11 กุมภาพันธ์ 2556 (บทความ)(โดนสุดๆๆ) 10 ปัญหากวนใจพร้อมวิธีแก้ เมื่อ "สมาร์ทโฟน" ไม่ฉลาดสมชื่อ
ประเด็นหลัก
10.อายุการใช้งานหลังหลุดออกจากปลั๊กไฟ
9.ไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพิมพ์
ต้น เหตุของปัญหามาจากขนาดของแป้นพิมพ์เสมือนในสมาร์ทโฟนที่เล็กเกินไป (ผนวกกับฟังก์ชั่นช่วยแก้คำผิดที่ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก) วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือฝึกฝนทักษะการพิมพ์ของคุณให้ดีขึ้นด้วยการพิมพ์บ่อย ๆ, ใช้นิ้วเพียง 1-2 นิ้วในการพิมพ์ และค้นหาท่าถือสมาร์ทโฟนที่ถนัดที่สุด สำหรับเจ้าของแอนดรอยด์สมาร์ทโฟนยังดาวน์โหลด
8.ให้ผู้ใช้มีอำนาจในการควบคุมโทรศัพท์มือถือ
7.ไร้ซึ่งความทนทาน
ยัง จำวันเวลาเก่า ๆ ที่โทรศัพท์มือถือโนเกียยังใช้งานได้ แม้จะทำตก กระแทก หรือโดนน้ำหลายต่อหลายครั้งได้หรือไม่
6.ถ่ายรูปไม่ได้เรื่อง
5.ทำให้เสียสมาธิ
4.ตกรุ่นเร็วเกินไป
3.พรากความสงบไปจากชีวิต
ตั้งแต่ คุณแกะสมาร์ทโฟนออกจากกล่อง เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้จะเรียกร้องความสนใจจากคุณตลอดเวลา อย่างดีที่สุดคือแค่ทำให้รำคาญ แต่ที่แย่ที่สุดคือทำให้เสียการเสียงาน วิธีแก้ง่าย ๆ คือปิดเสียงสมาร์ทโฟน แต่ทางที่ดีควรเข้าไปปรับแต่งการแจ้งเตือนแอปด้วยการจัดลำดับความสำคัญของแอ ป แอปตัวใดไม่จำเป็นก็ปิดการแจ้งเตือนไป และพยายามตั้งเสียงการแจ้งเตือนของแอปที่สำคัญแต่ละตัวให้
2.เปลือง
การ เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนสักเครื่องนอกจากต้องจ่ายค่าเครื่องที่ค่อนข้างแพงแล้ว ยังมีค่าบริการรายเดือนที่อาจดูดเงินจากกระเป๋าเร็วกว่าที่คาดคิด
เคล็ด ลับง่าย ๆ ที่โอเปอเรเตอร์ไม่อยากบอกในการลดค่าบริการไม่ให้สูงติดเพดานบิน คือ พยายามใช้เซอร์วิสการโทร.ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Google Voice หรือ VOIP (Voice Over Internet Protocol) รูปแบบอื่น ๆ มากขึ้น, ลดการใช้ดาต้าและคอยตรวจสอบว่าปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตเกินกำหนดหรือไม่ หากต้องการประหยัดเงินก็ใช้วิธีเปลี่ยนไปใช้บริการแพ็กเกจพรีเพดแทนรายเดือน จะดีกว่า
1.ทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์ได้ยอดแย่
ปัญหาที่น่าตกใจมากที่สุดของสมาร์ทโฟน คือการทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์นั่นเอง
____________________________________
10 ปัญหากวนใจพร้อมวิธีแก้ เมื่อ "สมาร์ทโฟน" ไม่ฉลาดสมชื่อ
ความ นิยมในการใช้งาน "สมาร์ทโฟน" เกิดจากความสามารถที่ทำได้หลายอย่าง เรียกว่าฉลาดสมชื่อ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด
ล่าสุดเว็บไซต์ "ไลฟ์แฮกเกอร์" (www.lifehacker.com) ได้นำเสนอข้อมูลอีกด้าน
ของ สมาร์ทโฟนจากที่หลายต่อหลายคนเห็นเป็นอุปกรณ์อำนวยประโยชน์ กลับกลายมาเป็นตัวสร้างปัญหาใน 10 อันดับยอดแย่ของสมาร์ทโฟน รวมถึงวิธีแก้ไขให้ดีขึ้นพร้อมกัน
10.อายุการใช้งานหลังหลุดออกจากปลั๊กไฟ
เมื่อ คุณใช้อุปกรณ์อะไรบางอย่างที่กินไฟจากแบตเตอรี่ สุดท้ายก็ต้องเจอปัญหาแบตฯหมด หลายครั้งหลายคราที่อุปกรณ์ในมือ (โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน) มักหมดไฟก่อนเวลาอันควร แตกต่างจากในยุคที่ฟีเจอร์โฟนครองเมืองลิบลับที่เราทิ้งโทรศัพท์ไว้หลายวัน โดยไม่ต้องชาร์จได้
การแก้ปัญหาทำได้ 2 วิธี วิธีแรกคือปรับแต่งการทำงาน หากเป็นสมาร์ทโฟนที่รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ผู้ใช้ควรลดความสว่างของหน้าจอให้ลงมาอยู่ที่ประมาณ 10%, พยายามเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายไวไฟทุกครั้งที่มีโอกาส (เพราะกินไฟน้อยกว่าการใช้ 3G), ปรับแต่งหรือถอนการติดตั้งแอปที่ใช้ข้อมูลมาก ๆ (ทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก) และไม่ทิ้งสมาร์ทโฟนไว้ในที่อุณหภูมิสูง ส่วนผู้ใช้ไอโฟนก็ควรปิดฟังก์ชั่นเตือนอีเมล์ใหม่, ปิดโลเกชั่นเบสเซอร์วิส, ปิดการแจ้งเตือนของแอปพลิเคชั่นที่ไม่จำเป็น, ปิดแอปในแถบมัลติแทสกิ้งที่ไม่ได้ใช้งาน พร้อมกับเตรียมแบตเตอรี่สำรองไว้ด้วย และอีกวิธีหนึ่งคือพยายามชาร์จไฟทุกครั้งที่มีโอกาส ด้วยการเตรียมปลั๊กและสายชาร์จติดตัวไว้เสมอ
9.ไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพิมพ์
เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของสมาร์ทโฟนโดยตรง ทั้งผู้ผลิตก็พยายามอย่างมากที่จะแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีต่าง ๆ
ต้น เหตุของปัญหามาจากขนาดของแป้นพิมพ์เสมือนในสมาร์ทโฟนที่เล็กเกินไป (ผนวกกับฟังก์ชั่นช่วยแก้คำผิดที่ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก) วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือฝึกฝนทักษะการพิมพ์ของคุณให้ดีขึ้นด้วยการพิมพ์บ่อย ๆ, ใช้นิ้วเพียง 1-2 นิ้วในการพิมพ์ และค้นหาท่าถือสมาร์ทโฟนที่ถนัดที่สุด สำหรับเจ้าของแอนดรอยด์สมาร์ทโฟนยังดาวน์โหลด
แป้นพิมพ์เสมือนรูปแบบอื่น ๆ ที่อาจใช้งานได้ถนัดมากกว่ามาติดตั้งไว้ในโทรศัพท์ได้
8.ให้ผู้ใช้มีอำนาจในการควบคุมโทรศัพท์มือถือ
ทั้งสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอสมักมาพร้อมแอปพลิเคชั่นพื้นฐานที่ไม่จำเป็นบางตัว เช่น แอปพลิเคชั่น
สำหรับ ใช้ชมภาพยนตร์นามว่า "Blockbuster" สำหรับแอนดรอยด์ที่ทำงานไม่ค่อยได้เรื่อง แต่ผู้ใช้ไม่สามารถถอนการติดตั้งแอปนี้ได้ หรือไอโฟนที่มาพร้อมแอปแผนที่ของตนเอง ซึ่งไม่ค่อยได้เรื่องอีกเช่นกัน แทนที่จะให้เจ้าของโทรศัพท์ใช้ Google Maps เหมือนเดิม เป็นต้น
น่าเสียดายที่แบรนด์ผู้ผลิตไม่เคยคิดแก้ปัญหานี้ และมีแต่จะกีดกันให้เจ้าของเครื่องควบคุมสมาร์ทโฟนของตนได้ยากขึ้น
ดัง นั้นวิธีแก้ปัญหากรณีที่ต้องการลบแอปพื้นฐานที่ไม่ต้องการ จึงมีแค่การรูต (สำหรับสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์) และเจลเบรกสำหรับไอโอเอส) หรือปลดล็อกโทรศัพท์อย่างไม่เป็นทางการด้วยตนเองเท่านั้น
7.ไร้ซึ่งความทนทาน
ยัง จำวันเวลาเก่า ๆ ที่โทรศัพท์มือถือโนเกียยังใช้งานได้ แม้จะทำตก กระแทก หรือโดนน้ำหลายต่อหลายครั้งได้หรือไม่ ดูเหมือนวันเวลาเหล่านั้นจะล่วงเลยมาตั้งแต่เข้าสู่ยุคของสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ เนื่องจากโทรศัพท์ทุกวันนี้ช่างบอบบาง ประหนึ่งว่าสามารถทำหน้าจอแตกได้
ด้วยการสะกิดแรง ๆ เท่านั้น ฝุ่นเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ปุ่มบนสมาร์ทโฟนไม่ตอบสนอง หรือทำให้ฝาครอบแบตเตอรี่เป็นรอยได้
วิธีแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างง่ายคือ
เปลี่ยน แผงหน้าจอสมาร์ทโฟนใหม่หากของเก่ามีรอยแตก กรณีปุ่มกดมีปัญหาก็ให้ดาวน์โหลดแอปที่สร้างปุ่มเสมือนขึ้นมาบนหน้าจอทัช สกรีน หากเป็นไอโฟนก็แค่เข้าไปตั้งค่าและเปิดฟังก์ชั่น AssistiveTouch ที่สำคัญอย่าลืมหาเคสดี ๆ มาสวมทับ
6.ถ่ายรูปไม่ได้เรื่อง
ปัญหา นี้ค่อย ๆ ทุเลาลง เนื่องจากคุณภาพกล้องที่ดีขึ้น แม้กระนั้นกล้องสมาร์ทโฟนก็ยังมีคุณภาพห่างไกลกล้องถ่ายรูปดี ๆ ทั่วไป โชคยังดีที่แม้สมาร์ทโฟนจะถ่ายรูปออกมาไม่งดงามทุกครั้งที่กดชัตเตอร์
แต่ มีหลายอย่างที่สามารถทำให้ภาพออกมาดูดีที่สุดได้ด้วยการเรียนรู้หลักการถ่าย รูปเบื้องต้น, ใช้แสงในฉากให้เป็นประโยชน์, ทำความสะอาดเลนส์สมาร์ทโฟนบ่อย ๆ, หลีกเลี่ยงการซูม, ตั้งค่าแอปถ่ายภาพให้มีความละเอียดสูงสุด, ปรับแต่งสีของภาพนั้น และที่สำคัญอย่าตั้งความหวังสูงเกินไปว่ากล้องโทรศัพท์จะถ่ายออกมาได้สวยงาม ระดับเอสแอลอาร์
5.ทำให้เสียสมาธิ
การมีโทรศัพท์ที่ใช้อ่านอี เมล์, เล่นเน็ต ครบครันไปด้วยสื่อบันเทิงเป็นเรื่องที่ดี ปัญหาที่ตามมาคือทำให้วอกแวกตลอดเวลาในยามขับรถ ทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนน้อยลง ทำให้คนรอบตัวเกิดความรำคาญ การจะแก้ปัญหานี้ไม่ได้หมายความว่าต้องเลิกใช้ แค่เปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ตั้งกฎกับตนเอง, ปิดแอปพลิเคชั่นที่เรียกร้องความสนใจยามขับรถ, ไม่ต้องตอบข้อความ
สนทนาในโทรศัพท์ทุกครั้ง และวางสมาร์ทโฟนไว้ไกล ๆ ตัวบ้าง
4.ตกรุ่นเร็วเกินไป
สิ่ง ที่น่าพิศวงงงงวยอย่างมากในยุคนี้ คือ โทรศัพท์รุ่นใหม่ ๆ ตกรุ่นเร็วกว่าที่คาดคิด ปัจจุบันไอโฟน รุ่น 4 ไม่สามารถใช้แอปพลิเคชั่นนำทาง Apple Maps ได้อีกแล้ว ทั้งแอนดรอยด์รุ่นที่อายุเกิน 2 ปี ก็อย่าหวังว่าจะอัพเกรดระบบปฏิบัติการใหม่อย่าง Jelly Bean หรือ Ice Cream Sandwich ได้
สำหรับปัญหาเรื่องที่เครื่องไม่สามารถใช้แอปพลิเคชั่น หรือระบบปฏิบัติการใหม่ แก้ไขได้ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นบางตัวมาใช้ แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนสมาร์ทโฟนบ่อย ๆ ก็ควรพกข้อมูลสำคัญติดตัวตลอดเวลา ทั้งต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และสำรองข้อมูลใหม่ ๆ ไว้เสมอ
นอกจาก นี้อย่าเลือกซื้อสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมแพ็กเกจลดราคาเครื่อง แต่ติดสัญญาการใช้บริการ ที่สำคัญพยายามรักษาสมาร์ทโฟนให้มีสภาพดีอยู่เสมอ และเก็บกล่องพร้อมคู่มือให้ครบ เพราะจะทำให้สมาร์ทโฟนมีราคาดีเมื่อปล่อยขายเครื่องมือสอง และพึงระลึกไว้เสมอว่าหากยังพอใจสมาร์ทโฟนรุ่นเก่าก็ใช้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่จนกว่าจะพัง
3.พรากความสงบไปจากชีวิต
ตั้งแต่ คุณแกะสมาร์ทโฟนออกจากกล่อง เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้จะเรียกร้องความสนใจจากคุณตลอดเวลา อย่างดีที่สุดคือแค่ทำให้รำคาญ แต่ที่แย่ที่สุดคือทำให้เสียการเสียงาน วิธีแก้ง่าย ๆ คือปิดเสียงสมาร์ทโฟน แต่ทางที่ดีควรเข้าไปปรับแต่งการแจ้งเตือนแอปด้วยการจัดลำดับความสำคัญของแอ ป แอปตัวใดไม่จำเป็นก็ปิดการแจ้งเตือนไป และพยายามตั้งเสียงการแจ้งเตือนของแอปที่สำคัญแต่ละตัวให้
ต่างออกไป เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีอะไรใหม่เข้ามาจำเป็นต้องเปิดดูหรือไม่ แค่นี้ก็มีพื้นที่ส่วนตัวให้พักหายใจมากขึ้น
2.เปลือง
การ เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนสักเครื่องนอกจากต้องจ่ายค่าเครื่องที่ค่อนข้างแพงแล้ว ยังมีค่าบริการรายเดือนที่อาจดูดเงินจากกระเป๋าเร็วกว่าที่คาดคิด
เคล็ด ลับง่าย ๆ ที่โอเปอเรเตอร์ไม่อยากบอกในการลดค่าบริการไม่ให้สูงติดเพดานบิน คือ พยายามใช้เซอร์วิสการโทร.ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Google Voice หรือ VOIP (Voice Over Internet Protocol) รูปแบบอื่น ๆ มากขึ้น, ลดการใช้ดาต้าและคอยตรวจสอบว่าปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตเกินกำหนดหรือไม่ หากต้องการประหยัดเงินก็ใช้วิธีเปลี่ยนไปใช้บริการแพ็กเกจพรีเพดแทนรายเดือน จะดีกว่า
1.ทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์ได้ยอดแย่
ปัญหาที่น่าตกใจมากที่สุดของสมาร์ทโฟน คือการทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์นั่นเอง
จากการสำรวจของ "ไลฟ์แฮกเกอร์" ที่ว่า เรื่องใดของสมาร์ทโฟนที่กวนใจมากที่สุด หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่พบคือ อาการสายหลุด
ระหว่าง คุย โดยเจ้าของเครื่องแก้ปัญหานี้ได้ด้วยตนเอง เช่น ใช้การเชื่อมต่อแบบไวไฟในการโทรศัพท์ หรือ VOIP แทนการใช้บริการบนโทรศัพท์มือถือ (ซึ่งประหยัดเงินให้คุณด้วย) เป็นต้น
อย่าง ไรก็ตามทางแก้ที่ดีที่สุดคือ หาทางปรับแต่งเสาสัญญาณในโทรศัพท์ ได้แก่ ไปอยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณชัดเจนในยามโทรศัพท์ และไม่เคลื่อนตัวออกจากบริเวณนั้น, พยายามวางสมาร์ทโฟนไว้ในที่ที่มีสัญญาณ และใช้บลูทูทคุยโทรศัพท์แทน, ติดตั้งเสาอากาศเสริมหรือเชื่อมต่อกับเครื่องช่วยรับสัญญาณ (ซึ่งราคาค่อนข้างสูง) หรืออาจพกโทรศัพท์รุ่นเก่าอีกเครื่องสำหรับโทร.ออก และรับสายแทน เป็นต้น
อีกทางแก้ที่ดีคือมีสายโทรศัพท์สำรองไว้อีก สาย ไม่ว่าจะเป็นแบบแลนด์ไลน์, VOIP บนคอมพิวเตอร์หรือบนโทรศัพท์ก็ตาม เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะสามารถติดต่อได้ในทุกสถานการณ์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1360513306&grpid=&catid=06&subcatid=0603
ไม่มีความคิดเห็น: