Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 กุมภาพันธ์ 2556 (บอร์ดสือสาร) แจกใบอนุญาตรอบ 2 ทดลองวิทยุ 333 สถานี เส้นตาย 18 ก.พ.นี้


ประเด็นหลัก


วันนี้(8ก.พ.)ที่ห้องวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กทม.  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จัดพิธีมอบใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งที่ 2 ให้แก่สถานีวิทยุจำนวน 333 สถานี ประกอบด้วย บริการธุรกิจจำนวน 208 สถานี บริการสาธารณะจำนวน 58 สถานี และบริการชุมชนจำนวน 57 สถานี  โดยรวมมอบใบอนุญาตทดลองแล้วทั้งหมด 848 สถานี แบ่งออกเป็นบริการธุรกิจ 612 สถานี บริการสาธารณะ 152 สถานี และบริการชุมชน 111 สถานี  และกำลังอยุ่ในกระบวนการพิจารณาคำขออีกจำนวน4,000 - 5,000 สถานี จากที่มายื่นขอ 5,000 - 6,000 สถานี จากสถานีวิทยุ7,000 สถานีทั่วประเทศ โดยจะปิดรับการยื่นขอในวันที่ 18 ก.พ.56


______________________________________________________


กสทช.มอบใบทดลองประกอบกิจการฯเพิ่ม 333 สถานี-ขีดเส้นยื่นขอ 18ก.พ.

กสทช.มอบใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงรอบที่ 2 ว่า วันนี้มีผู้ประกอบกิจการจำนวน 333 สถานี ขีดเส้นเวลายื่นขอถึง 18 ก.พ.นี้...

เมื่อวันที่ 8 ก.พ. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังเปิดพิธีมอบใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงรอบที่ 2 ว่า วันนี้มีผู้ประกอบกิจการจำนวน 333 สถานี เป็นประเภทวิทยุธุรกิจ 208 สถานี วิทยุสาธารณะ 58 สถานี และวิทยุชุมชน 57 สถานี โดยใบอนุญาตฯ ที่ผู้ประกอบการสถานีวิทยุได้รับในครั้งนี้ จะมีอายุ 1 ปี เพื่อเข้าสู่การจัดระเบียบสถานีวิทยุทั่วประเทศและกำกับดูแลเนื้อหาการออกอากาศให้ถูกต้องตามประเภทวิทยุ เช่น วิทยุธุรกิจสามารถหารายได้จากโฆษณาได้ชั่วโมงละ 12 นาที

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการสถานีวิทยุนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมขัดต่อกฎหมาย หรือกระทำผิดอย่างใด ก็จะมีมาตรการกำกับดูแลเริ่มตั้งแต่ตักเตือน ปรับ ระงับ พักใช้ใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตในขั้นความผิดสูงสุด ทั้งนี้ กสทช.ได้มอบใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงไปแล้ว 848 สถานี แบ่งเป็นประเภทวิทยุธุรกิจ 612 สถานี วิทยุสาธารณะ 125 สถานี และวิทยุชุมชน 111 สถานี และยังอยู่ระหว่างพิจารณา เพื่อออกใบอนุญาตเพิ่มเติมอีกประมาณ 4,000–5,000 สถานี หลังจากที่ได้ยื่นขอรับใบอนุญาตฯ ซึ่งล่าสุดมีผู้ประกอบการสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ ยื่นเอกสารเพื่อขอรับใบอนุญาตฯ แล้วประมาณ 5,000-6,000 สถานี จากที่มีอยู่กว่า 7000 สถานีทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม สำนักงาน กสทช.เปิดให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุทั่วประเทศ เขายื่นเอกสารขอรับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการได้จนถึงวันที่ 18 ก.พ.นี้ ณ สำนักงาน กสทช.ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02 271 0151

 http://www.thairath.co.th/content/tech/325448


______________________________



กสท.มอบใบอนุญาตทดลองวิทยุครั้งที่2





กสท. มอบใบอนุญาตทดลองวิทยุ 333 สถานี ครั้งที่ 2 เตรียมพิจาณาคำขออีกกว่า จำนวน4,000 - 5,000 สถานี ชี้มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค และประชาชน ร่วมตรวจสอบ


วันนี้(8ก.พ.)ที่ห้องวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กทม.  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จัดพิธีมอบใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งที่ 2 ให้แก่สถานีวิทยุจำนวน 333 สถานี ประกอบด้วย บริการธุรกิจจำนวน 208 สถานี บริการสาธารณะจำนวน 58 สถานี และบริการชุมชนจำนวน 57 สถานี  โดยรวมมอบใบอนุญาตทดลองแล้วทั้งหมด 848 สถานี แบ่งออกเป็นบริการธุรกิจ 612 สถานี บริการสาธารณะ 152 สถานี และบริการชุมชน 111 สถานี  และกำลังอยุ่ในกระบวนการพิจารณาคำขออีกจำนวน4,000 - 5,000 สถานี จากที่มายื่นขอ 5,000 - 6,000 สถานี จากสถานีวิทยุ7,000 สถานีทั่วประเทศ โดยจะปิดรับการยื่นขอในวันที่ 18 ก.พ.56


พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานกสท.เปิดเผยว่า  โดยการประกอบทดลองอนุญาตมีระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมีผู้ประกอบการประเภทธุรกิจเข้ามายื่นขอมากที่สุด พร้อมทั้งสามารถหารายได้จากโฆษณาได้ตามที่กสท.กำหนด  และผู้ประกอบการวิทยุที่เข้ามาขอรับใบอนุญาตทดลองต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบของกสท. เนื่องจาก กสท.มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายด้านเนื้อหา และให้ภาคประชาชนพบสถานีวิทยุกระทำความผิด ร้องเรียนมาที่กสทช. 1200 หรือ ส่งจดหมายมาที่สำนักงาน เพื่อร่วมเฝ้าระวังร่วมกัน


อย่างไรก็ตามหากวิทยุชุมชนที่เข้ามายื่นขอรับใบอนุญาตแล้วกระทำความผิดด้านเนื้อหา การโฆษณาละเมิดต่างๆ  หรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการวิทยุที่ไม่เข้ามาขอยื่นรับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการ มีขั้นตอนการลงโทษตั้งแต่ การตักเตือน การปรับทางปกครองตั้งแต่ 20,000 บาทหรือม.37 พรบ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ปรับจำนวน 5 แสนบาท ระงับใบอนุญาตทดลองวิทยุทันทีหากยังมีการฝ่าฝืน และโทษปรับสูงสุดจำนวน 5 ล้านบาทจำคุก 5 ปี


http://www.dailynews.co.th/technology/183387

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.