Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 มิถุนายน 2556 (เกาะติดการประมูล1800) AIS ชี้ ความถี่คลื่น 2100 เกือบไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว (เดินหน้าขอประมูลคลื่น 1800 ทำ4G และพร้อมประมูลคลื่น 900 ด้วย)



ประเด็นหลัก



"เอไอเอส ยืนยันมาตลอดว่ามีความประสงค์จะเข้าประมูลคลื่น 1800 หรือ 4จี และยอมรับว่า คลื่น 3จี ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่เอไอเอสประมูลได้เกือบไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว"

หลังจาก เอไอเอส เปิดตัว 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ขณะนี้มีลูกค้าใช้บริการแล้ว 2 ล้านเลขหมาย และหากสิ้นสุดสัมปทานกับบมจ.ทีโอที เดือนต.ค. 2558 ก็พร้อมนำคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ไปเปิดประมูลให้พร้อมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ด้วยในเวลาเดียวกัน เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงเวลาเยียวยาลูกค้า และเอไอเอสก็พร้อมจะประมูลคลื่น 900 ด้วย


______________________________________





'เอไอเอส-ทรู'ดูแลลูกค้าคลื่น1800ต่อ1ปี


กทค.ถกเอกชนรอบแรกวางแผนเยียวยาลูกค้า 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในระบบ 2 จี ก่อนเข็นร่างประกาศประชาพิจารณ์


วานนี้ (4 มิ.ย.) พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเยียวยาลูกค้า 1800 เมกะเฮิรตซ์ และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้เรียกผู้แทนจากบริษัทที่ได้รับสิทธิในคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะสิ้นสุดสัมปทานเดือนก.ย. นี้ ประกอบด้วยบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ทำความเข้าใจร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นสาธารณะสิ้นเดือนมิ.ย.นี้

ทั้งนี้ คาดว่า วันที่ 19 มิ.ย.นี้ ร่างประกาศจะเข้าบอร์ด กสทช. หลังจากนั้นใน 1 เดือน จะเป็นการทำประชาพิจารณ์ และเดือนก.ค. นี้ จะได้ข้อสรุปว่าใครจะเป็นผู้ได้ดูแลลูกค้าในช่วงเยียวยา รัฐวิสาหกิจ หรือ เอกชน

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ในฐานะคณะกรรมการ (บอร์ด) ดีพีซี กล่าวภายหลังหารือว่า เบื้องต้นดีพีซีเองเห็นด้วยในหลักการของ กทค. ที่มีมติออกร่างประกาศ กสทช.ดังกล่าว แต่ต้องการให้ กทค. ออกมาตรการเยียวยาผู้บริโภค ไม่ใช่เยียวยาผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ มีข้อเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด กทค.คือ ต้องการให้กำหนดวันเวลาที่ชัดเจนในการสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยา ซึ่งกรอบการเยียวยา การต่ออายุการใช้คลื่นควรมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หรือไม่เกินวันที่ 30 ก.ย. 2557 ขณะที่การประมูลคลื่น 1800 เพื่อนำมาทำประมูล 4จี และขั้นตอนประมูล ควรเสร็จให้ทันปี 2557

"เอไอเอส ยืนยันมาตลอดว่ามีความประสงค์จะเข้าประมูลคลื่น 1800 หรือ 4จี และยอมรับว่า คลื่น 3จี ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่เอไอเอสประมูลได้เกือบไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว"

หลังจาก เอไอเอส เปิดตัว 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ขณะนี้มีลูกค้าใช้บริการแล้ว 2 ล้านเลขหมาย และหากสิ้นสุดสัมปทานกับบมจ.ทีโอที เดือนต.ค. 2558 ก็พร้อมนำคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ไปเปิดประมูลให้พร้อมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ด้วยในเวลาเดียวกัน เพื่อจะได้ไม่ต้องมีช่วงเวลาเยียวยาลูกค้า และเอไอเอสก็พร้อมจะประมูลคลื่น 900 ด้วย

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ต้องการให้ระยะเวลาการเยียวยานานมากกว่า 1 ปี เพราะบริษัทไม่มีสิทธิไปดึงลูกค้าที่ค้างอยู่ในทรูมูฟออกมา อย่างไรก็ตาม ยังต้องให้บริการต่อไป

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130605/509396/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B
8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA-
%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%
B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%8
8%E0%B8%991800%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD1%E0%B8%9B%E0%B8%B5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.