Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 เมษายน 2556 สุภิญญา ค้าน++กสท.เห็นชอบ!!(เห็นชัดล๊อกคุณสมบัติ) TVสาธารณะเพื่อความมั่นคง...(ให้หน่วยงานรัฐ)ได้8ช่อง สามารถหารายได้ ได้+++เท่าที่จำเป็น

ประเด็นหลัก


พอ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 17 เมษายน2556  ได้เห็นชอบการกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าขออนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการช่องโทรทัศน์บริการสาธารณะ ในช่อง 8 ซึ่ง เป็นช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งเป็นไปตามจากความเห็นของคณะอนุกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคง ของรัฐในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

โดยคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าขออนุญาตประกอบกิจการช่องรายการดังกล่าวต้องมีสถานะ เป็นหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือหน่วยอื่นที่มิใช่รัฐวิสาหกิจ ต้องใช้คลื่นความถี่สาธารณะเพื่อพิทักษ์รักษา ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

พอ.นที กล่าวว่า สำหรับการแบ่งช่องรายการโทรทัศน์บริการสาธารณะจะมีทั้งสิ้น 12 ช่องแบ่งเป็น 12 ประเภทเนื้อหา จะมีการออกใบอนุญาตประมาณเดือนมิถุนายน2556นี้ ด้วยวิธีการคัดเลือกตามความเหมาะสม ในส่วนของช่องบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคงของรัฐนี้เป็นบริการสาธารณะประเภท 2 ที่สามารถหารายได้จากโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการโดยไม่เน้นการแสวงหากำไร

นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ หลังจากนี้จะให้นำเสนอต่อที่ประชุม กสทช.เพื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับ ใช้ต่อไป



น.ส.สุภิญญา  กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว เนื่องจากเป็นการให้สิทธิ์ เจาะจง ล็อกสเปคให้แก่หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคง อย่าง กระทรวงกลาโหม กองทัพและตำรวจ ได้รับใบอนุญาตบริการสาธารณะทันที โดยการออกกติการดังกล่าว ไม่คำนึงถึงเงื่อนไข สัดส่วนเนื้อหารายการ ผังรายการ และการหารายได้  ทำให้การตีกรอบคุณสมบัติดังกล่าวถือเป็นการ ปิดกั้นสิทธิ์หน่วยงานอื่น ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ขัดเจตนารมย์ของกฎหมาย

อย่างไรก็ตามกสท.ควรออกเกณฑ์กำหนดคุณสมบัติคัดเลือก (บิวตี้ คอนเทสต์) ช่องสาธารณะพร้อมกันทั้งหมด เพื่อมีเกณฑ์คัดเลือกอย่างเหมาะสม เพราะหากออกเกณฑ์ให้ใบอนุญาตทีละประเภทถือว่าไม่ถูกต้อง  นอกจากนี้ควรออกร่างประกาศหลักเกณฑ์ทีวีช่องสาธารณะ นำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อให้สังคมเห็นความสำคัญของทีวีดิจิทัลช่องสาธารณะ



ทั้งนี้ จะมีการเสนอวาระใหม่เข้าที่ประชุมบอร์ด กสท.เพื่อให้ทบทวนกรณีดังกล่าว โดยจะขอให้มีการยกระดับการประชุมมติต่างๆ เป็นประกาศ เพื่อเปิดโอกาสให้มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นและผ่านบอร์ดใหญ่ 11 คน ก่อนประกาศลงราชกิจจานุเบกษาต่อไป ส่วนหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ รวมถึงกระทรวงต่างๆ ที่ต้องการเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ บริการสาธารณะประเภทที่สองนั้น ตนเห็นว่าควรมีการหารือเพื่อประนีประนอมร่วมกัน นอกจากนี้การประมูล 24 ช่องธุรกิจนั้นถือเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชน ซึ่ง กสท.ควรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวด้วย ไม่ใช่มุ่งเน้นเพียงประเด็น 12 ช่องสาธารณะ




_____________________________________




ไฟเขียวทีวีเพื่อความมั่นคง ให้หน่วยงานราชการฮุบช่อง8 หาเงินโฆษณาได้เท่าที่จำเป็น


พอ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 17 เมษายน2556  ได้เห็นชอบการกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าขออนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการช่องโทรทัศน์บริการสาธารณะ ในช่อง 8 ซึ่ง เป็นช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งเป็นไปตามจากความเห็นของคณะอนุกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคง ของรัฐในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

โดยคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าขออนุญาตประกอบกิจการช่องรายการดังกล่าวต้องมีสถานะ เป็นหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือหน่วยอื่นที่มิใช่รัฐวิสาหกิจ ต้องใช้คลื่นความถี่สาธารณะเพื่อพิทักษ์รักษา ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

พอ.นที กล่าวว่า สำหรับการแบ่งช่องรายการโทรทัศน์บริการสาธารณะจะมีทั้งสิ้น 12 ช่องแบ่งเป็น 12 ประเภทเนื้อหา จะมีการออกใบอนุญาตประมาณเดือนมิถุนายน2556นี้ ด้วยวิธีการคัดเลือกตามความเหมาะสม ในส่วนของช่องบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคงของรัฐนี้เป็นบริการสาธารณะประเภท 2 ที่สามารถหารายได้จากโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการโดยไม่เน้นการแสวงหากำไร

นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ หลังจากนี้จะให้นำเสนอต่อที่ประชุม กสทช.เพื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับ ใช้ต่อไป

ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวฯ เป็นหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตช่องรายการโทรทัศน์ ดิจิตอลประเภทบริการธุรกิจ ได้ทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับคลื่นความถี่ที่จะอนุญาตให้ใช้ วิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ กสทช.ยืนยันว่าจะเปิดให้ยื่นพิจารณาให้ใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) ในกิจการประเภทสาธารณะ โดยใช้การพิจารณาข้อเสนอ(beauty contest) ได้ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 คาดว่าจะสามารถออกไลเซ่นส์ได้ในเดือน มิถุนายน 2556

พอ.นที กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้อนุมัติเพิ่มเติมทดลองประกอบกิจการกระจายเสียง พ.ศ.2555 จำนวน 86 ราย รวมทั้งสิ้นอนุมัติไปแล้วจำนวน 1,399 ราย


http://www.naewna.com/business/48748

___________________________________

สุภิญญาค้านสเปคทีวีช่องความมั่นคงรัฐ



ระบุ มติกสท. ล็อกสเปคคุณสมบัติช่องทีวีดิจิทัลสาธารณะ ป้อนหน่วยงานรัฐความมั่นคง จี้ออกเกณฑ์ บิวตี้ คอนเทสต์ เข้าสู่เวทีประชาพิจารณ์
วันนี้(18เม.ย.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยถึงกรณีเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 56 ที่ประชุมกสท.ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ บริการสาธารณะประเภทที่ 2 ช่อง เพื่อความมั่นคงของรัฐ ที่ระบุให้ผู้รับใบอนุญาตต้องเป็นหน่วยงานรัฐเท่านั้น และต้องมีกฎหมายรองรับอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ในการพิทักษ์ รักษา ปกป้องพระมหากษัตริย์ รักษาเอกราชอธิปไตย และบูรณภาพดินแดน และรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ

น.ส.สุภิญญา  กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว เนื่องจากเป็นการให้สิทธิ์ เจาะจง ล็อกสเปคให้แก่หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคง อย่าง กระทรวงกลาโหม กองทัพและตำรวจ ได้รับใบอนุญาตบริการสาธารณะทันที โดยการออกกติการดังกล่าว ไม่คำนึงถึงเงื่อนไข สัดส่วนเนื้อหารายการ ผังรายการ และการหารายได้  ทำให้การตีกรอบคุณสมบัติดังกล่าวถือเป็นการ ปิดกั้นสิทธิ์หน่วยงานอื่น ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ขัดเจตนารมย์ของกฎหมาย

อย่างไรก็ตามกสท.ควรออกเกณฑ์กำหนดคุณสมบัติคัดเลือก (บิวตี้ คอนเทสต์) ช่องสาธารณะพร้อมกันทั้งหมด เพื่อมีเกณฑ์คัดเลือกอย่างเหมาะสม เพราะหากออกเกณฑ์ให้ใบอนุญาตทีละประเภทถือว่าไม่ถูกต้อง  นอกจากนี้ควรออกร่างประกาศหลักเกณฑ์ทีวีช่องสาธารณะ นำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อให้สังคมเห็นความสำคัญของทีวีดิจิทัลช่องสาธารณะ

http://www.dailynews.co.th/technology/198194





_____________________________________




จวกมติ กสท. ประเคนช่อง ให้ ตร.-กลาโหม


สุภิญญา” ค้านมติบอร์ด กสท. กรณีคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ช่องสาธารณะเพื่อความมั่นคงของรัฐ จี้ตอบสังคม ประเด็นเอื้อหน่วยงานความมั่นคงภาครัฐ ปิดโอกาสหน่วยงานวิชาการอื่น...

เมื่อวันที่ 18 เม.ย. น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า จากมติที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท.เมื่อวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ บริการสาธารณะประเภทที่สอง เพื่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งระบุว่าผู้รับใบอนุญาตต้องเป็นหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ทั้งยังต้องมีกฎหมายรองรับอำนาจเจ้าหน้าที่เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐในการพิทักษ์รักษา ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รักษาเอกราชอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ มีผลโหวตเสียงข้างมาก 3 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง และงดออกเสียง 1 เสียง โดยตนเป็นผู้ลงคะแนนไม่เห็นชอบมติดังกล่าว

น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า มติบอร์ด กสท.วานนี้ จะทำให้สังคมจับตาและเกิดความสงสัยต่อประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นการกำหนดคุณสมบัติอย่างเฉพาะเจาะจง เหมือนเป็นการล็อกสเปกให้สิทธิพิเศษหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ ซึ่งจะส่งผลให้กระทรวงกลาโหม กองทัพ และตำรวจ เป็นผู้มีสิทธิ์ขอรับใบอนุญาตฯ ประเภทที่สองเพื่อความมั่นคงของรัฐทันที หน้าที่ของ กสท.จึงต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่านโยบายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการกระจายสิทธิการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ไปสู่หน่วยงานภาครัฐมากน้อยเพียงใด หรือเป็นการเพิ่มสิทธิให้หน่วยงานรัฐอื่นๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ควรยึดถือรูปแบบของต่างประเทศ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐไม่จำเป็นต้องมีช่องโทรทัศน์เป็นของตนเองและไม่จำเป็นต้องบริหารงานเอง แต่สามารถรวมกันและผลิตคอนเทนต์โดยของบประมาณสนับสนุนจากกองทุน กสทช.ก็ได้

ทั้งนี้ จะมีการเสนอวาระใหม่เข้าที่ประชุมบอร์ด กสท.เพื่อให้ทบทวนกรณีดังกล่าว โดยจะขอให้มีการยกระดับการประชุมมติต่างๆ เป็นประกาศ เพื่อเปิดโอกาสให้มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นและผ่านบอร์ดใหญ่ 11 คน ก่อนประกาศลงราชกิจจานุเบกษาต่อไป ส่วนหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ รวมถึงกระทรวงต่างๆ ที่ต้องการเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ บริการสาธารณะประเภทที่สองนั้น ตนเห็นว่าควรมีการหารือเพื่อประนีประนอมร่วมกัน นอกจากนี้การประมูล 24 ช่องธุรกิจนั้นถือเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชน ซึ่ง กสท.ควรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวด้วย ไม่ใช่มุ่งเน้นเพียงประเด็น 12 ช่องสาธารณะ

นอกจากนี้ จากการที่บอร์ด กสท.ได้เดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศเมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น จึงควรพิจารณาถึงเกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมของผู้ยื่นขออนุญาตประกอบกิจการฯ ทั้งยังต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต แนวทางการพิจารณา และกรอบการหารายได้ ขอบเขตการโฆษณาในเชิงภาพลักษณ์ รวมถึงความพร้อมด้านเทคโนโลยี พร้อมให้คะแนนในแต่ละด้านอย่างชัดเจนและเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/339547


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.