7 มีนาคม 2556 (เกาะติดตัวประกัน18ล้าน) CAT ส่งแผนเอาคลื่น 1800 ทำ4G ให้บริการ MVNO
ประเด็นหลัก
สำหรับแผนการบริหารจัดการสินทรัพย์ฯที่ กสท นำเสนอดังกล่าวนี้จะทำให้โครงสร้างอุตสาหกรรมบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการปรับเปลี่ยน โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ของผู้ให้บริการเป็น 2 ระดับ คือ 1. ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network Provider) และ 2. ผู้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ (Service Provider หรือ MVNO)
ทั้งนี้ กสท อ้างว่าโครงสร้างใหม่นี้ผู้ให้บริการโครงข่ายจะขายส่งบริการให้กับผู้ให้บริการ MVNO ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ซึ่งการที่ กสท เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งจากการลงทุนเองและที่ได้รับโอนมาตามสัญญาสัมปทาน ประกอบกับความชำนาญทางด้านวิศวกรรม กสท จึงมีความพร้อมในการบริหารจัดการโครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นการขายส่งบริการให้กับผู้ให้บริการ MVNO ทุกรายด้วยความเป็นกลาง
นอกจากนี้ การแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างผู้ให้บริการโครงข่ายและผู้ให้บริการ MVNO นี้จะลดการผูกขาดจากผู้ให้บริการรายใหญ่ และเปิดโอกาสให้มีผู้ให้บริการรายใหม่เข้าสู่ตลาดโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่เป็นคนไทย เพราะไม่มีภาระเรื่องลงทุนด้านโครงข่าย และยังได้รับประโยชน์ในด้านต้นทุนการผลิต เนื่องจากการประหยัดโดยขนาด (Economy Of Scale) จากการซื้อบริการขายส่งจากผู้ให้บริการโครงข่ายที่ต้องผลิตบริการปริมาณมาก เพื่อรองรับการให้บริการกับผู้ให้บริการ MVNO ทุกราย ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกกว่าการที่ผู้ให้บริการแต่ละรายดำเนินการเอง ซึ่งเป็นการส่งเสริมผู้ให้บริการรายเล็กที่มีเงินลงทุนไม่มากนักให้สามารถประกอบกิจการ โดยมุ่งเน้นการแข่งขันเฉพาะด้านการให้บริการลูกค้า
อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันของผู้ให้บริการรายต่าง ๆ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนและลดการสูญเสียเงินตราจากต่างประเทศจำนวนมากจากการนำเข้าอุปกรณ์เพื่อใช้ในการลงทุนพัฒนาโครงข่าย
อนึ่งก่อนหน้านี้ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทค. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กทค. มีหน้าที่ทำตามกฎหมายเพราะเมื่อคลื่นความถี่ที่รัฐนำไปดำเนินการเมื่อหมดอายุแล้วต้องส่งคืนกลับ กสทช.เพื่อนำออกมาประมูล หาก กสทช.ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็จะถูกมองว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่
_________________________________________
'กสท'ชงปลัดไอซีที บริหารคลื่น1800
กสท ส่งเรื่องแผนการบริหารจัดการสินทรัพย์หลังหมดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่จะหมดสัญญากับทรูมูฟ และดีพีซี ดีเดย์กลางเดือนกันยายนนี้ เผยโครงสร้างใหม่พลิกบทบาทอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ทันที เหตุมีการปรับเปลี่ยนเป็น 2 ระดับ คือ ผู้ให้บริการโครงข่าย และการทำตลาดแบบ MVNO หวังลดการผูกขาดจากผู้ให้บริการรายใหญ่
สืบเนื่องจากสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ให้สิทธิ์กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 16 กันยายน 2556 นั้น
ต่อเรื่องดังกล่าวแหล่งข่าวจาก บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ กสท ได้ลงนามเพื่อส่งหนังสือไปยังนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับแผนการบริหารจัดการสินทรัพย์ได้มาจากสัมปทาน (แผนบริหารจัดการสินทรัพย์ฯ) และแผนปฏิบัติการประจำปี 2555 เพื่อให้ทางกระทรวงไอซีทีนำเรื่องดังกล่าวส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
สำหรับแผนการบริหารจัดการสินทรัพย์ฯที่ กสท นำเสนอดังกล่าวนี้จะทำให้โครงสร้างอุตสาหกรรมบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการปรับเปลี่ยน โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ของผู้ให้บริการเป็น 2 ระดับ คือ 1. ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network Provider) และ 2. ผู้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ (Service Provider หรือ MVNO)
ทั้งนี้ กสท อ้างว่าโครงสร้างใหม่นี้ผู้ให้บริการโครงข่ายจะขายส่งบริการให้กับผู้ให้บริการ MVNO ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ซึ่งการที่ กสท เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งจากการลงทุนเองและที่ได้รับโอนมาตามสัญญาสัมปทาน ประกอบกับความชำนาญทางด้านวิศวกรรม กสท จึงมีความพร้อมในการบริหารจัดการโครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นการขายส่งบริการให้กับผู้ให้บริการ MVNO ทุกรายด้วยความเป็นกลาง
นอกจากนี้ การแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างผู้ให้บริการโครงข่ายและผู้ให้บริการ MVNO นี้จะลดการผูกขาดจากผู้ให้บริการรายใหญ่ และเปิดโอกาสให้มีผู้ให้บริการรายใหม่เข้าสู่ตลาดโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่เป็นคนไทย เพราะไม่มีภาระเรื่องลงทุนด้านโครงข่าย และยังได้รับประโยชน์ในด้านต้นทุนการผลิต เนื่องจากการประหยัดโดยขนาด (Economy Of Scale) จากการซื้อบริการขายส่งจากผู้ให้บริการโครงข่ายที่ต้องผลิตบริการปริมาณมาก เพื่อรองรับการให้บริการกับผู้ให้บริการ MVNO ทุกราย ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกกว่าการที่ผู้ให้บริการแต่ละรายดำเนินการเอง ซึ่งเป็นการส่งเสริมผู้ให้บริการรายเล็กที่มีเงินลงทุนไม่มากนักให้สามารถประกอบกิจการ โดยมุ่งเน้นการแข่งขันเฉพาะด้านการให้บริการลูกค้า
อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันของผู้ให้บริการรายต่าง ๆ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนและลดการสูญเสียเงินตราจากต่างประเทศจำนวนมากจากการนำเข้าอุปกรณ์เพื่อใช้ในการลงทุนพัฒนาโครงข่าย
สำหรับในตอนท้ายของเอกสารนั้น ยังระบุด้วยว่า กสท จะสามารถนำแผนการบริหารจัดการสินทรัพย์ฯ ไปดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ กสท จะต้องได้รับการปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งระบุว่า ทีโอที และ กสท เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ โดยรัฐสามารถใช้หน่วยงานทั้งสองแห่งเป็นเครื่องมือและกลไกในการนำแนวนโยบายของรัฐมาดำเนินการในการพัฒนาขยายศักยภาพระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ
ดังนั้น หากหน่วยงานทั้งสองแห่งสามารถนำคลื่นความถี่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงข่ายระบบโทรคมนาคม เพื่อให้เป็นโครงข่ายหลักสามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและลงทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนเพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยี (Digital Divide)
อนึ่งก่อนหน้านี้ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทค. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กทค. มีหน้าที่ทำตามกฎหมายเพราะเมื่อคลื่นความถี่ที่รัฐนำไปดำเนินการเมื่อหมดอายุแล้วต้องส่งคืนกลับ กสทช.เพื่อนำออกมาประมูล หาก กสทช.ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็จะถูกมองว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=172489:-1800&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417
ไม่มีความคิดเห็น: