโทรคมนาคมต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ แต่การขอสนับสนุนอินเตอร์เน็ตไร้สายของกระทรวงไอซีที เป็นการติดตั้งจุดเชื่อมต่อทั้ง 150,000 จุด มีเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเจริญแล้วเท่านั้น


มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356520949&grpid=03&catid=&subcatid=


___________________________


กสทช.เคาะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใหม่ มีผลปี56

กสทช.เคาะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใหม่ มีผลปี 56 พร้อมอนุมัติงบประมาณรายจ่าย 3,516 ล้านบาท เตรียมชง ครม. อนุมัติเงินเดือน กสทช. 11 คน หลังทำงานมาปีกว่ายังไม่มีเงินเดือน…

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ได้มีมติอนุมัติร่างประกาศค่าธรรมเรียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว และจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในปี 2556 ซึ่งเป็นแบบขั้นบันได

ในอัตราดังนี้ แบ่งเป็นรายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคม 1-100 ล้านบาท จัดเก็บในอัตรา 0.25% ของรายได้ รายได้เกิน 100-500 ล้านบาท จัดเก็บในอัตรา 0.5% รายได้เกิน 500-1,000 ล้านบาท จัดเก็บในอัตรา 1% รายได้เกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จัดเก็บในอัตรา 1.5% นอกจากนี้ กสทช.ยังได้อนุมัติงบประมาณ กสทช. ประจำปี 2556 โดยจัดทำเป็นงบประมาณสมดุลมีรายได้เท่ากับรายจ่าย โดยกำหนดกรอบงบประมาณไว้ที่วงเงิน 3,516 .61 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายของ กสทช.และสำนักงาน กสทช. 2,159.68 ล้านบาท แยกเป็นเงินเดือนพนักงาน กสทช.จำนวน 1,000 คน และค่าใช้ระบบสาธารณูปโภค รวมวงเงิน ปีละ 1,800 ล้านบาท งบศึกษาดูงานต่างประเทศและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพ วงเงิน 120 ล้านบาท

ส่วนที่เหลือเป็นงบเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตามภารกิจและกลยุทธ์การทำงานของ กสทช. สำหรับงบประมาณรายจ่ายสำหรับภารกิจด้านกระจายเสียงและโทรทัศน์ 610.29 ล้านบาท งบประมาณรายจ่ายภารกิจด้านโทรคมนาคม 643.64 ล้านบาท เงินจัดสรรเข้ากองทุนพัฒนาและวิจัยกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม วงเงิน 50 ล้านบาท และงบกลางกรณีฉุกเฉิน และจำเป็น 50 ล้านบาท

สำหรับอัตราเงินเดือนของ กสทช.ทั้ง 11 คน ขณะนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่ได้อนุมัติ โดย กสทช.ได้ทำงานมาเป็นเวลา 1 ปีกว่าแล้ว เพราะรับตำแหน่งมา แต่ กสทช.ได้สำรองจ่ายให้ กสทช.ทั้ง 11 คนไปก่อนจนกว่า ครม.จะอนุมัติ ซึ่งในขณะเดียวกันได้ทำเรื่องเสนอขออนุมัติ ครม.อีกครั้ง โดยประธาน กสทช.อัตราเงินเดือนๆ ละ 330,000 บาท กรรมการ กสทช. เดือนละ 260,000 ล้านบาท

นายฐากร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังไม่อนุมัติกรอบวงเงิน 950 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการกองทุนพัฒนาและวิจัยฯ เสนอ เพื่อนำไปสนับสนุนโครงการนโยบายบริการไวไฟฟรีของรัฐบาล เนื่องจากให้ไปกลับพิจารณารายละเอียดว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ หรือไม่ และตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรทคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) หรือไม่.





ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/316194

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.