Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 มิถุนายน 2556 เดวิด โรวาน บรรณาธิการนิตยสารไวร์จากอังกฤษ ชี้ สือถูกบังคับให้ปรับตัวเพราะ แทบเล็ต-สมาร์ทโฟน ย่ำคนส่วนใหญ่เช็คมือถือราว 150 ครั้งต่อวัน



ประเด็นหลัก



"แทบเล็ต-สมาร์ทโฟน"บีบสื่อปรับตัว

นายเดวิด โรวาน บรรณาธิการนิตยสารไวร์จากอังกฤษ เสริมว่า ศูนย์กลางของอำนาจเริ่มเปลี่ยนจากการเปลี่ยนแปลงของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่ทำให้ใครก็ได้สามารถเป็นผู้เผยแพร่ข่าวสาร เช่น อัดคลิปวีดิโอผ่านยูทูบ ขณะเดียวกันจำนวนผู้ใช้มือถือที่เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของเด็กเกิดใหม่ในแต่ละวัน ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และธุรกิจสื่อต้องคิดให้ใหญ่มากขึ้น

ขณะที่ มีผลสำรวจย้ำให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่เช็คมือถือราว 150 ครั้งต่อวัน ดังนั้น มือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อน จึงเป็นโอกาสสำคัญของธุรกิจในอนาคตอันใกล้ และต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนอย่างไร

"รูปแบบของอุปกรณ์เคลื่อนที่ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร หนังสือพิมพ์ต้องดูว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง รายได้จากโฆษณาอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบ แต่สิ่งที่จะทดแทนได้ก็มีอีกหลายอย่าง เช่น รายได้จากการให้คนซื้อสินค้าบนเว็บ การทำตัวเป็นที่ปรึกษา การทำมหาวิทยาลัย และการร่วมมือกับชุมชนต่างๆ บนเว็บ ซึ่งสิ่งสำคัญคือต้องมีนวัตกรรมเพื่อสร้างรายได้" นายโรวาน กล่าว


ส่วนทิศทางของรายได้ในอนาคตจะต้องเริ่มมาจากดิจิทัลมากขึ้น เช่น กลุ่มเนชั่น ที่แม้ปัจจุบันจะมีรายได้หลัก 60% ยังมาจากหนังสือพิมพ์ แต่ก็เริ่มมีรายได้จากสื่อดิจิทัลเข้ามาเสริมสัดส่วนราว 5-8% และจะเริ่มมีทีวีดิจิทัลภายในปีนี้ ดังนั้น บริษัทก็คาดว่าภายใน 6-7 ปีจากนี้ เราจะมีรายได้จากดิจิทัลเพิ่มได้ถึง 20%










______________________________________





5เทรนด์ใหม่'ยุคดิจิทัล'บีบหนังสือพิมพ์ปรับตัว

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

บรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์โลกชี้เทรนด์ใหม่ยุคดิจิทัล บีบหนังสือพิมพ์เร่งปรับตัวเผยสมาร์ทโฟน-แทบเล็ต-โซเชียลฯ ดันสื่อใช้นวัตกรรมสร้างรายได้ใหม่


นายอีริค บีเยอราเกอร์ ประธานการประชุมบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์โลก (World Editors Forum) กล่าวว่า ห้องข่าวในอนาคตจะถูกขับเคลื่อนด้วย 5 เทรนด์หลัก ได้แก่ 1.การเข้ามาของเทคโนโลยีเคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟน แทบเล็ตที่มียอดจำหน่ายสูงมาก และได้รับการตอบรับจากคนรุ่นใหม่ส่งผลต่อเนื่องถึงพฤติกรรมที่ทำให้การอ่านหนังสือพิมพ์ที่เป็นตัวเล่มลดลง และเสพคอนเทนท์จากมือถือมากขึ้น

2.กระแสการใช้โซเชียล มีเดีย ทำให้คนหนุ่มสาวหันไปหาข้อมูลจากช่องทางเหล่านี้เพิ่ม และเริ่มมีผู้เข้ามาทวีตข่าวสารจากช่องทางดังกล่าวเพิ่มขึ้นเช่นกัน 3.แวดวงของสื่อเริ่มปรับตัวด้วยการเล่าเรื่องราวข่าวสารต่างๆ อย่างมีนวัตกรรม (Innovation Storytelling) เช่นที่ เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ เริ่มใช้วิธีการใหม่ๆ รายงานเรื่องราวในรูปแบบที่ดึงความสนใจของคนบนโลกดิจิทัลได้มากขึ้น

4.เทรนด์การใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อดูการปฏิสัมพันธ์ของผู้คนและนำมาปรับปรุงวิธีการเสนอข่าวสาร และ 5.เทรนด์ของคอนเทนท์ดิจิทัลที่ต้องจ่ายเงิน ที่จะเป็นอนาคตและความอยู่รอดของธุรกิจสื่อที่กำลังเกิดขึ้น

"แทบเล็ต-สมาร์ทโฟน"บีบสื่อปรับตัว

นายเดวิด โรวาน บรรณาธิการนิตยสารไวร์จากอังกฤษ เสริมว่า ศูนย์กลางของอำนาจเริ่มเปลี่ยนจากการเปลี่ยนแปลงของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่ทำให้ใครก็ได้สามารถเป็นผู้เผยแพร่ข่าวสาร เช่น อัดคลิปวีดิโอผ่านยูทูบ ขณะเดียวกันจำนวนผู้ใช้มือถือที่เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของเด็กเกิดใหม่ในแต่ละวัน ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และธุรกิจสื่อต้องคิดให้ใหญ่มากขึ้น

ขณะที่ มีผลสำรวจย้ำให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่เช็คมือถือราว 150 ครั้งต่อวัน ดังนั้น มือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อน จึงเป็นโอกาสสำคัญของธุรกิจในอนาคตอันใกล้ และต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนอย่างไร

"รูปแบบของอุปกรณ์เคลื่อนที่ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร หนังสือพิมพ์ต้องดูว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง รายได้จากโฆษณาอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบ แต่สิ่งที่จะทดแทนได้ก็มีอีกหลายอย่าง เช่น รายได้จากการให้คนซื้อสินค้าบนเว็บ การทำตัวเป็นที่ปรึกษา การทำมหาวิทยาลัย และการร่วมมือกับชุมชนต่างๆ บนเว็บ ซึ่งสิ่งสำคัญคือต้องมีนวัตกรรมเพื่อสร้างรายได้" นายโรวาน กล่าว

เนชั่นชูคุณภาพนำเทคโนโลยี

นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น กล่าวว่า พื้นฐานสำคัญของนักหนังสือพิมพ์นักข่าวในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า ไม่ได้อยู่ที่ว่านักข่าวรู้จักเทคโนโลยีมากเพียงใด หรือใช้เทคโนโลยีในการรายงานข่าวได้ล้ำหน้า แต่สิ่งสำคัญ คือ เนื้อหาข่าวที่นำเสนอลึกซึ้งหรือน่าสนใจอย่างไร

"ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้า แต่สำหรับเราจะเริ่มถอยหลังกลับไปเข้าห้องเรียน เรียนรู้วิธีการเขียนข่าวที่ดีทำอย่างไร ขณะเดียวกันก็เรียนรู้ว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะช่วยให้นักข่าว เขียนข่าวดีๆ ได้อย่างไรด้วย ส่วนด้านเทคนิคเป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่ๆ ใช้เวลาเรียนรู้ได้ง่ายอยู่แล้ว สิ่งสำคัญกว่า คือ คุณภาพของข่าวที่นำเสนอออกไป" นายสุทธิชัย กล่าว

ทั้งนี้ แนวทางการทำงานของห้องข่าวใหม่ของเครือเนชั่น คือ มีห้องข่าวคอนเวอร์เจนซ์ที่มีกลุ่มบรรณาธิการอาวุโสคอยคัดกรองข่าวว่า เรื่องใดควรจะนำเสนอผ่านสื่อช่องทางใด ครอบคลุมทั้งทีวี หนังสือพิมพ์ และ เว็บไซต์

นอกจากนี้ ยังมีการทวีตข่าวผ่านโซเชียลของนักข่าว และพนักงานรวมถึงระดับผู้บริหารของเครือเนชั่น ซึ่งทุกๆ 1 นาที จะมีข่าวสารต่างๆ ออกจากทีมข่าวของเนชั่นที่ทุกคนเข้ามาสร้างแบรนด์ของตัวเองผ่านโซเชียลต่างๆ โดยปัจจุบันทุกสื่อของเนชั่นที่ผู้ติดตาม 2.5 ล้านคน

"การปรับตัวของสื่อเก่าสู่สื่อใหม่ ต้องเริ่มจากทำให้ทุกคนรับรู้ว่า อนาคตเราจะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่ปรับตัว เพราะเทคโนโลยีมาแล้ว และมาอย่างรุนแรง ต้องเริ่มให้นักข่าวหัดใช้เครื่องมือดิจิทัล และทำทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะหาข้อมูลสนับสนุน นำของจริงมาให้นักข่าวดู หรือบังคับในบางเรื่องเพื่อให้นักข่าวปรับตัว ซึ่งเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ ทำอย่างไรให้นักข่าวยังสื่อสารกับคนอ่าน หรือคนดูได้ ไม่ว่าจะผ่านมือถือ ทีวี หรือหนังสือพิมพ์ โดยที่คุณภาพที่ออกไปก็ต้องดีด้วย" นายสุทธิชัย กล่าว

ส่วนทิศทางของรายได้ในอนาคตจะต้องเริ่มมาจากดิจิทัลมากขึ้น เช่น กลุ่มเนชั่น ที่แม้ปัจจุบันจะมีรายได้หลัก 60% ยังมาจากหนังสือพิมพ์ แต่ก็เริ่มมีรายได้จากสื่อดิจิทัลเข้ามาเสริมสัดส่วนราว 5-8% และจะเริ่มมีทีวีดิจิทัลภายในปีนี้ ดังนั้น บริษัทก็คาดว่าภายใน 6-7 ปีจากนี้ เราจะมีรายได้จากดิจิทัลเพิ่มได้ถึง 20%

"นายกฯ" ย้ำ สื่อเสรีต้องมีความรับผิดชอบ

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาในงานประชุมสภาหนังสือพิมพ์โลก การประชุมบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์โลกและการประชุมการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โลก ว่า อุตสาหกรรมสื่อกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 การสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนชาติต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญ

ทั้งนี้ เพราะว่าอาเซียนจะเป็นหนึ่งในกลไกหลักของโลก ด้วยจำนวนประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคน ทำให้กำลังซื้อสูงขึ้น ซึ่งประเทศสมาชิกต่างก็เร่งทำงานอย่างหนักเพื่อรับกับการเปิดเออีซี และทำให้เกิดการเชื่อมโยงกัน โดยทุกคนมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะบทบาทของสื่อที่เป็นคนกลางหลักในการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งเสรีภาพของสื่อมวลชนและความรับผิดชอบ จะทำให้สาธารณชนได้รับประโยชน์

อย่างไรก็ตาม เสรีภาพที่ขาดความรับผิดชอบ ก็อาจทำให้เกิดความวุ่นวายได้ ดังนั้นทุกเสรีภาพจึงยังคงมีข้อจำกัด เพราะว่ายังมีบุคคลที่สาม ที่ต้องการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย

"ความสมดุลของเสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อมวลชน เป็นสิ่งที่ต้องมี และเสรีภาพที่ว่ายังท้าทายมากขึ้น เมื่อเริ่มมีพรมแดนใหม่ของการรายงานข่าวสารบนโลกไซเบอร์ ที่ทำให้เสรีภาพอาจถูกใช้ในทางผิดๆ ได้" นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าว


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130605/509456/5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%
B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B8
%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B
8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%
E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8
%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.