Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มกราคม 2556 ICT เดินหน้าระบบ INTERNET G-Cloud เครือข่าย GIN กับหน่อยราชการ


ประเด็นหลัก



   น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงความคืบหน้าการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ว่า กระทรวงไอซีทีจะเน้นให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และการพัฒนบริการภาครัฐผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ทั่วถึงและเท่าเทียม ภายใต้แนวคิดการพัฒนาประเทศไปสู่สมาร์ทไทยแลนด์ (Smart Thailand) โดยมีเป้าหมายขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชาชนร้อยละ 80 ภายในปี 2558 และร้อยละ 95 ภายในปี 2563 โดยเร่งปรับเปลี่ยนอุปกรณ์รองรับ การบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสร้างมาตรฐานความปลอดภัยใหม่ๆ ให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของไทยให้มั่นคงขึ้น และจัดทำข้อมูลภาครัฐด้านต่างๆ ให้พร้อมในการใช้งาน




สำหรับ Smart Network ในรอบปีที่ผ่านมา กระทรวงไอซีทีได้บริหารงานโครงการ GIN ผ่านสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ซึ่งถือว่าเกิดมิติใหม่ จากโครงข่ายที่มีอยู่เดิมได้ต่อยอดทางด้านการบริการที่ให้ความน่าเชื่อถือมากขึ้น มีหน่วยงานรัฐจำนวนมากปรับเปลี่ยนระบบการจัดซื้อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ระบบนี้แทน รวมถึงมีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายภาครัฐเดิมเพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณไปได้จำนวนหนึ่ง


อย่างไรก็ตามโครงข่าย GIN ที่วางเอาไว้เดิมนั้นจะเน้นไปยังจังหวัดและอำเภอเท่านั้น ยังไม่สามารถต่อเชื่อมไปยังพื้นที่ย่อยๆ แห่งอื่นได้ ดังนั้น Smart Thailand in Action 2013 จะมีโครงการต่อยอดชื่อ Super GIN ขึ้น เพื่อขยายเครือข่าย GIN ออกไปให้เต็มทุกพื้นที่ในประเทศไทย เป้าหมายคือทำให้ทุกที่ในประเทศสามารถต่อเชื่อมถึงกันได้โดยไม่มีข้อจำกัด ซี่งจะทำให้หน่วยงานรัฐทุกแห่งต่อเชื่อม และสามารถใช้บริการข้อมูลพื้นฐานของภาครัฐด้วยกันไปสู่การตัดสินใจและการให้บริการแก่ประชาชนได้ดีขึ้น โดย Super GIN จะสามารถเริ่มต้นโครงการได้ในปีนี้


Smart Cloud ในรอบปีที่ผ่านมา G-Cloud ของ EGA ถือว่าเป็นไฮไลต์ของปี เนื่องจากได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีคิด วิธีบริการใหม่ของภาครัฐได้อย่างมาก ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาใช้บริการแล้วมากกว่า 140 ระบบ แม้ระบบ G-Cloud จะเป็นสิ่งใหม่ และภาครัฐต่างๆ ยังอยู่ในสภาพของการปรับตัว แต่ด้วยแนวโน้มของเทคโนโลยีที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ก็ทำให้เกิดการตื่นตัวของภาครัฐในเรื่องนี้อย่างมาก

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า ในปี 2556 จะะเน้นผลงานที่เป็นรูปธรรม 4 เรื่องคือ การมุ่งให้ G-Cloud ,บริการแบบ SaaS มากขึ้น และกลายเป็นระบบหลักบนคลาวด์ สองคือ การสร้าง Government Application Center หรือ GAC ซึ่งจะเป็นแหล่งที่รวมแอพพลิเคชันของภาครัฐ ที่ผ่านมา EGA ได้เตรียมการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ และได้วางโครงสร้างสถาปัตยกรรมของระบบแล้ว คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในไตรมาสที่สามของปีนี้





______________________________________



ICT พัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เดินหน้า Smart Thailand


       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงความคืบหน้าการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ว่า กระทรวงไอซีทีจะเน้นให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และการพัฒนบริการภาครัฐผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ทั่วถึงและเท่าเทียม ภายใต้แนวคิดการพัฒนาประเทศไปสู่สมาร์ทไทยแลนด์ (Smart Thailand) โดยมีเป้าหมายขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชาชนร้อยละ 80 ภายในปี 2558 และร้อยละ 95 ภายในปี 2563 โดยเร่งปรับเปลี่ยนอุปกรณ์รองรับ การบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสร้างมาตรฐานความปลอดภัยใหม่ๆ ให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของไทยให้มั่นคงขึ้น และจัดทำข้อมูลภาครัฐด้านต่างๆ ให้พร้อมในการใช้งาน


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000009720&Keyword=%e4%cd%ab%d5%b7%d5

____________________________


ไอซีทีจัดเต็ม เดินหน้า 7 แผนใหม่ หวังใช้ EGA เป็นฐานเชื่อมโครงข่าย ฟันธงแอพสโตร์ภาครัฐเกิดแน่ปีนี้


นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีแห่งการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อต่อยอดระบบใหญ่ที่กำลังตามมา เช่น การสร้างระบบ Government Cloud Service หรือ ระบบ G-Cloud ขึ้นมา การปรับระบบเครือข่ายข้อมูลภาครัฐ  Government Information Network หรือ GIN ให้มีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการข้อมูลภาครัฐ โดยมีการวางโครงของข้อมูลเพื่อเอื้อต่อการเชื่อมโยงทุกรูปแบบเอาไว้


ในปี 2556 และต่อเนื่องจากนี้ไป นั้นจะถือเป็นที่เกิดการต่อยอดและสร้างโครงข่ายออกไป      โดยงานหลักใหญ่ๆ 7 ด้านของ Smart Thailand ที่จะริเริ่มในปีนี้จะประกอบไปด้วย 1. Smart Network ซึ่งจะขยับขยายจากเครือข่าย GIN ไปสู่ระบบ Super GIN  2. Smart Cloud ที่แม้ช่วงแรกจะมีหน่วยงานเข้ามาใช้บริการระบบ IaaS หรือ Infrastructure as a Service แต่ปีนี้จะเกิดบริการแบบเต็มที่คือไปสู่ SaaS หรือ Software as a Service มากขึ้น


3. Data Center Consolidation โครงการใหม่เพื่อการบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น  4. Cyber Security ที่จะเกิดมาตรฐานด้านระบบรักษาความปลอดภัยใหม่ๆ ที่ช่วยให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีความมั่นคงมากขึ้น  5. Th e-GIF เฟรมเวิร์คหรือกรอบการเชื่อมโยงบูรณาการข้อมูลภาครัฐในด้านต่างๆ จะลงตัวและพร้อมใช้งาน  6. Smart e-Service for Government จะเกิดการบริการระบบ e-Service ที่ลงไปสู่ภาคประชาชนให้จับต้องได้ โดยหน่วยงานหลักๆ ของภาครัฐ  7. ICT Academy แผนการรวบรวมองค์ความรู้ด้าน ICT ของประเทศ ทั้งผ่านระบบการศึกษา            และองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ


สำหรับ Smart Network ในรอบปีที่ผ่านมา กระทรวงไอซีทีได้บริหารงานโครงการ GIN ผ่านสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ซึ่งถือว่าเกิดมิติใหม่ จากโครงข่ายที่มีอยู่เดิมได้ต่อยอดทางด้านการบริการที่ให้ความน่าเชื่อถือมากขึ้น มีหน่วยงานรัฐจำนวนมากปรับเปลี่ยนระบบการจัดซื้อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ระบบนี้แทน รวมถึงมีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายภาครัฐเดิมเพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณไปได้จำนวนหนึ่ง


อย่างไรก็ตามโครงข่าย GIN ที่วางเอาไว้เดิมนั้นจะเน้นไปยังจังหวัดและอำเภอเท่านั้น ยังไม่สามารถต่อเชื่อมไปยังพื้นที่ย่อยๆ แห่งอื่นได้ ดังนั้น Smart Thailand in Action 2013 จะมีโครงการต่อยอดชื่อ Super GIN ขึ้น เพื่อขยายเครือข่าย GIN ออกไปให้เต็มทุกพื้นที่ในประเทศไทย เป้าหมายคือทำให้ทุกที่ในประเทศสามารถต่อเชื่อมถึงกันได้โดยไม่มีข้อจำกัด ซี่งจะทำให้หน่วยงานรัฐทุกแห่งต่อเชื่อม และสามารถใช้บริการข้อมูลพื้นฐานของภาครัฐด้วยกันไปสู่การตัดสินใจและการให้บริการแก่ประชาชนได้ดีขึ้น โดย Super GIN จะสามารถเริ่มต้นโครงการได้ในปีนี้


Smart Cloud ในรอบปีที่ผ่านมา G-Cloud ของ EGA ถือว่าเป็นไฮไลต์ของปี เนื่องจากได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีคิด วิธีบริการใหม่ของภาครัฐได้อย่างมาก ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาใช้บริการแล้วมากกว่า 140 ระบบ แม้ระบบ G-Cloud จะเป็นสิ่งใหม่ และภาครัฐต่างๆ ยังอยู่ในสภาพของการปรับตัว แต่ด้วยแนวโน้มของเทคโนโลยีที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ก็ทำให้เกิดการตื่นตัวของภาครัฐในเรื่องนี้อย่างมาก


Data Center Consolidation โครงการที่วางเป้าหมายจะบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ หรือ Government Data Center เข้าด้วยกัน โดยอาจมีการวางแผนจัดตั้งศูนย์ข้อมูลทั้งระดับภูมิภาค        และระดับจังหวัดให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้ EGA ไปทำการสำรวจพื้นที่ที่มีความเหมาะสม


Cyber Security ในด้านระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ในปีนี้จะมีรูปธรรมที่เกิดขึ้น
Th e-GIF การผลักดันมาตรฐานนี้ถือว่ามีความจำเป็นอย่างมาก เพราะขณะนี้กระทรวงไอซีที และสรอ.ได้ปูพื้นฐานด้วยการนำข้อมูลพื้นฐานจากหน่วยงานหลักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบัตรประชาชนของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, ข้อมูลเกษตรกร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอื่นๆ เข้ามาปูเป็นฐานเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันที


Smart e-Service for Government ในปีนี้กระทรวงไอซีทีร่วมกับ  EGA ได้กำหนดโครงการนำร่องที่จะเร่งสร้าง e-Service ของภาครัฐในหน่วยงานหลักให้เกิดขึ้น โดยหน่วยงานหลักในปีนี้            คือ สาธารณสุข มหาดไทย ศึกษา และเกษตร


และสุดท้าย ICT Academy ปัจจุบันการศึกษาด้านไอซีทีของไทยมีหลากหลายมากทั้งระบบในมหาวิทยาลัยปกติ และการอบรมคอร์สระยะสั้นๆ เพื่อรับมือให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี    ซึ่งในขณะนี้เทคโนโลยีได้ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วกว่าเดิมมาก จนทำให้ผู้พัฒนาโปรแกรมไม่สามารถไล่ตามตลาดโลกได้ทัน แผนงานนี้จะเร่งทำให้การกำหนดทิศทางของภาคการศึกษาไทย ให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ทัน


รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานคณะกรรมการบริหาร สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า ในปี 2556 สรอ.จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ โดยปัจจุบัน สรอ. ได้นำข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มาพิจารณาเพื่อผลักดันต่อในเชิงนโยบาย “นโยบายจากประชาชนเพื่อประชาชน” ไปตามหลักการของ รัฐบาลโปร่งใส (Open Government) ที่ภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ เพื่อสร้างความโปร่งใสและเพิ่มคุณภาพในการตัดสินใจของภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น


บทบาทของ EGA ต่อไปนี้ คือ การประสานงานเพื่อบูรณาการภาครัฐ ต้องเป็นที่ปรึกษาวางแผนระบบไอทีระยะยาวได้ ต้องเก่งทางด้านไอซีทีเพื่อจัดทำระบบสาธารณูโภคทางด้านไอซีทีให้กับภาครัฐรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น และต้องเปิดตัวในเวทีนานาชาติ สร้างระบบมาตรฐานใหม่ๆ เพื่อนำไทยไปสู่การแข่งขันในเวทีโลกได้ ทั้งหมดนี้ถือเป็นมิติใหม่ของหน่วยงานภาครัฐที่มีความท้าทายอย่างมาก


ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า ในปี 2556 จะะเน้นผลงานที่เป็นรูปธรรม 4 เรื่องคือ การมุ่งให้ G-Cloud ,บริการแบบ SaaS มากขึ้น และกลายเป็นระบบหลักบนคลาวด์ สองคือ การสร้าง Government Application Center หรือ GAC ซึ่งจะเป็นแหล่งที่รวมแอพพลิเคชันของภาครัฐ ที่ผ่านมา EGA ได้เตรียมการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ และได้วางโครงสร้างสถาปัตยกรรมของระบบแล้ว คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในไตรมาสที่สามของปีนี้


เรื่องที่สามคือ Open Government หรือระบบเปิดของไอทีภาครัฐ เพื่อทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลระหว่างกัน โดยจะมีหน่วยงานใหญ่ๆ เข้าร่วม และเกิดระบบใหญ่ๆ เช่น ระบบเกษตรกรอัจฉริยะ    ที่เปิดตัวไปไม่นานมานี้ เป็นต้น ระบบใหญ่ๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นระบบทางด้านสาธารณสุข ระบบสวัสดิการ ระบบการศึกษา และอื่นๆ จะเกิดขึ้น เพื่อทำให้หน่วยงานด้านอื่นๆ สามารถนำระบบ API      ที่ EGA จะพัฒนาขึ้นเพื่อให้นำไปต่อยอด จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ เรื่องที่สี่ คือ Smart Box ในช่วงปี     ที่ผ่านมาเป็นช่วงทดลอง แต่ในปีนี้ระบบนี้จะเกิดขึ้นจริง และได้ลงในพื้นที่จริงๆ

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359086199&grpid=03&catid=03

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.