21 มีนาคม 2556 GMMz เตรียมแผน ให้ชมผ่าน 3G OTP (one top password ) หรือ on top iptv เสริมทัพ
ประเด็นหลัก
ขณะที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับในปัจจุบันเรื่องของบรอดแบนด์หรือโทรคมนาคมกำลังมาแรง การให้บริการในระบบ 3G ทำให้บริษัทเล็งเห็นความสำคัญเรื่องดังกล่าวซึ่งในอนาคตอาจจะนำเทคโนโลยีด้าน OTP (one top password ) หรือ on top iptv เพิ่มเข้ามา เนื่องจากในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคไม่ได้รับชมคอนเทนต์ผ่านแค่เพียงจอโทรทัศน์แล้วเท่านั้น แต่ยังนิยมรับชมผ่านจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเลตมากขึ้นด้วย
อีกทั้งในต้นเดือนเมษายนนี้บริษัทจะเตรียมเปิดตัวกล่องแซตเทลไลต์ทีวี รุ่นเอชดี ซึ่งการจำหน่ายครั้งนี้เป็นไปตามแผนระยะเวลาที่วางไว้ ขณะเดียวกันผู้บริโภคที่กำลังตัดสินใจว่าถ้าซื้อแล้วจะสามารถดูทีวีดิจิตอลได้หรือไม่นั้น ต้องบอกว่าข้อมูลตรงนี้บริษัทเองก็กำลังดูเรื่องกฎมัส แครี่ (Must Carry) หรือร่างหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงช่องรายการได้อย่างต่อเนื่องของกสทช. ด้วยเช่นกันว่าจะนิยามให้ช่องทีวีดิจิตอลเป็นช่องบริการทั่วไปสามารถดูได้หรือไม่ นอกจากนี้เรื่องของการประมูลช่องทีวีดิจิตอล บริษัทจะประมูลช่องสูงสุดตามที่กสทช.กำหนด
________________________________________
จีเอ็มเอ็มแซทต่อยอดบรอดแบนด์
จีเอ็มเอ็มแซท ย้ำนโยบายรุกธุรกิจฟรีทีวี –เพย์ทีวีควบคู่ เล็งตลาดบรอดแบนด์ในอนาคตเติบโตเตรียมต่อยอดธุรกิจ พร้อมทั้งวางแผนอนาคตนำเข้ากล่องไฮบริดตอบโจทย์ผู้บริโภครุ่นใหม่ มั่นใจเผยโฉมกล่องเอชดีรุ่นใหม่เมษายนนี้
ขณะเดียวกันปฏิเสธเรื่องการเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงผ่านโซเชียลมีเดียที่กำลังฮอตว่าไม่ถูกต้อง และสูงเกินจริง
นายเดียว วรตั้งตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มงาน Platform & Sponsor Ships บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด ผู้ให้บริการเคเบิลทีวี เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า นโยบายของบริษัทเน้นการเดินหน้าธุรกิจแซตเทลไลต์ทีวีควบคู่ไปกับฟรีทีวี โดยในอนาคตอาจจะนำเข้ากล่องไฮบริดที่มีเทคโนโลยีรองรับสามารถดูได้ทุกแพลตฟอร์ม เช่น ดูได้ทั้งแซตเทลไลต์ทีวี , ทีวีดิจิตอล เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นบริษัทจึงต้องหาเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงคอนเทนต์เพื่อมาตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ได้สูงสุด
ขณะที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับในปัจจุบันเรื่องของบรอดแบนด์หรือโทรคมนาคมกำลังมาแรง การให้บริการในระบบ 3G ทำให้บริษัทเล็งเห็นความสำคัญเรื่องดังกล่าวซึ่งในอนาคตอาจจะนำเทคโนโลยีด้าน OTP (one top password ) หรือ on top iptv เพิ่มเข้ามา เนื่องจากในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคไม่ได้รับชมคอนเทนต์ผ่านแค่เพียงจอโทรทัศน์แล้วเท่านั้น แต่ยังนิยมรับชมผ่านจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเลตมากขึ้นด้วย
"อดีตผู้บริโภคไม่ได้มีทางเลือกเหมือนในปัจจุบัน จึงสามารถรับชมคอนเทนต์ต่างๆผ่านแค่ 6 ช่องฟรีทีวีเท่านั้น แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายทั้งในเรื่องของแพลตฟอร์มต่างๆ รวมถึงคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ สำหรับเรื่องของบรอดแบนด์บริษัทค่อนข้างให้ความสนใจเป็นพิเศษเพราะมองว่าไม่ได้มีเพียงแค่ผู้บริโภคไทยเท่านั้นที่ชื่นชอบเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน แต่ยังมีประเทศเพื่อนบ้านต่างๆที่ให้ความสนใจด้วย เช่น ลาว และกัมพูชา เป็นต้น"นายเดียวกล่าว
อีกทั้งในต้นเดือนเมษายนนี้บริษัทจะเตรียมเปิดตัวกล่องแซตเทลไลต์ทีวี รุ่นเอชดี ซึ่งการจำหน่ายครั้งนี้เป็นไปตามแผนระยะเวลาที่วางไว้ ขณะเดียวกันผู้บริโภคที่กำลังตัดสินใจว่าถ้าซื้อแล้วจะสามารถดูทีวีดิจิตอลได้หรือไม่นั้น ต้องบอกว่าข้อมูลตรงนี้บริษัทเองก็กำลังดูเรื่องกฎมัส แครี่ (Must Carry) หรือร่างหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงช่องรายการได้อย่างต่อเนื่องของกสทช. ด้วยเช่นกันว่าจะนิยามให้ช่องทีวีดิจิตอลเป็นช่องบริการทั่วไปสามารถดูได้หรือไม่ นอกจากนี้เรื่องของการประมูลช่องทีวีดิจิตอล บริษัทจะประมูลช่องสูงสุดตามที่กสทช.กำหนด
ทั้งนี้บริษัทพยายามทำสินค้าตอบโจทย์ให้ครบทุกกลุ่ม คือให้สามารถดูได้ทั้งระบบฟรีทูแอร์ และเพย์ทีวีในระบบเติมเงิน ซึ่งบริษัทได้วางตำแหน่งตัวเองเป็นธุรกิจเอนเตอร์เทนครบวงจร ทั้งด้านคอนเทนต์และแพลตฟอร์ม นอกจากนี้บริษัทอยู่ในจุดยืนที่พร้อมพัฒนาแพลตฟอร์มและขยายคอนเทนต์ใหม่ๆ อีกทั้งบริษัทมองว่าความต้องการเรื่องคอนเทนต์จะยังไม่หมด มีแต่คนผลิตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีแพลตฟอร์มหรือจอใหม่ๆเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ เช่น จอไอแพด และแท็บเลต เป็นต้น
ล่าสุดจากที่มีผู้เผยแพร่ข้อมูลผ่านทางโซเชียลมีเดียเรื่องการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการนำเพลงแกรมมี่ไปขับร้องแสดงสดนั้น ทางบริษัทขอชี้แจงว่าไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง จึงขอชี้แจงเรื่องดังกล่าว ดังนี้ การนำเพลงไปขับร้องและทำการแสดงที่เป็นข่าวทางโซเชียลมีเดียนั้น ปัจจุบันบริษัทได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดค่าตอบแทนอัตราค่าลิขสิทธิ์ภายใต้หลักสากล เช่น ราคาบัตรx จำนวนบัตร =มูลค่ารายได้ x อัตราค่าลิขสิทธิ์เพลงละ 0.5% ส่วนสถานบันเทิงที่จ่ายค่าลิขสิทธิ์อยู่แล้ว ไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไข ทั้งนี้ในส่วนของค่าลิขสิทธิ์ที่เก็บมานั้นบริษัทจะนำไปจัดสรรให้กับนักแต่งและผู้สร้างสรรค์งานเพลงต่อไป
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=174756:2013-03-19-05-3
5-54&catid=106:-marketing&Itemid=456
ไม่มีความคิดเห็น: