8 มีนาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) เชื่อจุฬาฯ เสนอรวม24 ช่อง กวาดเงินไม่ต่ำกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวจากกสทช.เปิดเผยว่าก่อนหน้านี้ได้สำรวจความเห็นของผู้ประกอบการทีวีถึงราคาที่คาดว่าจะเข้าประมูล โดยส่วนใหญ่เสนอให้ไม่เกิน 300-400 ล้านบาทสำหรับช่อง SD ส่วนช่อง HD นั้นราคาสูงกว่า SD ประมาณ 3 เท่าหรือประมาณ 1,500 ล้านบาท การคำนวณราคาตั้งต้นยังคำนึงถึงการแจกคูปองประชาชนเพื่อแลกซื้อทีวีดิจิทัล หรือแลกรับกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิทัล ในเบื้องต้นกสท.คาดว่ามูลค่าคูปองจะอยู่ที่ใบละ 500 บาท ซึ่งต้องแจก 22 ล้านครัวเรือน หรือหมายถึงต้นทุนทั้งหมดในการแจกคูปองอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 11,000 ล้านบาท ดังนั้น กสท ต้องได้เงินค่าประมูลช่อง HD ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาทต่อช่อง ส่วนช่อง SD เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 250-300 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับที่จุฬาฯเสนอตัวเลขราคาตั้งต้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาทสำหรับ HD และ SD ไม่เกิน 500 ล้านบาท
___________________________________
กสท เล็งกวาดเงิน24ช่องทีวีดิจิทัล1.1หมื่นล.
กสท เล็งเคาะราคาประมูลทีวีดิจิทัลจุฬาฯ เสนอรวม 24 ช่อง กวาดเงินไม่ต่ำกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท
ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท เปิดเผยว่าบอร์ดกสท ที่มีพันเอกนที ศุกลรัตน์ เป็นประธานจะประชุมในวันจันทร์ที่ 11 มี.ค.นี้ เพื่อพิจารณาราคาตั้งต้นประมูลใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิทัล หรือทีวีดิจิทัล ช่องธุรกิจ 24 ช่อง ตามที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษา ราคาตั้งต้นที่จุฬาฯเสนอนั้นแบ่งออกเป็นช่องความละเอียดสูง หรือ High Definition (HD) ราคาเริ่มต้นประมูลที่ 1,000-3,000 ล้านบาทต่อช่อง โดยเตรียมเปิดประมูลทั้งหมด 4 ช่อง ส่วนช่อง Standard Definition (SD) ซึ่งประกอบด้วย ช่องทั่วไป 10 ช่อง ช่องข่าว 5 ช่อง และ ช่องเด็ก 5 ช่องไม่เกินช่องละ 500 ล้านบาท โดยช่องข่าวจะมีราคาประมูลต่ำกว่าช่องทั่วไป และช่องเด็กจะอยู่ที่ไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการจะได้สิทธิดำเนินการ 15 ปี
"ราคาประมูลนี้มาจากผลการศึกษาของที่ปรึกษา และในแต่ละช่องรายการ เรามีเงื่อนไข เช่น ช่องข่าวจะมีราคาเริ่มต้นประมูลถูกกว่าช่องทั่วไป เพราะช่องข่าวจะถูกกำหนดให้ต้องเป็นรายการข่าวถึง 70% ส่วนช่องเด็กที่ราคาต่ำสุดนั้น เราก็จะมีเงื่อนไข เช่น ห้ามโฆษณาสินค้าที่มีน้ำตาล และราคาประมูลนี้ จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหม่เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อตอบสนองต่อเจตนารมณ์ การปฏิรูปสื่อ เพื่อสร้างความหลากหลายของเนื้อหาให้แก่ประชาชน"ดร.ธวัชชัย กล่าว
ดร.ธวัชชัย กล่าวอีกว่า การกำหนดราคาประมูลต้องพิจารณาจากความสามารถในการหารายได้ มูลค่าอุตสาหกรรมทีวี รวมถึง การกำหนดเพดานการถือครองช่องรายการทีวีดิจิทัล และค่าเช่าโครงข่าย ที่ต้องขึ้นอยู่กับราคาค่าโครงข่าย เพราะหากราคาโครงข่ายมีราคาสูง จะทำให้ราคาเริ่มต้นประมูลต่ำ แต่หากราคาโครงข่ายราคาต่ำ ราคาตั้งต้นประมูลก็จะสูงขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการโครงข่าย ราคาค่าโครงข่ายนั้นกำหนดราคาไว้ที่ 40-60 ล้านบาทต่อปีต่อช่อง ส่วนการกำหนดถือครองจำนวนช่องว่าจะได้ 2 หรือ 3 ช่องนั้น จะมีข้อสรุปอีกครั้งในเดือน เม.ย.2556 นอกจากนี้การกำหนดให้ออกอากาศได้ทุกช่องทาง เพื่อให้เป็นตามประกาศหลักเกณฑ์การนำพาช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป หรือ Must Carry นั้นมีความเห็นว่าหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ออกมาก่อนหน้านี้ เป็นอุปสรรคต่อการออกใบอนุญาตและต้นทุนของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล จึงควรมีการออกหลักเกณฑ์ Must Carry แยกระหว่างทีวีดิจิทัลและทีวีดาวเทียมรวมทั้งเคเบิลทีวี
แหล่งข่าวจากกสทช.เปิดเผยว่าก่อนหน้านี้ได้สำรวจความเห็นของผู้ประกอบการทีวีถึงราคาที่คาดว่าจะเข้าประมูล โดยส่วนใหญ่เสนอให้ไม่เกิน 300-400 ล้านบาทสำหรับช่อง SD ส่วนช่อง HD นั้นราคาสูงกว่า SD ประมาณ 3 เท่าหรือประมาณ 1,500 ล้านบาท การคำนวณราคาตั้งต้นยังคำนึงถึงการแจกคูปองประชาชนเพื่อแลกซื้อทีวีดิจิทัล หรือแลกรับกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิทัล ในเบื้องต้นกสท.คาดว่ามูลค่าคูปองจะอยู่ที่ใบละ 500 บาท ซึ่งต้องแจก 22 ล้านครัวเรือน หรือหมายถึงต้นทุนทั้งหมดในการแจกคูปองอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 11,000 ล้านบาท ดังนั้น กสท ต้องได้เงินค่าประมูลช่อง HD ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาทต่อช่อง ส่วนช่อง SD เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 250-300 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับที่จุฬาฯเสนอตัวเลขราคาตั้งต้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาทสำหรับ HD และ SD ไม่เกิน 500 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130306/493691/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97-
%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9
%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%9924%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%
E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%
B1%E0%B8%A51.1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5..html
ไม่มีความคิดเห็น: