Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 มีนาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ญี่ปุ่น ชี้ เราก้ปัญหาโดยการ ขึ้นตัววิ่งบอกล่วงหน้า 1 เดือน ว่าจะไม่มีการออกอากาศระบบเดิม


ประเด็นหลัก


นายมาซาคาสุ อิวากิ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวางแผนและประสานงานศูนย์วิจัยแสะพัฒนา บริษัท เจแปน บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (NHK Japan Broadcasting Corporation) การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งญี่ปุ่น ผู้ให้บริการช่องรายการเอ็นเอชเค เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านจากระบบอะนาล็อกมาสู่ระบบดิจิตอล หลังวางแผนเพื่อการเปลี่ยนถ่ายมากว่า 10 ปี โดยเริ่มต้นออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี 2550 และสิ้นสุดการออกอากาศเมื่อปี 2555 ส่งผลให้ทีวีเดิมทั้ง 7 สถานี ออกอากาศได้ในระบบทีวีดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ จากระบบอะนาล็อก ไปสู่ทีวีดิจิตอลใช้เวลา 1 เดือน แจ้งประชาชน โดยการขึ้นหน้าจอบนทีวีว่า จะไม่สามารถใช้งานระบบอะนาล็อกได้ ยิ่งใกล้วันที่จะหมดการส่งอะนาล็อก ตัววิ่งจะใหญ่ขึ้นๆ ทำหลายวิธี แต่คิดว่าการส่งไปที่คนดูทางทีวีเป็นวิธีที่ดีที่สุด" ทั้งนี้ ญี่ปุ่นวางแผนก่อนการเปลี่ยนจากระบบอะนาล็อกไปสู่ดิจิตอล 3 แนวทาง ได้แก่ 1.การให้ประชานชนซื้ออุปกรณ์ใหม่ โดยรัฐบาลให้เงินสนับสนุน และเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีเอกชนสนับสนุน เช่น ถ้าซื้อทีวีขนาด 51นิ้ว จะได้สนับสนุนเงิน 500 ดอลล่าร์ 2.ตั้งศูนย์สนับสนุนและให้คำแนะนำ (ซัพพอร์ตเซ็นเตอร์) และ 3.การประกาศออกทางทีวี ทำให้ประสบความสำเร็จในทุกวันนี้


_____________________________________




"ยุ่น" ขึ้นตัววิ่งแจ้ง ปชช.1เดือน ก่อนสับสวิตซ์ "ทีวีดิจิตอล"

NHK เผยญี่ปุ่นขึ้นตัววิ่งแจ้งเตือนประชาชนรู้ตัว 1เดือน พร้อมวาง 3 แนวทางทำความเข้าใจต่อปชช. ก่อนเปลี่ยนระบบอะนาล็อกเป็นดิจิตอล หลังวางแผนเคาะวันเปลี่ยนถ่ายชัดเจนยาวนานกว่า10ปี...

นายมาซาคาสุ อิวากิ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวางแผนและประสานงานศูนย์วิจัยแสะพัฒนา บริษัท เจแปน บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (NHK Japan Broadcasting Corporation) การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งญี่ปุ่น ผู้ให้บริการช่องรายการเอ็นเอชเค เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านจากระบบอะนาล็อกมาสู่ระบบดิจิตอล หลังวางแผนเพื่อการเปลี่ยนถ่ายมากว่า 10 ปี โดยเริ่มต้นออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี 2550 และสิ้นสุดการออกอากาศเมื่อปี 2555 ส่งผลให้ทีวีเดิมทั้ง 7 สถานี ออกอากาศได้ในระบบทีวีดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ จากระบบอะนาล็อก ไปสู่ทีวีดิจิตอลใช้เวลา 1 เดือน แจ้งประชาชน โดยการขึ้นหน้าจอบนทีวีว่า จะไม่สามารถใช้งานระบบอะนาล็อกได้ ยิ่งใกล้วันที่จะหมดการส่งอะนาล็อก ตัววิ่งจะใหญ่ขึ้นๆ ทำหลายวิธี แต่คิดว่าการส่งไปที่คนดูทางทีวีเป็นวิธีที่ดีที่สุด" ทั้งนี้ ญี่ปุ่นวางแผนก่อนการเปลี่ยนจากระบบอะนาล็อกไปสู่ดิจิตอล 3 แนวทาง ได้แก่ 1.การให้ประชานชนซื้ออุปกรณ์ใหม่ โดยรัฐบาลให้เงินสนับสนุน และเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีเอกชนสนับสนุน เช่น ถ้าซื้อทีวีขนาด 51นิ้ว จะได้สนับสนุนเงิน 500 ดอลล่าร์ 2.ตั้งศูนย์สนับสนุนและให้คำแนะนำ (ซัพพอร์ตเซ็นเตอร์) และ 3.การประกาศออกทางทีวี ทำให้ประสบความสำเร็จในทุกวันนี้

ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวางแผนและประสานงานศูนย์วิจัยแสะพัฒนา บริษัท เจแปน บรอดแคสติ้งฯ เอ็นเอชเค ยอมรับว่า แม้ว่าจะมีการวางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี แต่ยังมีคนต่อต้าน ดังนั้นจึงต้องพยายามทุกทาง โดยการอธิบายเพื่อการเปลี่ยนผ่านระบบให้มากขึ้น อย่างเช่น การซัพพอร์ตเซ็นเตอร์

นายอิวากิ กล่าวอีกว่า ญี่ปุ่นประกาศ กำหนดวันเปลี่ยนจากระบบอะนาล็อกสู่ดิจิตอลอย่างชัดเจน โดยเลือกวัน แล้วประกาศว่าเป็นวันสิ้นสุดการออกอากาศระบบอะนาล็อกทันที ซึ่งตัดสินใจดำเนินการตั้งแต่เมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมาในเริ่มต้นทีวีดิจิตอล สำหรับ วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้น มีรูปแบบการรีไซเคิล เช่น ถ้าจะทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องเรียกบริษัทมาเป็นดำเนินการ โดยจ่ายเงินให้บริษัทก่อน หรือเรียกว่า เสียเงินแล้วทิ้ง

ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวางแผนและประสานงานศูนย์วิจัยแสะพัฒนา บริษัท เจแปน บรอดแคสติ้งฯ เอ็นเอชเค กล่าวอีกว่า ช่วงประกาศเปลี่ยนเป็นดิจิตอล มีการฉายพร้อมกันไปกับอะนาล็อก เนื่องจากไม่มีจำนวนผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา เพราะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่ทำเรื่องทีวีดิจิตอลอยู่แล้ว ต่อข้อถามถึงความคิดเห็นเรื่องรูปแบบการประมูลทีวีดิจิตอลของประเทศไทย นายอาวากิไม่สามารถบอกได้ เพราะญี่ปุ่นไม่เคยคิดวิธีการประมูล.







ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/content/tech/333474


___________________________________





เปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิตอล


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) กล่าวระหว่างเดินทางไปดูงานที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2556ว่า  ปัจจุบันญี่ปุ่นนั้นมีช่องทีวีดิจิตอลเพียงแค่ 7 ช่องเท่านั้นแบ่งเป็น ช่องของรัฐ 2 ช่อง และเอกชน 5 ช่อง แต่มีจุดแข็งคือการกำกับดูแลกันเองที่ดีเยี่ยม รวมทั้งความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคประชาชนในการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี

สำหรับในประเทศไทย ต้องการให้มีทีวีดิจิตอลมากถึง 48 ช่อง และจะนำเงินจากการประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอลในกลุ่มธุรกิจทั้ง 24 ช่อง มาสนับสนุนประชาชน โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณแผ่นดิน อาทิ การออกคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์ หรือเงินสนับสนุนโครงการพัฒนากิจการโทรทัศน์ในที่ห่างไกลเป็นต้น

ด้าน นายมาซาคาสุ อิวากิ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวางแผน และประสานงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนา บริษัท เจแปน บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการช่องรายการเอ็นเอชเค(NHK) กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านทีวีอนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิตอลในประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้เริ่มต้นการออกอากาศครั้งแรก เมื่อปี 2550 และสิ้นสุดการออกอากาศเมื่อปี 2555 โดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)ของญี่ปุ่นทำการจัดสรรคลื่นด้วยวิธีการพิจารณาตามความเหมาะสม ซึ่งมอบให้แก่ผู้ให้บริการทีวีอนาล็อกเดิมทั้ง 7 สถานี ได้สามารถออกอากาศทีวีดิจิตอลในระบบความคมชัดสูง(เอชดี)

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปสู่ทีวีดิจิตอลของญี่ปุ่นที่สำเร็จนั้น มีทั้งสิ้น 3 ประการสำคัญ ได้แก่ 1.รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุน อาทิ ประชาชนซื้อทีวี 51 นิ้ว  2.มีศูนย์ที่ปรึกษาและแนะนำในการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีเป็นทีวีดิจิตอล  และ 3.มีการขึ้นข้อความเตือนการยกเลิกการออกอากาศทีวีอนาล็อก บนเครื่องโทรทัศน์ที่ยังรับสัญญาณระบบอนาล็อก

ด้าน นายชินิจิโร โทโนโอกะ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์องค์กร สถานีโทรทัศน์น๊อททีวี ในเครือบริษัท เอ็นทีที โดโกโมะ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า น๊อททีวีเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ให้บริการในรูปของโมบายดิจิตอลเท่านั้น เริ่มเปิดบริการมาเป็นเวลา 1 ปี มีช่องให้บริการทั้งสิ้นจำนวน 3 ช่อง แบ่งเป็น ช่องข่าว ช่องวาไรตี้ และช่องถ่ายทอดรายการสด โดยมีสัดส่วนการให้บริการแบ่งเป็นรายการที่ผลิตเอง 50% ส่วนค่าบริการอยู่ที่ราว 120 บาทต่อเดือน

http://www.naewna.com/business/45570




ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.