27 กุมภาพันธ์ 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) แย้มเลือกประมูลแบบ3G++ให้ปปช.เตรียมเงิน300ซื้อกล่องรับชมรุ่นปกติ(หลังหักคูปองแล้ว)
ประเด็นหลัก
ธวัชชัย : ยังไม่นิ่ง เพราะยังไม่ได้สรุปออกมา และมีหลายราคาที่ออกมาแล้ว ซึ่งแต่ละช่องราคาจะไม่เท่ากัน ช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง (HD) จะแพงที่สุด ส่วนช่องสแตนดาร์ด (SD) ราคาจะรองลงมา โดยช่องทั่วไป 10 ช่อง ช่องข่าวสารและสาระ 5 ช่อง และช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง จะมีราคารองลงมาตามลำดับ ราคาตั้งต้นยังไม่สามารถบอกได้ แต่น่าจะอยู่ตั้งแต่ราคา 500 ล้านบาทลงมา
“ราคาค่าโครงข่าย ความจริงเป็นเรื่องที่ กสทช. ต้องใช้เรื่องเศรษฐศาสตร์ มากำหนดราคาค่าโครงข่ายที่ต่ำๆ ไว้ก่อน ใครทำได้ก็ทำใครทำไม่ได้ก็ออกไป คนทำได้ก็มาซื้อ ทำให้ต้นทุนถูก แต่ถ้าเหลือรายเดียวก็กลัวว่าจะมีการผูกขาดอีก จึงต้องมีแข่งขัน และไม่ซ้ำซาก ขณะที่ ตัวเลขก็ยังสูงอยู่ แต่ กสทช. ให้ไม่ได้ เราต้องพบกันครึ่งทาง”
ส่วนวิธีการประมูล อย่างน้อยต้องดูแบบการประมูล 3จี ครั้งที่ผ่านมา แต่ต้องทำให้ดีกว่า และควรเป็นวิธีเฉพาะ ไม่ใช่ประมูลอะไรก็ได้ แล้วใช้หลักการเดียวกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่า ควรเป็นวิธีการประมูลคลื่นที่เคยใช้กับการประมูล 3จี เนื่องจากการประมูลครั้งนี้ คล้ายกับการประมูล 3จี โดยจะนำเสนอบอร์ด กสท. และประชาพิจารณ์ ก่อนนำเข้าสู่บอร์ด กสทช. ให้พิจารณาอีกครั้ง
คูปองควรอยู่ที่ราคาหลัก จริงๆ คูปองควรเป็นนโยบายไปเลยว่า ผู้มีรายได้น้อย ควรจ่ายที่ราคาเท่าไร ถ้าเรารู้ว่าของราคา 1,000 บาท เราต้องให้ผู้มีรายได้น้อยซื้อไม่เกิน 300 บาท นั่นคือ ออกคูปองราคา 700 บาท แล้วผลิตรูปแบบธรรมดาไม่ต้องมีลูกเล่นมาก ส่วนคนที่ร่ำรวยก็อาจจะซื้อ โดยรวม คือ ราคาเฉลี่ยควรอยู่ที่ 1,000 หรือ มากกว่านี้ไม่มากนัก ส่วนเงินที่ได้มาแจกคูปองควรมีที่มา ไม่ใช่ได้มาจากเงินประมูลตั้งต้น เพราะยังไม่รู้ว่าราคาตั้งต้นจะอยู่ที่เท่าไร
_________________________________
กสทช. แย้มทีวีดิจิตอล ยึดรูปแบบประมูล3จี
จับเข่าคุย! “ธวัชชัย จิตรภาสนันท์” กสทช.ด้านเศรษฐศาสตร์ 1 ใน 5 บอร์ด กสท.และเสียงข้างน้อย ถึงสาเหตุยังไม่เคาะราคาโครงข่าย ราคาประมูล และเพดานช่องรายการ...
หลังจากที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ประกาศกรอบการเปิดประมูลคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยแยกเป็น การให้ใบอนุญาตโครงข่ายทีวีดิจิตอล จะสามารถดำเนินการได้ช่วง มี.ค. หรือปลายไตรมาส 1/2556 ราคาเริ่มต้นการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล จำนวน 24 ช่อง รวมช่องเอชดี 4 ช่อง เดือน ก.พ. หลักเกณฑ์การประมูลแล้วเสร็จเดือน มี.ค. และคาดว่าจะเปิดประมูลได้ช่วง ก.ค.-ส.ค.2556 ส่วนการคัดเลือกการประกวดราคาช่องบริการสาธารณะ พ.ค. และช่องบริการชุมชน ปลายปี 2556 แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีรายละเอียดให้ผู้สนใจได้ตัดสินใจได้เลย
และแม้ว่าจะมีหลักเกณฑ์เรื่อง การแจกคูปอง 22 ล้านครัวเรือนแก่ประชาชนออกมาแล้ว โดยความตั้งใจของ กสทช. คือ ต้องการให้ไปซื้อกล่องรับสัญญาณ หรือ เซตท็อปบ็อกซ์ (Set top box) ก่อนนำมาติดตั้งกับเครื่องรับโทรทัศน์ หรือไปซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่สามารถดูระบบดิจิตอลได้ทันที แต่ก็เป็นเพียงหลักการกว้างๆ ที่เมื่อเจาะลึกลงไปถึงรายละเอียด อาทิ ราคาคูปอง ระยะเวลาการเริ่มแจก พื้นที่ที่จะแจก วิธีการการแจก ความคิดเห็นของผู้ประกอบการ กลับพบว่ายังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ความคลุมเครือครั้งนี้จะเป็นอย่างไร ลองมาหาคำตอบจาก “ธวัชชัย จิตรภาสนันท์” กรรมการ กสทช. 1 ใน 5 ของกรรมการ กสท และเสียงข้างน้อยที่ทวีตข้อความผ่าน @Thawatchai_NBTC หลังประชุมบอร์ดบ่อยครั้ง ได้ ณ บัดนี้...
IT Digest : ราคาเริ่มต้นการประมูล
ธวัชชัย : ยังไม่นิ่ง เพราะยังไม่ได้สรุปออกมา และมีหลายราคาที่ออกมาแล้ว ซึ่งแต่ละช่องราคาจะไม่เท่ากัน ช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง (HD) จะแพงที่สุด ส่วนช่องสแตนดาร์ด (SD) ราคาจะรองลงมา โดยช่องทั่วไป 10 ช่อง ช่องข่าวสารและสาระ 5 ช่อง และช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง จะมีราคารองลงมาตามลำดับ ราคาตั้งต้นยังไม่สามารถบอกได้ แต่น่าจะอยู่ตั้งแต่ราคา 500 ล้านบาทลงมา
IT Digest : ราคาโครงข่ายฯ
ธวัชชัย : ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาประมูลก็มีความกลัวเรื่องราคาโครงข่ายด้วยกังวลว่า รายใหญ่ไม่อยากให้มาทำรายการ อยากให้มาทำทำโครงข่ายแทนดีกว่า โดยผู้ประกอบการเครือข่ายมีประมาณ 5-6 ราย ที่อยากทำ ซึ่งต่างประเทศมีการบังคับใช้ แต่ กสทช. ทำตามหลักเศรษฐศาสตร์ได้ โดยมองว่าถ้าราคาโครงข่ายถูก ราคาประมูลจะสูงขึ้น เพราะคนที่มาประมูลต้องคิดจ่ายค่าโครงข่ายก่อน แต่ถ้าจ่ายค่าโครงข่ายสูง ประมูลไปแล้วจะได้อะไร ถ้าราคาโครงข่ายสูงมากราคาประมูลเป็นศูนย์ ไม่มีใครอยากประมูล อย่างไรก็ตาม ตอนนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ศึกษาอยู่ ส่วนกรอบระยะเวลากำลังเร่ง โดยคาดว่าราคาโครงข่ายจะได้ช่วงไตรมาส 2
“ราคาค่าโครงข่าย ความจริงเป็นเรื่องที่ กสทช. ต้องใช้เรื่องเศรษฐศาสตร์ มากำหนดราคาค่าโครงข่ายที่ต่ำๆ ไว้ก่อน ใครทำได้ก็ทำใครทำไม่ได้ก็ออกไป คนทำได้ก็มาซื้อ ทำให้ต้นทุนถูก แต่ถ้าเหลือรายเดียวก็กลัวว่าจะมีการผูกขาดอีก จึงต้องมีแข่งขัน และไม่ซ้ำซาก ขณะที่ ตัวเลขก็ยังสูงอยู่ แต่ กสทช. ให้ไม่ได้ เราต้องพบกันครึ่งทาง”
IT Digest : ผู้ประกอบการสนใจร่วมประมูลกี่ราย
ธวัชชัย : เยอะมาก แต่ติดอยู่ที่ราคาโครงข่ายว่าเท่าไร แต่ กสทช.
IT Digest : ผู้ประกอบการเสนออะไรมาบ้าง
ธวัชชัย : ขอให้ กสทช. ทำงานเร็วขึ้นในด้านโครงข่าย แต่ทีมวิจัยโครงข่ายจะให้สิ้นเดือนนี้ ขณะที่ มองว่าค่าโครงข่ายฯ ที่แพงสะท้อนหลายอย่าง ประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพแพง จะได้ทำน้อยทำมากขนาดไหน คนทำโครงข่ายกับรายการไม่ควรมาทำด้วยกัน ไม่ควรทำทุกอย่าง
IT Digest : เริ่มประมูลเมื่อไร
ธวัชชัย : ไตรมาส 3 หรือ ครึ่งปีหลัง จะให้เร็วกว่านั้นไม่ได้ เพราะยังมีอีกหลายตัวเลขที่ยังไม่นิ่ง อย่าลืมว่า เรื่องนี้ยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน เราทำแบบไถนาล้วนๆ เป็นการไถรอบแรกเพราะฉะนั้นต้องเห็นใจกัน ขนาดการประมูลไลเซ่นส์ 3จี กว่าจะได้มาตั้งหลายรอบ ซึ่งการประมูลทีวีดิจิตอลเปรียบเสมือนการไถนาจากพื้นดินแห้งแตกระแหง
IT Digest : ความกังวลของการฮั้ว
ธวัชชัย : ไม่กังวล เพราะมีการทำงานที่โปร่งใส อธิบายได้ มีที่มา คิดว่าไม่มีการฮั้วแน่นอน สิ่งที่ยาก คือ พยายามทำทุกอย่างให้ตรง เปิดเผย และโปร่งใสที่สุด คิดอย่างละเอียด และไม่อยากพูดอะไรที่ไม่ชัดเจนออกไปก่อน เพราะคนที่จ้องวิจารณ์มีจำนวนมาก
IT Digest : ผู้ประกอบการเสนอความคิดเห็นอย่างไรบ้าง
ธวัชชัย : จำนวนช่องทีวีทั้งหมด 24 ช่อง แต่คาดว่าความสนใจทั่วไปจะเกิน 24 ราย ดังนั้น เมื่อถามไปที่ผู้ประกอบการ จึงได้คำตอบแค่ขอสงวนไว้ก่อน เพราะเขาอยากรู้ราคาโครงข่ายก่อน ลักษณะเหมือนถ้าคุณบอกราคาโครงข่ายมา ถึงจะบอกว่าเอาหรือไม่เอา ขณะเดียวกันก็พอรู้ตัวเลขที่เหมาะสมแล้ว
IT Digest : เงินที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมมีอะไรบ้าง
ธวัชชัย : 1.ค่าโครงข่ายฯ 2.การผลิตคอนเทนต์ 3.ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการฯ และ ค่ากองทุนไม่เกิน 4% และ 4.ค่าประมูลใบอนุญาต
IT Digest : ผู้ประกอบการ 1 ราย สามารถประมูลได้สูงสุดกี่ช่อง
ธวัชชัย : คณะอนุกรรมการฯ เสนอ 2 ช่อง ซึ่งตรงกับทางเศรษฐศาสตร์ จะเอาช่องทั่วไป บวกช่องเด็ก หรือช่องข่าวบวกช่องเด็กก็ได้ แต่ช่องข่าวจะบวกกับช่องทั่วไปไม่ได้ เพราะมีการแข่งขันด้านความคิดที่น่ากลัว ส่งผลให้เกิดสิ่งที่ตามมาหลายอย่าง เช่น การเมือง และความหลากหลายในอนาคตควรจะมากขึ้น นอกจากนี้ ยังไม่ต้องการให้ผูกขาดอยู่กับกลุ่มกลุ่มเดียว แต่ก็มีเรื่องเถียงกันอยู่ เพราะมีบางกลุ่มเสนอ 3 ช่อง ซึ่งมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่อต้านเยอะจากจำนวนทั้งหมด 24 ช่อง จะมีผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ทั้งหมด 5 ราย แต่จะเกิดการเอื้อให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาครอบครองอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งรู้อยู่แล้วว่า ผู้ผลิตรายใหญ่จะมีความได้เปรียบในการผลิตเนื้อหาได้มากกว่ารายเล็ก ความหลากหลายของรายการจะมีน้อย เพราะสื่อถูกผูกขาดในกลุ่มผู้ที่สามารถยึดได้ ซึ่งน่ากลัวมาก ถ้าให้รายเดียวรวม 3 ช่องรายการ ช่องข่าวจะไม่มีอิสระ เพราะ 5 ช่อง ถูกกลืนทั้งหมด ก็จะเหลือเพียงแค่ดาวเทียมเท่านั้น
IT Digest : ความชัดเจนเพดานช่องรายการ
ธวัชชัย : คนในอุตสาหกรรมจะเอา 2 ช่อง แต่รายใหญ่จะเอา 3 ช่อง จะเห็นว่าคนส่วนใหญ่จะเอา 2 ช่อง แต่ก็มีบางคนพยายามจะลากเอา 3 ช่องให้ได้ จึงลากกัน ยังไม่มีการสรุป ทั้งที่ผลออกมาแล้ว ขณะที่ ส่วนตัวมองว่า 3 ช่อง จะเป็นความเสี่ยงของประเทศมากทั้งความมั่นคง
IT Digest : ถ้าช่องรายการเด็กไม่มีใครประมูลจะทำอย่างไร
ธวัชชัย : เชื่อว่าช่องรายการเด็กมีคนประมูลแน่นอน ถ้าราคาโครงข่ายไม่มาก ขณะนี้ กสทช.กำลังหาทางออกว่าจะทำอย่างไร ส่วนแผนรองรับนั้น กำลังมองอยู่ ซึ่งเบื้องต้นต้องต่อรองราคาโครงข่ายให้สมเหตุสมผลมากที่สุด หาทางทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำอย่างไรให้ผู้ ผู้ประกอบการโครงข่ายมีจำนวนน้อยที่สุด สุดท้ายอยู่ที่การต่อรองโครงข่าย
“ถ้าเรารู้ราคาโครงข่ายเมื่อไร เราจะสามารถบอกได้ว่า ช่องเด็กจะมีคนประมูลหรือไม่ประมูล เพราะเด็กมีข้อจำกัดมาก ผู้ประกอบการอาจไม่เลือกก็ได้ เพราะฉะนั้นติดอยู่ที่โครงข่ายอย่างเดียว”
IT Digest : วิธีการประมูล
ธวัชชัย : ไม่ใช่ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ็อคชั่น) แน่นอน เพราะไม่เหมาะกับการประมูลคลื่นนี้ เนื่องจากเป็นการประมูลในราคาที่ต่ำกว่าราคาตั้งต้น โดยมีราคากลาง แต่การประมูลครั้งนี้ กสทช. ตั้งราคาต่ำไว้แล้วประมูลสูงขึ้น อีกทั้ง ยังต้องพิจารณาสิ่งที่เกิดตามมาหลังจากการประมูลด้วย ซึ่งเรื่องนี้ บอร์ด กสทช. ได้ให้บอร์ด กสท. กลับมาปรับปรุงแก้ไขแล้ว และในส่วนกติกาการประมูลควรเขียนการประมูลแบบเฉพาะเจาะจง แยกประเภทช่องให้ชัดเจน ไม่ควรเขียนครอบคลุมทุกอย่าง เพราะจะมีปัญหาตามมา รวมทั้งความเกี่ยวพันของผู้เข้าประมูลด้วย
ส่วนวิธีการประมูล อย่างน้อยต้องดูแบบการประมูล 3จี ครั้งที่ผ่านมา แต่ต้องทำให้ดีกว่า และควรเป็นวิธีเฉพาะ ไม่ใช่ประมูลอะไรก็ได้ แล้วใช้หลักการเดียวกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่า ควรเป็นวิธีการประมูลคลื่นที่เคยใช้กับการประมูล 3จี เนื่องจากการประมูลครั้งนี้ คล้ายกับการประมูล 3จี โดยจะนำเสนอบอร์ด กสท. และประชาพิจารณ์ ก่อนนำเข้าสู่บอร์ด กสทช. ให้พิจารณาอีกครั้ง
IT Digest : สิ่งที่ผู้บริโภคต้องเตรียมเมื่อเข้าสู่ทีวีดิจิตอล
ธวัชชัย : ผู้บริโภคเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มาก หลักๆ คือ ต้องมีกล่องรับสัญญาณ หรือ เซตท็อปบ็อกซ์ โดยผู้บริโภคต้องนำคูปองที่ กสทช. แจกให้ไปแลก ซึ่งเรื่องยังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด ควรกำหนดราคาออกมา โดยมีนโยบายที่ชัดเจนระหว่างผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่มีกำลังซื้อ
คูปองควรอยู่ที่ราคาหลัก จริงๆ คูปองควรเป็นนโยบายไปเลยว่า ผู้มีรายได้น้อย ควรจ่ายที่ราคาเท่าไร ถ้าเรารู้ว่าของราคา 1,000 บาท เราต้องให้ผู้มีรายได้น้อยซื้อไม่เกิน 300 บาท นั่นคือ ออกคูปองราคา 700 บาท แล้วผลิตรูปแบบธรรมดาไม่ต้องมีลูกเล่นมาก ส่วนคนที่ร่ำรวยก็อาจจะซื้อ โดยรวม คือ ราคาเฉลี่ยควรอยู่ที่ 1,000 หรือ มากกว่านี้ไม่มากนัก ส่วนเงินที่ได้มาแจกคูปองควรมีที่มา ไม่ใช่ได้มาจากเงินประมูลตั้งต้น เพราะยังไม่รู้ว่าราคาตั้งต้นจะอยู่ที่เท่าไร
ส่วนรายได้ควรมีการทำประมาณการเงินก่อนว่าปีแรก จะแจกกล่องที่เท่าไร ปีต่อไปจะเป็นอย่างไร ไม่และขึ้นอยู่กับว่าเขตไหนได้ก่อน ซึ่งราคาคูปองต้องคิดวิเคราะห์ก่อน เพื่อการประมาณการณ์ว่าแต่ละปี ต้องใช้เงินเท่าไร ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ยังไม่มีกระบวนการวิเคราะห์เรื่องเงิน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวได้เน้นย้ำไปหลายครั้งแล้ว
IT Digest : ฝากถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์บ้าง
ธวัชชัย : ปี 2556 เป็นปีที่มีความเปลี่ยนแปลงมากทั้ง โทรคมนาคม 3จี และทีวีดิจิตอล เพราะฉะนั้น กสทช.ก็พยายามทำงานหนัก แม้ว่าหลายคนจะไม่เห็น แต่ก็ยังพยายามประชาสัมพันธ์มากขึ้น แต่จะทำอะไรทันทีนั้นไม่ได้ ต้องมีตัวเลขอ้างอิง มีแผนที่สามารถทดสอบ และตอบคำถามสังคมได้ สิ่งที่คำนวณ ตัวเลขต้องออกมาอย่างถูกต้อง เพื่อยืนยันและพิสูจน์ได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยากที่สุด คือ สู้กับบอร์ดเองที่ไม่มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ และยอมรับว่าสิ่งที่เหนื่อยมากที่สุดคือ กสทช. บางคนไม่มีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เลย.
http://www.thairath.co.th/content/tech/329169
ไม่มีความคิดเห็น: