11 มีนาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) GMMz เตรียมส่งกล่อง HD แบบปรับเป็น TVDigital 5000กล่องกล่องละเกือบ3000บาท//PSIพร้อมปรับเทคโนโลยี//DTVเตรียมทำกล่องไฮบริด
ประเด็นหลัก
- จีเอ็มเอ็มแซทเจาะทุกกลุ่มเป้าหมาย
โดยจะเห็นว่าเวลานี้ภาคเอกชนต่างให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ทั้งกลุ่มฟรีทีวีอย่างช่อง 3 และช่อง 7 กลุ่มสามารถ คอร์ปอเรชั่น ที่แสดงความสนใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลด้วย พร้อมทั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือ เซ็ต ท็อป บ็อกซ์ครั้งนี้ ขณะที่แกรมมี่ หรือจีเอ็มเอ็มแซทที่ปีนี้เตรียมเดินหน้าเต็มสูบขยายทุกแพลตฟอร์มเจาะทุกกลุ่มเป้าหมาย
ฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม ล่าสุดนายฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มงานแพลตฟอร์ม(Platform) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในปีนี้บริษัทได้วางงบลงทุนของจีเอ็มเอ็มแซทรวมกว่า 3 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น กล่องที่นำเข้ามาใหม่กว่า 50% และที่เหลืออีก 50% คือค่าการบริหารจัดการด้านคอนเทนต์(ช่องรายการ) เพื่อรับการขยายตัวของทีวีดาวเทียมและทีวีดิจิตอล
- ปลายปีนี้เปิดขายกล่องเอชดี
ทั้งนี้ภายในปลายเดือนมีนาคมนี้บริษัทจะเปิดจำหน่ายกล่องเอชดี ที่มีระบบภาพคมชัดสูง โดยวางราคาแพ็กเกจแตกต่างกัน แบ่งเป็น กล่องเปล่าอย่างเดียว และกล่องเปล่าพร้อมแพ็กเกจรายเดือน 2 เดือนและ 12 เดือน ซึ่งกล่องดังกล่าวบริษัทคาดว่าจะจำหน่ายได้ในราคาไม่เกิน 3 พันบาท อีกทั้งกล่องเอชดีจะสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ในอนาคต เพียงแค่ปรับซอฟต์แวร์ในบางส่วนเท่านั้น ซึ่งในปีนี้บริษัทจะนำเข้ากล่องรับสัญญาณล็อตแรกจากประเทศจีนจำนวนทั้งหมดกว่า 5 หมื่นกล่อง โดยบริษัทมีแผนจ้างเอเยนซีรายใหญ่สร้างการรับรู้ พร้อมทั้งคาดในอนาคตกล่องเอชดีจะขายได้กว่า 60% ของตลาดโมเดิร์นเทรดทั้งหมดสำหรับการขายทีวีในประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านเครื่อง/ปี
"บริษัทมองว่าการขยายแพลตฟอร์มกล่องรับสัญญาณไปสู่เอชดีนั้น เนื่องจากต่อไปในอนาคตทุกอย่างจะก้าวเข้าสู่ระบบเอชดีทั้งหมด อีกทั้งเทคโนโลยีระบบเอชดีต่างๆถูกลง ซึ่งหากเปรียบเทียบตลาดต่างประเทศในวันนี้กว่า 90% ระบบการรับชมทีวีก้าวสู่ระบบเอชดีหมดแล้ว ซึ่งต่อไปหลังจากนี้ประเทศไทยก็จะเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน อีกทั้งจากการสำรวจตลาดโทรทัศน์ทั้งหมดของประเทศไทยพบว่าปัจจุบันผู้ประกอบการโทรทัศน์เลิกผลิตทีวีจอตู้แล้ว อีกทั้งสัดส่วนคนดูทั้งหมดกว่า 3% เป็นผู้รับชมระบบเอชดี ซึ่งบริษัทมองว่าอีก 97% ยังเป็นช่องว่างของตลาดที่สามารถขยายฐานได้อีก" นายฟ้าใหม่กล่าว
นอกจากนี้ภายในปลายปี 2556 ที่กสทช.จะเปิดประมูลช่องธุรกิจทีวีดิจิตอล บริษัทสนใจเข้าร่วมการประมูลอย่างแน่นอน โดยบริษัทสนใจเข้าประมูลช่องธุรกิจ เนื่องจากสามารถขยายช่องดังกล่าวต่อยอดแพลตฟอร์มได้เป็นจำนวนมาก เช่น อินเตอร์เน็ต , ไอพีทีวี เป็นต้น
- พีเอสไอลั่นปรับเทคโนโลยีได้ทันที
นายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจจานดาวเทียม "PSI" ผู้ผลิตและจำหน่ายจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมทั้งจานเคยูแบนด์และโดยเฉพาะจานซีแบนด์ที่ครองตลาด70- 80% กล่าวว่า การขยับไปสู่ทีวีดิจิตอล ทำให้ผู้ที่ทำธุรกิจกล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่มีอยู่ในปัจจุบันมีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น เพราะจะมีผู้ชมส่วนหนึ่งที่ต้องการซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลซึ่งเป็นภาคพื้นดินไปติดตั้งที่บ้านจากเดิมที่รับชมผ่านฟรีทีวีที่ใช้เสาอากาศก้างปลา และยังไม่มีการติดตั้งกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมมาก่อน ดังนั้นพีเอสเอสในฐานะผู้ให้บริการด้านฮาร์ดแวร์ก็ต้องปรับเทคโนโลยีการผลิตจากกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมมายังกลุ่มรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ทันทีโดยการปรับเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วด้วยการปรับจูนเนอร์(ภาครับ)ให้เป็นความถี่ภาคพื้นดินได้โดยใส่ซอฟต์แวร์ลงไป โดยคาดว่าทีวีดิจิตอลจะเข้ามาแชร์ตลาดทีวีดาวเทียมประมาณ 20% เพราะจะมีกลุ่มผู้ชมที่ไม่อยากติดจานดาวเทียม
- ดีทีวีพร้อมทำกล่องไฮบริด
นายปราโมทย์ บุญนำสุข ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดีทีวีเซอร์วิส จำกัด ผู้จำหน่ายจานเหลือง "DTV" ในเครือไทยคม กล่าวในฐานะที่ทำธุรกิจทีวีดาวเทียมว่าการเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล จะไม่กระทบต่อการทำธุรกิจทีวีดาวเทียม แต่จะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ชม โดยเฉพาะการทำธุรกิจของบริษัท เนื่องจากไทยคม 6 จะยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าและพร้อมให้บริการในกลางปี 2556 นี้ แต่เวลานี้มีการจองช่องสัญญาณทำช่องรายการบนดาวเทียมไทยคม 6 เพื่อทำทีวีดาวเทียมไว้ล่วงหน้าก่อนแล้วจำนวนมาก
สำหรับดีทีวีปัจจุบันมีสถานะเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม มีฐานลูกค้าจานเหลืองอยู่ที่ 1.7-1.8 ล้านกล่องทั่วประเทศ มีคอนเทนต์ 82 ช่อง ดังนั้นจะต้องเป็นพันธมิตรได้กับทุกคน เพราะมองว่าในแพลตฟอร์มดาวเทียมตัวสำคัญคือคอนเทนต์ จึงต้องทำหน้าที่หลัก 3 ส่วนคือ จำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียม และถ้าทิศทางตลาดขยับไปยังทีวีดิจิตอลมากขึ้น บริษัทก็สามารถขยับไปที่ทีวีดิจิตอลได้โดยปรับกล่องที่จำหน่ายเป็นรุ่นไฮบริด คือได้ทั้งดูทีวีดาวเทียมและดูทีวีดิจิตอลหรือเป็นรุ่นที่มีส่วนผสมของDVBS กับDVBT2 นอกจากนี้ดีทีวีเป็นแพลตฟอร์มที่จะโปรโมตช่องรายการต่างๆเพื่อเพิ่มมูลค่าโฆษณาให้มากขึ้น รวมถึงช่องเพย์ทีวีสำหรับรายการไฮไลต์จากต่างประเทศก็มาใช้บริการบนแพลตฟอร์มนี้ได้ รวมถึงการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างช่องรายการประเภทความละเอียดสูง(HD) ที่สามารถใช้ได้กับทีวีดาวเทียม ซึ่งเป็นภาคพื้นอากาศและทีวีดิจิตอลที่เป็นภาคพื้นดิน ที่ได้เริ่มดำเนินการมาก่อนตั้งแต่ปี 2555
ปัจจุบันมีสัดส่วนผู้ชมทีวีทั่วประเทศ 22 ล้านครัวเรือน แบ่งเป็น ทีวีดาวเทียม 70% เคเบิลทีวี 15-20% ที่เหลือเป็นฐานผู้ชมฟรีทีวีที่ยังใช้เสาก้างปลา ในอนาคตฐานผู้ชมทีวีจะเปลี่ยน โดยทีวีดาวเทียมยังเป็นฐานผู้ชมหลัก ที่เหลือจะเป็นฐานผู้ชมผ่านเคเบิลทีวีและทีวีดิจิตอล โดยขึ้นอยู่กับการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้ชม เพราะปัจจุบันวัดตามครัวเรือน แต่ต่อไปจะมีผู้ชมที่อาศัยตามคอนโดมิเนียมมากขึ้น
__________________________
'แกรมมี่' ทุ่ม3พันล้านเด้งรับดิจิตอล
"แกรมมี่" อัด 3 พันล้านเดินหน้าเต็มสูบเด้งรับทีวีดิจิตอล เตรียมขยายทุกแพลตฟอร์ม จ่อนำเข้ากล่องรับสัญญาณระบบเอชดีล็อตแรกกว่า 5 หมื่นกล่อง ด้านผู้ผลิต-ผู้นำเข้ากล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมพร้อมปรับเทคโนโลยีไปสู่กล่องรับสัญญาณทีวีภาคพื้นดิน และทำกล่องไฮบริด
สืบเนื่องจากที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สรุปผลการศึกษาของราคาตั้งต้นในการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทช่องธุรกิจจำนวน 24 ช่องรายการ โดยมีราคาตั้งต้นที่แบ่งออกเป็น 1.ช่องรายการประเภทความละเอียดสูง(HD) จำนวน 4 ช่อง มีราคาตั้งต้นที่ 1-3 พันล้านบาท 2. ช่องความละเอียดมาตรฐาน(SD) จำนวน 20 ช่อง มีราคาไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยช่อง SD แบ่งออกเป็นช่องรายการทั่วไป 10 ช่อง เป็นช่องประเภทข่าวจำนวน 5 ช่อง และช่องรายการประเภทเด็กจำนวน 5 ช่อง ซึ่งราคาตั้งต้นไม่เกิน 100 ล้านบาท ส่วนอีก 24 ช่อง ไม่ต้องประมูลแบ่งเป็นช่องสาธารณะ 12ช่อง และช่องชุมชน 12 ช่อง โดยช่องธุรกิจ 24 ช่อง จะมีการพิจารณาราคาตั้งต้นประมูลในการประชุมกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือกสท.ในวันที่ 11 มีนาคมนี้
ต่อเรื่องนี้แหล่งข่าวจากวงการวิทยุและโทรทัศน์ เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากกระแสการผลักดันให้เกิดทีวีดิจิตอลของสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาคเอกชนในธุรกิจที่เชื่อมโยงกับการเกิดทีวีดิจิตอล 3 ส่วนหลักคึกคักยิ่งขึ้นประกอบด้วย 1. กลุ่มธุรกิจผู้วางโครงข่ายให้เช่า หรือเสาส่ง ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มที่มีเสาส่งอยู่แล้วประกอบด้วย ช่อง9 , ไทยพีบีเอส และช่อง5 ที่จะเข้ามาเป็นผู้ให้เช่าเสาส่ง 2.กลุ่มฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมและทีวีดิจิตอล เช่น พีเอสไอ, โซนี่, ซัมซุง และ3. กลุ่มคอนเทนต์หรือช่องรายการ ที่จะมีกลุ่มหลักที่เข้าประมูลช่องรายการ เช่น อาร์เอส, เวิร์คพอยท์ , อินทัช, แกรมมี่, ช่อง3และช่อง7
- จีเอ็มเอ็มแซทเจาะทุกกลุ่มเป้าหมาย
โดยจะเห็นว่าเวลานี้ภาคเอกชนต่างให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ทั้งกลุ่มฟรีทีวีอย่างช่อง 3 และช่อง 7 กลุ่มสามารถ คอร์ปอเรชั่น ที่แสดงความสนใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลด้วย พร้อมทั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือ เซ็ต ท็อป บ็อกซ์ครั้งนี้ ขณะที่แกรมมี่ หรือจีเอ็มเอ็มแซทที่ปีนี้เตรียมเดินหน้าเต็มสูบขยายทุกแพลตฟอร์มเจาะทุกกลุ่มเป้าหมาย
ฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม ล่าสุดนายฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มงานแพลตฟอร์ม(Platform) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในปีนี้บริษัทได้วางงบลงทุนของจีเอ็มเอ็มแซทรวมกว่า 3 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น กล่องที่นำเข้ามาใหม่กว่า 50% และที่เหลืออีก 50% คือค่าการบริหารจัดการด้านคอนเทนต์(ช่องรายการ) เพื่อรับการขยายตัวของทีวีดาวเทียมและทีวีดิจิตอล
- ปลายปีนี้เปิดขายกล่องเอชดี
ทั้งนี้ภายในปลายเดือนมีนาคมนี้บริษัทจะเปิดจำหน่ายกล่องเอชดี ที่มีระบบภาพคมชัดสูง โดยวางราคาแพ็กเกจแตกต่างกัน แบ่งเป็น กล่องเปล่าอย่างเดียว และกล่องเปล่าพร้อมแพ็กเกจรายเดือน 2 เดือนและ 12 เดือน ซึ่งกล่องดังกล่าวบริษัทคาดว่าจะจำหน่ายได้ในราคาไม่เกิน 3 พันบาท อีกทั้งกล่องเอชดีจะสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ในอนาคต เพียงแค่ปรับซอฟต์แวร์ในบางส่วนเท่านั้น ซึ่งในปีนี้บริษัทจะนำเข้ากล่องรับสัญญาณล็อตแรกจากประเทศจีนจำนวนทั้งหมดกว่า 5 หมื่นกล่อง โดยบริษัทมีแผนจ้างเอเยนซีรายใหญ่สร้างการรับรู้ พร้อมทั้งคาดในอนาคตกล่องเอชดีจะขายได้กว่า 60% ของตลาดโมเดิร์นเทรดทั้งหมดสำหรับการขายทีวีในประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านเครื่อง/ปี
"บริษัทมองว่าการขยายแพลตฟอร์มกล่องรับสัญญาณไปสู่เอชดีนั้น เนื่องจากต่อไปในอนาคตทุกอย่างจะก้าวเข้าสู่ระบบเอชดีทั้งหมด อีกทั้งเทคโนโลยีระบบเอชดีต่างๆถูกลง ซึ่งหากเปรียบเทียบตลาดต่างประเทศในวันนี้กว่า 90% ระบบการรับชมทีวีก้าวสู่ระบบเอชดีหมดแล้ว ซึ่งต่อไปหลังจากนี้ประเทศไทยก็จะเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน อีกทั้งจากการสำรวจตลาดโทรทัศน์ทั้งหมดของประเทศไทยพบว่าปัจจุบันผู้ประกอบการโทรทัศน์เลิกผลิตทีวีจอตู้แล้ว อีกทั้งสัดส่วนคนดูทั้งหมดกว่า 3% เป็นผู้รับชมระบบเอชดี ซึ่งบริษัทมองว่าอีก 97% ยังเป็นช่องว่างของตลาดที่สามารถขยายฐานได้อีก" นายฟ้าใหม่กล่าว
นอกจากนี้ภายในปลายปี 2556 ที่กสทช.จะเปิดประมูลช่องธุรกิจทีวีดิจิตอล บริษัทสนใจเข้าร่วมการประมูลอย่างแน่นอน โดยบริษัทสนใจเข้าประมูลช่องธุรกิจ เนื่องจากสามารถขยายช่องดังกล่าวต่อยอดแพลตฟอร์มได้เป็นจำนวนมาก เช่น อินเตอร์เน็ต , ไอพีทีวี เป็นต้น
- ฟุ้งเพย์ทีวีฟีดแบ็กดี
ด้านนายระฟ้า ดำรงชัยธรรม ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มงาน คอนเทนต์ แมเนจเมนต์ บริษัทจีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัทได้รุกเข้าสู่ตลาดเพย์ทีวีอย่างเป็นทางการ โดยการเปิดบริการดังกล่าวมีกระแสตอบรับที่ดี อีกทั้งบริษัทมองว่าต่อไปผู้บริโภคจะมีความต้องการรับชมคอนเทนต์ที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งในปีนี้จนถึงกลางปี 2557 บริษัทคาดว่าจะใช้งบประมาณการลงทุนซื้อคอนเทนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 2.5 พันล้านบาท ขณะเดียวกันในปีนี้บริษัทยังได้เตรียมเจรจากับพาร์ตเนอร์ผู้ผลิตคอนเทนต์จำนวนกว่า 10 รายซึ่งจะได้คำตอบในเร็วๆ นี้ จากที่ล่าสุดบริษัทได้ลิขสิทธิ์ช่องวอร์เนอร์มาแล้ว
"ภายในสิ้นปีนี้บริษัทคาดว่าจะมียอดสมาชิก แซท เพย์ ทีวี ประมาณ 4.5-6 แสนรายหรือคิดเป็น 15-20% ของจำนวนลูกค้ากล่องทีวีดาวเทียมจีเอ็มเอ็ม แซท จากปัจจุบันที่มีลูกค้าเพย์ทีวีอยู่ที่ประมาณ 1 แสนราย" นายระฟ้ากล่าวนอกจากนี้ภายในสิ้นปีบริษัทคาดว่าจะมีลูกค้าใหม่ที่ซื้อกล่องจีเอ็มเอ็ม แซทเพิ่มอีก 1.5 ล้านกล่องจากปัจจุบันมีลูกค้าที่ซื้อกล่องในปีที่ผ่านมากว่า 1.5 ล้านกล่อง รวมเป็น 3 ล้านกล่องภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่ามีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชมคอนเทนต์บันเทิง โดยเฉพาะภาพยนตร์และซีรีส์ที่กำลังมาแรง
- พีเอสไอลั่นปรับเทคโนโลยีได้ทันที
นายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจจานดาวเทียม "PSI" ผู้ผลิตและจำหน่ายจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมทั้งจานเคยูแบนด์และโดยเฉพาะจานซีแบนด์ที่ครองตลาด70- 80% กล่าวว่า การขยับไปสู่ทีวีดิจิตอล ทำให้ผู้ที่ทำธุรกิจกล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่มีอยู่ในปัจจุบันมีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น เพราะจะมีผู้ชมส่วนหนึ่งที่ต้องการซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลซึ่งเป็นภาคพื้นดินไปติดตั้งที่บ้านจากเดิมที่รับชมผ่านฟรีทีวีที่ใช้เสาอากาศก้างปลา และยังไม่มีการติดตั้งกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมมาก่อน ดังนั้นพีเอสเอสในฐานะผู้ให้บริการด้านฮาร์ดแวร์ก็ต้องปรับเทคโนโลยีการผลิตจากกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมมายังกลุ่มรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ทันทีโดยการปรับเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วด้วยการปรับจูนเนอร์(ภาครับ)ให้เป็นความถี่ภาคพื้นดินได้โดยใส่ซอฟต์แวร์ลงไป โดยคาดว่าทีวีดิจิตอลจะเข้ามาแชร์ตลาดทีวีดาวเทียมประมาณ 20% เพราะจะมีกลุ่มผู้ชมที่ไม่อยากติดจานดาวเทียม
อย่างไรก็ตามพีเอสไอพร้อมที่สุดที่จะปรับตัวรับกับการเข้ามาของทีวีดิจิตอล เนื่องจากมีฐานการผลิตกล่องรับสัญญาณ อยู่แล้ว มีช่องทางการจัดจำหน่าย และมีสาขากระจายสินค้าอยู่ทั่วประเทศ 33 แห่ง
"การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอลกำลังเป็นกระแสเพื่อที่จะเข้าถึงคนประมูลทำให้เกิดโครงข่าย หรือช่องทางการออกอากาศครบทุกด้าน สำหรับคนที่ทำคอนเทนต์ เพราะต้องการจะมีโครงข่ายให้ครบทุกด้านทั้งทีวีดิจิตอล เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม"
- ดีทีวีพร้อมทำกล่องไฮบริด
นายปราโมทย์ บุญนำสุข ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดีทีวีเซอร์วิส จำกัด ผู้จำหน่ายจานเหลือง "DTV" ในเครือไทยคม กล่าวในฐานะที่ทำธุรกิจทีวีดาวเทียมว่าการเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล จะไม่กระทบต่อการทำธุรกิจทีวีดาวเทียม แต่จะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ชม โดยเฉพาะการทำธุรกิจของบริษัท เนื่องจากไทยคม 6 จะยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าและพร้อมให้บริการในกลางปี 2556 นี้ แต่เวลานี้มีการจองช่องสัญญาณทำช่องรายการบนดาวเทียมไทยคม 6 เพื่อทำทีวีดาวเทียมไว้ล่วงหน้าก่อนแล้วจำนวนมาก
สำหรับดีทีวีปัจจุบันมีสถานะเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม มีฐานลูกค้าจานเหลืองอยู่ที่ 1.7-1.8 ล้านกล่องทั่วประเทศ มีคอนเทนต์ 82 ช่อง ดังนั้นจะต้องเป็นพันธมิตรได้กับทุกคน เพราะมองว่าในแพลตฟอร์มดาวเทียมตัวสำคัญคือคอนเทนต์ จึงต้องทำหน้าที่หลัก 3 ส่วนคือ จำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียม และถ้าทิศทางตลาดขยับไปยังทีวีดิจิตอลมากขึ้น บริษัทก็สามารถขยับไปที่ทีวีดิจิตอลได้โดยปรับกล่องที่จำหน่ายเป็นรุ่นไฮบริด คือได้ทั้งดูทีวีดาวเทียมและดูทีวีดิจิตอลหรือเป็นรุ่นที่มีส่วนผสมของDVBS กับDVBT2 นอกจากนี้ดีทีวีเป็นแพลตฟอร์มที่จะโปรโมตช่องรายการต่างๆเพื่อเพิ่มมูลค่าโฆษณาให้มากขึ้น รวมถึงช่องเพย์ทีวีสำหรับรายการไฮไลต์จากต่างประเทศก็มาใช้บริการบนแพลตฟอร์มนี้ได้ รวมถึงการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างช่องรายการประเภทความละเอียดสูง(HD) ที่สามารถใช้ได้กับทีวีดาวเทียม ซึ่งเป็นภาคพื้นอากาศและทีวีดิจิตอลที่เป็นภาคพื้นดิน ที่ได้เริ่มดำเนินการมาก่อนตั้งแต่ปี 2555
ปัจจุบันมีสัดส่วนผู้ชมทีวีทั่วประเทศ 22 ล้านครัวเรือน แบ่งเป็น ทีวีดาวเทียม 70% เคเบิลทีวี 15-20% ที่เหลือเป็นฐานผู้ชมฟรีทีวีที่ยังใช้เสาก้างปลา ในอนาคตฐานผู้ชมทีวีจะเปลี่ยน โดยทีวีดาวเทียมยังเป็นฐานผู้ชมหลัก ที่เหลือจะเป็นฐานผู้ชมผ่านเคเบิลทีวีและทีวีดิจิตอล โดยขึ้นอยู่กับการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้ชม เพราะปัจจุบันวัดตามครัวเรือน แต่ต่อไปจะมีผู้ชมที่อาศัยตามคอนโดมิเนียมมากขึ้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=173109:-3&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417
ไม่มีความคิดเห็น: