Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กุมภาพันธ์ 2556 CAT กอด 1800 ไว้ด้วยอีกมุก!!! ( สัมปทานระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ) พร้อมใช้มาตรา++พรบ.กสทช.82,83,84


ประเด็นหลัก

กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐชี้ต้องการให้ กทค.พิจารณาร่างบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82,83 และ 84 ที่ชงเรื่องให้พิจารณาก่อนหน้านี้ งัดกฎหมายรอบด้านรักษาสิทธิ์ยันเหตุที่ทำเพื่อปกป้องลูกค้า 18 ล้านราย  เตรียมปรึกษากฤษฎีกาหาช่องทางนำเรื่องเข้า ครม.พิจารณา ด้าน "กสทช." เผยหากไม่คืนคลื่นต้องบอกเหตุผล ชี้เรื่องนี้ต้องเจรจาหลายรอบ




ทั้งนี้ กสท เห็นว่าแม้มาตรา 45 บทบัญญัติให้ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ แต่มาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติกรณีทั่วไปเพื่อให้ กสทช.ใช้เป็นแนวทางในการกำกับกิจการโทรคมนาคมในส่วนของคลื่นความถี่ใหม่ที่ยังไม่ได้มีการจัดสรรหรือใช้อยู่ก่อนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ใช้บังคับต้องดำเนินการตามวิธีการประมูลคลื่นความถี่




ในขณะที่บทบัญญัติในมาตรา 82, มาตรา 83 และ มาตรา 84 เป็นบทเฉพาะกาล ของ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯพ.ศ.2553 ที่บัญญัติไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเมื่อมีการตรากฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหม่ เนื่องจากพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีการพัฒนาและเชื่อมโยงมาจากพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2477 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และ พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ดังนั้นพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 จึงได้บัญญัติให้มีการรองรับสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบังคับใช้กฎหมายในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน


โดยในมาตรา 82 ได้บัญญัติให้ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือ ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีใช้บังคับหน้าที่แจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช.และในมาตรา 84 วรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือ ปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่มาตรา 48 โดยให้นำความในมาตรา 83 วรรค 3 มาบังคับใช้โดยอนุโลม



    นายกิตติศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการตามมาตรา 82 ก็ถือว่าหน่วยงานดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว โดยมาตรา 84 วรรค 4 บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนของการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับการจัดสรรข้างต้นตามความจำเป็นที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานของรัฐ ได้แจ้งตามมาตรา 82 มาประกอบการพิจารณา ดังนั้น กสท จึงได้มีหนังสือที่อ้างถึงแจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช. และ มีหนังสือที่อ้างถึงขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ตามนัยมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เพื่อรองรับการให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่


    " กสท ทำตามหลักกฎหมายทุกอย่าง กสท ไม่ได้เป็นเด็กเกเรแต่เราจำเป็นต้องใช้กลไกกฎหมายที่มีอยู่เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์และไม่ได้ทิ้งลูกค้าที่มีอยู่จำนวน 18 ล้านราย และ กสท กำลังหาทางเอาความถี่มาเพื่อให้ กสท เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของลูกค้า เช่นเดียวกับสัญญาแนบท้ายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กสท ระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ซึ่งจะใช้วิธีการว่าจ้างให้เอกชนมาดำเนินการ"


    นอกจากนี้แล้ว กสท ได้ชี้แจ้งในเรื่องนี้ต่อ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที รับทราบแล้วและกำลังอยู่ระหว่างการประสานเพื่อขอคำปรึกษากับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อนำเรื่องการคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา



    ซึ่ง CAT ได้ดำเนินตามมาตรา 82 ก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะถูกบังคับใช้ และในวรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่นความถี่ ดังนั้น CAT จึงได้มีหนังสือถึง กสทช.โดยอ้างตามบทบัญญัติข้างต้น ในการขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อรองรับการใช้งานหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 









______________________


'แคท'กอดคลื่น1800แน่นหนึบ
 กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ




บิ๊ก "กสท" ออกโรงยันไม่พร้อมคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ หลัง "ทรูมูฟ –ดีพีซี" สิ้นสุดสัญญาสัมปทานดีเดย์ 16 กันยายน 2556  เผยสัญญาแนบท้ายมีสิทธิ์บริหารต่ออีก 2 ปี

กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐชี้ต้องการให้ กทค.พิจารณาร่างบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82,83 และ 84 ที่ชงเรื่องให้พิจารณาก่อนหน้านี้ งัดกฎหมายรอบด้านรักษาสิทธิ์ยันเหตุที่ทำเพื่อปกป้องลูกค้า 18 ล้านราย  เตรียมปรึกษากฤษฎีกาหาช่องทางนำเรื่องเข้า ครม.พิจารณา ด้าน "กสทช." เผยหากไม่คืนคลื่นต้องบอกเหตุผล ชี้เรื่องนี้ต้องเจรจาหลายรอบ
    นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับกรณีที่ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานที่ให้กับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด เพื่อนำคลื่นดังกล่าวไปจัดสรรใหม่และได้ตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ DIGITAL PCN (PERSONL COMMUNICATION NETWORK) ในเบื้องต้น กสทไม่อาจคืนคลื่นความถี่ภายหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานได้และขอให้ กทค.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) พิจารณาคำขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท รวมทั้งแผนและมาตรการรองรับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานตามหนังสือที่ กสทได้ส่งกลับไป
    อย่างไรก็ตาม กสท ในฐานะผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ควรพิจารณาให้เกิดความชัดเจนในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ กสท ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อรองรับการให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานและการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล
    นายกิตติศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ กสท ได้ส่งหนังสือกลับไปยังคณะกรรมการ กทค. ที่มี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และในฐานะประธาน กทค. ได้มีการพิจารณาแล้วมีความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช. เป็นการพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นสิทธิในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ เมื่อการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาสิ้นสุดลง แต่ยังไม่ให้ความเห็นในประเด็นบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82,มาตรา 83 และ มาตรา 84 ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553  (พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553) ที่ กสทได้ส่งหนังสือไปก่อนหน้านี้
    ทั้งนี้ กสท เห็นว่าแม้มาตรา 45 บทบัญญัติให้ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ แต่มาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติกรณีทั่วไปเพื่อให้ กสทช.ใช้เป็นแนวทางในการกำกับกิจการโทรคมนาคมในส่วนของคลื่นความถี่ใหม่ที่ยังไม่ได้มีการจัดสรรหรือใช้อยู่ก่อนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ใช้บังคับต้องดำเนินการตามวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ในขณะที่บทบัญญัติในมาตรา 82, มาตรา 83 และ มาตรา 84 เป็นบทเฉพาะกาล ของ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯพ.ศ.2553 ที่บัญญัติไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเมื่อมีการตรากฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหม่ เนื่องจากพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีการพัฒนาและเชื่อมโยงมาจากพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2477 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และ พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ดังนั้นพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 จึงได้บัญญัติให้มีการรองรับสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบังคับใช้กฎหมายในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน โดยในมาตรา 82 ได้บัญญัติให้ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือ ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีใช้บังคับหน้าที่แจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช.และในมาตรา 84 วรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือ ปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่มาตรา 48 โดยให้นำความในมาตรา 83 วรรค 3 มาบังคับใช้โดยอนุโลม
    นายกิตติศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการตามมาตรา 82 ก็ถือว่าหน่วยงานดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว โดยมาตรา 84 วรรค 4 บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนของการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับการจัดสรรข้างต้นตามความจำเป็นที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานของรัฐ ได้แจ้งตามมาตรา 82 มาประกอบการพิจารณา ดังนั้น กสท จึงได้มีหนังสือที่อ้างถึงแจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช. และ มีหนังสือที่อ้างถึงขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ตามนัยมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เพื่อรองรับการให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่
    " กสท ทำตามหลักกฎหมายทุกอย่าง กสท ไม่ได้เป็นเด็กเกเรแต่เราจำเป็นต้องใช้กลไกกฎหมายที่มีอยู่เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์และไม่ได้ทิ้งลูกค้าที่มีอยู่จำนวน 18 ล้านราย และ กสท กำลังหาทางเอาความถี่มาเพื่อให้ กสท เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของลูกค้า เช่นเดียวกับสัญญาแนบท้ายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กสท ระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ซึ่งจะใช้วิธีการว่าจ้างให้เอกชนมาดำเนินการ"
    นอกจากนี้แล้ว กสท ได้ชี้แจ้งในเรื่องนี้ต่อ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที รับทราบแล้วและกำลังอยู่ระหว่างการประสานเพื่อขอคำปรึกษากับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อนำเรื่องการคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
    ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการ กสทช. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หาก กสท มีมติไม่ส่งคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กลับมายัง  กสทช.ก็ต้องบอกเหตุผลกลับมา ส่วนในระหว่างนี้เมื่อ กสทช.ชี้แจงไปแล้วเชื่อว่า กสท ต้องส่งจดหมายตอบกลับมาเพราะสัญญาสัมปทานหมดอายุในวันที่ 16 กันยายน 2556 ยังมีเวลาอีกหลายเดือนในการเจรจาเรื่องนี้
    ขณะที่ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ในฐานะประธาน กทค. กล่าวว่า กสทช. ต้องทำตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายในเมื่อกฎหมายระบุอย่างนั้น กสทช.ก็ต้องทำตามกฎระเบียบหากไม่ทำตามก็ถือว่าฝ่าฝืนเช่นเดียวกัน ดังนั้นเรื่องนี้ก็ต้องต่อสู้กันไปตามกระบวนการของกฎหมาย
    อย่างไรก็ตามในขณะนี้ได้เตรียมแผนการเปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี ย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยเตรียมประมูลปลายปี 2557 ภายหลังจาก กสท คืนคลื่นความถี่ โดยจำนวนคลื่นความถี่มีทั้งหมด 25 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็น 4 สลอตสลอตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะมีผู้ขอรับใบอนุญาตเพียง 2 ราย รายละ 10 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนที่เหลือ 2.5 เมกะเฮิรตซ์ ไว้รอประมูลภายหลังจาก ดีแทค สิ้นสุดสัมปทานในปี 2561

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=170436:1800&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491


_________________________________________







___________________________________


กสทร่อนจม.เคลียร์ปัญหาคลื่น



แหล่งข่าวจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทางบริษัทเตรียมส่งหนังสือต่อสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อชี้แจงถึงเหตุที่บริษัทอาจไม่ส่งคืนคลื่นย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ได้ หลังหมดสัญญาสัมปทาน และเพื่อขอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณาคำขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 800 เมกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ อีกครั้ง ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553



ทั้งนี้ ขอให้ กทค.นำเรื่องเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. เพื่อพิจารณาให้เกิดความชัดเจนในประเด็นข้อกฎหมายที่อนุญาตให้ บมจ.กสท ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่การให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานและการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลต่อไปโดยเร็ว และเมื่อมีการประชุมในวาระดังกล่าว ต้องให้ บมจ.กสท เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมด้วย

สำหรับรายละเอียดในหนังสือที่จะส่งไปยัง กสทช.ได้ระบุว่า บมจ.กสท ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช.เป็นการพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นสิทธิในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ เมื่อการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาสิ้นสุดลง แต่ยังไม่ให้ความเห็นในประเด็นบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ถึงแม้มาตรา 45 จะบัญญัติให้ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการโดยวิธีประมูล แต่มาตรานี้เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในกรณีทั่วไป ในการกำกับคลื่นความถี่ใหม่ที่ยังไม่ได้มีการจัดสรรหรือใช้อยู่ก่อน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553

ส่วน บมจ.กสท นั้น ได้ดำเนินตามมาตรา 82 ซึ่งบัญญัติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับ มีหน้าที่แจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช. และในวรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่ คืนคลื่นความถี่เพื่อ 1.นำไปจัดสรรใหม่ หรือ 2.ปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่มาตรา 48 โดยให้นำความในมาตรา 83 วรรค 3 มาบังคับใช้โดยอนุโลม

บ้านเมือง
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1596799

______________________________


"กสท"ร่อนแจง"กสทช." ยื้อคืน1800หมดสัญญา


  กสท เตรียมส่งหนังสือชี้แจงต่อ กสทช.อีกรอบ กรณีการคืนคลื่น 1800 หลังหมดสัญญาสัมปทาน ยันอยากถือครองคลื่นไว้ก่อน กันกระทบผู้บริโภค
    แหล่งข่าวจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า กสท ได้เตรียมส่งหนังสือต่อสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อชี้แจงถึงเหตุผลที่ทางบริษัทอาจจะยังไม่ส่งคืนคลื่นย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ได้ทันที หลังหมดสัญญาสัมปทาน
    โดยขอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณาให้เกิดความชัดเจนในประเด็นข้อกฎหมายที่อนุญาตให้ CAT ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่การให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และเมื่อมีการประชุมในวาระดังกล่าว ต้องให้ CAT เข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุมด้วย
    สำหรับรายละเอียดในหนังสือระบุว่า CAT ได้พิจารณาแล้วว่า ความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช.นั้น เป็นการพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เฉพาะประเด็นสิทธิในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ เมื่อการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาสิ้นสุดลง ยังไม่ให้ความเห็นในประเด็นบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ถึงแม้มาตรา 45 จะบัญญัติให้ดำเนินการโดยวิธีประมูลเท่านั้น แต่มาตรานี้เป็นบทบัญญัติที่ใช้สำหรับกรณีทั่วไป ในการกำกับคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้มีการจัดสรร หรือใช้อยู่ก่อน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553
    ซึ่ง CAT ได้ดำเนินตามมาตรา 82 ก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะถูกบังคับใช้ และในวรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่นความถี่ ดังนั้น CAT จึงได้มีหนังสือถึง กสทช.โดยอ้างตามบทบัญญัติข้างต้น ในการขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อรองรับการใช้งานหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
    "หาก กทค.บังคับเอาคลื่นคืนทั้งหมด ผลกระทบจะกระทบกับลูกค้าโดยตรง โดยที่ลูกค้าไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือก โดยสรุปไม่ใช่ว่าเราจะไม่คืน ยังไงเราก็จะคืนแน่นอน แต่อยากให้คำนึงถึงผลกระทบต่อทุกฝ่าย และอยากให้ กทค.กำหนดเงื่อนไขหรือระยะเวลาในการคืนคลื่นที่แน่ชัด เพราะในส่วนนี้เป็นอำนาจของ กทค." แหล่งข่าวกล่าว.

http://www.thaipost.net/news/250213/70060

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.