Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

1 กุมภาพันธ์ 2556 AIS เชื่อ 3G จะกระตุ้นยอดเสริมประสิทธิภาพในการใช้งาน ให้สังเกตจากตลาด++AIS Movie Store Dtac Watchever และ H Movie // Dtac Deezer AIS Music Store และ H Music


ประเด็นหลัก


    ในการเสพคอนเทนต์มัลติมีเดียส่วนใหญ่ แต่เดิมผู้ใช้ต้องไปซื้อแผ่นซีดีเพลง ภาพยนตร์ เพื่อนำมาแปลงไฟล์ให้กลายเป็น MP3 หรือไฟล์หนัง หรือจะใช้วิธีการดาวน์โหลดต่างๆ ก่อนจะย้ายไฟล์เหล่านั้นเข้าไปอยู่ในสมาร์ทโฟนเพื่อเล่นไฟล์ต่างๆ เหล่านั้น จนมาถึงปี 2555 ที่ผ่านมา หลังค่ายมือถือเริ่มเปิดบริการ 3G โอเปอเรเตอร์ก็เริ่มนำบริการสตรีมมิ่งเพลง และภาพยนตร์ฝังเข้าไปให้ลูกค้าได้เริ่มทดลองใช้งานกัน ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาไปหาแผ่นมาแปลงไฟล์ หรือดาวน์โหลดจากพีซีอีกต่อไป ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นบริการอย่าง Dtac Deezer AIS Music Store และ H Music ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงคลังเพลงบนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งสามารถกดเพื่อฟังผ่านการเชื่อมต่อ 3G หรือจะโหลดมาเก็บไว้ฟังบนเครื่องได้ทันที

  ในขณะที่มุมของภาพยนตร์การให้บริการ AIS Movie Store Dtac Watchever และ H Movie ก็ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคลังภาพยนตร์ ที่ร่วมมือกับผู้ให้บริการเพื่อดาวน์โหลดภาพยนตร์ และซีรีส์ดังๆ มารับชมบนสมาร์ทโฟนได้เช่นเดียวกัน


 นอกจากของเล่นแล้ว ขนมทานเล่นอย่าง ป็อปคอร์นกาเร็ต (Garrett) ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าหัวใส พร้อมรับพรีออเดอร์เข้ามาจำหน่าย เพราะเพียงแค่มีสมาร์ทโฟนถ่ายรูป โพสต์ข้อความ หลังจากนั้นก็บินไปหิ้วจากฮ่องกง-สิงค์โปร์ เข้ามาขายทำกำไรกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
     
       สำหรับผู้ที่เคยเปิดร้านขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก การที่่ล่าสุดเฟซบุ๊กมีแอปพลิเคชันสำหรับจัดการกับ 'เฟซบุ๊ก เพจ' โดยเฉพาะในสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นมา ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ สามารถใช้สมาร์ทโฟนคู่กับ 3G ในการตอบรับการสั่งสินค้า พูดคุยกับลูกค้าที่สนใจได้ทันทีเช่นเดียวกัน
     
       เมื่อเครื่องมืออย่างสมาร์ทโฟนเองพร้อมและเครือข่าย 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้นก็พร้อมเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการใช้งาน ท้ายที่สุดก็อยู่ที่ผู้บริโภคแล้วว่าจะสามารถใช้งานได้เต็ม 100% ของความสามารถของสมาร์ทโฟนหรือไม่ ในเมื่อทุกวันนี้สมาร์ทโฟน แทบจะทำได้เกือบทุกอย่างที่ต้องการแล้ว





__________________________________________




SMARTPHONE CAN DO!!!

ทุกวันนี้สมาร์ทโฟน 1 เครื่องก็สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานลดภาระการพกพาอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นเพลง MP3 วิทยุ กล้องคอมแพกต์ถ่ายภาพ เครื่องคิดเลข รวมทั้งยังสามารถใช้แทนพีซีในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภทอย่างการท่องเว็บ ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือจะใช้ในการรับชมภาพยนตร์ หรือซีรีส์ก็ได้
     
       ในการเสพคอนเทนต์มัลติมีเดียส่วนใหญ่ แต่เดิมผู้ใช้ต้องไปซื้อแผ่นซีดีเพลง ภาพยนตร์ เพื่อนำมาแปลงไฟล์ให้กลายเป็น MP3 หรือไฟล์หนัง หรือจะใช้วิธีการดาวน์โหลดต่างๆ ก่อนจะย้ายไฟล์เหล่านั้นเข้าไปอยู่ในสมาร์ทโฟนเพื่อเล่นไฟล์ต่างๆ เหล่านั้น จนมาถึงปี 2555 ที่ผ่านมา หลังค่ายมือถือเริ่มเปิดบริการ 3G โอเปอเรเตอร์ก็เริ่มนำบริการสตรีมมิ่งเพลง และภาพยนตร์ฝังเข้าไปให้ลูกค้าได้เริ่มทดลองใช้งานกัน ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาไปหาแผ่นมาแปลงไฟล์ หรือดาวน์โหลดจากพีซีอีกต่อไป ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นบริการอย่าง Dtac Deezer AIS Music Store และ H Music ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงคลังเพลงบนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งสามารถกดเพื่อฟังผ่านการเชื่อมต่อ 3G หรือจะโหลดมาเก็บไว้ฟังบนเครื่องได้ทันที
     
       ในขณะที่มุมของภาพยนตร์การให้บริการ AIS Movie Store Dtac Watchever และ H Movie ก็ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคลังภาพยนตร์ ที่ร่วมมือกับผู้ให้บริการเพื่อดาวน์โหลดภาพยนตร์ และซีรีส์ดังๆ มารับชมบนสมาร์ทโฟนได้เช่นเดียวกัน


***แค่แตะก็จ่ายแล้ว
     
       แต่ในปี 2556 สมาร์ทโฟนจะไม่ได้เป็นเพียงแค่อุปกรณ์สำหรับใช้ในการเสพความสุขความบันเทิงได้แค่นั้นอีกต่อไป เพราะยังสามารถนำไปใช้แทนบัตรเติมเงิน และบัตรเดบิต ช่วยลดความหนาของกระเป๋าสตางค์ลงไปได้ จากการที่ไม่ต้องพกทั้งบัตรเครดิต และบัตรรถไฟฟ้า เปลี่ยนมาใช้งานเทคโนโลยี NFC (Near Field Communication) คู่กับซิมการ์ดในสมาร์ทโฟนแทน
     
       โดยเอไอเอสเป็นผู้นำเสนอเทคโนโลยีดังกล่าวภายในงาน 'AIS Vision 2013' แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และนวัตกรรมที่เอไอเอสจะนำมาให้ผู้บริโภคในไทยได้ใช้งานกันในจังหวะถูกที่ถูกเวลา หลังจากที่ก่อนหน้านี้กลุ่มทรูเคยนำรูปแบบการให้บริการที่ใกล้เคียงกันมาเพียงแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร
     
       ในสมัยที่ทางกลุ่มทรูเริ่มให้บริการ Touch SIM ซึ่งเป็นซิมการ์ดที่มีการต่อสายแพร์เข้ากับเซ็นเซอร์รับ-ส่งสัญญาณ เพื่อใช้ในการชำระเงินตาม 7-11 หรือโหวต AF ในสมัยนั้น มีข้อจำกัดในการใช้งานหลายอย่าง เช่น ต้องเป็นเครื่องที่มีฝาหลังขนาดพอเหมาะกับตัวเซ็นเซอร์ สายแพร์หักได้ง่าย และรูปแบบการใช้งานไม่ค่อยสอดคล้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน
     
       แต่สำหรับเอไอเอสแล้ว นายปรัธนา ลีลพนัง รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) อธิบายถึงการใช้งาน AIS mPay Rabbit ว่า ในการใช้งานแค่ผู้ใช้เอไอเอสที่มีสมาร์ทโฟนซึ่งรองรับการใช้งานระบบ NFC (Near Field Communication) นำซิมการด์เดิมไปเปลี่ยนเป็นซิมการ์ดรุ่นใหม่ก็สามารถนำโทรศัพท์ไปใช้งานบัตร Rabbit ได้ทันที ช่วยลดความยุ่งยากในการใช้งานบัตรรถไฟฟ้าไปได้ทันที
     
       “สมาร์ทโฟนที่สามารถใช้งาน NFC ในปัจจุบันอาจจะมีไม่มากนัก เพราะค่ายผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างแบล็กเบอร์รี เอชทีซี โซนี่ ซัมซุง และโนเกีย จะให้ NFC มาในเฉพาะรุ่นที่อยู่ในระดับไฮเอนด์เท่านั้น แต่เชื่อว่าภายในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ก่อนที่จะเปิดให้บริการ mPay Rabbit อย่างเป็นทางการ เหล่าผู้บริโภคจะได้เห็นสมาร์ทโฟนที่รองรับ NFC ในระดับราคา 4-5 พันบาท”
     
       สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน เมื่อทางเอไอเอสเปิดให้บริการในช่วงไตรมาสที่ 3 และมีสมาร์ทโฟนที่รองรับ NFC อยู่ก็สามารถเดินเข้าไปที่ศูนย์บริการเอไอเอสเพื่อขอซิมใหม่ หลังจากนั้นทางเจ้าหน้าที่จะทำการโหลดแอปพลิเคชันมาติดตั้งในสมาร์ทโฟนเพื่อไว้ควบคุม และดูรายละเอียดการใช้งานของ mPay Rabbit ภายในสมาร์ทโฟนได้ทันที
     
       นายปรัธนากล่าวต่อว่า ในส่วนของ mPay Rabbit นั้น เอไอเอสมองว่ารูปแบบการให้บริการดังกล่าวจะมีผู้ใช้งานก็ต่อเมื่อบริการนั้นต้องสอดคล้องเข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้มองไปที่บริการขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า ที่เริ่มมีการนำบัตร Rabbit เข้ามาให้บริการ และมีเครือข่ายพันธมิตรอย่างร้านค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการอยู่ระดับที่น่าพอใจ ดังนั้นก็จะเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานให้แก่ลูกค้าเอไอเอสได้
     
       โดยปัจจุบันบัตร Rabbit สามารถนำไปใช้ชำระค่าบริการในร้าน แมคโดนัลด์, โอ บอง แปง, อานตี้ แอนส์, เบรดปาป้า, เดอะบิบิมบับ, ร้านชานมบับเบิลบอย, ร้านกาแฟแบล็กแคนยอน, เบอร์เกอร์คิง, ดังกิ้นโดนัท, ฟูดฮอลล์, กูร์เมต์มาร์เก็ต, เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์, มิสเตอร์โดนัท, ร้านอาหารในเครือโออิชิ, เอสเอฟซินีม่า, สตาร์บัคส์, ยามาซากิ, โอมุ, โอชายะ และซับเวย์ ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส บีอาร์ที และคาดว่าจะสามารถใช้งานกับรถไฟใต้ดินเอ็มอาร์ทีได้ด้วย และถ้ามองไปยังฐานพันธมิตรของเอไอเอส พริวิลเลจที่มีอยู่ทั่วประเทศนั้น ถ้าสามารถนำบริการ mPay Rabbit เข้าไปใช้งานได้ด้วยแล้วนั้น ก็จะช่วยลดการพกเงินสดในกระเป๋าสตางค์ และเปลี่ยนมาใช้การนำสมาร์ทโฟนไปสัมผัสแทนการชำระเงินได้ทันที
     
       ความสามารถของบัตร Rabbit บนอุปกรณ์ Ais ปรากฏในวิดีโองานแสดงวิสัยทัศน์ Ais ด้านล่างนี้ด้วย

***ผลักดันธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
     
       นอกจากในมุมของการใช้งานร่วมกับ Rabbit ในการจ่ายเงินแล้วทางเอไอเอสได้นำเสนออีกหนึ่งบริการที่ช่วยให้ผู้บริโภค ที่ไม่มีบัตรเครดิต สามารถมีบัตรเครดิตเสมือน (Virtual Master Card) ได้ง่ายๆ ด้วยบริการ mPay Master Card ซึ่งจุดเด่นที่สุดของบริการนี้คือ ผู้ที่ต้องการใช้งานไม่จำเป็นต้องมีเงินเดือนประจำ ไม่ต้องยื่นเอกสารขอทำบัตรเครดิตที่ต้องลุ้นการพิจารณาว่าจะผ่านหรือไม่กับทางธนาคาร
     
       นายปรัธนา ให้ข้อมูลเสริมว่า mPay Master Card ถือเป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยเหลือการใช้จ่ายออนไลน์ของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ต้องการบัตรเครดิตสำหรับทำธุรกรรมผ่านอีคอมเมิร์ซ โดยมีจุดเด่นที่สมัครใช้บริการง่ายๆ ผ่านมือถือ
     
       'คอนเซปต์จริงๆ ของบริการนี้คือเพิ่มความสบายใจ ในการใช้จ่ายสินค้าออนไลน์ เพราะผู้ใช้สามารถกำหนดได้ว่าจะใช้จ่ายเท่าไหร่ในแต่ละเดือน ด้วยการเติมเงินเข้าไปในระบบ mPay โดยมีหลักการใช้งานคล้ายๆ กับบัตรเดบิตที่จะหักจากเงินฝากในบัญชี'
     
       โดยปัจจุบันบริการ mPay มียอดผู้ใช้งานราว 4 แสนราย ซึ่งเกือบทั้งหมดถูกใช้งานในรูปแบบการชำระเงินระหว่างธุรกิจและธุรกิจ (B2B) ดังนั้นเอไอเอสจึงคาดหวังว่าบริการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้บริโภคทั่วไปหันมาใช้งาน mPay มากขึ้นเบื้องต้นบริการดังกล่าวจะสามารถใช้กับร้านค้าออนไลน์ที่ลงทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ และมีระบบชำระเงินของ Master Card ได้ทันที ขณะที่ในเฟสถัดไปจะเป็นการขยายบริการไปสู่ร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศรวมถึง ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ eBay ด้วย
     

***ตัวช่วยร้านค้าออนไลน์
     
       ขณะที่ในมุมของผู้ประกอบการ เมื่อสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ มาพร้อมกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้น ก็ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่นร้านค้าบางรายที่ใช้การโพสต์อินสตาแกรม เพื่อแสดงสินค้า พร้อมกับระบุ Line ID ให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดสินค้า ราคา เพิ่มเติม เพียงแต่ส่วนใหญ่จะยังคงใช้รูปแบบการชำระเงินด้วยการโอนเงินผ่านธนาคารอยู่เช่นเดิม
     
       ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายหนึ่งให้ข้อมูลว่า เมื่อสมาร์ทโฟนมีความสามารถที่สูงขึ้น การจับกระแสสินค้าในแต่ละช่วงเวลามาจำหน่าย ถือเป็นการสร้างรายได้แบบ 'น้ำขึ้นให้รีบตัก' ซึ่งกระแสดังกล่าวก็จะเกิดจากเหล่าดารา เซเลบฯ ที่ทำการโพสต์'อินสตาแกรม'ร่วมกับสินค้า อย่างเช่น 'เฟอร์บี้' ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในตอนนี้
     
       'ในช่วงนี้ที่เฟอร์บี้ขาดตลาด เราจะได้เห็นพ่อค้า-แม่ค้า หน้าใหม่ที่มีเพื่อนๆ อยู่ในสหรัฐอเมริกา เปิดรับจอง (พรีออเดอร์) เฟอร์บี้ เพื่อมาจำหน่ายกันเป็นจำนวนมาก แต่ก็เชื่อว่าการขายสินค้าตามกระแสจะทำเงินได้เพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น หลังจากนั้นก็ต้องหาสินค้าใหม่ๆมาจำหน่ายกันเรื่อยๆ'
     
     
     
       นอกจากของเล่นแล้ว ขนมทานเล่นอย่าง ป็อปคอร์นกาเร็ต (Garrett) ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าหัวใส พร้อมรับพรีออเดอร์เข้ามาจำหน่าย เพราะเพียงแค่มีสมาร์ทโฟนถ่ายรูป โพสต์ข้อความ หลังจากนั้นก็บินไปหิ้วจากฮ่องกง-สิงค์โปร์ เข้ามาขายทำกำไรกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
     
       สำหรับผู้ที่เคยเปิดร้านขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก การที่่ล่าสุดเฟซบุ๊กมีแอปพลิเคชันสำหรับจัดการกับ 'เฟซบุ๊ก เพจ' โดยเฉพาะในสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นมา ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ สามารถใช้สมาร์ทโฟนคู่กับ 3G ในการตอบรับการสั่งสินค้า พูดคุยกับลูกค้าที่สนใจได้ทันทีเช่นเดียวกัน
     
       เมื่อเครื่องมืออย่างสมาร์ทโฟนเองพร้อมและเครือข่าย 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้นก็พร้อมเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการใช้งาน ท้ายที่สุดก็อยู่ที่ผู้บริโภคแล้วว่าจะสามารถใช้งานได้เต็ม 100% ของความสามารถของสมาร์ทโฟนหรือไม่ ในเมื่อทุกวันนี้สมาร์ทโฟน แทบจะทำได้เกือบทุกอย่างที่ต้องการแล้ว
     

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000013202

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.