Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 กุมภาพันธ์ 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป235วันแล้ว) กสทช. อุ้ม BFTK !! ต่อเวลาในการตรวจสอบอีก 15 วัน (รู้ผลกลางเดือนมีนาคม)


ประเด็นหลัก




ล่าสุดทราบจากนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ว่าคณะทำงานฯสอบบีเอฟเอทีได้ส่งเอกสารขอขยายเวลาในการตรวจสอบประเด็นดังกล่าวออกไปอีก 15 วันเนื่องจากข้อมูลใหม่ที่บอร์ด กทค.ให้คณะทำงานฯกลับมาศึกษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะข้อมูลในส่วนของรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งต้องใช้เวลาจึงไม่สามารถปฏิบัติตามมติบอร์ดกทค.ได้ทันที่จะให้ส่งผลรายงานเพิ่มเติมภายวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา
     
       'เชื่อว่ากรณีบีเอฟเคทีจะจบภายในกลางเดือนมี.ค.นี้แน่นอน เพราะหลังจากบอร์ดได้รับรายงานผลสรุปแล้วจะใช้เวลาอ่าน 1 สัปดาห์จากนั้นจะสามารถลงมติในที่ประชุมบอร์ดกทค.ได้ แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร คงต้องมาดูว่าฐานของกฏหมายที่ใช้ระบุว่าการกระทำดังกล่าวจะผิดหรือถูกในที่สุด'


ก่อนหน้านี้ บอร์ด กทค.มีมติให้คณะทำงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในแง่ของข้อกฎหมายที่มีรายละเอียดขัดแย้งกันเอง ว่า เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 หรือไม่ (ประกอบกิจการโดยไม่มีใบอนุญาต) ภายใน30วัน เนื่องจากบอร์ดตั้งข้อสังเกตใน 4 ประเด็นภายหลังจากที่ได้รับฟังรายงานผลสรุปการตรวจสอบเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

(แก้ CAT TRUEผ่านไป201วันแล้ว) กสทช.ชี้ BFTK ผิดกรณีไม่ได้รับใบอนุญาติเพราะเป็นผู้คุ่มระบบ (แต่สรุปความผิดไม่ได้เรื่องการเช่าและการใช้บริการTRUE-CATคนเดียวเป็นกิจการโทรคมนาคม หรือไม่ ) จึงขยายเวลา30วัน

http://somagawn.blogspot.com/2013/01/17-2555-cat-true201-bftk-true-cat-30.html

(แก้ CAT TRUEผ่านไป201วันแล้ว)แรงกว่า++ ผู้บริหารBFTK(บ.ลูกTRUE ที่เป็นตัวกลางส่งสัญญาณ TRUE H ) ชี้ กสทช.กลั่นแกล้งอ้างอัยการสูงสุด ไม่ถือเป็นการให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งจะต้องมีใบอนุญาต.

http://somagawn.blogspot.com/2013/01/17-2555-cat-true201-bftktrue-true-h.html








___________________________________

'เศรษฐพงค์' คาดกลางมี.ค.รู้ผลบีเอฟเคที


       ประธานกทค.ระบุ กรณีบีเอฟเคที คาดรู้ผลกลางเดือนมี.ค.นี้ หลังคณะทำงานฯ ขอยืดเวลาไปอีก 15 วัน ด้านเลขาธิการ 'ฐากร' ยันคณะทำงานฯต้องส่งรายละเอียดเพิ่มเติม 4 ประเด็นที่บอร์ดกทค.มีมติก่อนหน้านี้ ให้สำนักงานกสทช.ภายในวันที่ 28 ก.พ. เพื่อให้บอร์ดกทค.มีเวลาพิจารณาอย่างน้อย 1 สัปดาห์
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ภายหลังจากที่บอร์ด กทค.มีมติให้คณะทำงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 850 MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในแง่ของข้อกฎหมายที่มีรายละเอียดขัดแย้งกันเอง ว่าเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 หรือไม่ (ประกอบการโดยไม่มีใบอนุญาต) ภายใน30วัน เนื่องจากบอร์ดตั้งข้อสังเกตใน 4 ประเด็นภายหลังจากที่ได้รับฟังรายงานผลสรุปการตรวจสอบเมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา
     
       ล่าสุดทราบจากนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ว่าคณะทำงานฯสอบบีเอฟเอทีได้ส่งเอกสารขอขยายเวลาในการตรวจสอบประเด็นดังกล่าวออกไปอีก 15 วันเนื่องจากข้อมูลใหม่ที่บอร์ด กทค.ให้คณะทำงานฯกลับมาศึกษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะข้อมูลในส่วนของรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งต้องใช้เวลาจึงไม่สามารถปฏิบัติตามมติบอร์ดกทค.ได้ทันที่จะให้ส่งผลรายงานเพิ่มเติมภายวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา
     
       'เชื่อว่ากรณีบีเอฟเคทีจะจบภายในกลางเดือนมี.ค.นี้แน่นอน เพราะหลังจากบอร์ดได้รับรายงานผลสรุปแล้วจะใช้เวลาอ่าน 1 สัปดาห์จากนั้นจะสามารถลงมติในที่ประชุมบอร์ดกทค.ได้ แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร คงต้องมาดูว่าฐานของกฏหมายที่ใช้ระบุว่าการกระทำดังกล่าวจะผิดหรือถูกในที่สุด'
     
       ขณะที่วาระการประชุมบอร์ดกทค.ในวันที่ 20 ก.พ.นี้จะมีเรื่องของคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมรองรับสัญญาสัมปทานความถี่ 1800 MHz ในประเด็นเรื่องการตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมจัดการประมูลความถี่ 1800 MHz (4G), มาตรการเยียวยาลูกค้าภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน และในเรื่องการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Number Portability)
     
       ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า เบื้องต้นคณะทำงานฯตรวจสอบบีเอฟเคทีได้ยื่นเอกสารขอขยายเวลาออกไปอีก 15 วันในการไปจัดหาข้อมูลเพิ่มเติมตามมติบอร์ดกทค.ใน 4 ประเด็นที่ตั้งข้อสังเกต อาทิ ยังไม่ปรากฏรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และในประเด็นที่รายงานของคณะทำงานฯ ทั้ง 2 ส่วนมีความขัดแย้งกันเอง เพราะสรุปว่าผิดแต่ผิดโดยไม่ตั้งใจ เป็นต้น
     
       ทั้งนี้คณะทำงานฯตรวจสอบบีเอฟเคทีจะต้องจัดส่งรายงานผลสรุปมาให้กับทางสำนักงานกสทช.ก่อน 7 วันที่ครบกำหนดขอขยายเวลาหรือต้องส่งมาที่สำนักงานกสทช.ประมาณวันที่ 28 ก.พ.นี้เพื่อเตรียมนำเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ดกทค.ต่อไป
     
       โดยขั้นตอนต่อไปสำนักงานจะนำเรื่องการขอขยายเวลาของคณะทำงานฯเข้าบอร์ดกทค.ในวันที่ 20ก.พ.นี้ เพื่อให้บอร์ดพิจารณาเห็นชอบก่อนจึงจะแจ้งกลับไปยังคณะทำงานฯอีกครั้ง แต่หากบอร์ดไม่อนุมัติการขอขยายเวลาดังกล่าวคณะทำงานฯจะต้องดำเนินการส่งรายงานผลสรุปกลับมาทันทีภายใน1-2วันจากนี้
     
       สำหรับมติบอร์ดกทค.ให้คณะทำงานฯ กลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในแง่ของข้อกฎหมายที่มีรายละเอียดขัดแย้งกันเอง ใน 4 ประเด็น ได้แก่
     
       1. คณะทำงานฯ สรุปในส่วนท้ายของรายงานว่า ยังไม่สามารถเชื่อได้ว่า บีเอฟเคที มีเจตนาใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้อนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือใช้คลื่นความถี่ในการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่เชื่อว่า กสท เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของบีเอฟเคที แต่ในส่วนที่มีการวิเคราะห์ กลับให้ความเห็นว่าบีเอฟเคทีเป็นผู้บริหารจัดการควบคุมดูแลโครงข่าย ระบบโครงข่าย สถานีฐาน และระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลัก และจัดอยู่ในลักษณะการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้เช่าใช้ ซึ่งจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 คณะทำงานจึงเชื่อว่าบีเอฟเคทีเข้าข่ายกระทำความผิด มาตรา 67 (3) พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ฐานประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต
     
       รายงานของคณะทำงานฯ ทั้ง 2 ส่วนนี้จึงขัดแย้งกันเอง เพราะหากวิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดดังกล่าวแล้ว การกระทำของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ย่อมไม่ครบองค์ประกอบของความผิดและไม่เป็นความผิด ซึ่งจะต้องมีเหตุผลสนับสนุนอย่างชัดเจนว่าเหตุใดคณะทำงานฯ จึงเชื่อว่า บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิด รวมทั้งในชั้นการพิจารณาว่าจะดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษหรือไม่นั้น กทค.จำเป็นจะต้องคำนึงถึงเจตนาของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด หรือไม่ และมีข้อกฎหมายสนับสนุนความเห็นในเรื่องนี้ของคณะทำงานฯ อย่างไร
     
       2. คณะทำงานฯ ให้ความเห็นว่า ในกรณีที่เป็นการดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการให้เช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมโดยแท้ นับแต่อดีตที่มี กทช.จนกระทั่งปัจจุบันเป็น กสทช. ยังไม่มีแนวนโยบายหรือคำตัดสินที่ชัดเจนในเรื่องนี้ว่า “การให้เช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมโดยแท้” ถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่ แต่ในส่วนของการวิเคราะห์ คณะทำงานฯ กลับสรุปว่าการดำเนินการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ตามที่คณะทำงานฯ ตรวจสอบจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 เช่นนี้ หาก กสทช.โดย กทค.ยังไม่มีแนวนโยบายหรือคำตัดสินที่ชัดเจนว่าจะถือเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่ จะทราบได้อย่างไรว่าการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 รายงานของคณะทำงานฯ จึงขัดแย้งกันเอง จำเป็นต้องให้ความกระจ่างในประเด็นนี้ด้วย
     
       ในการพิจารณาว่า คำจำกัดความของ “การประกอบกิจการโทรคมนาคม” ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องเป็นการประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่ “บุคคลอื่นทั่วไป” นั้น คณะทำงานฯ แปลความหมายของคำว่า “บุคคลอื่นทั่วไป” หมายถึง บุคคลใดๆ ที่มิใช่การให้บริการเพื่อตนเอง ซึ่งเป็นการแปลความที่แตกต่างจากถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมาย โดยที่คณะทำงานฯ ไม่ได้ให้เหตุผลสนับสนุนว่าเหตุใดจึงแปลความเช่นนั้น
     
       ทั้งๆ ที่ในเรื่องนี้มีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 498/2546 ในกรณีคล้ายๆ กัน ให้ความเห็นว่า การให้เช่าใช้เครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมแก่ผู้อื่นเพียงรายเดียวเท่านั้น โดยมิได้เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลใดอีก มิใช่เป็นการประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป ซึ่งเป็นแนวการแปลความหมายของคำว่า “บุคคลอื่นทั่วไป” ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ข้ออ้างของคณะทำงานฯ ที่ว่าความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในกรณีนี้มิอาจนำมาเป็นหลักได้ เนื่องจากเป็นกรณีวินิจฉัยก่อนมี พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 จึงมีประเด็นที่จะต้องให้เหตุผลสนับสนุนว่าถูกต้องหรือไม่ ประเด็นนี้ คณะทำงานฯ จำเป็นต้องให้ความกระจ่างด้วย
     
       4. เนื่องจากเรื่องนี้เป็นประเด็นที่สาธารณชนให้ความสนใจและจะเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินการต่อไปในเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาวินิจฉัยของ กทค.จึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลต่างๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง รวมทั้งเหตุผลในการสนับสนุนด้านข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย แต่รายงานของคณะทำงานฯ ยังไม่ปรากฏรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา มติ แนวปฏิบัติ และการตรวจสอบของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบจากการวินิจฉัยของ กทค. หากเห็นด้วยกับความเห็นของคณะทำงานฯ ตลอดจนแนวคำพิพากษาศาลฎีกาสนับสนุนข้อกฎหมายที่คณะทำงานฯ อ้างถึง จึงควรที่คณะทำงานฯ จะต้องรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบกิจการพิจารณาใช้ดุลพินิจของ กทค.
     

http://manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000021424


_______________________________


ทรูฯลุ้น!กทค.ฟันสัญญาฉาว3G "เศรษฐพงค์"ยันสรุปกลางมี.ค. กรณีใบอนุญาต"บีเอฟเคที"


พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ประมาณกลางเดือนมีนาคม2556นี้ บอร์ด กทค.จะมีการพิจารณารายงานสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการดำเนินกิจการของ บริษัท บีเอฟเคที (บริษัทกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น) ที่ให้เช่าโครงข่ายสื่อสาร 3 G แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)ว่า เข้าข่ายประกอบกิจการโดยไม่ได้รับใบอนุญาต(ไลเซ่นส์)ตามมาตรา 67 (3) พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 หรือไม่

ก่อนหน้านี้ บอร์ด กทค.มีมติให้คณะทำงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในแง่ของข้อกฎหมายที่มีรายละเอียดขัดแย้งกันเอง ว่า เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 หรือไม่ (ประกอบกิจการโดยไม่มีใบอนุญาต) ภายใน30วัน เนื่องจากบอร์ดตั้งข้อสังเกตใน 4 ประเด็นภายหลังจากที่ได้รับฟังรายงานผลสรุปการตรวจสอบเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา

พันเอกเศรษฐพงค์ กล่าวว่า ล่าสุด คณะทำงานฯได้ส่งเอกสาร โดยขอขยายเวลาในการตรวจสอบประเด็นดังกล่าวออกไปอีก 15 วัน เนื่องจากข้อมูลใหม่ที่มีการรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งต้องใช้เวลาจึงไม่สามารถปฏิบัติตามมติบอร์ดกทค.ได้ทันที่จะให้ส่งผลรายงานเพิ่มเติมภาย 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

“บีเอฟเคทีจะจบภายในกลางเดือนมี.ค.นี้แน่นอน เพราะหลังจากบอร์ดได้รับรายงานผลสรุปแล้วจะใช้เวลาอ่าน 1 สัปดาห์จากนั้นจะสามารถลงมติในที่ประชุมบอร์ดกทค.ได้ แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร คงต้องมาดูว่าฐานของกฏหมายที่ใช้ระบุว่าการกระทำดังกล่าวจะผิดหรือถูกเองในที่สุด”

พันเอกเศรษฐพงค์ กล่าวว่า สำหรับวาระการประชุมบอร์ดกทค.ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์2556) จะมีเรื่องของคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมรองรับสัญญาสัมปทานความถี่ 1800 MHz ในประเด็นเรื่องการตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมจัดการประมูล 1800 MHz (4G), มาตรการเยียวยาลูกค้าภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน และในเรื่องการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Number Portability)
ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า คณะทำงานสอบบีเอฟเคทีจะต้องจัดส่งรายงานผลสรุปมาให้กับทางสำนักงาน กสทช.ก่อน 7 วันที่ครบกำหนดที่ขอขยายเวลาไปหรือประมาณวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้เพื่อเตรียมนำเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ดกทค.ต่อไป
โดยขั้นตอนต่อไปทางสำนักงานกสทช.จะนำเรื่องการขอขยายเวลาของคณะทำงานฯเข้าบอร์ดกทค.ในวันที่20กุมภาพันธ์ เพื่อให้บอร์ดพิจารณาเห็นชอบก่อนจึงจะแจ้งกลับไปยังคณะทำงานฯอีกครั้ง แต่หากบอร์ดไม่อนุมัติการขอขยายเวลาดังกล่าวคณะทำงานฯจะต้องดำเนินการส่งรายงานผลสรุปกลับมาทันทีภายใน 1-2 วันจากนี้

มีรายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้คณะทำงานได้สรุปผลตรวจสอบว่าบีเอฟเคที เป็นผู้บริหารจัดการโครงข่ายระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เข้าข่ายต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการตามมาตรา 67 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 แต่กลับสรุปแนวตอนท้ายว่า ที่ผ่านมา กสทช.เองยังไม่มีนโยบายหรือวางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ ดังนั้นการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาของบีเอฟเคทีไม่หลักหลักฐานว่า มีเจตนาจะใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบการ และไม่มีหลักฐานว่ากสทรู้เห็นกับการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งเป็นรายงานที่ขัดแย้งกันเองบอร์ด กทคจึงให้กลับไปทบทวนใหม่

http://www.naewna.com/business/42138

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.